โรคไต เกี่ยวกับของเหลวในร่างกาย เจ็บหลัง ตัวบวม ฉี่ผิดปรกติ

โรคไต ( kidney disease ) ไตทำงานผิดปรกติ ความสมดุลของเหลวในร่างกายผิดปรกติ ลักษณะอาการเตือนโรคไต เช่น ตัวบวม ฉี่ผิดปรกติ ความดันโลหิตสูง ปวดบริเวณบั้นเอวชายโครง

โรคไต โรคระบบขับถ่าย โรคเกี่ยวกับไต โรคต่างๆ

โรคไต คือ ความผิดปกติของพยาธิสภาพของไต ซึ่งเกี่ยวข้องกับการขับของเสียออกจากร่างกาย รักษาสมดุลของระดับเกลือและน้ำในร่างกาย ส่วนมากแล้วมักเกิดจากการรับประทานอาหารรสเค็มและอาหารที่มีไขมันสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน รวมถึงความผิดปรกติของอวัวยะเอง เราสรุปลักษณะสันญานเตือน อาการที่เกี่ยวกับโรคไต มีดังนี้

  • มีอาการบวมทั้งตัว เกิดจากการมีน้ำและเกลือเพิ่มขึ้นในร่างกาย ซึ่งในระยะแรกอาจบวมที่หนังตาและใบหน้า ต่อมาจะมีการบวมที่ขาและเท้าทั้งสองข้าง
  • มีอาการเหนื่อยง่ายและอ่อนเพลีย 
  • ปวดหลังบริเวณบั้นเอว บริเวณบั้นเอวและชายโครงเป็นจุดที่อยู่ของไต ซึ่งอาการเจ็บปวดจากข้างในบริเวณนี้เป็นสัญญานเตือนว่าอาจเป็นความผิดปรกติของไตได้
  • ปัสสาวะมีความผิดปกติ เช่น  ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะน้อยลง ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะเป็นฟองมาก
  • ความดันโลหิตสูงผิดปรกติ อาจเกิดจากการทำงานหนักของไต

กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงโรคไต

  • คนที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป
  • ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจ
  • ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ผู้ป่วยโรคเก๊าท์
  • กลุ่มคนที่ใช้ยาแก้ปวดเป็นประจำ
  • กลุ่มคนที่ชอบกินอาหารรสเค็ม

เราได้รวบรวมโรคทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับไต ซึ่งกล่าวถึงสาเหตุของโรค ลักษณะของอาการ การรักษาและแนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

โรคฉี่หนู โรคติดเชื้อ โรคเลปโตสไปโลซิส โรคติดต่อ โรคฉี่หนู
โรคเลปโตสไปโรซิส
โรคท้องร่วง โรคติดเชื้อ อุจจาระร่วง ขี้แตก
ไตวาย จากเชื้ออีโคไล(E. coli)
ไตอักเสบ กรวยไตอักเสบ โรคไต โรคไม่ติดต่อโรคไตอักเสบ
โรคไตรั่ว โรคไต ไตอักเสบเนโฟรติก โรคไม่ติดต่อโรคไตรั่ว หรือ ไตอักเสบเนโฟรติก
ไตวายฉับพลัน โรคไต ไตวาย โรคไม่ติดต่อไตวายเฉียบพลัน
ไตวายเรื้อรัง โรคไต โรคไม่ติดต่อ ไตอักเสบไตวายเรื้อรัง
โรคแพ้ภูมิต้านทานตัวเอง โรคเอสแอลอี โรคพุ่มพวง โรคลูปัสโรคเอสแอลอี
ท่อปัสสาวะอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ โรคระบบขับถ่าย โรคไม่ติดต่อโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
ถุงน้ำในไต โรคไต โรคไม่ติดต่อ โรคที่ช่องท้องโรคถุงน้ำในไต
นิ่วในไต โรคไต โรคในช่องท้อง โรคไม่ติดต่อโรคนิ่วในไต
โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ โรคต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ
โรคแอดดิสัน โรคต่อมหมวกไต โรคฮอร์โมน โรคไม่ติดต่อโรคแอดดิสัน
โรคเหน็บชา อาการมือเท้าชา โรคระบบประสาท โรคขาดวิตามินบี1โรคเหน็บชา โรคท้องมาน โรคท้องโต โรคท้องบวม โรคตับโรคท้องมาน
มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคมะเร็ง โรคระบบขับถ่าย โรคระบบสืบพันธ์มะเร็งต่อมลูกหมาก

การรักษาโรคไต ไตเทียม โรคไตวายเรื้อรัง โรคไตมีกี่ระยะ การป้องกันโรคไต โรคไตอักเสบ โรคไตอักเสบเนโฟรติก โรคไต อาการ วิธีรักษา อาการบ่งบอกของโรคไต ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไต มักไม่ค่อยปรากฏอาการให้เห็น เนื่องจากไตเป็น อวัยวะที่มีความสามารถพิเศษในการปรับระบบการทำงาน ให้สมดุล

ผู้ป่วยโรคไต ร่างกายจะมีประสิทธิภาพขับของเสียได้น้อยลง ดังนั้นเพื่อที่จะชะลอความเสื่อมของไต รวมถึงยืดเวลาการล้างไตออกไป การควบคุมอาหารเป็นสิ่งจำเป็น

ไต

สำหรับไตเป็นอวัยวะ ที่มีความสำคัญมาก เป็นส่วนหนึ่งของระบบทางเดินปัสสาวะ โดยระบบทางเดินปัสสาวะ จะประกอบไปด้วย ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ซึ่งไต นอกจากจะเป็นอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะแล้วยังเป็นอวัยวะที่ทำงานร่วมกับ หัวใจ ตับ ปอด กระเพาะอาหารและสมอง ดังนี้หากไตเกิดการทำงานผิดปรกติ อวัยวะเหล่านี้ก็อาจจะเกิดปัญหาตามมาด้วยเช่นกัน

ไตจะมีลักษณะเหมือนเมล็ดถั่วแดง มี 2 ข้างอยู่ที่บริเวณเอว ใต้ซี่โครง และข้างกระดูกสันหลัง ไตจะได้รับเลือดทางเส้นเลือดแดงจากหัวใจ เมื่อเลือดไหลผ่านไต ไตจะทำการกรอง เราเรียกว่า เนฟรอน ( Nephron ) ซึ่งทำหน้าที่กรองของเสียจากเลือด และขับออกจากร่างกายทางท่อปัสสาวะ

หน้าที่ของไต

ไตมีหน้าที่หลายอย่าง ซึ่งประกอบด้วย การปรับสมดุลระดับน้ำในร่างกาย การปรับสมดุลเกลือแร่และความเป็นกรดด่างในร่างกาย การกำจัดของเสียออกจากร่างกาย และผลิตฮอร์โมนบางชนิดในร่างกาย

โครงสร้างและการทำงานของไต

ไตจะมีเนื้อเยื่ออยู่ 2 ชั้น คือ ชั้นนอก เรียก คอร์เทกซ์ ( cortex ) และชั้นใน เรียก เมดัลลา ( medulla ) รายละเอียดของไตแต่ละชั้นมีดังนี้

  1. ไตชั้นนอก มีลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ เป็นกลุ่มของหลอดเลือดฝอย เรียกว่า โกลเมอรูลัส (glomerulus) และมีถุงโบว์แมนส์แคปซูล ( Bowman s capsule ) ทำหน้าที่กรองของเสียจากเลือดและขับออกทางท่อไต
  2. ไตชั้นใน มีหลอดเล็ก ๆ ต่อเนื่องมาจากไตชั้นนอก และมีท่อ ซึ่งท่อเหล่านี้รวมกัน รูปร่างคล้ายฝาชี เราเรียกว่า พิรามิด ( renal pyramid ) โดยในส่วนปลายของปิรามิด จะรวมหลอดเล็ก ๆ เรียกว่า พาพิลลา ( renal papilla ) เรียกกันว่า กรวยไต ( pelvis ) ซึ่งเป็นที่ส่งน้ำปัสสาวะลงไปสู่ท่อไต ( ureter ) นำไปสู่กระเพาะปัสสาวะอีกต่อหนึ่ง

โครงสร้างของหนวยไต

ในไตจะมีหนวยไตจำนวนมาก ประมาณ 1.2 ล้านหน่วยไต ซึ่งในหน่วยไตประกอบด้วย 3 ส่วน คือ โกลเมอรูลัส ( glomerurus ) โบว์แมนส์แคปซูล ( Bowman s capsule ) และ ท่อของหน่วยไต ( Renal tubule หรือ convoluted tubule )

ท่อของหน่วยไต

ท่อของหน่วยไต มีส่วนประกอบอยู่ 3 ส่วน คือ ท่อขดส่วนต้น ห่วงเฮเลน และท่อขดส่วนท้าย โดยรายละเอียดของส่วนต่างๆ มีดังนี้

  • ท่อขดส่วนต้น (proximal convolutrd tubule) มีลักษณะเป็นท่อขดไปมา ซึ่งทำหน้าที่ดูดซึมสารกลับเข้าสู่กระแสเลือด
  • ห่วงเฮเลน( Henle s loop ) มีลักษณะเป็นหลอดโค้งรูปตัวยู อยู่ถัดจากท่อขดส่วนต้น
  • ท่อขดส่วนท้าย( distal convoluted tubule ) เป็นท่อขดไปมาคล้ายท่อขดส่วนต้น อยู่ถัดจากห่วงเฮนเล

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก