โรคตา ดวงตาและสายตาผิดปรกติ ลักษณะอาการต่างๆเกิดจากอะไรบ้าง

โรคตา โรคเกี่ยวกับดวงตา เช่น ต้อหิน เบาหวานขึ้นตา ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม ตาแห้ง เป็นต้น การดูแลสุขภาพดวงตาต้องทำอย่างไร ลักษณะอาการ การรักษาและการป้องกัน

โรคตา โรคสายตา โรคหนังตา โรคเกี่ยวกับตา

ดวงตา เป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มาก โรคที่เกี่ยวกับดวงตาและสายตา ถึงจะไม่ทำให้เสียชีวิตแต่ไม่มีใครต้องการมีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา ซึ่งโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของตาบางครั้งไม่แสดงอาการในระยะแรก และ แสดงอาการรุนแรงในระยะที่รักษายากไปแล้ว ดังนั้น การใส่ใจดูแลสุขภาพดวงตาอย่างสม่ำเสมอจึงช่วยลดปัจจัยการเกิดโรคที่ดวงตาได้

โรคตาEye Disease )  คือ ความผิดปรกติของดวงตา อันส่งผลต่อสมรรถภาพทางตามีปัญหา ซึ่งอวัยวะเกี่ยวกับดวงตา ประกอบด้วย เยื่อบุตา ( conjunctiva ) กระจกตา ( cornea ) ม่านตา ( iris )  รูม่านตา ( pupil ) ตาขาว ( sclera ) เลนส์แก้วตา ( lens ) จอประสาทตา ( retina ) ขั้วประสาทตา ( optic disc ) เส้นประสาทตา ( optic nerve ) วุ้นตา ( vitreous body ) และ กล้ามเนื้อตา ( extraocular muscles ) ส่วนประกอบของดวงตาเหล่านี้มีความสำคัญต่อการดำรงค์ชีวิตสูงมาก

เรารวบรวมโรคทั้งหมดที่เกี่ยวกับโรคตาให้เพื่อนๆได้รู้เท่าทันโรคตา ทั้งหลาย โรคตาแบ่งตามสาเหตุ ได้แก่ ความผิดปกติมาแต่กำเนิด การอักเสบ อันตรายจากภายนอก การเสื่อมของอวัยวะ เนื้องอก และโรคตาที่พบร่วมกับโรคของร่างกายทั่วไป

โรคตาบอดสี ตาบอดสี โรคตา โรคไม่ติดต่อ ตาบอดสี 
ต้อหิน โรคตา ทำให้ตาบอด โรคต่างๆ
 โรคต้อหิน
โรคต้อกระจก โรคตา โรคไม่ติดต่อ การรักษาต้อกระจก ต้อกระจก
โรคตาแดง โรคเยื่อบุตาขาวอักเสบ โรคตา โรคติดเชื้อ โรคตาแดง
โรคตาแห้ง โรคตา โรคไม่ติดต่อ ไม่มีน้ำตา โรคตาแห้ง
ตากุ้งยิง โรคต่างๆ โรคตา โรคตากุ้งยิง
เลือดออกในวุ้นตา โรคตา สายตาพร่ามัว โรคต่างๆ เลือดออกในวุ้นตา
จอประสาทตาลอก โรคตา มองเห็นเป็นแสงแฟรช โรคการมองเห็น จอประสาทตาลอก
เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง โรคตา โรคติดเชื้อ เยื่อบุตาอักเสบ
เบาหวานขึ้นตา โรคตา โรคไม่ติดต่อ โรคจากเบาหวาน
 เบาหวานขึ้นตา
ต้อเนื้อ ต้อลม โรคตา ตาต้อ ต้อเนื้อ ต้อลม
ริดสีดวงตา โรคตา ตาติดเชื้อ ริดสีดวงตา
ตาเหล่ ตาเข โรคตา โรคไม่ติดต่อ ตาเหล่
พังผืดที่จอตา โรคตา โรคไม่ติดต่อ มองภาพไม่ชัด พังผืดที่จอตา

ระบบการมองเห็นของสิ่งมีชีวิต

ระบบการเห็น หรือ ระบบประสาทการมองเห็น หรือ ระบบสายตา ภาษาอังกฤษเรียก visual system เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทกลาง การมองเห็นทำให้เกิดการรับรู้ และการตอบสนอง ระบบการมองเห็นเป็นระบบที่สามารถตรวจจับและแปลผลข้อมูลแสง ระบบการเห็นทำหน้าที่ที่ซับซ้อนหลายอย่าง อาทิเช่น การรับแสงและการสร้างรูปแบบจำลอง การสร้างการรับรู้ การจำและการจำแนกประเภทของวัตถุ การประเมินระยะทาง การนำการเคลื่อนไหวของร่างกาย

ระบบการมองเห็นของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีความซับซ้อนเหมือนกัน ซึ่งระบบการมองเห็นสามารถแบ่งออกเป็น ตา
เส้นประสาทตา (Optic nerve) ส่วนไขว้ประสาทตา (Optic chiasma) ลำเส้นใยประสาทตา (Optic tract) นิวเคลียสงอคล้ายเข่าด้านข้าง (Lateral geniculate nucleus) ส่วนแผ่ประสาทตา (Optic radiation) คอร์เทกซ์สายตา (Visual cortex)และคอร์เทกซ์สายตาสัมพันธ์ (Visual association cortex)

ตา คือ ส่วนรับแสงสะท้อนของร่างกาย ทำให้สามารถมองเห็นและรับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้ ตาของสัตว์ต่างๆ มีรูปแบบที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นตาของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์น้ำ

ตา คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่รับแสง โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีอวัยวะรับแสงที่แตกต่างกัน ตาที่เรียบง่ายที่สุดจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยเว้นแต่การรับรู้ว่าสิ่งแวดล้อมนั้นมืดหรือสว่างเพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ เช่น กลางวันหรือกลางคืน เป็นต้น แต่จะไม่สามารถรับรู้ออกมาเป็นภาพได้ ตาที่ซับซ้อนกว่าจะมีรูปทรงและสีที่เป็นเอกลักษณ์ ในระบบตาที่ซับซ้อน ตาแต่ละดวงจะสามารถรับภาพที่มีบริเวณที่ซ้อนทับกันได้ เพื่อให้สมองสามารถรับรู้ถึงความลึก หรือ ความเป็นสามมิติของภาพ เช่น ระบบตาของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ตาของสัตว์บางชนิด เช่น กระต่ายและกิ้งก่า ได้ถูกออกแบบมาให้มีส่วนของภาพที่ซ้อนทับกันน้อยที่สุด

ความเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดโรคในอวัยวะของดวงตา

สำหรับอวัยวะของดวงตามีความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ทุกส่วนของอวัยวะ ซึ่งความเสี่ยงต่อการเกิดโรค มีดังนี้

เยื่อบุตา ( conjunctiva ) คือ เนื้อเยื่อที่บุอยู่ด้านในของเปลือกตาและคลุมส่วนของตาขาว ยกเว้นตาดำหรือกระจกตา ทำหน้าที่หล่อลื่นดวงตาด้วยการผลิตเมือกและน้ำตา ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคผ่านเข้าสู่ดวงตา ความเสี่ยงที่เกิดโรคจากเยื่อบุตา ได้แก่ โรคเยื่อบุตาอักเสบ ต้อลม ต้อเนื้อ และ ตาแห้ง

กระจกตา ( cornea ) หรือ ตาดำ คือ เนื้อเยื่อใสไม่มีสี ลักษณะโค้งอยู่ด้านหน้าสุดของลูกตาก่อนถึงม่านตา ทำหน้าที่หักเหแสงร่วมกับเลนส์แก้วตา เพื่อให้เกิดการมองเห็น โรคของกระจกตาที่พบบ่อย ได้แก่ ภาวะสายตาผิดปกติ กระจกตาติดเชื้อ กระจกตาเป็นแผล และ โรคกระจกตาเสื่อม เป็นต้น

ม่านตา ( iris ) คือ เนื้อเยื่อบางๆรูปร่างกลมอยู่ด้านหลังกระจกตาและอยู่ด้านหน้าของเลนส์แก้วตา ตรงกลางมีรู เรียกว่า รูม่านตา ( pupil ) ทำหน้าที่ควบคุมขนาดของรูม่านตาด้วยการปรับหดและขยาย เพื่อให้แสงผ่านไปยังจอตาได้อย่างพอเหมาะ โรคของม่านตาที่พบบ่อย ได้แก่ ภาวะม่านตาอักเสบ เป็นต้น

ตาขาว ( sclera ) คือ ผนังชั้นนอกสีขาวขุ่นที่ล้อมรอบกระจกตา ประกอบด้วยเนื้อเยื่อหลายชนิดที่ไม่มีหลอดเลือดมาเลี้ยง ทำหน้าที่ห่อหุ้มและปกป้องเนื้อเยื่อภายในลูกตา และยังเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อตาที่คอยควบคุมการเคลื่อนไหวของลูกตา โรคของส่วนตาขาวที่พบบ่อย ได้แก่ ภาวะตัวเหลืองตาเหลืองจากไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้น

เลนส์แก้วตา ( lens ) คือ อวัยวะลักษณะนูนใสคล้ายวุ้นวางอยู่หลังม่านตา ทำหน้าที่ร่วมกับกระจกตาในการหักเหแสงจากวัตถุไปยังจุดรวมแสงที่จอตาเพื่อให้เกิดการมองเห็น โรคที่พบบ่อยของเลนส์แก้วตา ได้แก่ โรคต้อกระจก  เป็นต้น

จอประสาทตา ( retina ) คือ ส่วนประกอบของดวงตาที่อยู่บริเวณด้านในสุด ลักษณะเป็นเนื้อเยื่อบางๆ ประกอบไปด้วยเซลล์รับภาพจำนวนมาก ในภาวะที่จอประสาทตาปกติ แสงที่ผ่านเข้ามาแล้วหักเหผ่านเลนส์ตาจะตกกระทบที่จอตาพอดี ทำให้ภาพที่มองเห็นมีความคมชัด โรคของจอประสาทตา ได้แก่ โรคจอประสาทตาเสื่อม เบาหวานขึ้นจอประสาทตา โรคจอประสาทตาเสื่อมจากพยาธิ เป้นต้น

ขั้วประสาทตา ( optic disc ) คือ จุดเริ่มต้นของเส้นประสาทตาที่เชื่อมไปสู่สมอง อยู่บริเวณท้ายสุดของลูกตา ลักษณะคล้ายท่อ โรคบริเวณขั้วประสาทตา ได้แก่ ต้อหิน เป็นต้น

เส้นประสาทตา ( optic nerve ) คือ เส้นประสาทที่ทำหน้าที่รับภาพจากจอตา เพื่อไปแปลผลที่สมองส่วนควบคุมการมองเห็นที่อยู่บริเวณท้ายทอย โรคของเส้นประสาทตาที่พบมากที่สุด ได้แก่ โรคเส้นประสาทตาอักเสบ เป็นต้น

วุ้นตา ( vitreous body ) คือ เจลใสคล้ายไข่ขาวอยู่หลังเลนส์แก้วตาและยึดติดกับจอตา เป็นทางผ่านของแสงไปสู่จอตาเพื่อให้มองเห็นภาพได้ โรคของวุ้นตาที่พบได้บ่อย ได้แก่ ภาวะวุ้นตาเสื่อม เป็นต้น

กล้ามเนื้อตา ( extraocular muscles ) ดวงตาแต่ละข้างมีกล้ามเนื้อตา 6 มัด ทำงานร่วมกัน เพื่อให้ลูกตาสามารถเคลื่อนไหวไปมาในช่องกระบอกตาได้ โรคที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อตา ได้แก่ ตาเข ตาส่อน เป็นต้น

โรคตา บางโรคจะพบเมื่ออายุมากขึ้น ควรตรวจตาสม่ำเสมออย่างน้อยปีละครั้ง ปัจจุบันมีโรงพยาบาลเฉพาะทางเพื่อรักษาโรคตาและสภาวะ ผิดปกติ เกี่ยวกับดวงตาให้กับประชาชน โรคตาแบ่งตามสาเหตุ ได้แก่ ความผิดปกติมาแต่กำเนิด การอักเสบ อันตรายจากภายนอก การเสื่อมของอวัยวะ เนื้องอก และโรคตาที่พบร่วมกับโรคของร่างกายทั่วไป โรคตานั้นมี ความรุนแรงหลายระดับหนักที่สุด คือ ตาบอดมองไม่เห็นอะไรเลย

รวมความรู้ เกี่ยวกับโรคตา โรคตามีอะไรบ้าง โรคตาป้องกันอย่างไร โรคตารักษาอย่างไร โรคตา เช่น ต้อหิน เบาหวานขึ้นตา ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม  สายตายาว สายตาสั้น โรคตา สุขภาพดวงตา

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก