โรคตากุ้งยิง อาการตุ่มบวมเจ็บที่หนังตา ภาวะหนังตาอักเสบ

ตากุ้งยิง Hordeolum ภาวะหนังตาอักเสบ ทำให้เกิดตุ่มที่หนังตา อาการบวมและเจ็บบริเวณที่อักเสบ แบ่งได้ 2 ชนิด คือ ตากุ้งยิงหัวผุด ตากุ้งยิงหัวหลบใน สามารถหายเองได้

ตากุ้งยิง โรคต่างๆ โรคตา

โรคตากุ้งยิง คือ โรคที่เกี่ยวกับตา เกิดจากอาการติดเชื้อทำให้เกิดการอักเสบบริเวณหนังตา ( external hordeolum ) ขนตา ( hair follicle ) ต่อมไขมันที่เปลือกตา ( internal hordeolum ) ตากุ้งยิงสามารถเกิดได้ทุกคน

ชนิดของตากุ้งยิง

โรคตากุ้งยิง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ตากุ้งยิงชนิดหัวผุด และ ตากุ้งยิงชนิดหัวหลบใน รายละเอียดของชนิดตากุ้งยิง มีดังนี้

  • ตากุ้งยิงภายนอก ( External hordeolum ) หรือ ตากุ้งยิงหัวผุด เกิดจากการอักเสบของต่อมเหงื่อบริเวณผิวหนัง ที่โคนขนตา จะมีอาการเกิดหัวฝีเห็นได้อย่างชัดเจนที่ขอบตา ลักษณะของฝีจะไม่ใหญ่
  • ตากุ้งยิงภายใน ( Internal hordeolum ) หรือ ตากุ้งยิงหัวหลบใน เกิดจากการอักเสบของต่อมไขมันที่เยื่อบุเปลือกตา ต้องปลิ้นเปลือกตาจึงจะสามารถมองเห็นฝี มักจะมีขนาดใหญ่

สาเหตุของการเกิดโรคตากุ้งยิง

สำหรับสาเหตุของอาการหนังตาอักเสบเกิดจากการติดเชื้อ Staphylococcus aureus ซึ่งผู้ป่วยสามารถหายเองได้  โดยทั่วไปแล้วต่อมไขมันใต้เปลือกตามีจำนวนมาก ซึ่งไขมันก็จะระบายออกทางรูเล็กๆ ใกล้ขนตา หากมีสิ่งสกปรก เช่น ฝุ่นละอองไปอุดตัน ทำให้ไขมันไม่สามารถระบายออกที่รูต่อมไขมันได้ หากมีเชื้อโรคเข้าไปได้ ก็จะเกิดการอักเสบ และเป็นหนอง มีอาการเจ็บ และ บวม สาเหตุของการติดเชื้อที่มักจะเกิดขึ้นนั้น ได้แก่ แต่สำหรับกลุ่มคนที่ีมีภาวะโรคเบาหวาน หรือ ไขมันในโลหิตสูง จะมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคและมีความรุนแรงของโรคสูงกว่าคนทั่วไป

ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อตากุ้งยิง

  • การขยี้ตาบ่อย ๆ ด้วยมือที่ไม่สะอาด
  • การทำความสะอาดรอบดวงตาไม่ดี ทำให้ฝุ่นและสารละคายเคืองเข้าสู่ดวงตาง่าย
  • การไม่รักษาความสะอาดของคอนแทคเลนส์ ทำให้สิ่งสกปรกเจือปนเข้าสู่ดวงตา

อาการโรคตากุ้งยิง

เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อโรค จะเริ่มแสดงอาการเจ็บๆคันๆที่เปลือกตา ต่อมาเปลือกตาจะเริ่มบวมแดงและแสดงอาการปวด และมีก้อนที่บริเวณเปลือกตาจะทำให้มีอาการปวด และ จะเป็นก้อนหนองสีเหลือง ภายใน 5 วันหนองจะบวมและแตก บางคนมีอาการเปลือกตาบวมร่วม หากหนองที่เปลือกตาแตก จะทำให้ขี้ตาเป็นสีเขียว  เวลากดจะรู้สึกเจ็บ และค่อยๆยุบหายไปเอง

การรักษาโรคตากุ้งยิง

สำหรับแนวทางการรักษาโรคตากุ้งยิง โรคนี้ร่างกายสามารถรักษาตัวเองให้หายเองได้ แนวทางการรักษา คือ การประคับประครองอาการของโรคไม่ให้ลุกลาม หรือ เกิดอาการอักเสบมากขึ้น ซึ่งแนวทางการรักษาโรคตากุ้งยิง สามารถสรุป ได้ดังนี้

  1. การผ่าตัด เพื่อเอาหนองออก สำหรับแวทางการรักษาแบบนี้ จะรักษาสำหรับอาการรุนแรงที่ตากุ้งยิงไม่หายภายใน 2 สัปดาห์
  2. การใช้ยาหยอดตา เพื่อทำรักษาความสะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อมากขึ้น
  3. การรับประทานยาแก้อักเสบ และ บรรเทาอาการปวดของหนังตา

สำหรับโรคตากุ้งยิง สิ่งสำคัญในการรักษาโรค คือ ห้ามบีบหรือเค้นเอาหนองออก และหากหนองแตกเอง ให้ล้างด้วยน้ำต้มสุก หมั่นล้างมือบ่อยๆ หยอดตาและทานยา ตามสั่งหมอ งดการทำอะไรที่จะเกิดการระคายเคืองดวงตา ให้ประคบน้ำอุ่น

การป้องกันโรคตากุ้งยิง

แนวทางการป้องกันโรคตากุ้งยิง คือ การรักษาสุขอนามัย เพื่อไม่ให้มีเชื้อโรคที่หนังตา สามารถสรุปแนวทางการป้องกันโรคตากุ้งยิงได้ ดังนี้

  • ให้รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะส่วนที่อยู่ใกล้กับดวงตา เช่น ใบหน้า และ เส้นผม เป็นต้น
  • ไม่ควรขยี้ตา เนื่องจากมือที่ขยี้ตาอาจไม่สะอาด ควรล้างมือบ่ายๆ
  • ทำความสะอาดรอบๆดวงตาทุกครั้ง หลังจากใช้เครื่องสำอางค์
  • หากมีความรู้สึกว่าดวงตาอักเสบ หรือ ติดเชื้อ ให้ใช้การทำความสะอาด และ การประคบร้อน เพื่อป้องกันการอุดตันของต่อไขมันบริเวณเปลือกตา
  • ให้ดูแลร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินเอ และที่มีสารเบต้าแคโรทีนสูง เช่น ไข่แดง เนย เครื่องใน และพืชผักสีเหลือง เป็นต้น

Last Updated on March 17, 2021