โรคความดันโลหิตสูง ภัยเงียบผู้สูงวัย ป้องกันและรักษาอย่างไร

ความดันโลหิตสูง Hypertension โรคความดันโลหิตสูงมักไม่แสดงอาการแต่มีความเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นอันตราย ต้องทำอย่างไรเมื่อเป็นโรคความดัน

ความดันโลหิตสูง โรค

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบมากและเป็นภัยเงียบที่ทำให้เป็นความเสี่ยงโรคหัวใจโรคอัันตราย ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่วนมากไม่รู้ตัว โรคมักไม่แสดงอาการ แต่หากเกิดโรคมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง มีความเสี่ยงเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจหนา ภาวะหัวใจวาย ภาวะไตวายเรื้อรัง หลอดเลือดสมองตีบหรือหลอดเลือดสมองแตกจนเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตตามมา จนถึงขั้นเสียชีวิตอย่างกระทันหันได้

ภาวะความดันโลหิตสูง ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Hypertension  หรือ High blood pressure เป็นโรคไม่ติดต่อพบมากในผู้ใหญ่ เราพบว่าประมาณ 25 ถึง 30% ของประชากรผู้ใหญ่บนโลกทั้งหมดเป็นโรคนี้ และผู้ชายจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้หญิง  และหากอายุเกิน 60 ปี เราพบว่า 50% ของประชากรบนโลกเป็นภาวะความดันโลหิตสูง โดยปรกติความดันโลหิตของมนุษย์ จะอยู่ที่ 90-119/60-79 มิลลิเมตรปรอท หากวัดได้สูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง

ประเภทของโรคความดันโลหิตสูง

เราสามารถแบ่งประเภทของโรความดันโลหิตสูงได้ ประเภท คือ ความดันโลหิตสูงชนิด Primary Hypertension และ ความดันโลหิตสูงชนิด Secondary Hypertension โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ความดันโลหิตสูงชนิด Primary Hypertension ความดันโลหิตสูงประเภทนี้ส่วนใหญ่จะพัฒนาขึ้นในช่วงหลายปี 
  • ความดันโลหิตสูงชนิด Secondary Hypertension ความดันโลหิตสูงประเภทนี้เกิดจากสภาวะสุขภาพพื้นฐานโดยจะปรากฏขึ้นอย่างกะทันหัน 

สาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง เกิดจากความดันโลหิตสูงกว่าค่าความดันปรกติ ซึ่งโดยปรกติความดันโลหิตของมนุษย์ จะอยู่ที่ 90-119/60-79 มิลลิเมตรปรอท หากวัดได้สูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าเข้าสู่ภาวะ ความดันโลหิตสูง เราสามารถแยกสาเหตุที่ทำให้ความดันโลหิตสูงได้ เป็น 2 ชนิด คือ ความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ภาษาอังกฤษ เรียก Essential hypertension และความดันโลหิตสูงชนิดที่ทราบสาเหตุ ภาษาอังกฤษ เรียก Secondary hypertension โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ความดันโลหินสูง ชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ( Essential hypertension )  ชนิดนี้ 90% ของผู้ป่วยทั้งหมด เราพบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน แต่ทางการแพทย์เชื่อว่า น่าเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น อิทธิพลของเอ็นไซม์  เรนิน (Renin) และฮอร์โมนแองจิโอเท็นซิน ( Angiotensin) ที่มาจากไต สารเหล่านี้ ส่งผลต่อการทำงานของต่อมใต้สมองทำให้เกิดการบีบตัวของหลอดเลือดในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง เรียกว่า กระบวนการ Renin-Angiotensin system นอกจากนี้ เรื่องพันธุกรรม อาหารการกิน ก็ส่งผลต่อความดัยโลหิตสูงเช่นกัน
  • ความดันโลหิตสูงชนิดทราบสาเหตุ ( Secondary hypertension )ชนิดนี้มี10% ของผู้ป่วนโรคนี้ สามารถรู้สาเหตุของภาวะความดันดลหิตสูง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงมักเกิดจากพฤติกรรมการดำรงค์ชีวิตที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งสำหรับโรคความดันโลหิตสูง มีหลายปัจจัยทีทำให้เกิดโรค โดยรายละเอียด มีดังนี้

  1. พันธุกรรม หากในครอบครัว หรือญาติพี่น้องที่มีคนป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โอกาสที่จะเกิดความดันโลหิตสูง จะมากกว่าคนที่ในครอบครัวไม่มีคนเป็นโรคนี้
  2. โรคเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะมีภาวะตีบตันของหลอดเลือด ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงได้
  3. โรคอ้วน ในคนอ้วนจะมีไขมันไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ก็จะมีความเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงมาก
  4. โรคไตเรื้อรัง จากที่กล่าวมาข้างต้น ไตมีหน้าที่สร้างเอ็นไซม์และฮอร์โมนที่ควบคุมความดันโลหิต
  5. การสูบบุหรี่ สารพิษจากควันบุหรี่ ทำให้หลอดเลือดตีบตันได้
  6. การดื่มสุรา สุราจะมำให้หัวใจเต้นแรงกว่าปกติ เราพบว่า 50% ของผู้ติดสุรา เป็นโรคความดันโลหิตสูง
  7. การรับประทานอาหารเค็ม
  8. การไม่ออกกำลังกาย
  9. การใช้ยากลุ่มสเตียรรอยด์บางชนิด มีผลข้างเคียงทำให้ความดันโลหิตสูง

อาการโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง มักไม่มีอาการให้เห็นชัดเจน ส่วนใหญ่อาการของโรคความดันโลหิตสูงจะส่งผลให้เห็นในลักษณะ โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง โรคเบาหวาน อาการที่พบบ่อยได้ คือ ปวดหัว มึนงง วิงเวียน แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกและเสียชีวิตได้

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคความดันโลหิตสูง แพทย์จะทำการตรวจสอบจากประวัติ การใช้ยา วัดความดันโลหิต การตรวจร่างกาย และตรวจเลือด เพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจการทำงานของไต ตรวจหัวใจเพื่อดูการทำงานของหัวใจ

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

แนวทางการรักษาความดันโลหิตสูง การให้ยาลดความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สามารถลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากความดันโลหิตสูงได้ นอกจากการรับประทานยาแล้ว ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อการเกิดความดันโลหิตสูงด้วย แนวทาการปรับพฤติกรรมร่วมกับการใช้ยา มีดังนี้

  • ออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายตลอดเวลา เช่น วิ่ง เดินเร็ว ว่ายนํ้า อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย วันละ 15-30 นาที 3-6 วันต่อสัปดาห์
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • งดการดื่มสุรา
  • งดการสูบบุหรี่
  • ลดภาวะความเครียดต่างๆ
  • รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ลดอาหารเค็มจัด ลดอาหารมัน เพิ่มผักผลไม้ เน้นอาหารพวกธัญพืช ปลา นมไขมันต่ำ ถั่ว รับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ หลีกเลี่ยงเนื้อแดง น้ำตาล เครื่องดื่มที่มีรสหวานจะทำให้ระดับความดันโลหิตลดลงได้
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

การป้องกันโรคความดันโลหิตสูงที่ดีที่สุด คือ การลดปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดที่มีผลต่อการการทำให้เกิดความดันโลหิตสูง เช่น ลดภาวะความเครียด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Last Updated on March 12, 2024