มะนาว สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมนำมาทำอาหารให้รสเปรี้ยว มีประโยชน์ด้านสมุนไพรหลากหลาย ทำความรู้จักกับมะนาวว่ามีสรรพคุณอย่างไร ใช่รักษาโรคอะไรได้บ้างมะนาว สมุนไพร รสเปรี้ยว

มะนาว ภาษาอังกฤษ เรียก Lime ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะนาว คือ Citrus aurantiifolia (Christm) สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะนาว เช่น ส้มมะนาว โกรยชะม้า ปะนอเกล มะนอเกละ มะเน้าด์เล ปะโหน่งกลยาน ลีมานีปีห์ หมากฟ้า เป็นต้น มะนาวเป็นพืชพื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประชาชนในภูมิภาคนี้รู้จักการมะนาวและใช้ประโยชน์จากมะนาวมาช้านานแล้ว แต่มะนาวมีแหล่งกำเนิดในอินเดียตอนเหนือ เขตเชื่อมต่อกับพม่า รวมถึงทางตอนเหนือของมาเลเซีย

การนำมะนาวมาใช้ประโยชน์ทางความงาม ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ช่วยบำรุงตา น้ำมันหอมระเหยที่ให้กลิ่นหอมสดชื่น ( Aromatherapy ) ช่วยเร่งการผลัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพออกไป ช่วยผิวบริเวณเหล่านี้มีความนุ่มนวลเพิ่มมากขึ้น ช่วยรักษาสิวของคุณให้ลดน้อยลงได้ แก้ปัญหาผิวแตก แก้ปัญหาส้นเท้าแตก

ประโยชน์ด้านอื่นของมะนาว

  • ป้องกันภัยจากงูและสัตว์เลื้อยคลาน ด้วยการใช้เปลือกวางไว้บริเวณใกล้ที่นอน ๆ สัตว์เหล่านี้ก็จะไม่มารบกวนเพราะได้กลิ่นมะนาว
  • แก้พิษจากการโดนงูกัด
  • ถ้าก้างปลาติดคอ ให้นำน้ำมะนาว 1 ลูก เติมเกลือ ใส่น้ำตาลเล็กน้อย แล้วกลืนลงไปให้ตรงกับบริเวณที่ก้างติดคอ อมไว้สักครู่แล้วค่อย ๆ กลืน ก้างปลาจะอ่อนตัวลงแล้วหลุดลงไปในกระเพาะ
  • แก้เล็บขบ ส้นเท้าแตก ขาลาย
  • ลบรอยเปื้อนหมึก หรือรอยเตารีด บนเสื้อผ้าได้

มะนาว นิยมใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรคและนิยมนำมาปรุงรสอาหารให้รสเปรี้ยว สรรพคุณของมะนาว ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ช่วยแก้อาเจียน ช่วยรักษาสมดุลโรคความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร แก้โรคตาแดง แก้ไข้ บำรุงเลือด รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้ไอ ช่วยบรรเทาอาการเสียบแหบแห้ง บำรุงเหงือก ช่วยรักษาท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้อาการท้องร่วง ช่วยการขับพยาธิไส้เดือน เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยรักษาโรคกระเพาะ แก้อาการบิด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคนิ่ว ช่วยบำรุงโลหิต รักษาโรคผิวหนัง ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

สายพันธ์มะนาว

พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย มะนาวที่นิยมปลูกในเมืองไทย มี 4 พันธุ์ ประกอบด้วย มะนาวไข่ มะนาวแป้น มะนาวแป้นรำไพ และมะนาวหนัง ซึ่งมะนาวถือเป็นผลไม้ ที่มีกรดอินทรีย์หลายชนิด ประกอบด้วยกรดซิตริก กรดมาลิค และไวตามินซี นอกจากนี้แล้ว น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากผิวมะนาว มีวิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียมและฟอสฟอรัสอีกด้วย

  • มะนาวไข่ ผลกลม หัวท้ายยาว มีสีอ่อนคล้ายไข่เป็ด ขนาด 2-3 เซนติเมตร เปลือกบาง
  • มะนาวแป้น ผลใหญ่ ค่อนข้างกลมแป้น เปลือกบาง มีน้ำมาก นิยมใช้บริโภคมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ ในเชิงพาณิชย์จะปลูก มะนาวพันธุ์แป้นรำไพและพันธุ์แป้นดกพิเศษ สามารถบังคับให้ออกฤดูแล้งได้ง่าย[1]
  • มะนาวหนัง ผลอ่อนกลมยาวหัวท้ายแหลม เมื่อโตเต็มที่ผลจะมีลักษณะกลมค่อนข้างยาว มีเปลือกหนา ทำให้เก็บรักษาผลได้นาน
  • มะนาวทราย ทรงพุ่มสวยใช้เป็นไม้ประดับ ให้ผลตลอดปีแต่ไม่ค่อยนิยมบริโภค เพราะน้ำมีรสขมเจือปน

ลักษณะของต้นมะนาว

ต้นมะนาว เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถขยายพันธ์ได้โดยการปักชำ ทาบกิ่ง และ การเพาะเมล็ดพันธ์ุ ต้นมะนาวมีหลากหลายสายพันธ์ุ ซึ่งมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน สำหรับ ลักษณะของต้นมะนาว มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นของมะนาว ลักษณะเป็นไม้พุ่ม มีความสูงประมาณ 2 เมตร เปลือกของลำต้นมีสอง สี เปลือกอ่อนสีเขียว เปลือกแก่มีสีน้ำตาล ลำต้นมีหนามแหลมคม ซึ่งหนามมักอยู่ตามซอกใบ
  • ใบมะนาว เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันตามกิ่งก้านของลำต้น ใบมีลักษณะรี ผิวใบเรียบ มันวาว สีเขียวสด ปลายใบแหลม
  • ดอกมะนาว ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ดอกออกเป็นช่อ มีสีขาว คล้ายรูปทรงกระบอก
  • ผลมะนาว พัฒนามาจากดอกมะนาว ผลสดมะนาวมีลักษณะกลม ผิวเรียบ มีสีเขียว ภายในผลชุ่มน้ำ ผิวเปลือกของมะนาวมีต่อมน้ำมันที่ผิว
  • เมล็ดมะนาว ลักษณะของเมล็ดคลายหยดน้ำ ปลายเมล็ดแหลม มีรสขม เมล็ดของมะนาวอยู่ในผลมะนาว ซึ่งเมล็ดสามารถนำไปขยายพันธุ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของมะนาว

สำหรับการบริโภคมะนาวเป็นอาหาร ใช้ประโยชน์จากผลมานาว ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะนาว ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงานมากถึง 30 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.5 กรัม น้ำตาล 1.7 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.7 กรัม วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.217 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.046 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 8 ไมโครกรัม วิตามินซี 29.1 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 33 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 6 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 102 มิลลิกรัม และธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม

เปลือกของมะนาวมีน้ำมันหอมระเหย ให้กลิ่นหอมสดชื่น ซึ่งน้ำมันหอมระเหยของมะนาว มีส่วนประกอบของ สารซิโตรเนลลัล ( Citronellal ) ซิโครเนลลิล อะซีเตต ( Citronellyl Acetate ) ไลโมนีน ( Limonene ) ไลนาลูล ( Linalool ) เทอร์พีนีออล ( Terpeneol ) รวมทั้งมีกรดซิตริค ( Citric Acid ) กรดมาลิก ( Malic Acid ) และกรดแอสคอร์บิก  ( Ascorbic Acid ) ซึ่งถือเป็นกรดผลไม้ (AHA : Alpha Hydroxy Acids) กลุ่มหนึ่ง เป็นที่ยอมรับว่าช่วยให้ผิวหน้าที่เสื่อมสภาพหลุดลอกออกไป พร้อม ๆ กับช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ ๆ ช่วยให้รอยด่างดำหรือรอยแผลเป็นจางลง

สรรพคุณของมะนาว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะนาวนิยมใช้ประโยชน์จากผลมะนาวในการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ซึ่ง สรรพคุณของมะนาว ประกอบด้วย

  • ใบมะนาว สามารถแก้ไอ ช่วยฆ่าเชื้อโรคในลำคอ ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการเวียนหัว รักษาไข้ทับระดู ช่วยบำรุงเลือด
  • รากมะนาว สามารถช่วยฆ่าเชื้อโรคในลำคอ แก้อาการเวียนหัว ช่วยขับปัสสาวะ แก้ไอ รักษาไข้ทับระดู ช่วยบำรุงเลือด
  • เปลือกผลมะนาว สามารถแก้เวียนหัว รักษาหูด ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
  • น้ำมะนาว สามารถ แก้ปวดท้อง แก้ท้องร่วง ช่วยขับพยาธิไส้เดือน ช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคนิ่ว รักษาอาการระดูขาว ช่วยรักษาอาการลิ้นเป็นฝ้า ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปาก ช่วยลดอาการเหงือกบวม ช่วยบรรเทาอาการคอแห้ง ช่วยขับเสมหะ เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยการเจริญอาหาร รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาเลือดออกตามไรฟัน ช่วยบำรุงโลหิต รักษาโรคโลหิจาง แก้โรคเหน็บชา รักษาอาการร้อนใน ช่วยบำรุงกำลัง บรรเทาอาการอ่อนเพลีย ช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อ รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคกลาก รักษาโรคเกลื้อน รักษาหิด รักษาโรคน้ำกัดเท้า ช่วยรักษาแผล รักษาแผลน้ำร้อนลวก ช่วยบรรเทาอาการคันหนังศีรษะ ช่วยกระตุ้นประสาท
  • น้ำมัันหอมระเหยจากมะนาว ช่วยลดความเครียด ทำให้หลับง่าย ช่วยประตุ้นประสาท ช่วยบรรเทาโรคหอบหืด ทำความสะอาดจมูก

โทษของมะนาว

การใช้ประโยชน์จากมะนาว มีข้อควรระมัดระวังในการใช้ประโยชน์จากมะนาว โทษของมะนาว มีดังนี้

  • น้ำมะนาวมีความเป็นกรด หากสัมผัสเข้ากับผิวหนังอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้
  • สำหรับคนที่มีปัญหาโรคเเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร การรับประทานน้ำมะนาวสดๆ โดยไม่มีการเจือจากให้รสชาติอ่อนลง อาจทำให้เกิดการระคายเครื่องระบบทางเดินอาหารได้ เนื่องจากน้ำมะนาวมีความเป็นกรด
  • กรดจากน้ำมะนาว ทำให้ฟันกัดกร่อนง่าย ไม่ควรอมน้ำมะนาวไว้ในปากนานๆ
  • หากกินเปรี้ยวมากเกิน เป็นอันตรายต่อสุขภาพกระดูกได้

เอกสารอ้างอิง

  1. รศ.สุธาทิพ ภมรประวัติ.มะนาว ลดคลอเรสเตอรอลป้องกันโรคหลอดเลือด.นิตยสารหมอชาวบ้าน.เล่มที่354.คอลัมน์บทความพิเศษ.ตุลาคม.2551.
  2. มะนาว.สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
  3. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. 2536. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. กรุงเทพ ฯ : พิมพ์ครั้งที่ 2, สำนักพิมพ์สุริยบรรณ.
  4. Sethpakdee, R. 1992. Citrus aurantifolia (Christm. & Panzer) Swingle . In: L.P.A. Oyen and Nguyen Xuan Dung (Editors): Plant Resourses of South-East Asia No 2. Edible fruits and nuts. Prosea Foundation, Bogor, Indonesia. pp. 126-128.
  5. รวี เสรฐภักดี.2553.คู่มือประกอบการฝึกอบรมโครงการปลูกมะนาวและการผลิตมะนาวนอกฤดู:การสร้างสวนไม้ผลยุคใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.นครปฐม
  6. ธิราภา แสนเสนา นพดล กิตติวราฤทธิ์ มาลิน จุลศิริ รุ่งระวี เติมศิริฤกษ์กุล. ฤทธิ์ต้านเชื้อและฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของสารสกัดจากผิวผลพืชตระกูลส้ม. โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2536.

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

ซิฟิลิส Syphilis มีตุ่มแดงๆที่อวัยวะเพศ ไม่เจ็บแต่ขอบแผลนูน ต่อมน้ำเหลืองโตแต่กดไม่เจ็บ ตำแหน่งที่พบแผลบ่อย คือ อวัยวะเพศชาย อัณฑะ ทวารหนัก ช่องคลอด ริมฝีปาก แผลจะหายไปเองได้  เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียที่ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ปาก เยื่อบุตา แผลตามร่างกาย ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดตามข้อ ผื่นแดง มีตุ่มแดงๆที่อวัยวะเพศ

ซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรค

โรคซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งเชื้อโรคเข้าสู่เยื่อบุช่องคลอด ท่อปัสสาวะ สามารถติดต่อกันได้ในระยะแรก เพราะว่าในระยะนี้ยังไม่มีอาการให้เห็น และผู้ป่วยจะเริ่มมีหูด ในระยะต่อมา นอกจากการติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ แล้ว ยังพบว่า สามารถติดต่อได้ทางการสัมผัสเชื้อโรคทางการสัมผัสมือ นั่งโถส่วมร่วมกัน ผิวหนังมี่มีแผล และการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก

สาเหตุของโรคซิฟิลิส

  • เชื้อที่เป็นสาเหตุ : เกิดจากเชื้อซิฟิลิส ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า “ทรีโพนีมาพัลลิดุม” (Treponema pallidum) มีลักษณะคล้ายเกลียวสว่าน (Spirochete bacteria) เชื้อชอบอยู่ในที่ที่มีความชื้นและตายได้ง่ายในที่ที่มีความแห้ง และถูกทำลายได้ง่ายด้วยสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ
  • การติดต่อ : สามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิสในระยะที่ 1 และถ้าสัมผัสกับน้ำเหลืองที่ผิวหนังของผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิสในระยะที่ 2 (ระยะออกดอก) ก็จะมีโอกาสที่จะรับเชื้อได้เช่นกัน นอกจากนี้เชื้อยังสามารถติดจากแม่ไปสู่ลูกในขณะตั้งครรภ์โดยผ่านทางรกและในขณะคลอดได้ด้วย ส่วนโรคในระยะที่ 3 มักจะเป็นระยะที่ไม่มีการติดต่อ
    • เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือก เช่น ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก ช่องปาก เยื่อบุตา หรือเข้าผ่านทางรอยถลอกหรือบาดแผลเล็กน้อยที่ผิวหนัง เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายเชื้อจะเข้าสู่กระแสเลือดและไปจับตามอวัยวะต่าง ๆ ทำให้เกิดโรคตามอวัยวะและทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาว
    • เนื่องจากเชื้อซิฟิลิสเป็นเชื้อที่อ่อนแอและตายได้ง่าย ดังนั้น เชื้อจึงไม่สามารถติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัสมือหรือเสื้อผ้า การนั่งโถส้วม การจับลูกบิดประตู การใช้ช้อนส้อม การเล่นในอ่างอาบน้ำหรือสระว่ายน้ำร่วมกัน
  • ระยะฟักตัวของโรค (ตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการ) : ประมาณ 10-90 วัน (โดยเฉลี่ยคือประมาณ 21 วัน)

อาการของผู้ป่วยโรคซิฟิลิส อาการมี 4 ระยะ คือ Primary Secondary Latent และTertiary

  • อาการระยะแรก(Primary Syphilis) ผู้ป่วยจะเป็นแผลที่ริมแผลแข็ง หลังจากนั้นประมาณไม่เกิน 3 เดือนจะมีตุ่มแดงๆเป็นแผลที่อวัยวะเพศ ไม่เจ็บแต่ขอบแผลจะนูน จะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต แต่กดแล้วไม่เจ็บ ตำแหน่งที่พบแผลบ่อย คือ อวัยวะเพศชาย อัณฑะ ทวารหนัก ช่องคลอด และ ริมฝีปาก แผลจะหายไปเองได้ แต่เชื้อโรคจะยังอยู่ในกระแสเลือด ผู้ป่วยต้องตรวจเลือด
  • อาการในระยะที่ 2(Secondary Syphilis) ภายใน 6 เดือน ผู้ป่วยจะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต ปวดตามข้อ จากสาเหตุข้ออักเสบ มีผื่นสีแดงน้ำตาล ตาม มือ เท้าแต่ไม่คัน มีหูดในบริเวณที่อับชื้นของร่างกาย ผื่นสีเทาจะขึ้นบริเวณปาก คอ และปากมดลูก มีอาการผมร่วง มีไข้ คั้นเนื้อคั้นตัว อาการเหล่านี้จะเป็นๆหายๆ
  • อาการในระยะที่ 3 (Latent Stage) ระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่มีอาการของโรคให้เห็น ระยะนี้ผู้ป่วยจะทราบว่าเป็นโรคด้วยการตรวจเลือดเท่านั้น อาการของโรคเหมือนระยะที่สอง
  • อาการในระยะที่ 4 (Late Stage) เชื้อโรคจะเข้าไปทำลายอวัยวะต่างๆของร่างกาย เช่น หัวใจ หลอดเลือด สมอง อาจทำให้ตาบอด และกระดูกหักง่าย ในระยะนี้เป็นระยะที่ไม่มีทางรักษาแล้ว

การตรวจว่าเราติดเชื้อซิฟิลิสหรือไม่ เราสามารถทำได้โดย เอาหนองจากแผลไปตรวจเชื้อ หรือการตรวจเลือด

การรักษาโรคซิฟิลิส

สามารถรักษาได้โดยการให้ยา Penicillin และต้องเข้ารับการตรวจเลือดตามระยะที่หมอกำหนด

  • สำหรับซิฟิลิสในระยะที่ 1 และ 2 แพทย์จะฉีดเบนซาทีนเพนิซิลลิน (Benzathine penicillin) ให้ในขนาด 2.4 ล้านยูนิตเข้ากล้ามเนื้อเพียงครั้งเดียว (สำหรับระยะที่ 2 อาจฉีดซ้ำอีกครั้งในอีก 1 สัปดาห์ต่อมา) แต่ถ้าผู้ป่วยแพ้ยานี้ แพทย์อาจให้รับประทานยาเตตราไซคลีน (Tetracycline) ครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง หรือดอกซีไซคลีน (Doxycycline) ครั้งละ 100 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 15 วัน แต่ถ้ารับประทานยาเตตราไซคลีนไม่ได้ แพทย์จะให้รับประทานยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) ในขนาดเดียวกันแทน นาน 15 วัน
  • สำหรับซิฟิลิสในระยะแฝง (เป็นมานานมากกว่า 2 ปี ตั้งแต่เริ่มเป็นแผลริมแข็ง) หรือแผลซิฟิลิสเรื้อรัง หรือซิฟิลิสเข้าระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular syphilis) แพทย์จะฉีดเบนซาทีนเพนิซิลลิน (Benzathine penicillin) ให้ครั้งละ 2.4 ล้านยูนิตเข้ากล้ามเนื้อ เป็นจำนวน 3 ครั้ง โดยฉีดห่างกันทุก 1 สัปดาห์ แต่ถ้าผู้ป่วยแพ้ยานี้ แพทย์จะให้รับประทานยาเตตราไซคลีน (Tetracycline), ดอกซีไซคลีน (Doxycycline) หรืออิริโทรมัยซิน (Erythromycin) ในขนาดดังกล่าวข้างต้นแทน นาน 30 วัน
  • ในรายที่เป็นซิฟิลิสเข้าระบบประสาท (Neurosyphilis) แพทย์จะให้การรักษาโดยการฉีดเพนิซิลลินจี (Penicillin G) ให้ในขนาด 2-4 ล้านยูนิต เข้าหลอดเลือดดำ ทุก 4 ชั่วโมง นาน 14 วัน แต่ถ้าผู้ป่วยแพ้ยานี้ แพทย์จะให้รับประทานยาดอกซีไซคลีน (Doxycycline) แทน โดยให้รับประทานครั้งละ 300 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง นาน 30 วัน
  • สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคซิฟิลิส แพทย์จะให้การรักษาตามระยะของโรคเหมือนผู้ป่วยทั่วไป ถ้าผู้ป่วยแพ้ยาเพนิซิลลิน แพทย์จะให้รับประทานยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) แทน โดยให้รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง นาน 30 วัน
  • สำหรับซิฟิลิสแต่กำเนิด แพทย์จะให้การรักษาโดยการฉีดเพนิซิลลินจี (Penicillin G) ให้ในขนาดวันละ 50,000 ยูนิต/กิโลกรัม โดยแบ่งให้วันละ 2 ครั้ง นาน 10 วัน

การป้องกันโรคซิฟิลิส

สำหรับการป้องกันโรคซิฟิลิส สามารถทำได้โดย การรักษาสุขอนามัย ป้องกันไม่ให้แผลตามร่างกายติดเชื้อ และใช้ถุงยางอนามัยป้องกันการติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์ วิธีที่ดีที่สุดคือการไม่มีเพศสัมพันธ์ หรือมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนเพียงคนเดียว และทราบผลเลือดของคู่นอนด้วยว่าปกติ ไม่ติดเชื้อ

  • คู่นอนควรจะต้องแจ้งถึงสถานะการติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ รวมทั้งซิฟิลิส เพื่อจะได้ป้องกันการติดเชื้อ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และใช้สารเสพติด เพราะจะทำให้ขาดสติและเพิ่มการมีเพศสัมพันธ์แบบเสี่ยงได้
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิส
  • หลีกเลี่ยงการเที่ยวหรือการสำส่อนทางเพศ และถ้าจะหลับนอนกับคนที่สงสัยว่าเป็นโรค ควรป้องกันการติดเชื้อโดยสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ซึ่งจะช่วยป้องกันได้เกือบ 100%
  • แผลของอวัยวะเพศ เช่น ซิฟิลิส เกิดได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ทั้งที่ถุงยางครอบถึงหรือไม่ถึงได้ การใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซิฟิสได้
  • การใช้ถุงยางอนามัยที่มีสารฆ่าเชื้ออสุจิ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Nonoxynol-9 นั้นไม่ได้ผลดีไปกว่าถุงยางที่ไม่มีสารชนิดนี้ในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงไม่แนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยที่มีสารชนิดนี้เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งซิฟิลิสไม่สามารถป้องกันได้ด้วยการล้างอวัยวะเพศ การปัสสาวะ หรือสวนล้างช่องคลอดทันทีหลังการมีเพศสัมพันธ์
  • ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศและร่างกายอยู่เสมอ รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้ดีโดยการปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและช่วยลดโอกาสการติดเชื้อต่าง ๆ
  • ไปพบแพทย์เสมอเมื่อมีอาการดังกล่าว อย่ารักษาด้วยตัวเอง หรือไปพบแพทย์เมื่อมีความกังวลในอาการหรือสงสัยว่าตนเองอาจติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งรวมถึงซิฟิลิส

ซิฟิลิส ( Syphilis ) ติดเชื้อแบคทีเรียที่ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ปาก เยื่อบุตา แผลตามร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการต่อมน้ำเหลืองโต ปวดตามข้อ ผื่นแดง มีตุ่มแดงๆเป็นแผลที่อวัยวะเพศ เมื่อเชื้อโรคจะเข้าสู่กระแสเลือด สามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนมากมาย โรคซิฟิลิส มี 4 ระยะ คือ Primary Secondary Latent และ Tertiary

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.