ไตอักเสบ ( Pyelonephritis ) การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะแพร่สู่ไต ส่งผลให้ตัวบวม อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดหลัง ปวดเอว ความดันสูง แนวทางการรักษาไตอักเสบทำอย่างไรไตอักเสบ กรวยไตอักเสบ โรคไต โรคไม่ติดต่อ

ไต เป็น อวัยวะของระบบใดในร่างกายมนุษย์ ก็ต้องตอบว่าเป็นส่วนหนึ่งของ ระบบทางเดินปัสสาวะ  ไต ภาษาอังกฤษ เรียก Kidney ไตมีสองข้าง คือ ข้างซ้ายและข้างขวา รูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วแดง หน้าที่ของไตคือกรองของเสีย น้ำ และเกลือแร่ส่วนเกินจากเลือด และไหลผ่านไปสร้างปัสสาว นอกจากกรองของเสียแล้วยังมีหน้าที่ช่วยรักษาความปกติของระดับน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต และกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง หากเกิดความผิดปรกติของการทำงานของไต จะทำให้เกิดการสะสมของเสียในร่างกาย ระบบเลือด และความดันเลือดในร่างกายก็ผิดปรกติ ส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

วันนี้เรามารู้จักกัโรคไต โรคไตอักเสบกันว่า ไตอักเสบเกิดจากอะไร ใครเป็นกลุ่มเสี่ยงเกิดโรคไต อาการของโรคไต การรักษาทำอย่างไร รักษาหายไหม แล้วจะป้องกันโรคไตอักเสบอย่างไร

โรคไตอักเสบ หมายถึง การอักเสบของไต ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะและแพร่สู่ไต หรือการผิดปรกติของการทำงานของไต นอกจากนั้นแล้ว โรคไตอักเสบ อาจเกิดจากปัญญหา เช่น อาการบวมน้ำ การกำจัดน้ำออกจากร่างกายทำได้ไม่ปรกติ ทำให้น้ำสะสมในร่างกายทำให้บวมตามส่วนต่างๆของร่างกาย

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไตอักเสบ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไตอักเสบมีหลายข้อ เรารวบรวมและแยกเป็นข้อๆได้ดังนี้

  1. กรรมพันธ์ โรคไตอักเสบบางชนิด เกิดจากกรรมพันธุ์ เช่น โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic Kidney Disease) อย่างไรก็ตาม กรรมพันธุ์ไม่ใช่สาเหตุหลัก มีส่วนน้อยที่มีอาการไตอักเสบจากกรรมพันธ์
  2. ภาวะความดันโลหิตสูง การไตทำงานร่วมกับเลือดมีผลต่อระดับความดันเลือด หากไตทำงานหนัก ก็ทให้เกิดความผิดปรกติของไตได้ โดรเริ่มจากอาการอักเสบ และอาจทำให้ไตหยุดทำงาน เกิดภาวะไตวายได้
  3. โรคเบาหวาน  ผู้ป่วยเบาหวานจะปัสาวะบ่อย อาจเกิดการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะได้ง่ายกว่าปกติ อาการไตอักเสบอาจเกิดขึ้นได้จากภาวะการติดเชื้อ ทำให้ไตอักเสบ ไตวาย แล้วยังทำให้เกิดความดันโลหิตสูงด้วย
  4. โรคอ้วน คนอ้วยมีเมตาบอลิซึมสูง ทำให้ไตต้องทำงานหนักกว่าปรกติ ทำให้เกิดการอักเสบของไตได้ง่าย
  5. อายุ เมื่ออายุมากขึ้น เกิดความเสื่อมของอวัยวะไปตามอายุ การป้องกันเชื้อโรค และการทำงานของอวัยวะต่างๆก้ลดประสิทธิภาพ โดยทั่วไป ไต จะเริ่มเสื่อมตั้งแต่อายุ 35 ปี เฉพาะผู้สูงอายุเพศชายมีโอกาสเป็นโรคเกี่ยวกับต่อมลูกหมากสูง ส่งผลถึงระบบทางเดินปัสสาวะอุดตัน ทำให้ไตอักเสบได้
  6. อาหาร การรับประทานอาหารรสจัด ทำให้ไตทำงานหนัก ส่งผลกระทบต่อไตทำให้อ่อนแอได้ง่าย
  7. ยาบางชนิด มีผลต่อการทำงานของไต เช่น ยาแก้ข้อกระดูกอักเสบ ดังนั้น หากเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง
  8. อุบัติเหตุ การเกิดอุบุติเหตุกระทบกระเทือนต่อไต ทำให้ไตบอบช้ำทำงานได้ไม่ปรกติ

บุคคลกลุ่มเสี่ยงเกิดโรคไตอักเสบ

สามารถแยกรายละเอียดของคนที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคไตอักเสบ มีรายละเอียดดังนี้

  1. ผู้สุงอายุ ตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป เนื่องจากความเสื่อมของอวัยวะต่างๆเป็นไปตามอายุ
  2. ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคไต เนื่องจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม มีโอกาสเกิดได้
  3. คนน้ำหนักมาก คนอ้วน คนเป็นเบาหวาน
  4. ผู้ป่วยโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
  5. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
  6. ผู้ป่วยโรคเนื้องอกในไต
  7. ผู้ที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีโอกาสได้รับสารพิษจากยาบางชนิด
  8. ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ
  9. ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ตัวเอง

อาการของผู้ป่วยไตอักเสบ

อาการของผู้ป่วยไตอักเสบ จะสังเกตุได้จาก อาการตัวบวม อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดหลัง ปวดเอว เนื่องจากไตหน้าที่หลักคือ การคัวบคุมระดับน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย หากการทำงานผิดปรกติ การควบคุมระดับน้ำในร่างกายผิดปรกติเกิดการสะสมในร่างกายทำให้ตัวบวม ไตทำหน้าที่กรองของเสียในเลือดและขับออกทางปัสสาวะ หากร่างกายกรองของเสียได้ไม่ดี ของเสียก็จะกลับสู่ร่างกายทางเลือด ทำให้อ่อนเพลีย และไตเป็นอวัยวะที่อยู่บริเวณเอว ใต้ซี่โครง หากอวัยวะภายในอักเสบก็ทำให้เกิดอาการ เจ็บ และปวด นอกจากนั้น การปัสสาวะผิดปรกติ เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด เป็นต้น ความดันดลหิตสูง

การตรวจว่าเป็นโรคไตอักเสบหรือไม่ สามารถทำได้โดยการ ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด โดยการตรวจปัสาวะเพื่อดูความปรกติของปัสสาวะว่า เป็นโรคอะไรหรือเปล่า เช่น โรคนิ่ว โรคติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ กรวยไตอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และโรคไตอื่น ๆ ส่วนการตรวจเลือด เพื่อหาความผิดปรกติของไต

การรักษาโรคไตอักเสบ

การรักษาโรคไตอักเสบ สามารถรักษาได้โดยใช้ 3 วิธี คือ การรักษาสาเหตุของการเกิดไตอักเสบ รักษาดดยการชะลอความเสื่อมของไต และล้างไตทางหน้าท้อง รายละเอียดดังนี้

  1. การรักษาไตอังกเสบที่สาเหตุของโรค เช่น หากมีนิ่วที่ไต ก็ให้กำจัดนิ่ว หรือ รักษาโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นการรักษาโดยการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เป็นหลัก
  2. การรักษาโดยเพื่อชะลอความเสื่อมของไต ในผู้ป่วยบางคนที่มีอาการไตอักเสบจากความเสื่อมของไต จะทำการรักษาโดยลดการทำงานหนักของไต เช่น การให้ยาควบคุมความดันโลหิต การควบคุมอาหาร เป็นต้น
  3. การรักษาโดยการล้างไตที่หน้าท้อง ในผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบบเรื้อรังอาจเกิดไตวายได้ การทำงานของไตต่ำ การนำไตออกมาล้างเพื่อไม่ให้มีเลือดเสีย ทำให้ไตสะอาด

การป้องกันการเกิดโรคไตอักเสบ

โรคไต เป็นโรคที่ไม่มีใครอยากเป็น การป้องกันแบบง่ายๆ คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชิวิต โดยแยกเป็นข้อๆได้ดังนี้

  1. ลดการบริโภคอาหารเค็ม เพื่อควบคุมระดับความดันโลหิต
  2. ลดการดื่มเครื่องดื่มสุราและสารเสพติด
  3. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  4. ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ
  5. พักผ่อนให้เพียงพอ
  6. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อไต เช่น ยาแก้ปวดข้อ ปวดหลัง เป็นต้น

สมุนไพรช่วยลดความดันโลหิต สามารถช่วยลดการทำงานหนักของไตได้ สามารถช่วยบรรเทาอาการป่วยของโรคไตได้ เราจึงขอแนะนำ สมุนไพรช่วยลดความดันโลหิต สมุนไพรลดความดัน

มะรุม สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของมะรุมมะรุม
ฟักทอง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของฟักทองฟักทอง
กระเจี๊ยบเขียว สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมนุไพรกระเจี๊ยบเขียว
แตงกวา สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของแตงกวาแตงกวา
กระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย เครื่องเทศกระเทียม
หญ้าคา สมุนไพร สมุนไพรไทยหญ้าคา
มะเขือยาว สมุนไพร สมุนไพรไทย ผัดสวนครัวมะเขือยาว
อินทนิน สมุนไพร สมุนไพรไทย ไม้ยืนต้นอินทนิล

โรคไตอักเสบ ( Pyelonephritis ) เกิดจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ แพร่สู่ไต  ส่งผลให้เกิดอาการ อาการตัวบวม อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดหลัง ปวดเอว ความดันโลหิตสูง สาเหตุของโรคไตอักเสบ กลุ่มเสี่ยงโรคไตอักเสบ อาการโรคไตอักเสบอย่างไร

กลุ่มอาการคุชชิง ( Cushing syndrome ) เกิดจากฮอร์โมน Glucocorticoid สูงกว่าปรกติ ทำให้หน้าบวมคล้ายพระจันทร์ มีก้อนไขมันที่หลังคอ ปัสสาวะบ่อย นอนไม่หลับ ผิวแห้งโรคคุชชิง กลุ่มอาการคุชชิง อาการหน้าบวม โรคไม่ติดต่อ

โรคคุชชิง หรือ กลุ่มอาการคุชชิง ภาษาอังกฤษ เรียก Cushing syndrome  เป็นโรคต่อมไร้ท่อ เกิจากความผิดปรกติของต่อมใต้สมอง ลักษณะเด่นของโรคนี้ คือ อาการบวมของใบหน้าคล้ายพระจันทร์ เป็นอาการของโรคที่เกิดจากการมีฮอร์โมน Glucocorticoid มากเกินไป ชึ่งเกิดจากการได้รับฮอร์โมนจากภายนอกร่างกาย

Glucocorticoid เรียกย่อๆว่า GC เป็นฮอร์โมนสเตียรอยด์สร้างจากต่อมหมวกไต อยู่ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมน ACTH ภาษาอังกฤษ เรียก Adrenocorticotropic hormone ที่ถูกสร้างด้วยต่อมใต้สมอง ซึ่งฮอร์โมน ACTH มีหย้าที่ในการควบคุมการสร้างฮอร์โมน Glucocorticoid

โดยฮอร์โมน Glucocorticoid เป็น ฮอร์โมนที่มีความสัมพันธ์กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย เกี่ยวข้องกับการรักษาความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ ต่างๆในร่างกาย เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของมนุษย์ โดยเฉพาะเด็ก รวมถึงการสร้าง ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายมนุษย์ด้วย การผิดปรกติของฮอร์โมน Glucocorticoid เป็นโรคกลุ่มอาการคุชชิง

หากกล่าวถึง โรคคุชชิง แล้ว โรคนี้พบครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยศลัยแพทย์ด้านระบบประสาท ชื่อ ฮาร์เวย คุชชิง เมื่อปี พ.ศ. 2475 พบร่างกายผิดปรกติจากภาวะฮอร์โมน Clucocorticoid ในร่างกายสูงเกินไป โรคนี้พบได้ไม่บ่อย ซึ่งสามารถพบได้ในคนช่วงอายุ 20 ถึง 50 ปี และพบว่าผู้หญิงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมากกว่าผู้ชาย

สาเหตุของการเกิดโรค กลุ่มอาการคุชชิง

พบว่า สาเหตุหลักของการเกิดโรค นี้ คือ ฮอร์โมน Glucocorticoid ในร่างกายสูงกว่าปรกติ ซึ่งสามารถแยกสาเหตุของโรคเป็น 2 เหตุหลักๆ คือ การสร้างฮอร์โมนในร่างกายผิดปรกติ และการได้รับฮอร์โมนมากกว่าปรกติ ซึ่งรายละเอียดของสาเหตุ สามารถอธิบายได้ดังนี้

  1. สาเหตุจากร่างกายสร้างฮอร์โมน Glucocorticoid มากกว่าปกติ ซึ่งทางการแพทย์พบว่า เกิดจากความผิดปรกติของต่อมไร้ท่อ ที่ต่อมหมวกไต เช่น การเกิดเนื้องอก หรือ มะเร็งที่ต่อมใต้สมอง หรือ มะเร็งที่ต่อมไทรอยด์ ชนิด Medullary carcinoma สาเหตุของโรคคิชชิง จากการสร้างฮอร์โมนมากผิดปรกติ พบได้น้อย และโอกาสเสี่ยงของการเกิดพบว่า ผู้หญิงมีดอกาสเป็นมากกว่าผู้ชายถึง 6 เท่า
  2. สาเหตุของโรคจากการได้รับฮอร์โมน Glucocorticoid จากภายนอกร่างกาย ซึ่งสาเหตุของการได้รับฮอร์โมนเข้าสู่ร่างกาย เกิดจากการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ เพื่อใช้ในการรักษาโรคบางชนิด เช่น โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคออโตอิมมูน เป้นต้น

กลุ่มของผู้ที่มีความเสี่ยงของการเกิดโรคกลุ่มคุชชิง คือ ผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์ ที่ใช้ในการรักษาโรค เช่น โรคหืดหอบ โรคออโตอิมมูน

อาการของโรคกลุ่มอาการคุชชิง

อาการของโรคนี้สามารถแบ่งอาการของโรค ได้เป็น 2 ส่วน คือ ลักษณะอาการทั่วไป และลักษณะอาการที่เป็นเฉพาะที่ รายละเอียดของอาการกลุ่มโรคคุชชิง มีรายละเอียดดังนี้

  1. ลักษณะอาการทั่วไป เป็นอาการที่เกิดจากฮอร์โมนClucocorticoid ที่มีผลต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ เช่น หิวบ่อย กินมากขึ้น ใบหน้าบวมพระจันทร์เต็มดวง อ้วนบริเวณไหปลาร้า มีพุง แต่แขนขาลีบ มีก้อนไขมันที่ด้านหลังคอ ปัสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อย นอนไม่หลับ ผิวหนังแห้ง ผิวหนังบาง ผิวหนังแตกง่าย เป็นแผลง่าย แผลหายยาก ความดันโลหิตสูง ค่าน้ำตาลในเลือดสูง เป็นเบาหวาน มีภาวะกระดูกพรุน กระดูกหักง่าย ต้นแขน ต้นขา ลีบและอ่อนแรง ระบบสมองแปรปรวน ซึมเศร้า ประจำเดือนมาไม่ปกติ ขนดก ความรู้สึกทางเพศลดลง ติดเชื้อโรคง่าย ลักษณะอาการทั่วป แต่ส่งผลกับระบบในร่างกายทุกส่วน
  2. ลักษณะอาการเฉพาะที่ เป็นลักษณะของอาการเนื้องอกที่ต่อมใต้สมองหรือ ต่อมหมวกไต ทำให้มีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง มีความผิดปกติเรื่องการมองเห็นภาพ

การวินิจฉัยโรคกลุ่มอาการคุชชิง

สามารถทำได้โดยการ การตรวจร่างกาย การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ การตรวจน้ำลาย เพื่อดูระดับฮอร์โมนGlucorticoid ในร่างกาย นอกจากนั้น การตรวจชิ้นเนื้อ การตรวจช่องท้อง และการเอ็กซ์เรยสมอง เพื่อดูหาเนื้อร้าย เป็นต้น

การรักษาโรคกลุ่มอาการคุชชิง

การรักษาโรคนี้ สามารถทำการรักษาโดยการปรับลดระดับออร์โมนที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค และการประคับประคอบอาการแทรกซ้อนที่เป็นผลจากการมีฮอร์โมนมากเกินไป รายละเอียด ดังนี้

  1. การปรับลดระดับฮอร์โมน Clucocorticoid โดยการให้หยุดยากลุ่มสเตียรอยด์ แต่ให้ลดปริมาณยาทีละน้อย ห้ามลดโดยการเลิกยาแบบกระทันหัน อาจเกิดอาการขาดยาได้ เรียกอาการขาดยา ว่า Adrenal crisis ซึ่งลักษณะของอาการขาดยา คือ ไข้สูง เหงื่อออก ปวดท้อง ท้องเสีย หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตต่ำ อ่อนเพลียมาก ต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที เนื่องจากอันตรายถึงเสียชีวิตได้
  2. การรักษาอาการจากความผิดปรกติของออร์โมน Glucocorticoid สูงกว่าปรกติ สามารถทำการรักษาโดย การผ่าตัด เนื้องอกหรือเซล์มะเร็ง ที่เป็นสาเหตุของโรค เช่น มะเร็งปอด เนื้องอกต่อมหมวกไต เนื้องอกต่อมใต้สมอง แต่การฝ่าตัดเนื้อร้ายออกจะทำให้เกิดอาการ Adrenal crisis ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
  3. การรักษาโดยประคับประคองตามอาการ เช่น การลดน้ำตาลในเลือด การลดความดันโลหิต เป็นต้น

การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคกลุ่มอาการคุชชิง

โดยปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ กินยาให้ครบและถูกต้อง รักษาสุขอนามัย ควบคุมอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ระวังการเกิดอุบัตติเหตุจากการกระแทกอย่างรุนแรง

การป้องกันโรคกลุ่มอาการคุชชิง

สามารถทำได้โดย ไม่ซื้อยากลุ่มสเตียรอยด์มาใช้เอง การป้องกันเราสามารถป้องกันโรคจากสาเหตุภายนอกเท่านั้น ส่วนสาเหตุอื่นๆป้องกันได้ยาก

โรคคุชชิง กลุ่มอาการคุชชิง ( Cushing syndrome ) เกิดจากฮอร์โมน Glucocorticoid สูงกว่าปรกติ ความผิดปรกติของต่อมใต้สมอง ส่งผลให้เกิดอาการบวมของใบหน้าคล้ายพระจันทร์ อ้วนบริเวณไหปลาร้า มีพุงแต่แขนขาลีบ มีก้อนไขมันที่หลังคอ ปัสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อย นอนไม่หลับ ผิวหนังแห้ง เป็นแผลง่าย ความดันโลหิตสูง มีภาวะกระดูกพรุน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove