ความดันโลหิตสูง Hypertension โรคความดันโลหิตสูงมักไม่แสดงอาการแต่มีความเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นอันตราย ต้องทำอย่างไรเมื่อเป็นโรคความดัน

ความดันโลหิตสูง โรค

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบมากและเป็นภัยเงียบที่ทำให้เป็นความเสี่ยงโรคหัวใจโรคอัันตราย ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่วนมากไม่รู้ตัว โรคมักไม่แสดงอาการ แต่หากเกิดโรคมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง มีความเสี่ยงเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจหนา ภาวะหัวใจวาย ภาวะไตวายเรื้อรัง หลอดเลือดสมองตีบหรือหลอดเลือดสมองแตกจนเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตตามมา จนถึงขั้นเสียชีวิตอย่างกระทันหันได้

ภาวะความดันโลหิตสูง ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Hypertension  หรือ High blood pressure เป็นโรคไม่ติดต่อพบมากในผู้ใหญ่ เราพบว่าประมาณ 25 ถึง 30% ของประชากรผู้ใหญ่บนโลกทั้งหมดเป็นโรคนี้ และผู้ชายจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้หญิง  และหากอายุเกิน 60 ปี เราพบว่า 50% ของประชากรบนโลกเป็นภาวะความดันโลหิตสูง โดยปรกติความดันโลหิตของมนุษย์ จะอยู่ที่ 90-119/60-79 มิลลิเมตรปรอท หากวัดได้สูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง

ประเภทของโรคความดันโลหิตสูง

เราสามารถแบ่งประเภทของโรความดันโลหิตสูงได้ ประเภท คือ ความดันโลหิตสูงชนิด Primary Hypertension และ ความดันโลหิตสูงชนิด Secondary Hypertension โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ความดันโลหิตสูงชนิด Primary Hypertension ความดันโลหิตสูงประเภทนี้ส่วนใหญ่จะพัฒนาขึ้นในช่วงหลายปี 
  • ความดันโลหิตสูงชนิด Secondary Hypertension ความดันโลหิตสูงประเภทนี้เกิดจากสภาวะสุขภาพพื้นฐานโดยจะปรากฏขึ้นอย่างกะทันหัน 

สาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง เกิดจากความดันโลหิตสูงกว่าค่าความดันปรกติ ซึ่งโดยปรกติความดันโลหิตของมนุษย์ จะอยู่ที่ 90-119/60-79 มิลลิเมตรปรอท หากวัดได้สูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าเข้าสู่ภาวะ ความดันโลหิตสูง เราสามารถแยกสาเหตุที่ทำให้ความดันโลหิตสูงได้ เป็น 2 ชนิด คือ ความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ภาษาอังกฤษ เรียก Essential hypertension และความดันโลหิตสูงชนิดที่ทราบสาเหตุ ภาษาอังกฤษ เรียก Secondary hypertension โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ความดันโลหินสูง ชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ( Essential hypertension )  ชนิดนี้ 90% ของผู้ป่วยทั้งหมด เราพบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน แต่ทางการแพทย์เชื่อว่า น่าเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น อิทธิพลของเอ็นไซม์  เรนิน (Renin) และฮอร์โมนแองจิโอเท็นซิน ( Angiotensin) ที่มาจากไต สารเหล่านี้ ส่งผลต่อการทำงานของต่อมใต้สมองทำให้เกิดการบีบตัวของหลอดเลือดในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง เรียกว่า กระบวนการ Renin-Angiotensin system นอกจากนี้ เรื่องพันธุกรรม อาหารการกิน ก็ส่งผลต่อความดัยโลหิตสูงเช่นกัน
  • ความดันโลหิตสูงชนิดทราบสาเหตุ ( Secondary hypertension )ชนิดนี้มี10% ของผู้ป่วนโรคนี้ สามารถรู้สาเหตุของภาวะความดันดลหิตสูง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงมักเกิดจากพฤติกรรมการดำรงค์ชีวิตที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งสำหรับโรคความดันโลหิตสูง มีหลายปัจจัยทีทำให้เกิดโรค โดยรายละเอียด มีดังนี้

  1. พันธุกรรม หากในครอบครัว หรือญาติพี่น้องที่มีคนป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โอกาสที่จะเกิดความดันโลหิตสูง จะมากกว่าคนที่ในครอบครัวไม่มีคนเป็นโรคนี้
  2. โรคเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะมีภาวะตีบตันของหลอดเลือด ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงได้
  3. โรคอ้วน ในคนอ้วนจะมีไขมันไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ก็จะมีความเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงมาก
  4. โรคไตเรื้อรัง จากที่กล่าวมาข้างต้น ไตมีหน้าที่สร้างเอ็นไซม์และฮอร์โมนที่ควบคุมความดันโลหิต
  5. การสูบบุหรี่ สารพิษจากควันบุหรี่ ทำให้หลอดเลือดตีบตันได้
  6. การดื่มสุรา สุราจะมำให้หัวใจเต้นแรงกว่าปกติ เราพบว่า 50% ของผู้ติดสุรา เป็นโรคความดันโลหิตสูง
  7. การรับประทานอาหารเค็ม
  8. การไม่ออกกำลังกาย
  9. การใช้ยากลุ่มสเตียรรอยด์บางชนิด มีผลข้างเคียงทำให้ความดันโลหิตสูง

อาการโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง มักไม่มีอาการให้เห็นชัดเจน ส่วนใหญ่อาการของโรคความดันโลหิตสูงจะส่งผลให้เห็นในลักษณะ โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง โรคเบาหวาน อาการที่พบบ่อยได้ คือ ปวดหัว มึนงง วิงเวียน แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกและเสียชีวิตได้

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคความดันโลหิตสูง แพทย์จะทำการตรวจสอบจากประวัติ การใช้ยา วัดความดันโลหิต การตรวจร่างกาย และตรวจเลือด เพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจการทำงานของไต ตรวจหัวใจเพื่อดูการทำงานของหัวใจ

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

แนวทางการรักษาความดันโลหิตสูง การให้ยาลดความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สามารถลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากความดันโลหิตสูงได้ นอกจากการรับประทานยาแล้ว ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อการเกิดความดันโลหิตสูงด้วย แนวทาการปรับพฤติกรรมร่วมกับการใช้ยา มีดังนี้

  • ออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายตลอดเวลา เช่น วิ่ง เดินเร็ว ว่ายนํ้า อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย วันละ 15-30 นาที 3-6 วันต่อสัปดาห์
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • งดการดื่มสุรา
  • งดการสูบบุหรี่
  • ลดภาวะความเครียดต่างๆ
  • รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ลดอาหารเค็มจัด ลดอาหารมัน เพิ่มผักผลไม้ เน้นอาหารพวกธัญพืช ปลา นมไขมันต่ำ ถั่ว รับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ หลีกเลี่ยงเนื้อแดง น้ำตาล เครื่องดื่มที่มีรสหวานจะทำให้ระดับความดันโลหิตลดลงได้
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

การป้องกันโรคความดันโลหิตสูงที่ดีที่สุด คือ การลดปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดที่มีผลต่อการการทำให้เกิดความดันโลหิตสูง เช่น ลดภาวะความเครียด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

ตาเหล่ Strabismus ลักษณะตาดำข้างใดข้างหนึ่งผิดปกติ ไม่ขนานกัน ดวงตาไม่ประสานกัน ตาเหล่มีกี่ชนิด ตาเหล่แท้ ตาเหล่เทียม การรักษาโรคสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด

ตาเหล่ ตาเข โรคตา โรคไม่ติดต่อ

ตาเหล่ ภาษาทางการแพทย์ เรียก Strabismus คือ ภาวะตาข้างใดข้างหนึ่งมีอาการผิดปกติ โดยไม่ได้มีจุดโฟกัสในการมองเห็นเป็นจุดเดียว ภาวะลูกตาทั้ง 2 ข้างไม่ขนานกัน และการทำงานของดวงตาเมื่อมองวัตถุไม่ประสานกัน โดยผู้ป่วยจะใช้เพียงตาข้างที่ปกติในการมองวัตถุ และในส่วนของดวงตาข้างที่เหล่ อาจเบนเข้าด้านในห ด้านนอก ขึ้นบน หรือ ลงล่าง ก็ได้

ตาเหล่เทียม ( Pseudostrabismus ) คือ ภาวะตาเหล่ที่พบในเด็กเสียเป็นส่วนมาก เนื่องจากสันจมูกยังโตไม่เต็มที่และบริเวณหัวตากว้าง ( Epicanthus ) จึงทำให้ลักษณะเหมือนกับตาเหล่ แต่เมื่อร่างกายเจริญเติบดตเต็มีที่ตาเหล่จะหายเอง

ชนิดของอาการตาเหล่

โรคตาเหล่สามารถแบ่งได้ 5 ชนิด มีรายละเอียด ดังนี้

  1. ตาหนึ่งอยู่ตรงกลาง แต่อีกตาเฉออก
  2. ตาข้างหนึ่งอยู่ตรงกลาง แต่ตาอีกข้างกลับหมุนเข้าใน
  3. ตาหนึ่งอยู่ตรงกลาง อีกข้างหนึ่งกลอกออกมาทางหางตาหรือออกนอก
  4. ตาเหล่ขึ้นบน
  5. ตาเหล่ลงล่าง

ปัญหาของอาการตาเหล่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งผลเสียของอาการตาเหล่ ประกอบด้วย

  1. เสียบุคลิกภาพ สิ่งที่ทำให้เห็นได้ชัดของการตาเหล่ คือ ภาพดวงตาดำที่ผิดปรกติ ดูไม่สวยงาม ส่วนมากคนตาเหล่จะรู้สึกเหมือนเป็นปมด้อย มักไม่ค่อยสู้หน้าคน สิ่งนี้จะเปิดการปั่นทอนจิตใจอย่างช้าๆโดยไม่รู้ตัว
  2. การเกิดบุคลิกภาพที่ผิดจากบุคคลทั่วไป โดยคนตาเหล่จะมีโฟกัสภาพที่ไม่ปรกติก ในคนตาเหล่จะใช้การหันหน้าเอียงคอ เพื่อชดเชยความผิดปกติ ซึ่งสิ่งนี้จะยิ่งทำให้บุคลิกผิดไปจากคนทั่วไป
  3. ความสามารในการมองเห็นน้อยกว่าคนตาปกติ เนื่องจากตาทั้ง 2 ข้างไม่ทำงานร่วมกันหรือเรียกว่าต่างคนต่างทำ ต้องใช้ตาข้างเดียวเป็นหลัก จึงมองวัตถุเล็ก ๆ ไม่เป็นภาพ 3 มิติ ทำให้ทำงานที่ละเอียดได้ไม่ดีนัก เช่น งานเย็บปักถักร้อยหรืองานฝีมือต่าง ๆ เพราะอย่าลืมว่าการมองเห็นที่ดีที่สุดคือต้องมองเห็นภาพเป็น 3 มิติในวัตถุขนาดเล็ก ๆ ได้ ซึ่งจะต้องอาศัยตาที่เห็นชัดทั้ง 2 ข้าง และทำงานประสานสอดคล้องกันเสมอ
  4. เกิดภาวะตาขี้เกียจ เรียก Amblyopia ถากปล่อยทิ้งไว้ดดยไม่แก้ไข อาจถึงขั้นตาบอดได้

สาเหตุของการเกิดโรคตาเหล่

สำหรับการเกิดโรคตาเหล่นั้นเกิดจากหลายปัจจัย อาจเกิดจากกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในเด็ก ซึ่งบางคนอาจเกิดเป็นมาตั้งแต่กำเนิด ส่วนในเด็กที่มีสายตาสั้นมากๆ ซึ่งสามารถสรุปสาเหตุของโรคตาเหล่ มีดังนี้

  • ภาวะทางพันธุ์กรรม โรคตาเหล่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมมได้
  • ความผิดปรกติของสายตาของผู้ป่วยเอง  การใช้สายตาเพ่งบ่อยๆหรือกล้ามเนื้อตาขาดสมดุล สามารถทำให้เกิดตาเหล่ได้
  • ความผิดปรกติของกล้ามเนื้อตาข้างใดข้างหนึ่ง ทำให้กล้ามเนื้อตาไม่สมดุล
  • ความผิดปรติของระบบประสาทส่วนกลาง ส่งผลต่อการควบคุมกล้ามเนื้อตา เช่น  เนื้องอกในสมอง มะเร็งในส่วนศีรษะ มะเร็งส่วนลำคอ โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์อักเสบ
  • ภาวะการเกิดโรคที่ส่งผลอันตรายต่ออาการตาเหล่ เช่น โรคเอเพิร์ท ( Apert Syndrome ) โรคสมองพิการ ( Cerebral Palsy: CP ) โรคหัดเยอรมันแต่กำเนิด ( Congenital Rubella ) เนื้องอกหลอดเลือดชนิดฮีแมงจิโอมา ( Hemangioma ) โรคอินคอนติเนนเทีย พิกเมนไท ซินโดรม ( Incontinentia Pigmenti Syndrome ) โรคพราเดอร์-วิลลี่ ซินโดรม ( Prader-Willi Syndrome ) โรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกคลอดก่อนกำหนด ( Retinopathy of Prematurity: ROP ) โรคมะเร็งจอตาในเด็ก ( Retinoblastoma ) เป็นต้น

การรักษาโรคตาเหล่

สำหรับแนวทางการรักษาโรคตาเหล่ สามารถทำได้ 2 วิธี คือ การใช้เครื่องมือร่วมกับการทำกายภาพบำบัด และ การผ่าตัด ซึ่งรายละเอียดของการรักษาทั้ง 2 วิธีนี้ มีดังนี้

  • การรักษาโดยใช้เครื่องมือทางการแพทย์และการทำกายภาพบำบัด เพื่อเป็นการปรับบุคลิกภาพและความสามารการมองเห็นให้เป็นปรกติให้ได้มากที่สุด เช่น การใส่แว่น การฝึกกล้ามเนื้อตา การฉีดนาที่กล้ามเนื้อ เป็นต้น รายละเอียดของการรักษาด้วยวิธีนี้ มีดังนี้
    • การให้แว่นสายตา ใช้รักษาในผู้ป่วยตาเหล่ที่มีสาเหตุมาจากสายตาผิดปกติ เช่น สายตายาวที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดตาเหล่เข้า หรือ สายตาสั้นที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดตาเหล่ออก
    • ให้แว่น prism ซึ่งช่วยหักเหแสงให้ตกลงพอดีที่จุดรับภาพที่จอตา
    • การฝึกกล้ามเนื้อตา
    • การรักษาด้วยยา เช่น การฉีดโบท็อกช์ (Botulinum Toxin) โดยฉีดที่กล้ามเนื้อตา ทำให้กล้ามเนื้อมัดนั้นอ่อนแรง มีฤทธิ์อยู่นานประมาณ 2-3 เดือน
    • การรักษาตาขี้เกียจ (Amblyopia) ในเด็กตาเหล่ที่มีภาวะตาขี้เกียจ จำเป็นต้องรีบให้การรักษาทันที และต้องรักษาก่อนที่จะผ่าตัดแก้ไขตาเหล่ และควรรักษาช่วงก่อนที่เด็กจะอายุมากกว่า 7 ปี ซึ่งเมื่อเด็กอายุมากกว่า 8-9 ปีขึ้นไปมักรักษาไม่ได้ผลแล้ว ตาข้างนั้นก็จะมัวอย่างถาวร การรักษาตาขี้เกียจทำโดยการปิดตาข้างที่ดี เพื่อกระตุ้นให้ตาข้างที่เป็นตาขี้เกียจได้ใช้งาน ควรปิดตาอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง จนกว่าสายตาทั้งสองข้างจะมองเห็นปกติแต่ละรายอาจใช้เวลาไม่เท่ากัน
  • การรักษาโดยการผ่าตัด แพทย์จะผ่าตัดกล้ามเนื้อตา เพื่อทำให้ตาตรง การรักษาด้วยการผ่าตัดควรเข้ารับการรักษาตั้งแต่เด็ก หากไม่ยอมรักษาตั้งแต่เด็ก ก็สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดแต่ประสิทธิภาพการมองเห็นจะไม่สามารถกลับมาปรกติ เหมือนการรักษาตั้งแต่เด็กได้

การดูแลผู้ป่วยตาเหล่หลังการผ่าตัด

หลังจากการผ่าตัดแพทย์จะปิดตาข้างที่ผ่าตัดไว้ 1 วัน จากนั้นก็สามารถเปิดใช้สายตาได้ตามปกติ แต่ในการนอนนั้นให้ใส่ที่ครอบตาเพื่อป้องกันการถูกกระทบกระเทือนในช่วงสัปดาห์แรก และไม่ควรให้น้ำเข้าตาเพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบหรือติดเชื้อได้

หลังจากการผ่าตักรักษาตาเหล่และผ่าช่วงของการดูแลในสัปดาห์แรก จะทำให้ตาดูตรงเป็นปกติ สวยงาม มีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น
ประสิทธิภาพการมองเห็นของตาทั้ง 2 ข้างก็จะดีขึ้น

การป้องกันโรคตาเหล่

สำหรับการป้องกันนั้นป้องกันได้ยาก เนื่องจากปัจจัยการเกิดโรคควบคุมไม่ได้ การป้องกันตาเหล่ต้องเริ่มจากการป้องกันที่สาเหตุและหากพบว่ามีอาการตาเหล่ให้รีบรับการรักษาอย่างเร็ว ผู้ป่วยจึงจะมีโอกาสกลับมามีดวงตาที่มองเห็นได้ปกติ รวมทั้งการมองเห็นความลึกของสิ่งต่าง ๆ ก็จะดีขึ้น นอกจากนี้ ต้องดูแลสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรง เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคที่ทำให้เกิดอาการตาเหล่

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove