บาดทะยัก Tetani ภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย Clostridium tetani จากสนิมเหล็ก ทำให้เกิดอาการชักแข็ง หลังแอ่น กล้ามเนื้อหดเกร็ง ตลอดเวลา อันตรายถึงชีวิตบาดทะยัก โรคติดเชื้อ การรักษาบาดทะยัก

โรคบาดทะยัก เป็นโรคติดเชื้อพบได้ทุกที่ทั่วโลก เกิดได้กับทุกเพศและทุกวัย บาดทะยักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียม เตตานิ ที่พบได้ในดิน น้ำลาย ฝุ่น มูลสัตว์ และ สนิมจากเหล็ก ซึ่งติดเชื้อผ่านบาดแผลตามร่างกาย และเชื้อโรคส่งผลต่อระบบประสาทและสมอง ทำให้กล้ามเนื้อตึงหรือแข็งเกร็ง แต่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้จากการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก

สาเหตุของการเกิดบาดทะยัก

โรคบาดทะยักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียม เตตานิ ( Clostridium Tetani ) ซึ่งพบว่าเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายโดยทาง ตะปู เข็ม หรือ กิ่งไม้ ตำร่างกาย หรือแผลไฟไหม้ แผลกดทับ สัตว์กัด ( สุนัข แมว ค้างควา หนู ) แผลเรื้อรัง แผลเบาหวาน ฟันผุ หูชั้นกลางอักเสบ  ซึ่งช่องทางการที่เชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียม เตตานิ ( Clostridium Tetani ) เข้าสู่ร่างกาย มีดังนี้

  • ผ่านทางแผลสด โดยส่วนใหญ่จะเป็นแผลขนาดเล็กๆแต่ลึก เช่น แผลจากตะปู หรือเศษไม้ตำ แผลอื่นๆ เช่น แผลถูกสัตว์กัด แผลถลอก แผลฉีกขาด แผลถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือแม้แต่แผลผ่าตัดก็พบได้ ถ้าระบบปลอดเชื้อของห้องผ่าตัดไม่มาตรฐาน หรือการดูแลแผลผ่าตัดที่ไม่สะอาด รวมทั้งแผลจากการถอนฟัน รักษารากฟัน ก็มีโอกาสติดเชื้อนี้ได้เช่นกัน
  • ผ่านทางแผลเรื้อรัง เช่นแผลเบาหวาน และแผลเป็นฝี
  • ผ่านทางการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน พบในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด หรือการสักลาย ( Tattoo )
  • ผ่านทางสายสะดือในเด็กแรกคลอด เกิดจากมารดาที่ไม่เคยฉีดวัคซีนบาดทะยัก และการใช้อุปกรณ์ที่ไม่สะอาดตัดสายสะดือเด็ก
  • จากการเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ
  • มีบางกรณีที่ไม่พบสาเหตุว่า เชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางไหน

อาการของโรคบาดทะยัก

อาการของผู้ป่วยโรคบาดทะยักจะแสดงอาการที่ความผิดปรกติของระบบประสาท เช่น อาการเกร็งที่เนื้อรอบแผล เกร็งอ้าปากไม่ได้ กลืนน้ำลายไม่ได้ คอและหลังมีการเกร็ง ปวดตามตัว หายใจลำบาก และ อาจจะเสียชีวิตในที่สุด

ซึ่งหลังจากร่างกายได้รับเชื้อโรค จะมีระยะการฟักตัวของโรค ประมาณ 4 ถึง 21 วัน แต่โดยส่วนมากพบว่าระยะฟักตัวอยู่ที่ 10 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และ ตำแหน่งของแผล รวมถึงเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย เชื้อบาดทะยักจะไม่ติดต่อจากคนสู่คนโดยตรง ซึ่งหลังจากระยะฟักตัว ภายใน 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะแสดงอาการของโรค ลักษณะอาการที่สำคัญของโรคบาดทะยัก มีดังนี้

  • ปวดหัว
  • ปวดบริเวณกราม
  • เกรงตามกล้ามเนื้อ
  • ปวดตัว
  • กลืนน้ำลายไม่ได้
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • มีไข้สุงและเหงื่อออก
  • หัวใจเต้นเร็วและความดันโลหิตสูงขึ้น

การรักษาโรคบาดทะยัก

แนวทางการรักษาโรคบาดทะยัก สามารถรักษาได้ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ penicillin และการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ ฉีดวัคซีน Toxoid และทำความสะอาดแผลไม่ให้ติดเชื้อซ้ำ แนวทางการรักษาต่อไปนี้

  • ให้ยา Tetanus Immunoglobulin และยาปฏิชีวนะ
  • นำเอาเนื้อเยื่อแผลที่ตายแล้วหรือสิ่งแปลกปลอม เช่น ฝุ่นและสิ่งสกปรกต่าง ๆ ออกจากบาดแผล
  • ให้ยาที่ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยและชักกระตุกของกล้ามเนื้อ เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อและยาระงับประสาท
  • ผู้ป่วยอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหากมีอาการหายใจลำบาก
  • ส่วนบางรายที่รับประทานอาหารไม่ได้จะต้องใช้หลอดให้อาหารเชื่อมต่อไปยังท้องหรือการหยดสารอาหารเข้าเส้นเลือด

ส่วนใหญ่อาการของโรคบาดทะยักที่ได้รับการรักษาจะค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้น แม้ว่าจะต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน ๆ แต่ก็มีผู้ป่วยบางรายที่เสียชีวิตจากโรคบาดทะยักได้เช่นกัน

การป้องกันการเกิดโรคบาดทะยัก

แนวทางการป้องกันการเกิดโรคบาดทะยัก สามารถปฏิบัติได้โดยลดความเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดอาการติดเชื้อโรค แนวทางการป้องกันโรคบาดทะยัก มีดังนี้

  • กลุ่มเสี่ยงที่ทำงานคลุกคลีกับสภาพแวดล้อมที่มีสนิม เช่น ช่างก่อสร้าง ช่างเหล็ก ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักเอาไว้ก่อน
  • หากต้องเดินทางไปสภานที่มีความเสียงเกิดอุบัติเหตุ ควรใช้ความระมัดระวัง
  • กลุ่มสตรีตั้งครรภ์ ควรซีนวัคซีนป้องกันบาดทะยักตามคำสั่งของแพทย์
  • หากเกิดแผลขึ้นให้ทำความสะอาดแผลให้สะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • หมั่นรักษาความสะอาดของสิ่งแวดล้อมให้สะอาดเสมอ
  • จัดเก็บสิ่งของต่างๆที่เป็นอันตรายให้เข้าที่เรียบร้อย ลดการเกิดอุบัติเหตุ

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

โรคคอตีบ Diphtheria ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่ทางเดินหายใจ อาการร้ายแรง ทำให้อักเสบที่เยื่อบุจมูก คอ และ หลอดลม ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ร่างกายอ่อนแรงได้

โรคคอตีบ โรคหูคจมูก โรคติดเชื้อ โรคลำคอ

โรคคอตีบ ( Diphtheria ) เป็นโรคเกิดจากทางเดินหายใจติดเชื้อแบคทีเรียชนิด Chorynebac terium diphtheriae ปัจจุบันเป็นโรคพบได้น้อยในประเทศที่พัฒนาแล้วเนื่องจากมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ตั้งแต่เป็นทารกอายุ 2 เดือนอย่างทั่วถึง แต่ยังเป็นโรคที่พบได้บ่อยในประเทศในเขตร้อนที่ยังไม่พัฒนาหรือกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย โรคคอตีบจัดเป็นโรครุนแรงเป็นสาเหตุให้เสียชีวิต (ตาย) ได้ ทั้งนี้ความรุนแรงของโรคขึ้นกับการได้รับยาต้านสารพิษและยาปฏิชีวนะอย่างรวดเร็วภายใน 1 – 2 วันหลังมีอาการ ซึ่งช่วยลดอัตราเสียชีวิตลงเหลือประมาณ 1% แต่ถ้ามาพบแพทย์ล่าช้า หรือเมื่อผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 5 ปี หรืออายุสูงตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป หรือเกิดผลข้างเคียงแล้ว อัตราเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 20%

สาเหตุของการเกิดโรคคอตีบ

สำหรับต้นเหตุของโรคคอตีบเกิดจาก เชื้อแบคทีเรียคอตีบ ชื่อว่า โครินแบคทีเรียดิฟทีเรีย ( Corynebacterium diphtheriae ) เชื้อคอตีบ หลังจากนั้นเชื้อชนิดนี้จะปล่อยสารพิษ (Exotoxin) ออกมาทำลายเนื้อเยื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะเยื่อบุคอหอย กล้ามเนื้อหัวใจ และเส้นประสาท โรคคอตีบสามารถติดต่อได้จากการรับเชื้อทางปากหรือหายใจ จากผู้ที่มีเชื้อโรค เช่น การไอ การจาม การสัมผัสน้ำลายหรือเสมหะของผู้ป่วย หลังจากได้รับเชื้อ 2-10 วันผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการ

อาการของผู้ป่วยโรคคอตีบ  

ผู้ป่วยจะมี น้ำมูก เจ็บคอ มีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว พบว่ามีอาการต่อมน้ำเหลืองโต หายใจและกลืนน้ำลายลำบาก จะมีแผลที่ผิวหนัง มีอาการอักเสบที่แผล เจ็บ และมีหนองเขียวที่แผล หากไม่รักษาให้ทันท่วงที จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ คือ การอักเสบที่กล้ามหัวใจ จะทำให้มีภาวะหัวใจล้มเหลว  เกิดภาวะน้ำท่วมปอด การเต้นของหัวใจจะผิดปกติ หรืออาจจะส่งผลถึงเส้นประสาทที่สมอง อาจเป็นอัมพาต เกิดปากเบี้ยว ตาเข มือเท้าชา และกล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถสรุบอาการของโรคคอตีบได้ดังนี้

  • มีไข้มักไม่เกิน 39 องศาเซลเซียส (Celsius) อาจรู้สึกหนาวสั่น
  • อ่อนเพลีย เจ็บคอมาก กิน/ดื่มแล้วเจ็บคอมากจึงกิน/ดื่มได้น้อย
  • หายใจลำบาก หายใจไม่ออก หายใจเร็ว หอบเหนื่อย
  • คออาจบวมและไอมีเสียงดังเหมือนสุนัขเห่า
  • มีแผ่นเยื่อในจมูก ต่อมทอนซิล ลำคอ และกล่องเสียง ก่ออาการค่อยๆมีเสียงแหบลงเรื่อยๆ และน้ำมูกอาจมีเลือดปน/น้ำมูกเป็นเลือด
  • อาจมีต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอบวมโตซึ่งโตได้ทั้งสองข้าง
  • หลังจากมีอาการทางเดินหายใจแล้ว อาจพบมีแผลบริเวณผิวหนังพบได้ทั่วตัวแต่พบบ่อยบริเวณแขนและขา แผลมีลักษณะเหมือนแผลทั่วไป แต่เมื่อตรวจเชื้อจะพบว่าเกิด จากเชื้อโรคคอตีบ

ระยะของโรคคอตีบ

สำหรับอาการของโรคคอตีบนั้นสามารถแบ่งได้ 2 ระยะ ตามลักษณะของอาการของโรค คือ คอตีบระยะฟักตัวของโรค และ คอตีบระยะติดต่อ ซึงรายละเอียดของโรคคอตีบแต่ละระยะ มีดังนี้

  • คอตีบระยะฟักตัวของโรค  ตั้งแต่ได้รับเชื้อจนแสดงอาการจะใช้เวลาประมาณ 1-7 วัน (โดยเฉลี่ย 3 วัน) แต่อาจนานได้ถึง 10 วัน และผู้ป่วยมักมีอาการอยู่นาน 4-6 สัปดาห์หรืออาจนานกว่านี้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ในบางกรณีผู้ติดเชื้ออาจจะไม่แสดงอาการใด ๆ เลยก็ได้ ซึ่งกลุ่มผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการเหล่านี้ (Carrier) มักจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญในชุมชน
  • คอตีบระยะติดต่อ ผู้ที่มีอาการของโรคคอตีบจะมีเชื้ออยู่ในจมูกและลำคอได้นาน 2-3 สัปดาห์ แต่บางครั้งอาจนานถึงหลายเดือน ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอย่างเต็มที่แล้วเชื้อจะหมดไปภายใน 1 สัปดาห์

การรักษาโรคคอตีบ

แนวทางการรักษาโรคคอตีบ สามารถรักษาได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น penicillin หรือ Erythromycin ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาเพื่อฆ่าเชื้อโรค กับแพทย์ ประมาณ 2 สัปดาห์ ผ่าตัดเอาแผ่นฝ้าขาวออกเพื่อไม่ให้อุดหลอดลม พักผ่อนให้มากๆ

การป้องกันโรคคอตีบ

แนวทางการป้องกันการติดเชื้อโรคคอตีบ สามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันคอตีบ สรุปแนวทางการป้องกันการเกิดโรคคอตีบได้ ดังนี้

  • การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ลดโอกาสติดเชื้อต่างๆซึ่งรวมทั้งเชื้อโรคคอตีบและลดการติดโรคที่ก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำเช่น ติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์
  • ใช้หน้ากากอนามัย
  • การร่วมมือกันในชุมชนในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีสุขอนามัยที่ดี
  • โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน (DTP vaccine) หรือฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยัก (DT vaccine)
  • ผู้ที่สัมผัสโรคหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการป้องกัน ซึ่งแพทย์จะเพาะเชื้อจากคอหอย ติดตามอาการเป็นเวลา 7 วัน และให้รับประทานยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) ในขนาดเดียวกันกับที่ใช้รักษา แต่ให้รับประทานป้องกันเพียง 7 วัน และจะฉีดวัคซีนป้องกันให้ถ้าไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อนหรือฉีดไม่ครบ แต่ถ้าเคยฉีดวัคซีนป้องกันมาแล้วและเข็มสุดท้ายได้รับมานานเกิน 5 ปี แพทย์จะฉีดวัคซีนกระตุ้นให้อีกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยในระยะติดต่อ ควรสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับผู้ป่วย

โรคคอตีบ ( Diphtheria ) ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่ระบบทางเดินหายใจ อาการร้ายแรง ทำให้อักเสบที่เยื่อบุจมูก คอ และ หลอดลม ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดการอักเสบ และ อ่อนแรง ได้ การรักษาโรคคอตีบ การป้องกันโรคคอตีบ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove