การกินปลาดิบสาเหตของโรคพยาธิใบไม้ในตับ ทำเกิดอาการท้องอืด ตัวเหลือง ตาเหลือง คันตามตัว ปวดท้องด้านขวาบน ซึ่งพยาธิจะทำให้ตับอักเสบ การรักษาป้องกันโรคทำอย่างไร

พยาธิใบไม้ในตับ โรคพยาธิ โรค

โรคพยาธิใบไม้ตับ เกิดจากการเจริญเติบโตของพยาธิใบไม้ในตับสายพันธุ์โอปิสทอร์คิส วิเวอร์รินี ( Ophisthorchis Viverrini ) อาศัยในร่างกายทำให้เกิดการติดเชื้อที่ท่อน้ำดี ทำให้ท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรัง พยาธิใบไม้ตับเกิดมากกับประชากรไทย ภาคอีสาน ที่นิยมกินปลาดิบ พยาธิใบไม้ในตับสามารถอาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์ได้นานถึง 26 ปี

สาเหตุของโรคพยาธิใบไม้ตับ

สำหรับการติดโรคพยาธิใบไม้ตับ เกิดจากการอาศัยและเจริญเติบโตของพยาธิใบไม้ในตับในร่างกายมนุษย์ และ พยาธิใบไม้ในตับทำให้เกิดการติดเชื้อโรคภายในท่อน้ำดีของตับ ทำให้ตับอักเสบ และ เสียหาย ซึ่งพยาธิใบไม้ในตับจะอาศัยในปลาน้ำจืด เช่น ปลาตะเพียน ปลาซิว ปลาสร้อย ปลาแก้มช้ำ ปลาขาวนา และปลาขาว หรือ ปลาร้า หากรับประทานปลาเหล่านี้โดยไม่ปรุงให้สุกจะทำให้พยาธิใบไม้ในตับเข้าสู่ร่างกายได้

อาการของโรคพยาธิใบไม้ตับ

สำหรับโรคพยาธิใบไม้ในตับ จะแสดงอาการผิดปรกติของโรคที่เกิดจากตับ ซึ่งอาการของโรคจะขึ้นอยู่กับอาการอักเสบของตับว่ามากน้อยเพียงใด

  • ระบบทางเดินอาหารผิดปรกติ เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเสียเรื้อรัง ท้องเสียสลับกับท้องผูก
  • มีอาการปวดหลัง โดยเฉพาะปวดบริเวณท้องด้านขวาบน เจ็บใต้ชายโครงขวา เจ้บใต้ลิ้นปี่
  • มีก้อนตรงท้องด้านขวาบน
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
  • ตาเหลืองตัวเหลือง
  • เบื่ออาหาร
  • มีไข้ต่ำ
  • คันตามตัว
  • แขนขาบวม
  • มีน้ำในท้องมาก หรือ ท้องมาน
  • ปัสสาวะสีเข้ม
  • อุจจาระสีซีด
  • ถุงน้ำดีโตมากจนสามารถคลำเจอได้ด้วยตนเอง

การวินิจฉัยโรคพยาธิใบไม้ตับ

แนวทางการวินิจฉัยโรคพยาธิใบไม้ในตับ นั้นแพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติของผู้ป่วย ตรวจอุจจาระ ตรวจอัลตราซาวด์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

การรักษาพยาธิใบไม้ตับ

แนวทางการรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการผู้ป่วย ว่ามีอาการแทรกซ้อนและอาการติดเชื้อร่วมหรือไม่ ซึ่งการรักษาใช้ยารักษาโรคและการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับดุลย์พินิจของแพทย์ และ ความแข็งแรงของผู้ป่วย รายละเอียด ดังนี้

  • การใช้ยารักษาโรค โดยใช้ยาพราซิควอนเทล และ ยาปฏิชีวนะสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย
  • การผ่าตัด ใช้สำหรับกรณีการเกิดอาการแทรกซ้อนที่ท่อน้ำดีร่วม

นอกจากนั้น การรักษาใช้การรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการของโรค เช่น ยาแก้ปวด ต่อท่อระบายน้ำดี ลดอาการตัวเหลืองตาเหลือง หรือ เจาะน้ำออกจากช่องท้อง เป็นต้น

การป้องกันพยาธิใบไม้ตับ

แนวทางการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในตับ คือ การป้องกันพยาธิเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งปลาน้ำจืดเป็นพาหะนำโรค แนวทางการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในตับ มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุกก่อน โดยเฉพาะ ปลาน้ำจืด และ ปลาร้า
  • หมั่นตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ

โรคพยาธิใบไม้ในตับ สาเหตุเกิดจากการกินปลาดิบ ทำเกิดอาการ เช่น ท้องอืด ตัวเหลือง ตาเหลือง คันตามตัว ปวดท้องด้านขวาบน เมื่อพยาธิเข้าสู่ร่างกายทำให้ตับอักเสบ การรักษาและแนวทางการป้องกันโรค ทำอย่างไร

โรคท้องมาน ภาวะมีน้ำขังอยู่ในช่องท้องปริมาณมาก เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคตับแข็ง โรคมะเร็งตับ โรคหัวใจล้มเหลว โรคไต เป็นต้น การรักษาและการป้องกันโรคทำอย่างไรโรคท้องมาน โรคท้องโต โรคท้องบวม โรคตับ

ความหมายของโรคท้องมาน จากพจนานุกรมราชบัณฑิตย์สถาน พ.ศ. 2542 ท้องมาน ท้องบวม หมายถึง ชื่อโรคจำพวกหนึ่ง มีอาการให้ท้องโตเหมือนสตรีมีครรภ์ ภาวะที่เกิดมีน้ำคั่งในช่องท้องมากผิดปกติ จนเป็นสาเหตุให้ท้องขยายใหญ่โตขึ้น

ชนิดของโรคท้องมาน

โรคท้องมาน นั้นโดยทั่วไปสามารถแบ่งชนิดของโรคได้ 2 ชนิด คือ Serum Ascites Albumin Gradient (SAAG) และ ascites neutrophil โดยแบ่งจากปริมาณน้ำในท้องและสาเหตุของการท้องโต รายละเอียด ดังนี้

  • Serum Ascites Albumin Gradient (SAAG) คำนวณจากอัตราส่วนของโปรตีนแอลบูมินในน้ำที่ขังนช่องท้อง เปรียบเทียบกับระดับของโปรตีนแอลบูมินในเลือด
  • ascites neutrophil มากกว่า 250 cells/ml หรือมากกว่า 50% บ่งว่าผู้ป่วยน่าจะมีการติดเชื้อของน้ำในช่องท้อง และหากสงสัยว่ามีมะเร็งหรือ pancreatic ascites ก็ควรส่งตรวจ cytology หรือ amylase ร่วมด้วย

ปัจจัยเสี่ยงที่มำให้เกิดโรคท้องมาน

การเกิดภาวะน้ำขังในช่องท้องนั้น สามารถสรุปปัจจัยการเกิดโรคได้ ดังนี้

  • การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ทั้งชนิด B และ C
  • การดื่มสุราบ่อย จนเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
  • มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โระมะเร็ง และ โรคไต
  • การติดเชื้อที่ช่องท้อง เช่น ติดเชื้อวัณโรค เยื่อบุช่องท้องอักเสบ เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรคท้องมาน

จากปัจจัยของการเกิดโรค เราจึงสามามารถสรุปสาเหตุของการเกิดโรคท้องมาน ได้ดังนี้

  • โรคตับ ร้อยละ75 ของผู้ป่วยที่มีอาการท้องมาน จะมีภาวะป่วยโรคตับแข็ง น้ำในช่องท้องมีผลมาจากความดันเลือดในตับสูงขึ้น ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคตับแข็ง มีภาวะโรคท้องมาน 10 ปี มีอาการท้องบวม เท้าบวม มีน้ำในช่องอก มีอัตราการเสียชีวิตสูง
  • โรคมะเร็งในช่องท้อง เช่น มะเร็งรังไข่ หรือ เชื้อมะเร็งที่กระจายเข้าสู่ช่องท้อง เป็นต้น ร้อยละ 15 ของผู้ป่วยโรคท้องมาน เป็นโรคมะเร็ง
  • มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลว
  • เป็นผุ้ป่วยโรคไต
  • ขาดสารอาหาร มีภาวะขาดแอลบูมิน เป็น โปรตีนจากไข่ขาว
  • เกิดภาวะการอักเสบที่ช่องท้อง เช่น ติดเชื้อวัณโรค โรคภูมิแพ้
  • เกิดภาวะโรคตับอ่อนอักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากการดื่มสุรา หรือ การเกิดอุบัติเหตุกระทยที่ตับอ่อน
  • การอุดตันของหลอดเลือดใหญ่ที่ตับ

อาการโรคท้องมาน

สำหรับความรุนแรงของโรคท้องมาน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ เรียกว่า Grading of ascites โดยรายละเอียดดังนี้

  • ระดับที่ 1 ( Grade 1) มีอาการของโรคท้องมานเพียงเล็กน้อย สามารถตรวจพบได้โดยการอัลตร้าซาวน์
  • ระดับที่ 2 ( Grade 2) มีอาการของโรคปานกลาง การตรวจร่างกายประจำปี สามารถพบได้
  • ระดับที่ 3 ( Grade 3) มีอาการหนัก มีภาวะท้องตึงแน่น

ผู้ป่วยโรคท้องมาน สามารถสังเกตุอาการของโรคได้ โดยมีลักษณะของโรค ดังนี้

  • ท้องโต แน่นท้อง อาจทำให้หนังท้องปริและมีน้ำซึมออกมาได้ ในบางรายพบว่ามีสารน้ำในเยื่อหุ้มปอดร่วมด้วย
  • มีอาการเหนื่อยหอบและหายใจติดขัด
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • เบื่ออาหาร
  • อาการของป่วยจากตับ เช่น ดีซ่าน นมโต ฝ่ามือแดง เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคท้องมาน

การตรวจวินิจฉัยดรคแพทยืจะทำการ ตรวจร่างกาย และ สอบถามประวัติการเกิดโรคตับ โรคไต โรคหัวใจ และ โรคมะเร็ง แพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของตับ ดูดน้ำในช่องท้องออกมาตรวจ อัลตราซาวน์ช่วยในการเจาะดูดสารน้ำในช่องท้อง

การรักษาโรคท้องมาน

การรักษาโรคท้องมาน ต้องทราบสาเหตุของการเกิดโรค ก่อนและรักษาที่สาเหตุของโรค โดยแนวทางการรักษาโรคท้องมาน การรักษาเพื่อลดระดับน้ำในท้องทำให้ผู้ป่วยสบายขึ้น ช่วยรักษาสมดุลของเกลือ และช่วยในการปรับละดับน้ำในร่างกายและหลอดเลือดมีรายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาอาการท้องมานขึ้นกับโรคที่เป็นสาเหตุ
  • ถ้าเกิดจากโรคมะเร็งแพร่กระจาย แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาด้วยการผ่าตัดและเคมีบำบัด
  • ปรับเรื่องการกินอาหาร ลดอาหารที่มีโซเดียม และ อาหารที่มีรสเค็ม
  • รักษาโรคตับ ในผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากโรคตับแข็ง ให้จำกัดปริมาณโซเดียมในร่างกาย
  • ให้ยาขับปัสสาวะ โดยขนาดของยาขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและการตอบสนอง แลเต้องให้ยาโดยหลีกเลี้ยงการปัสสาวะในเวลากลางคืน
  • เจาะช่องท้องเพื่อระบายน้ำ สามารถระบายน้ำได้ถึง 5 ลิตรต่อครั้ง
  • ผ่าตัดเพื่อทำทางระบายน้ำในช่องท้อง
  • ผ่าตัดเปลี่ยนตับ สำหรับผู้ป่วยโรคตับแข็งระยะรุนแรง หรือมีภาวะตับวาย

โรคท้องมาน ความผิดปรกติของร่างกายจากภาวะมีน้ำขังอยู่ในช่องท้องปริมาณมาก โดยเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคตับแข็ง โรคมะเร็งตับ โรคหัวใจล้มเหลว โรคไต เป็นต้น การรักษาและการป้องกันโรคทำอย่างไร ท้องบวม โรคท้องโตผิดปรกติ

 


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove