จอประสาทตาลอก อาการมองเห็นแสงแฟลช อาการมองเห็นเป็นจุดสีดำ

จอประสาทตาลอก Retina detachment จอประสาทเกิดรูหรือฉีกขาดจากการดึงรั้งของผังผืดหรือการอักเสบ ทำให้มีน้ำเซาะจนทำให้จอประสาทตาหลุดลอก ส่งผลต่อการมองเห็นภาพผิดปรกติ

จอประสาทตาลอก โรคตา มองเห็นเป็นแสงแฟรช โรคการมองเห็น

ภาวะจอประสาทตาลอก ภาษาอังกฤษ เรียก Retina detachment เกิดจากรูหรือรอยฉีกขาดจากการดึงรั้งของผังผืด ทำให้เกิดการอักเสบจนทำให้มีน้ำเซาะจนทำให้จอประสาทหลุดลอก จอประสาทตาลอก การแยกตัวของจอประสาทตาออกจากตำแหน่งเดิม ทำให้เกิดอาการเห็นแสงเหมือนฟ้าแลบหรือแสงแฟลช มองเห็นจุดดำ คล้ายหยักไย่ ร่วมถึงอาหารสายตาพล่ามัว มักเกิดจากสาเหตุของการเสื่อมของดวงตาตามอายุ โดยเฉพาะคนที่อายุ 50 ปี ขึ้นไป

สาเหตุของจอประสาทตาลอก

จอประสาทตาลอก สามารแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 3 ชนิด คือ จอประสาทตาลอกจากรูหรือรอยฉีกขา จอประสาทตาลอกจากการดึงรี่ง และ จอประสาทตาลอกจากสาเหตุอื่นๆ โดยรายละเอียด มีดังนี้

  1. จอประสาทตาลอกจากรู หรือ รอยฉีกขาด ( rhegmatogenous retinal detachment ) มักเกิดจากอุบัติเหตุทำให้มีการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงที่ดวงตา เกิดอาการจอประสาทตาเสื่อมในคนที่มีสายตาสั้น
  2. จอประสาทตาลอกจากการดึงรั้งtractional retinal detachment ) เกิดจากพังผืดที่จอประสาทตาดึงรั้งหรือจอประสาทตาหลุดลอกจากน้ำในวุ้นตาทำให้หลุด
  3. จอประสาทตาลอกจากสาเหตุอื่นๆ ( Exudative ) การอักเสบ หรืออุบัติเหตุ ส่งผลให้มีน้ำรั่วซึมและขังอยู่ใต้จอประสาทตา พบได้ในคนที่มีเนื้องอกที่จอประสาทตา ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมากกว่าปรกติ หรือภาวะไตวาย เป็นต้น

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลอกของประสาทตา

บุคคลที่มีความเสี่ยงเป็นโรคจอประสาทตาลอก คือ คนสายตาสั้นมาก คนที่เคยมีจอประสาทตาลอกมาก่อน พันธุกรรม คนที่ผ่านการผ่าตัดต้อกระจก คนที่เคยเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตา เราสามารถแยกถึงปัจจัยของการเกิดการลอกของประสาทตา ได้ดังนี้

  • อายุที่มากขึ้น เกิดการเสื่อมของตา โดยเกิดน้ำวุ้นลูกตาด้านหลังเสื่อมตามอายุ โดยเกิดการหดตัวและลอกของจอตา
  • คนที่มีสายตาสั้นมาก คนที่สายตาสั้นมากจะมีอาการเสื่อมของน้ำวุ้นลูกตา จนเกิดการฉีกขาดของจอประสาทตาได้ง่าย
  • คนที่เคยมีประวัติการลอกของจอประสาทตามาก่อนแล้ว
  • คนที่คนในครอบครัวเคยมีประวัติการลอกของจอประสาทตา
  • อาการติดเชื้อหรืออักเสบของลูกตา
  • การเกิดเนื้องอกภายในลูกตา
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากโรคจอประสาทตาเป็นโรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
  • การเกิดอุบัติเหตุกระทบกระเทือนที่ตาอย่างรุนแรง

อาการของจอประสาทตาลอก

การแสดงอาหารของผู้ป่วยภาวะจอประสาทตาลอก คือ มองเห็นจุดดำลอยไปมาและเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ มองเห็นแสงคล้ายแสงแฟรช มองเห็นภาพบางส่วนไม่ครบ เป็นต้น โดยเราสามารถแยกรายละเอียดเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  • มองเห็นแสงแฟลชหรือแสงฟ้าแลบ
  • ลักษณะในการมองเห็นเหมือนมีสิ่งปิดบังอยู่
  • มองเห็นจุดสีดำ หรือ ภาพใยแมงมุม
  • การมองเห็นไม่มีประสิทธิภาพ ลักษณะพล่ามัว

การรักษาจอประสาทตาลอก 

สำหรับ การรักษาจอประสาทตาลอก นั้นสามารถทำได้โดยการยิงเลเซอร์บริเวณรอยขาด หากพบมีการลอกขาดของจอประสาทตาแล้ว แพทย์จพรักษาโดยฉีดก๊าซเข้าไปในตา จากนั้นทำการการผ่าตัดหนุนจอประสาทตาและผ่าตัดน้ำวุ้นในตา ทั้งนี้ขึ้นกับอาการ

  • การรักษาจอประสาทตาลอกในกรณีที่ จอประสาทตาฉีกขาด สามารถรักษาด้วยการใช้แสงเลเซอร์ยิงเพื่อปิดรูที่ฉีกขาด หรือ ใช้วิธีจี้ด้วยความเย็น ( Cryotherapy ) รอบ ๆ รอยฉีกขาดของจอประสาทตา
  • การผ่าตัดจอประสาทตาลอก มีวิธีการผ่าตัดอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย โดยรายละเอียดการผ่าตัดมีดังนี้
    • การฉีดก๊าซเข้าไปในตา เรียกPneumatic retinopexy ใช้การฉีดก๊าซเข้าไปในช่องน้ำวุ้นลูกตาเพื่อดันให้จอประสาทตาที่หลุดลอกกลับเข้าไปติดที่เดิม
    • การผ่าตัดหนุนจอประสาทตา เรียก Scleral buckling ใช้ยางเพื่อหนุนตาขาวให้เข้าไปติดจอประสาทตาที่หลุดลอก
    • การผ่าตัดน้ำวุ้นลูกตา เรียก Pars plana vitrectomy เป็นการตัดน้ำวุ้นลูกตาที่ดึงรั้งจอประสาทตาให้ฉีกขาดออก

การป้องกันการลอกของจอประสาทตา

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดภาวะจอประสาทตาลอก สามารถป้องกันจากการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่สามารถควบคุมได้ มีคำแนะนำ ดังนี้

  • หากเกิดความผิดปรกติที่ดวงตา หรือ ดวงตาถูกประแทกอย่างรุนแรงให้เข้ารับการตรวจดวงตาอย่างละเอียด เพื่อรักษาอย่างทันท่วงที
  • หากมีอาการมองเห็นแสงไฟคล้ายฟ้าแลบ หรือ เห็นเหมือนแสงแฟลช อาจเป็นสัญญาณเตือนภาวะจอประสาทตาลอก ควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจจอประสาทตาทันที
  • ระมัดระวังการเกิดอุบัตติเหตุการกระแทกกับดวงตาอย่างรุนแรง
  • หลีกเลี่ยงการกิจกรรมต่างๆที่เป็นอันตรายต่อดวงตา
  • หากต้องทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตา ให้ใส่เครื่องป้องกันดวงตา

จอประสาทตาลอกRetina detachment ) เกิดรูหรือการฉีกขาด สาเหตุจากการดึงรั้งของผังผืด หรือ การอักเสบ ทำให้มีน้ำเซาะจนทำให้จอประสาทตาหลุดลอก ทำให้ส่งผลต่อการมองเห็นภาพผิดปรกติ

Last Updated on March 17, 2021