ริดสีดวงตา ปวดเจ็บหนังตา แมลงวันตอมตาทำให้ติดเชื้อโรคที่ตา

ริดสีดวงตา ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่หนังตา ทำให้เกิดตุ่มเล็กๆใต้หนังตา หากไม่รักษาทำให้ตาบอดได้ สามารถเกิดได้ในทุกเพศ ทุกวัย พบในเพศหญิงสูงกว่าเพศชายมาถึง 2 เท่า

ริดสีดวงตา ตาติดเชื้อ โรคตา โรคติดเชื้อ

ริดสีดวงตา ( Trachoma ) คือ โรคเกี่ยวกับอวัยวะดวงตา เกิดจากการอักเสบที่หนังตาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ตาอักเสบเรื้อรัง พบบ่อยในพื้นแห้งแล้ง ทุรกันดารที่มีฝุ่นมาก หรือ มีแมลงวันชุกชุม การอักเสบของหนังตาส่งผลต่อ เปลือกตา ขนตา เยื่อบุตา กระจกตา รวมถึงทางเดินของน้ำตา ซี่งสามารถเกิดขึ้นได้กับตาทั้งสองข้าง สามารถติดต่อได้จากการสัมผัส การสัมผัสขี้ตา หรือ สารคัดหลั่งจากตา ลำคอ และ จมูก ได้

สาเหตุของโรคริดสีดวงตา

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคริดสีดวงตาเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ Chlamydia trachomatis ซึ่งเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค มี 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม Trachomatis กลุ่ม Chlamydia pneumoniae และ กลุ่ม Chlamydia psittaci ซึ่งการติดต่อจากเชื้อโรคสู่คนเกิดจากการสัมผัสเชื้อโรคทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งเกิดจากการสัมผัสขี้ตาหรือสารคัดหลั่ง การติดต่อผ่านทางแมลงวัน หรือ เกิดจากการใช้ของร่วมกับผู้มีเชื้อโรค เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว รวมไปถึงการว่ายน้ำในแหล่งน้ำเดียว เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคริดสีดวงตาที่สำคัญ คือ สภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขอนามัย สภาพแวดล้อมแออัด ใช้น้ำสะอาด การใช้อุปกรณ์อุปโภคบริโภคที่ไม่สะอาด แมลงวัน

อาการของโรคริดสีดวงตา

สำหรับอาการของผู้ติดเชื้อแบคทีเรียที่ดวงตา ผู้ป่วยจะเริ่มจากตาแดง น้ำตาไหล และมีขี้ตามาก เมื่อเปิดดูที่หนังตาด้านในจะพบตุ่มเล็กๆ เราเรียกตุ่มเล็กๆใต้หนังตาว่า Follicle การติดเชื้อซ้ำบ่อยๆจะมีผลทำให้เกิดอาการอักเสบของเปลือกตา เกิดพังผืดดึงรั้งจนเกิดแผลที่บริเวณเปลือกตา และสาเหตุนี้เป็นต้นเหตุขนตาชี้ลงจนบาดกระจกตา ผู้ป่วยที่เป็นริดสีดวงที่ตาจึงพบอาการเจ็บตาและเคืองดวงตามากขึ้น และจะมีขี้ตามาก และจะลามไปถึงดวงตาทำให้เกิดฝ้าขาวที่กระจกตาได้ ระยะของอาการโรคริดสีดวงตา สามารถแบ่งได้ 3 ระยะ คือ ระยะริดสีดวงแน่นอน ระยะเริ่มเป็นแผลเป็น และ ระยะหายและเป็นแผลเป็น รายละเอียดของระยะการเกิดโรค มีดังนี้

  • ระยะที่เป็นริดสีดวง อาการอักเสบจะน้อยลง ถ้าพลิกเปลือกตาดู จะเห็นเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีเหลือง นอกจากนี้ ส่วนบนสุดของตาดำ จะมีหลอดเลือดฝอยวิ่งเข้าไปในตาดำ เป็นลักษณะเฉพาะของโรคริดสีดวงตา เพราะ ปกติคนเราจะไม่มีหลอดเลือดฝอยจากเยื่อบุตาเข้าสู่ตาดำเลย ในระยะนี้ และหากไม่รับการรักษา ก็จะเข้าสู่ระยะที่ 3
  • ระยะเริ่มเป็นแผลเป็น ระยะนี้จะมีอาการเคืองตา แต่แทบจะไม่มีอาการอะไรเลย ส่วนตุ่มเล็ก ๆ ที่เยื่อบุเปลือกตา ก็ค่อย ๆ ยุบและหายไป แต่จะเกิดพังผืดจนกลายเป็นแผลเป็น ส่วน แพนนัส ที่ตาดำ ก็ยังเห็นอยู่เช่นเดิม ในระยะนี้การใช้ยารักษาจะไม่ค่อยได้ผล
  • ระยะหายและเป็นแผลเป็น ระยะนี้เชื้อจะหายไปหมด ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะไม่รักษาก็ตาม และ แพนนัส ก็ค่อย ๆ หายไป แต่จะเกอดภาวะแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อและอักเสบบ่อย

การรักษาริดสีดวงตา

สามารถแนวทางการรักษาริดสีดวงตา สามารถรักษาด้วยการรับประทานยา การใช้ยาปฏิชีวนะ และ การผ่าตัด โรคนี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา ไม่ควรรักษาเอง ถ้าให้ยาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นใน 2 สัปดาห์ แพทย์อาจทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น การเพาะเชื้อคลามีเดียในเซลล์ การขูดเยื่อบุตาย้อมส่วนด้วย Geimsa stain หรือ Immunofluorescein เป็นต้น และ รักษาต่อไป ในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น อาจต้องผ่าตัดแก้ไขเปลือกตา ที่เป็นแผลเป็น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของภาวะแทรกซ้อน หรือ อาจต้องผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา

การป้องกันโรคริดสีดวงตา

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคต้องป้องกันจากสาเหตุของโรค คือ เชื้อแบคทีเรีย การป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย จะช่วยให้สามารถป้องกันโรคได้ รายละเอียดดังนี้

  1. รักษาความสะอาดของใบหน้าเสมอ โดยเฉพาะในเด็กๆเพื่อป้องกันไม่ให้แมลงตอมตา ซึ่งเป็นทางติดต่อและแพร่กระจายโรคได้ทางหนึ่ง
  2. กำจัดแมลงวัน โดยการกำจัดขยะให้ถูกวิธี และไม่ทิ้งขยะใกล้บ้าน
  3. ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว
  4. ใช้น้ำสะอาด และมีน้ำสะอาดใช้อย่างเพียงพอในกิจวัตรส่วนตัว
  5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  6. พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  7. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

Last Updated on March 25, 2023