การกินปลาดิบสาเหตของโรคพยาธิใบไม้ในตับ ทำเกิดอาการท้องอืด ตัวเหลือง ตาเหลือง คันตามตัว ปวดท้องด้านขวาบน ซึ่งพยาธิจะทำให้ตับอักเสบ การรักษาป้องกันโรคทำอย่างไร

พยาธิใบไม้ในตับ โรคพยาธิ โรค

โรคพยาธิใบไม้ตับ เกิดจากการเจริญเติบโตของพยาธิใบไม้ในตับสายพันธุ์โอปิสทอร์คิส วิเวอร์รินี ( Ophisthorchis Viverrini ) อาศัยในร่างกายทำให้เกิดการติดเชื้อที่ท่อน้ำดี ทำให้ท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรัง พยาธิใบไม้ตับเกิดมากกับประชากรไทย ภาคอีสาน ที่นิยมกินปลาดิบ พยาธิใบไม้ในตับสามารถอาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์ได้นานถึง 26 ปี

สาเหตุของโรคพยาธิใบไม้ตับ

สำหรับการติดโรคพยาธิใบไม้ตับ เกิดจากการอาศัยและเจริญเติบโตของพยาธิใบไม้ในตับในร่างกายมนุษย์ และ พยาธิใบไม้ในตับทำให้เกิดการติดเชื้อโรคภายในท่อน้ำดีของตับ ทำให้ตับอักเสบ และ เสียหาย ซึ่งพยาธิใบไม้ในตับจะอาศัยในปลาน้ำจืด เช่น ปลาตะเพียน ปลาซิว ปลาสร้อย ปลาแก้มช้ำ ปลาขาวนา และปลาขาว หรือ ปลาร้า หากรับประทานปลาเหล่านี้โดยไม่ปรุงให้สุกจะทำให้พยาธิใบไม้ในตับเข้าสู่ร่างกายได้

อาการของโรคพยาธิใบไม้ตับ

สำหรับโรคพยาธิใบไม้ในตับ จะแสดงอาการผิดปรกติของโรคที่เกิดจากตับ ซึ่งอาการของโรคจะขึ้นอยู่กับอาการอักเสบของตับว่ามากน้อยเพียงใด

  • ระบบทางเดินอาหารผิดปรกติ เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเสียเรื้อรัง ท้องเสียสลับกับท้องผูก
  • มีอาการปวดหลัง โดยเฉพาะปวดบริเวณท้องด้านขวาบน เจ็บใต้ชายโครงขวา เจ้บใต้ลิ้นปี่
  • มีก้อนตรงท้องด้านขวาบน
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
  • ตาเหลืองตัวเหลือง
  • เบื่ออาหาร
  • มีไข้ต่ำ
  • คันตามตัว
  • แขนขาบวม
  • มีน้ำในท้องมาก หรือ ท้องมาน
  • ปัสสาวะสีเข้ม
  • อุจจาระสีซีด
  • ถุงน้ำดีโตมากจนสามารถคลำเจอได้ด้วยตนเอง

การวินิจฉัยโรคพยาธิใบไม้ตับ

แนวทางการวินิจฉัยโรคพยาธิใบไม้ในตับ นั้นแพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติของผู้ป่วย ตรวจอุจจาระ ตรวจอัลตราซาวด์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

การรักษาพยาธิใบไม้ตับ

แนวทางการรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการผู้ป่วย ว่ามีอาการแทรกซ้อนและอาการติดเชื้อร่วมหรือไม่ ซึ่งการรักษาใช้ยารักษาโรคและการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับดุลย์พินิจของแพทย์ และ ความแข็งแรงของผู้ป่วย รายละเอียด ดังนี้

  • การใช้ยารักษาโรค โดยใช้ยาพราซิควอนเทล และ ยาปฏิชีวนะสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย
  • การผ่าตัด ใช้สำหรับกรณีการเกิดอาการแทรกซ้อนที่ท่อน้ำดีร่วม

นอกจากนั้น การรักษาใช้การรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการของโรค เช่น ยาแก้ปวด ต่อท่อระบายน้ำดี ลดอาการตัวเหลืองตาเหลือง หรือ เจาะน้ำออกจากช่องท้อง เป็นต้น

การป้องกันพยาธิใบไม้ตับ

แนวทางการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในตับ คือ การป้องกันพยาธิเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งปลาน้ำจืดเป็นพาหะนำโรค แนวทางการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในตับ มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุกก่อน โดยเฉพาะ ปลาน้ำจืด และ ปลาร้า
  • หมั่นตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ

โรคพยาธิใบไม้ในตับ สาเหตุเกิดจากการกินปลาดิบ ทำเกิดอาการ เช่น ท้องอืด ตัวเหลือง ตาเหลือง คันตามตัว ปวดท้องด้านขวาบน เมื่อพยาธิเข้าสู่ร่างกายทำให้ตับอักเสบ การรักษาและแนวทางการป้องกันโรค ทำอย่างไร

นิ่วที่ถุงน้ำดี เรียกหลายชื่อ นิ่วน้ำดี เกิดก้อนิ่วขนาดเล็กจำนวนมากที่ถุงน้ำดี ทำให้ปวดท้อง ท้องอืดง่าย เจ็บที่ลิ้นปี่และชายโครงขาว ตัวเหลือง ตาเหลืองนิ่วถุงน้ำดี นิ่วในถุงน้ำดี นิ่วที่ถุงน้ำดี รักษานิ่วถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี ภาษาอังกฤษเรียก Gallstone หรือ Cholelithiasis คือ ภาวะขาดความสมดุลของสารประกอบในน้ำดี จึงทำให้เกิดการตกผลึกเป็นก้อนนิ่ว ขนาดเล็กจำนวนมากที่ถุงน้ำดี โดยทั่วไปโรคนี้ไม่รุนแรงสามารถรักษาได้ เป็นโรคของผู้ใหญ่ พบมากในคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป อัตราการเกิดโรคผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

ข้อสังเกตุสัญญาณว่าเรามีโอกาศเสี่ยงเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี มีข้อสังเกตุ ดังนี้

  1.  มีอาการปวดท้อง จุกเสียด และแน่น บริเวณลิ้นปีี่หรือใต้ชายโครงด้านขวา
  2. มีอาการอาหารไม่ย่อย และ อิ่มง่าย หลังจากกินอาหารที่มีความมัน
  3. มีอาการคลี่นไส้และอาเจียน พร้อมกับมีไข้
  4. มีอาการตัวเหลืองและตาเหลือง

สาเหตุของการเกินนิ่วในถุงน้ำดี

ถุงน้ำดี จะเป็นอวัยวะที่ทำงานร่วมกับตับ ซึ่งตับจะสร้างน้ำดี และนำไปเก็ยที่ถุงน้ำดี เมื่อร่างกายต้องการน้ำดีเพื่นนำไปย่อยไขมัน ถุงน้ำดีจะส่งน้ำดีผ่านทางท่อน้ำดี ไปยังลำไส้เพื่อทำหน้าที่ย่อยอาหาร การเกิดนิ่วที่ถุงน้ำดี เกิดจากการสะสมสารประกอบในน้ำดีที่ไม่สมดุล จึงทำให้เกิดการตกผลึก เป็นนิ่ว และเข้าไปอุดตันทางเดินของน้ำดี ทำให้เกิดตัวเหลืองตาเหลือง ถุงน้ำดีอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดนิ่วที่ถุงน้ำดี

ปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการเกิดก้อนนิ่วที่ถุงน้ำดี มีรายละเอียด ดังนี้

  • ภาวะคอเล็สเตอรัลสูง ในคนอ้วนทำให้ความสามารถการบีบตัวของถุงน้ำดีน้อยลง
  • การได้ฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้ระดับคอเลสเตอรัลในน้ำดีสูง
  • ภาวะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • เพศ ซึ่งพบว่าเพศหญิงมีโอกาสการเกิดโรคสูงกว่าเพศชาย เนื่องจากการตั้งครรถ์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้คอเรสเตอรัลสูง
  • อายุที่มากขึ้น ทำให้การสะสมคอเรสเตอรัลมีมากขึ้น
  • การกินยาลดไขมัน
  • ผู้ป่วยเบาหวาน
  • การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายละลายไขมันมากไป

ชนิดของนิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี สามารถแบ่งชนิดของนิ่วได้ 3 ชนิด คือ นิ่วในถุงน้ำดีชนิดที่เกิดจากคอเลสเตอรอล นิ่วในถุงน้ำดีชนิดที่เกิดจากเม็ดสีหรือบิลิรูบิน โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • นิ่วถุงน้ำดีชนิดที่เกิดจากคอเลสเตอรอล (cholesterol stones) สามารถพบได้ร้อยละ 80 ของสาเหตุการเกิดนิ่วที่ถุงน้ำดี ลักษณะจะเป็นก้อนสีขาว เหลือง หรือ เขียว เกิดจากการมีคอเลสเตอรอลมากในน้ำดี และถุงน้ำดีไม่สามารถบีบออกได้มากพอ จนเกิดการสะสม
  • นิ่วถุงน้ำดีชนิดที่เกิดจากเม็ดสี หรือ บิลิรูบิน (pigment stones) พบในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็ง หรือ คนที่มีความผิดปกติของเลือด เช่น โรคธาลัสซีเมีย โรคโลหิตจาง เป็นต้น

อาการของผู้ป่วนโรคนิ่วในถุงน้ำดี

สำหรับโรคนิ่วในถุงน้ำดี สามารถพบอาการของโรคได้ ดังนี้

  • มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง บริเวณช่วงท้องส่วนบน หรือ ชายโครงด้านขวา มีอาการปวดร้าวไปยังบริเวณกระดูกสะบัก หรือ บริเวณไหล่ด้านขวา
  • มีอาการอาเจียน และ คลื่นไส้
  • มีอาการด้านระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย แสบร้อนที่ยอดอก มีลมในกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะเสียดแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่หลังรับประทานอาหารมัน
  • มีไข้
  • มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง
  • ปัสสาวะมีสีเข้ม

การรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดี

สำหรับแนวทางการรักษาโรคนี้ มีแนวทางการรักษา คือ การผ่าตัดถุงน้ำดี การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบเปิดหน้าท้อง การผ่าตัดถุงน้ำดีโดยการส่องกล้อง  การส่องกล้องตรวจรักษาท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อนในกรณีที่มีนิ่วในท่อน้ำดีร่วมด้วย โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • การรักษาเริ่มต้นด้วยการประคับประคองตามอาการ เช่น การลดกรดในกระเพราอาหาร ให้ยาปฏิชีวนะเมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียของถุงน้ำดี และให้ผู้ป่วยงดการรับประทานอาหารมัน ๆ
  • การใช้ยาละลายนิ่วในถุงน้ำดี การใช้ยาสามารถรักษาได้ผลกับนิ่วบางชนิดเท่านั้น และผู้ป่วยยังต้องกินยาติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • การสลายนิ่วด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ( Extracorporeal shock wave lithotripsy – ESWL )  เป็นการใช้คลื่นเสียงกระแทกนิ่วให้แตก แต่การรักษาด้วยวิธีนี้ป่วยจะปวดท้อง และมีอัตราการรักษาสำเร็จไม่สูง การรักษาด้วยวิธีทนี้ปัจจุบันแพทย์ไม่นิยมใช้
  • การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก ( Cholecystectomy ) เป็นการรักษาที่ทำให้หายขาด แต่มีผลข้างเคียง และ ต้องป้องกันและเฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนหลังจากการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดถุงน้ำดีในปัจจุบันจะมี 2 วิธี คือ การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบเปิดหน้าท้อง (Open cholecystectomy) การผ่าตัดถุงน้ำดีโดยการส่องกล้อง (Laparoscopic cholecystectomy)
  • การส่องกล้องเพื่อตรวจรักษาท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (Endoscopic retrograde cholangiopancreatography – ERCP) ใช้สำหรับการรักษาในผู้ป่วยมีนิ่วในท่อน้ำดี เพื่อเอานิ่วออกจากท่อน้ำดี

การป้องกันการเกิดโรคนิ่วในถุงน้ำดี

  • ควบคุมอาหาร ลดการกินอาหารที่มีความมัน มีคอเสเตอรัลสูง รวมถึงอาหารหวาน เช่น น้ำอัดลม อาหารกระป๋อง เป็นต้น
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • ควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย
  • ทานอาหารจำพวกแป้งไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ผักผลไม้สด ถั่ว และธัญพืชต่างๆ เป็นต้น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจสุขภาพประจำปี

โรคนิ่วที่ถุงน้ำดี เรียกหลายชื่อ เช่น นิ่วน้ำดี นิ่วถุงน้ำดี หรือ นิ่วในถุงน้ำดี การเกิดก้อนิ่วขนาดเล็กจำนวนมากที่ถุงน้ำดี ทำให้ ปวดท้อง ท้องอืดง่าย เจ็บที่ลิ้นปี่ และ ชายโครงขาว ตัวเหลือง ตาเหลือง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove