ส้มแขก สมุนไพร สรรพคุณของส้มแขกมีอะไรบ้าง

ส้มแขก Garcinia นิยมนำผลส้มแขกมาทำยาสมุนไพร ขับเสมหะ ลดความดัน รักษาเบาหวาน บำรุงเลือด ฟอกเลือด ช่วยเจริญอาหาร ทำความรู้จักกับส้มแขกอย่างละเอียด

ส้มแขก สมุนไพร

ส้มแขก ภาษาอังกฤษ เรียก Garcinia ชื่อวิทยาศาสตร์ของส้มแขก คือ Garcinia atroviridis Griff. ex T.Anderson ส้มแขกเป็นพืชตระกลูเดียวกับมังคุด  สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของส้มแขก เช่น ชะมวงช้าง ส้มควาย อาแซกะลูโก ส้มพะงุน ส้มมะอ้น ส้มมะวน มะขามแขก เป็นต้น

ส้มแขกเป็นพืชท้องถิ่นของอินเดียและศรีลังกา และในประเทศไทยนิยมปลูกในภาคใต้ เนื่องจาก ส้มแขก มีรสเปรี้ยว นิยมนำมาทำส่วนประกอบในการทำ แกงส้ม แกงเลียง ต้มเนื้อ ต้มปลา เป็นต้น

ประโยชน์ของส้มแขก ใบส้มแขก ใบแก่นำมาทำเป็นชา ผลสดนำมาปรุงรสอาหารให้รสเปรี้ยว ลำต้นส้มแขกแก่ๆ สามารถนำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ หรือทำเป็นไม้แปรรูปใช้ในการก่อสร้างได้ นอกจากนั้นสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างหลากหลาย เช่น ชาส้มแขก น้ำส้มแขก ส้มแขกกวน แคปซูลส้มแขก เป็นต้น ส้มแขกนำมาทำยาสมุนไพรได้ สรรพคุณของส้มแขก ลดความอ้วน แก้ไอ ขับเสมหะ ลดความดัน รักษาเบาหวาน บำรุงเลือด ฟอกเลือด ช่วยเจริญอาหาร แก้กษัย แก้ปวดท้อง ยาระบายอ่อนๆ ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว และ แก้ท้องผูก เป็นต้น

ลักษณะของต้นส้มแขก

ต้นส้มแขกเป็นไม้ยืนต้นตระกูลมังคุด การขยายพันธุ์ สามารถขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด การแตกหน่อ การติดตา และการต่อยอด ลักษณะของต้นส้มแขก มีดังนี้

  • ลำต้นส้มแขก ความสูงประมาณ 10 เมตร ลักษณะของเนื้อไม้แข็ง เปลือกลำต้นมีสีเขียว และ สีน้ำตาลอมดำ ลำต้นมียางสีเหลือง
  • ใบส้มแขก ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว ผิวใบเรียบ ขอบใยเรียบ ลักษณะมันวาว ปลายใบแหลม ใบอ่อนสีน้ำตาลอมแดง ใบแห้งจะเป็นสีน้ำตาล
  • ดอกส้มแขก ลักษณะดอกออกเป็นช่อ โดยดอกออกตามปลายยอด กลีบดอกด้านนอกสีเขียว ส่วนกลีบดอกด้านในสีแดง
  • ผลส้มแขก ลักษณะเป็นผลเดี่ยว เป็นแฉกๆลักษณะกลมมน ผิวของผลเรียบ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง ขนาดใกล้เคียงกับผลกระท้อน เนื้อผลแข็ง ผลมีรสเปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ด

การปลูก ให้เตรียมพื้นที่ปลูก เนื่องจากส้มแขกเป็นไม้ผลที่มีทรงพุ่มขนาดใหญ่ ระยะปลูกที่แนะนำ คือ 8 X 8 เมตร หรือ 10 X 10 เมตร ซึ่งจะได้จำนวนต้นประมาณ 20 – 25 ต้นต่อไร่ ก่อนปลูกควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก หลังจากปลูกนาน 1 เดือน ให้ปลูกซ่อมต้นที่ตายทันที

นักโภชนาการ ได้ศึกษาส้มแขก พบว่ามีสาร HCA ( Hydroxycitric Acid ) ซึ่งมีคุณสมบัติเด่น คือ ยับยั้งเอนไซม์ในกระบวนการสร้างไขมัน จากคาร์โบไฮเดรต ส้มแขกจึงนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบสำหรับอาหารเสริมสำหรับลดน้ำหนัก มีการแปรรูบส้มแขก มากมาย เช่น เม็ด ชา แคปซูล

สรรพคุณของส้มแขก

สำหรับสรรพคุณของส้มแขก มีมากมาย สามารถนำส้มแขกมาใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็น ดอก ผล ราก ใบ รายละเอียด ดังนี้

  • ดอกของส้มแขก มีสรรพคุณ ช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ ลดความดันโลหิต
  • ผลของส้มแขก สามารถนำมาช่วยลดความดัน ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยฟอกโลหิต ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดไขมัน
  • รากของส้มแขก สามารถใช้ เป็นยาแก้กษัย บรรเทาอาการปวดท้องสำหรับสตรีมีครรภ์ เป็นยาระบายอ่อนๆ ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว
  • ใบของส้มแขก สามารถใช้ แก้อาการท้องผูก ขับปัสสาวะ

ข้อควรระวังในการบริโภคส้มแขก

แม้ส้มแขกจะมีประโยชน์ และได้รับความนิยมมากแค่ไหน ส้มแขกก็ยังมีผลเสียบางประการต่อร่างกายอยู่เช่นกัน เหมือนกับการรับประทานอาหารอื่น ๆ ที่ถ้าหากมากเกินไปก็ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายได้เหมือนกัน ซึ่งข้อควรระวังในการบริโภคส้มแขกที่คุณควรรู้ มีดังนี้

  • ส้มแขกมีฤทธิ์เป็นกรด ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น คลื่นไส้ ไม่สบายท้อง ปวดศีรษะ เป็นต้น
  • สตรีมีครรภ์ หรือหญิงที่อยู่ในระหว่างการให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงรับประทานส้มแขก เพื่อเป็นการรักษาโรคมากเกินไป เพราะยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน และปลอดภัยมากพอที่จะรับประกันได้ว่า จะไม่เกิดอันตรายต่อร่างกาย โดยเฉพาะกับสตรีมีครรภ์
  • ผู้ที่เป็นไบโพลาร์ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานส้มแขก เพราะอาจส่งผลให้อารมณ์แปรปรวนได้
  • ผู้ที่เป็นโรคตับ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานส้มแขกในทุกกรณีจะเป็นการดีที่สุด เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักมากกว่าเดิม และทำให้ตับถูกทำลายได้ในที่สุด

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Last Updated on March 12, 2024