บาดทะยัก Tetani ภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย Clostridium tetani จากสนิมเหล็ก ทำให้เกิดอาการชักแข็ง หลังแอ่น กล้ามเนื้อหดเกร็ง ตลอดเวลา อันตรายถึงชีวิตบาดทะยัก โรคติดเชื้อ การรักษาบาดทะยัก

โรคบาดทะยัก เป็นโรคติดเชื้อพบได้ทุกที่ทั่วโลก เกิดได้กับทุกเพศและทุกวัย บาดทะยักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียม เตตานิ ที่พบได้ในดิน น้ำลาย ฝุ่น มูลสัตว์ และ สนิมจากเหล็ก ซึ่งติดเชื้อผ่านบาดแผลตามร่างกาย และเชื้อโรคส่งผลต่อระบบประสาทและสมอง ทำให้กล้ามเนื้อตึงหรือแข็งเกร็ง แต่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้จากการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก

สาเหตุของการเกิดบาดทะยัก

โรคบาดทะยักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียม เตตานิ ( Clostridium Tetani ) ซึ่งพบว่าเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายโดยทาง ตะปู เข็ม หรือ กิ่งไม้ ตำร่างกาย หรือแผลไฟไหม้ แผลกดทับ สัตว์กัด ( สุนัข แมว ค้างควา หนู ) แผลเรื้อรัง แผลเบาหวาน ฟันผุ หูชั้นกลางอักเสบ  ซึ่งช่องทางการที่เชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียม เตตานิ ( Clostridium Tetani ) เข้าสู่ร่างกาย มีดังนี้

  • ผ่านทางแผลสด โดยส่วนใหญ่จะเป็นแผลขนาดเล็กๆแต่ลึก เช่น แผลจากตะปู หรือเศษไม้ตำ แผลอื่นๆ เช่น แผลถูกสัตว์กัด แผลถลอก แผลฉีกขาด แผลถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือแม้แต่แผลผ่าตัดก็พบได้ ถ้าระบบปลอดเชื้อของห้องผ่าตัดไม่มาตรฐาน หรือการดูแลแผลผ่าตัดที่ไม่สะอาด รวมทั้งแผลจากการถอนฟัน รักษารากฟัน ก็มีโอกาสติดเชื้อนี้ได้เช่นกัน
  • ผ่านทางแผลเรื้อรัง เช่นแผลเบาหวาน และแผลเป็นฝี
  • ผ่านทางการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน พบในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด หรือการสักลาย ( Tattoo )
  • ผ่านทางสายสะดือในเด็กแรกคลอด เกิดจากมารดาที่ไม่เคยฉีดวัคซีนบาดทะยัก และการใช้อุปกรณ์ที่ไม่สะอาดตัดสายสะดือเด็ก
  • จากการเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ
  • มีบางกรณีที่ไม่พบสาเหตุว่า เชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางไหน

อาการของโรคบาดทะยัก

อาการของผู้ป่วยโรคบาดทะยักจะแสดงอาการที่ความผิดปรกติของระบบประสาท เช่น อาการเกร็งที่เนื้อรอบแผล เกร็งอ้าปากไม่ได้ กลืนน้ำลายไม่ได้ คอและหลังมีการเกร็ง ปวดตามตัว หายใจลำบาก และ อาจจะเสียชีวิตในที่สุด

ซึ่งหลังจากร่างกายได้รับเชื้อโรค จะมีระยะการฟักตัวของโรค ประมาณ 4 ถึง 21 วัน แต่โดยส่วนมากพบว่าระยะฟักตัวอยู่ที่ 10 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และ ตำแหน่งของแผล รวมถึงเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย เชื้อบาดทะยักจะไม่ติดต่อจากคนสู่คนโดยตรง ซึ่งหลังจากระยะฟักตัว ภายใน 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะแสดงอาการของโรค ลักษณะอาการที่สำคัญของโรคบาดทะยัก มีดังนี้

  • ปวดหัว
  • ปวดบริเวณกราม
  • เกรงตามกล้ามเนื้อ
  • ปวดตัว
  • กลืนน้ำลายไม่ได้
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • มีไข้สุงและเหงื่อออก
  • หัวใจเต้นเร็วและความดันโลหิตสูงขึ้น

การรักษาโรคบาดทะยัก

แนวทางการรักษาโรคบาดทะยัก สามารถรักษาได้ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ penicillin และการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ ฉีดวัคซีน Toxoid และทำความสะอาดแผลไม่ให้ติดเชื้อซ้ำ แนวทางการรักษาต่อไปนี้

  • ให้ยา Tetanus Immunoglobulin และยาปฏิชีวนะ
  • นำเอาเนื้อเยื่อแผลที่ตายแล้วหรือสิ่งแปลกปลอม เช่น ฝุ่นและสิ่งสกปรกต่าง ๆ ออกจากบาดแผล
  • ให้ยาที่ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยและชักกระตุกของกล้ามเนื้อ เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อและยาระงับประสาท
  • ผู้ป่วยอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหากมีอาการหายใจลำบาก
  • ส่วนบางรายที่รับประทานอาหารไม่ได้จะต้องใช้หลอดให้อาหารเชื่อมต่อไปยังท้องหรือการหยดสารอาหารเข้าเส้นเลือด

ส่วนใหญ่อาการของโรคบาดทะยักที่ได้รับการรักษาจะค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้น แม้ว่าจะต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน ๆ แต่ก็มีผู้ป่วยบางรายที่เสียชีวิตจากโรคบาดทะยักได้เช่นกัน

การป้องกันการเกิดโรคบาดทะยัก

แนวทางการป้องกันการเกิดโรคบาดทะยัก สามารถปฏิบัติได้โดยลดความเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดอาการติดเชื้อโรค แนวทางการป้องกันโรคบาดทะยัก มีดังนี้

  • กลุ่มเสี่ยงที่ทำงานคลุกคลีกับสภาพแวดล้อมที่มีสนิม เช่น ช่างก่อสร้าง ช่างเหล็ก ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักเอาไว้ก่อน
  • หากต้องเดินทางไปสภานที่มีความเสียงเกิดอุบัติเหตุ ควรใช้ความระมัดระวัง
  • กลุ่มสตรีตั้งครรภ์ ควรซีนวัคซีนป้องกันบาดทะยักตามคำสั่งของแพทย์
  • หากเกิดแผลขึ้นให้ทำความสะอาดแผลให้สะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • หมั่นรักษาความสะอาดของสิ่งแวดล้อมให้สะอาดเสมอ
  • จัดเก็บสิ่งของต่างๆที่เป็นอันตรายให้เข้าที่เรียบร้อย ลดการเกิดอุบัติเหตุ

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

บาดทะยัก Tetanus ภาวะติดเชื้อบาดทะยัก Clostridium tetani อาการชักแข็ง หลังแอ่น ทำให้กล้ามเนื้อ หดเกร็งตลอดเวลา เชื้อโรคจะอยู่ในดิน สนิมตามมีด เข็ม หรือ ตะปู

บาดทะยัก โรคติดเชื้อ แผลจากสนิม

โรคบาดทะยัก เป็นโรคติดต่อ เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน เกิดและพบได้ทุกที่ทั่วโลก เกิดได้กับคน ในทุกเพศและทุกวัย การตัดสายสะดือ ในเด็กทารกแรกเกิด หากไม่รักษาความสะอาด ก็สามารถทำให้เกิด บาดทะยัก ได้ สาเหตุหนึ่งของการตาย  สูงในหลายประเทศ อาทิเช่น ประเทศในแถบเอเชีย อาฟริกา อเมริกาใต้ โดยเฉพาะประเทศกลุ่มด้อยการพัฒนา

บาดทะยักในทารกแรกเกิดอาการมักจะเริ่มเมื่อทารกอายุประมาณ 3-10 วัน อาการแรกที่จะสังเกตได้คือ เด็กดูดนมลำบาก หรือไม่ค่อยดูดนม ทั้งนี้เพราะมีขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ได้ บาดทะยัก เป็นโรคที่เกิดจากตัวเชื้อโรคบาดทะยัก เข้าสู่แผล ทำให้มีอาการกระตุกและชักแข็ง หลังแอ่น โดยมากสามารถทำให้เสียชีวิตได้

สาเหตุของการเกิดบาดทะยัก

เกิดจากเชื่อโรคบาดทะยัก ซึ่งพบว่าเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายโดยทาง ตะปู เข็ม หรือกิ่งไม้ ตำร่างกาย หรือแผลไฟไหม้ แผลกดทับ สัตว์กัด(สุนัข แมว ค้างควา หนู) แผลเรื้อรัง แผลเบาหวาน ฟันผุ หูชั้นกลางอักเสบ  ซึ่งเชื้อบาดทะยักนั้นสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง คือ

  • ผ่านทางแผลสด โดยส่วนใหญ่จะเป็นแผลขนาดเล็กๆแต่ลึก เช่น แผลจากตะปู หรือเศษไม้ตำ แผลอื่นๆ เช่น แผลถูกสัตว์กัด แผลถลอก แผลฉีกขาด แผลถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือแม้แต่แผลผ่าตัดก็พบได้ ถ้าระบบปลอดเชื้อของห้องผ่าตัดไม่มาตรฐาน หรือการดูแลแผลผ่าตัดที่ไม่สะอาด รวมทั้งแผลจากการถอนฟัน รักษารากฟัน ก็มีโอกาสติดเชื้อนี้ได้เช่นกัน
  • ผ่านทางแผลเรื้อรัง เช่นแผลเบาหวาน และแผลเป็นฝี
  • ผ่านทางการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน พบในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด หรือการสักลาย (Tattoo)
  • ผ่านทางสายสะดือในเด็กแรกคลอด เกิดจากมารดาที่ไม่เคยฉีดวัคซีนบาดทะยัก และการใช้อุปกรณ์ที่ไม่สะอาดตัดสายสะดือเด็ก
  • จากการเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ
  • มีบางกรณีที่ไม่พบสาเหตุว่า เชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางไหน

อาการของโรคบาดทะยัก

สำหรับผู้ที่ติดเชื้อบาทยักนั้น พบว่าจะมีอาการเกร็งที่เนื้อรอบแผล หลังจากนั้นผู้ป่วยจะเกร็งอ้าปากไม่ได้ กลืนน้ำลายไม่ได้ คอและหลังมีการเกร็ง ปวดตามตัว หายใจลำบาก และอาจจะเสียชีวิตในที่สุด

ซึ่งสำหรับระยะการเกิดโรคนั้น ระยะฟักตัวของโรค จะอยู่ที่ประมาณ 4 ถึง 21 วัน แต่โดยส่วนมาก 10 วัน โดยขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม และตำแหน่งของแผล และเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ส่วนระยะติดต่อ เชื้อบาดทะยักจะไม่ติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปสู่บุคคลหนึ่งโดยตรง  โรคบาดทะยักมักจะเกิดกับกล้ามเนื้อลายและเส้นประสาท ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่เราสั่งได้

ผู้ป่วยจะเกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อรอบแผล หลังจากนั้นภายใน 1 สัปดาห์ จะเกิดอาการเกร็งตัวที่กล้ามเนื้อ ทำให้อ้าปากไม่ได้ กลืนน้ำลายลำบาก คอและหลังมีอาการเกร็ง มีอาการปวดทั่วร่างกาย ทำให้หายใจลำบาก และอาจจะเสียชีวิตด้วยภาวะหายล้มเหลว อาการที่สำคัญของโรคบาดทะยักนั้น มีดังนี้

  • ปวดหัว
  • ปวดบริเวณกราม
  • เกรงตามกล้ามเนื้อ
  • ปวดตัว
  • กลืนน้ำลายไม่ได้
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • มีไข้สุงและเหงื่อออก
  • หัวใจเต้นเร็วและความดันโลหิตสูงขึ้น

การรักษาโรคบาดทะยัก

ผู้ป่วยต้องรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ ชื่อ penicillin ให้ยาคลายกล้ามเนื้อ ฉีดวัคซีน Toxoid และทำความสะอาดแผลไม่ให้ติดเชื้ออีก ผู้ป่วยที่เริ่มแสดงอาการของโรคบาดทะยักแล้ว โดยทั่วไปจำเป็นจะต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลในห้องไอซียูเพื่อให้แพทย์เฝ้าดูอย่างใกล้ชิด และอาจได้รับการรักษาต่อไปนี้

  • ให้ยา Tetanus Immunoglobulin และยาปฏิชีวนะ
  • นำเอาเนื้อเยื่อแผลที่ตายแล้วหรือสิ่งแปลกปลอม เช่น ฝุ่นและสิ่งสกปรกต่าง ๆ ออกจากบาดแผล
  • ให้ยาที่ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยและชักกระตุกของกล้ามเนื้อ เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อและยาระงับประสาท
  • ผู้ป่วยอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหากมีอาการหายใจลำบาก
  • ส่วนบางรายที่รับประทานอาหารไม่ได้จะต้องใช้หลอดให้อาหารเชื่อมต่อไปยังท้องหรือการหยดสารอาหารเข้าเส้นเลือด

ส่วนใหญ่อาการของโรคบาดทะยักที่ได้รับการรักษาจะค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้น แม้ว่าจะต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน ๆ แต่ก็มีผู้ป่วยบางรายที่เสียชีวิตจากโรคบาดทะยักได้เช่นกัน

การป้องกันการเกิดโรคบาดทะยัก

แนวทางการป้องกันการเกิดโรคบาดทะยัก สามารถปฏิบัติได้ดังนี้

  • ในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงในการทำงานใกล้กับสิ่งที่เป็นต้นเหตุของการเกิดบาดทะยัก เช่น คนที่คลุกคลีต่อของที่มีสนิม ของสกปรก มีโอกาสได้รับการบาดเจ็บ ควรฉีดยาป้องกันโรคบาดทะยัก ป้องกันเอาไว้
  • ในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ ควรซีนวัคซีนป้องกันบาดทะยักตามคำสั่งของแพทย์
  • ให้ทำความสะอาดแผลให้สะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • หมั่นรักษาความสะอาดของสิ่งแวดล้อมให้สะอาดเสมอ

โรคบาดทะยัก ( Tetanus ) คือ โรคติดเชื้อบาดทะยัก Clostridium tetani อาการโรคบาดทะยัก ชักแข็ง หลังแอ่น ทำให้กล้ามเนื้อ หดเกร็ง ตลอดเวลา โรคนี้อันตรายถึงชีวิต เชื้อโรคจะอยู่ในดิน ในฝุ่น ที่ติดอยู่ใน มีด เข็ม หรือ ตะปู

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove