โรคพยาธิใบไม้ในตับ ตัวเหลืองตาเหลือง ท้องโต เกิดจากกินปลาดิบ

การกินปลาดิบสาเหตของโรคพยาธิใบไม้ในตับ ทำเกิดอาการท้องอืด ตัวเหลือง ตาเหลือง คันตามตัว ปวดท้องด้านขวาบน ซึ่งพยาธิจะทำให้ตับอักเสบ การรักษาป้องกันโรคทำอย่างไร

พยาธิใบไม้ในตับ โรคพยาธิ โรค

โรคพยาธิใบไม้ตับ เกิดจากการเจริญเติบโตของพยาธิใบไม้ในตับสายพันธุ์โอปิสทอร์คิส วิเวอร์รินี ( Ophisthorchis Viverrini ) อาศัยในร่างกายทำให้เกิดการติดเชื้อที่ท่อน้ำดี ทำให้ท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรัง พยาธิใบไม้ตับเกิดมากกับประชากรไทย ภาคอีสาน ที่นิยมกินปลาดิบ พยาธิใบไม้ในตับสามารถอาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์ได้นานถึง 26 ปี

สาเหตุของโรคพยาธิใบไม้ตับ

สำหรับการติดโรคพยาธิใบไม้ตับ เกิดจากการอาศัยและเจริญเติบโตของพยาธิใบไม้ในตับในร่างกายมนุษย์ และ พยาธิใบไม้ในตับทำให้เกิดการติดเชื้อโรคภายในท่อน้ำดีของตับ ทำให้ตับอักเสบ และ เสียหาย ซึ่งพยาธิใบไม้ในตับจะอาศัยในปลาน้ำจืด เช่น ปลาตะเพียน ปลาซิว ปลาสร้อย ปลาแก้มช้ำ ปลาขาวนา และปลาขาว หรือ ปลาร้า หากรับประทานปลาเหล่านี้โดยไม่ปรุงให้สุกจะทำให้พยาธิใบไม้ในตับเข้าสู่ร่างกายได้

อาการของโรคพยาธิใบไม้ตับ

สำหรับโรคพยาธิใบไม้ในตับ จะแสดงอาการผิดปรกติของโรคที่เกิดจากตับ ซึ่งอาการของโรคจะขึ้นอยู่กับอาการอักเสบของตับว่ามากน้อยเพียงใด

  • ระบบทางเดินอาหารผิดปรกติ เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเสียเรื้อรัง ท้องเสียสลับกับท้องผูก
  • มีอาการปวดหลัง โดยเฉพาะปวดบริเวณท้องด้านขวาบน เจ็บใต้ชายโครงขวา เจ้บใต้ลิ้นปี่
  • มีก้อนตรงท้องด้านขวาบน
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
  • ตาเหลืองตัวเหลือง
  • เบื่ออาหาร
  • มีไข้ต่ำ
  • คันตามตัว
  • แขนขาบวม
  • มีน้ำในท้องมาก หรือ ท้องมาน
  • ปัสสาวะสีเข้ม
  • อุจจาระสีซีด
  • ถุงน้ำดีโตมากจนสามารถคลำเจอได้ด้วยตนเอง

การวินิจฉัยโรคพยาธิใบไม้ตับ

แนวทางการวินิจฉัยโรคพยาธิใบไม้ในตับ นั้นแพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติของผู้ป่วย ตรวจอุจจาระ ตรวจอัลตราซาวด์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

การรักษาพยาธิใบไม้ตับ

แนวทางการรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการผู้ป่วย ว่ามีอาการแทรกซ้อนและอาการติดเชื้อร่วมหรือไม่ ซึ่งการรักษาใช้ยารักษาโรคและการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับดุลย์พินิจของแพทย์ และ ความแข็งแรงของผู้ป่วย รายละเอียด ดังนี้

  • การใช้ยารักษาโรค โดยใช้ยาพราซิควอนเทล และ ยาปฏิชีวนะสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย
  • การผ่าตัด ใช้สำหรับกรณีการเกิดอาการแทรกซ้อนที่ท่อน้ำดีร่วม

นอกจากนั้น การรักษาใช้การรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการของโรค เช่น ยาแก้ปวด ต่อท่อระบายน้ำดี ลดอาการตัวเหลืองตาเหลือง หรือ เจาะน้ำออกจากช่องท้อง เป็นต้น

การป้องกันพยาธิใบไม้ตับ

แนวทางการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในตับ คือ การป้องกันพยาธิเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งปลาน้ำจืดเป็นพาหะนำโรค แนวทางการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในตับ มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุกก่อน โดยเฉพาะ ปลาน้ำจืด และ ปลาร้า
  • หมั่นตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ

โรคพยาธิใบไม้ในตับ สาเหตุเกิดจากการกินปลาดิบ ทำเกิดอาการ เช่น ท้องอืด ตัวเหลือง ตาเหลือง คันตามตัว ปวดท้องด้านขวาบน เมื่อพยาธิเข้าสู่ร่างกายทำให้ตับอักเสบ การรักษาและแนวทางการป้องกันโรค ทำอย่างไร

Last Updated on January 16, 2024