อหิวาตกโรค ( Cholera ) โรคติดต่อร้ายแรง จากเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง อาเจียน ร่างกายขาดน้ำ และ เสียชีวิตกินอาหารไม่สะอาดอหิวาตกโรค โรคห่า โรคติดต่อ โรคระบบทางเดินอาหาร

สาเหตุของการเกิดอหิวาตกโรค

โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนที่ระบบทางเดินอาหาร ชื่อ แบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ( Vibrio Cholerae ) เชื้อแบคทีเรียได้หลั่งสารซิกัวทอกซิน ( Ciguatoxin: CTX ) เมื่อสารซิกัวทอกซินรวมตัวกับโซเดียม หรือ คลอไรด์ ที่ลำไส้ ทำให้เกิดการกระตุ้นการขับน้ำออกจากร่างกาย โดยการอุจจาระ ซึ่งเป็นอาการอย่างกะทันหัน แบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี จะปนเปื้อนอยู่ตามสิ่งปฏิกูล อุจจาระ ซึ่งเชื้อโรคหากกระจายอยู่ในแหล่งน้ำ ก็มีโอกาสปะปนกับอาหาร และ พืชผัก ผลไม้ ต่างๆได้

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคอหิวาตกโรค

อหิวาตกโรคเกิดจากการกินอาหารไม่สะอาด ดังนั้น ปัจจัยต่างๆที่มีโอกาสทำให้เกิดอหิวาตกโรค มีดังนี้

  • ภาวะสุขอนามัยไม่ดี เชื่ออหิวาตกโรค สามารถแพร่กระจายตามแหล่งน้ำ หากการจัดการสิ่งแวดล้อมไม่สะอาด ผิดหลักการอนามัย ทำให้เกิดการระบาดของโรคได้ง่าย
  • ภาวะไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร ( Hypochlorhydria/Chlorhydria ) การที่ร่างกายไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เมื่อเชื้ออหิวาเข้าสู่ร่างกาย ก็สามารถแพร่กระจาย และ เจริญเติบโต จนปล่อยสารพิษ เข้าสู่ร่างกาย
  • การอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยอหิวาตกโรค เชื้ออหิวาตกโรค สามารถแพร่กระจายผ่านอุจจาระของผู้ป่วย เมื่ออยู่ใกล้ ก็มีดอกาสในารเกิดโรคเช่นกัน
  • การกินอาหารไม่สะอาด และ ไม่ปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน อาหารทะเล พวกหอย หากปรุงไม่สุกมีโอกาสเสี่ยงทำให้เกิดอหิวาตกโรคได้

การวินิจฉัยอหิวาตกโรค

สำหรับการวินิจฉัยโรค แพทย์จะทำการซักประวัติ และ สังเกตุอาการเบื้องต้นก่อน จากนั้น ต้องทำการคตรวจร่างกาย ตรวจอุจจาระ การวินิจฉัยโรค สามารถระบุสาเหตุ ของอาการท้องร่วง เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้อง

อาการของผู้ป่วยอหิวาตกโรค

เมื่อเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ( Vibrio Cholerae )เข้าสู่ร่างกาย จะมีระยะเวลาในการเกิดโรคจะเกิดภายใน 2 ชั่วโมง ถึง 5 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาในการฟักตัวของโรค เมื่อเกิดอาการของอหิวาตกโรค จะแสดงอาการ ท้องเสียอย่างเฉียบพลัน ถ่ายเป็นน้ำ อุจจาระมีสีขาวลักษณะเหมือนน้ำซาวข้าว อุจจาระมีกลิ่นเหม็นคาว คลื่นไส้อาเจียน ไม่มีไข้ ซึ่งอาการของโรคสามารถสรุป ได้ดังนี้

  • มีอาการปวดท้อง แบบปวดบิด
  • เกิดภาวะการขาดน้ำและเกลือแร่ โดยแสดงอาการ กระหายน้ำ ปากแห้ง คอแห้ง ผิวหนังแห้ง ไม่มีน้ำตา กระหม่อมบุ๋ม ปัสสาวะน้อย ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม หรือ ไม่ถ่ายปัสสาวะ อ่อนเพลีย ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ

การรักษาอหิวาตกโรค

สำหรับการรักษาอหิวาตกโรค ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาอย่างทันที่ โดยให้การรักษาอาการร่างกายขาดน้ำก่อน และ แพทย์จะพิจารณาการใช้ยาปฏิชีวนะ ในการฆ่าเชื้อโรค หลังจากตรวจอุจจาระและทราบเชื้อโรคที่ชัดเจน โดยรายละเอียดของการรักษาอหิวาตกโรค มีดังนี้

  • ให้น้ำเกลือ เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำและเกลือแร่เพื่อทดแทนส่วนที่เสียไป
  • ให้สารอาหารน้ำทดแทน ( Intravenouse Fluids ) ในกรณีที่ผู้้ป่วยเกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรง จำเป็นต้องให้สารน้ำทางน้ำเกลือเพื่อป้องกันการช็อคอย่างเฉียบพลัน
  • ให้ยาปฏิชีวนะ เนื่องมาจากเชื้ออหิวา เช่น ยาดอกซีไซคลิน ( Doxycycline ) ยาอะซีโธรมัยซิน ( Azithromycin )

ภาวะแทรกซ้อนของอหิวาตกโรค

ความอันตรายของอหิวาตกโรค นอกจากการขาดน้ำแล้ว โรคแทรกซ้อน เป็นอีกหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวัง โดยภาวะแทรกซ้อนของอหิวาตกโรค มีดังนี้

  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ( Hypoglycemia ) ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นภาวะอันตราย หากเกิดกับเด็ก อาจทำให้เกิดอาการชัก ไม่ได้สติ และถึงขั้นเสียชีวิต
  • ภาวะโพแทสเซียมต่ำ ( Hypokalemia ) ภาวะโพแทสเซียมต่ำ ส่งผลต่อระบบหัวใจและเส้นประสาท เป็นอันตรายต่อชีวิต
  • ภาวะไตวาย การเสียสมดุลย์ของน้ำในร่างกาย ทำให้ไตไม่ทำงาน ส่งผลต่อของเสียต่างๆ ตกค้างในร่างกาย เป็นอันตรายต่อชีวิต

การป้องกันการเกิดอหิวาตกโรค

สำหรับการป้องกันการเกิดอหิวาตกโรค โดยหลักๆ คือ การรักษาความสะอาด ของสิ่งแวดล้อมและอาหาร โดยการป้องกันการเกิดอหิวาตกโรค มีรายละเอียด ดังนี้

  • ดื่มน้ำสะอาด งดการกินน้ำแข็ง เพราะ อาจมีสิ่งเจือปนในน้ำแข็งได้
  • การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
  • ปรุงอาหารสุก และ กินอาหารที่สุกเท่านั้น
  • ทำความสะอาด วัตถุดิบของอาหาร ทั้ง ผัก ผลไม้ โดยล้างให้สะอาดก่อนนำมาประกอบอาหาร และ รับประทาน
  • รับการฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค
  • หากมีผู้ป่วยอหิวาตกโรคอยู่ใกล้ ต้องรักษาความสะอาดเป็นพิเศษ

อหิวาตกโรค ( Cholera ) คือ โรคติดต่อ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ( Vibrio Cholerae ) ที่ระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง โดยสาเหตุเกิดจากการกินอาหารไม่สะอาด อาการของโรคอหิวาตกโร ถ่ายเหลว อาเจียน ร่างกายขาดน้ำ และ เสียชีวิต การรักษาโรค และ การป้องกันโรค โรคอหิวาตกโรค คือ โรคเป็นติดต่อ ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข

กลุ่มอาการคุชชิง ( Cushing syndrome ) เกิดจากฮอร์โมน Glucocorticoid สูงกว่าปรกติ ทำให้หน้าบวมคล้ายพระจันทร์ มีก้อนไขมันที่หลังคอ ปัสสาวะบ่อย นอนไม่หลับ ผิวแห้งโรคคุชชิง กลุ่มอาการคุชชิง อาการหน้าบวม โรคไม่ติดต่อ

โรคคุชชิง หรือ กลุ่มอาการคุชชิง ภาษาอังกฤษ เรียก Cushing syndrome  เป็นโรคต่อมไร้ท่อ เกิจากความผิดปรกติของต่อมใต้สมอง ลักษณะเด่นของโรคนี้ คือ อาการบวมของใบหน้าคล้ายพระจันทร์ เป็นอาการของโรคที่เกิดจากการมีฮอร์โมน Glucocorticoid มากเกินไป ชึ่งเกิดจากการได้รับฮอร์โมนจากภายนอกร่างกาย

Glucocorticoid เรียกย่อๆว่า GC เป็นฮอร์โมนสเตียรอยด์สร้างจากต่อมหมวกไต อยู่ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมน ACTH ภาษาอังกฤษ เรียก Adrenocorticotropic hormone ที่ถูกสร้างด้วยต่อมใต้สมอง ซึ่งฮอร์โมน ACTH มีหย้าที่ในการควบคุมการสร้างฮอร์โมน Glucocorticoid

โดยฮอร์โมน Glucocorticoid เป็น ฮอร์โมนที่มีความสัมพันธ์กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย เกี่ยวข้องกับการรักษาความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ ต่างๆในร่างกาย เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของมนุษย์ โดยเฉพาะเด็ก รวมถึงการสร้าง ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายมนุษย์ด้วย การผิดปรกติของฮอร์โมน Glucocorticoid เป็นโรคกลุ่มอาการคุชชิง

หากกล่าวถึง โรคคุชชิง แล้ว โรคนี้พบครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยศลัยแพทย์ด้านระบบประสาท ชื่อ ฮาร์เวย คุชชิง เมื่อปี พ.ศ. 2475 พบร่างกายผิดปรกติจากภาวะฮอร์โมน Clucocorticoid ในร่างกายสูงเกินไป โรคนี้พบได้ไม่บ่อย ซึ่งสามารถพบได้ในคนช่วงอายุ 20 ถึง 50 ปี และพบว่าผู้หญิงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมากกว่าผู้ชาย

สาเหตุของการเกิดโรค กลุ่มอาการคุชชิง

พบว่า สาเหตุหลักของการเกิดโรค นี้ คือ ฮอร์โมน Glucocorticoid ในร่างกายสูงกว่าปรกติ ซึ่งสามารถแยกสาเหตุของโรคเป็น 2 เหตุหลักๆ คือ การสร้างฮอร์โมนในร่างกายผิดปรกติ และการได้รับฮอร์โมนมากกว่าปรกติ ซึ่งรายละเอียดของสาเหตุ สามารถอธิบายได้ดังนี้

  1. สาเหตุจากร่างกายสร้างฮอร์โมน Glucocorticoid มากกว่าปกติ ซึ่งทางการแพทย์พบว่า เกิดจากความผิดปรกติของต่อมไร้ท่อ ที่ต่อมหมวกไต เช่น การเกิดเนื้องอก หรือ มะเร็งที่ต่อมใต้สมอง หรือ มะเร็งที่ต่อมไทรอยด์ ชนิด Medullary carcinoma สาเหตุของโรคคิชชิง จากการสร้างฮอร์โมนมากผิดปรกติ พบได้น้อย และโอกาสเสี่ยงของการเกิดพบว่า ผู้หญิงมีดอกาสเป็นมากกว่าผู้ชายถึง 6 เท่า
  2. สาเหตุของโรคจากการได้รับฮอร์โมน Glucocorticoid จากภายนอกร่างกาย ซึ่งสาเหตุของการได้รับฮอร์โมนเข้าสู่ร่างกาย เกิดจากการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ เพื่อใช้ในการรักษาโรคบางชนิด เช่น โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคออโตอิมมูน เป้นต้น

กลุ่มของผู้ที่มีความเสี่ยงของการเกิดโรคกลุ่มคุชชิง คือ ผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์ ที่ใช้ในการรักษาโรค เช่น โรคหืดหอบ โรคออโตอิมมูน

อาการของโรคกลุ่มอาการคุชชิง

อาการของโรคนี้สามารถแบ่งอาการของโรค ได้เป็น 2 ส่วน คือ ลักษณะอาการทั่วไป และลักษณะอาการที่เป็นเฉพาะที่ รายละเอียดของอาการกลุ่มโรคคุชชิง มีรายละเอียดดังนี้

  1. ลักษณะอาการทั่วไป เป็นอาการที่เกิดจากฮอร์โมนClucocorticoid ที่มีผลต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ เช่น หิวบ่อย กินมากขึ้น ใบหน้าบวมพระจันทร์เต็มดวง อ้วนบริเวณไหปลาร้า มีพุง แต่แขนขาลีบ มีก้อนไขมันที่ด้านหลังคอ ปัสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อย นอนไม่หลับ ผิวหนังแห้ง ผิวหนังบาง ผิวหนังแตกง่าย เป็นแผลง่าย แผลหายยาก ความดันโลหิตสูง ค่าน้ำตาลในเลือดสูง เป็นเบาหวาน มีภาวะกระดูกพรุน กระดูกหักง่าย ต้นแขน ต้นขา ลีบและอ่อนแรง ระบบสมองแปรปรวน ซึมเศร้า ประจำเดือนมาไม่ปกติ ขนดก ความรู้สึกทางเพศลดลง ติดเชื้อโรคง่าย ลักษณะอาการทั่วป แต่ส่งผลกับระบบในร่างกายทุกส่วน
  2. ลักษณะอาการเฉพาะที่ เป็นลักษณะของอาการเนื้องอกที่ต่อมใต้สมองหรือ ต่อมหมวกไต ทำให้มีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง มีความผิดปกติเรื่องการมองเห็นภาพ

การวินิจฉัยโรคกลุ่มอาการคุชชิง

สามารถทำได้โดยการ การตรวจร่างกาย การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ การตรวจน้ำลาย เพื่อดูระดับฮอร์โมนGlucorticoid ในร่างกาย นอกจากนั้น การตรวจชิ้นเนื้อ การตรวจช่องท้อง และการเอ็กซ์เรยสมอง เพื่อดูหาเนื้อร้าย เป็นต้น

การรักษาโรคกลุ่มอาการคุชชิง

การรักษาโรคนี้ สามารถทำการรักษาโดยการปรับลดระดับออร์โมนที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค และการประคับประคอบอาการแทรกซ้อนที่เป็นผลจากการมีฮอร์โมนมากเกินไป รายละเอียด ดังนี้

  1. การปรับลดระดับฮอร์โมน Clucocorticoid โดยการให้หยุดยากลุ่มสเตียรอยด์ แต่ให้ลดปริมาณยาทีละน้อย ห้ามลดโดยการเลิกยาแบบกระทันหัน อาจเกิดอาการขาดยาได้ เรียกอาการขาดยา ว่า Adrenal crisis ซึ่งลักษณะของอาการขาดยา คือ ไข้สูง เหงื่อออก ปวดท้อง ท้องเสีย หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตต่ำ อ่อนเพลียมาก ต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที เนื่องจากอันตรายถึงเสียชีวิตได้
  2. การรักษาอาการจากความผิดปรกติของออร์โมน Glucocorticoid สูงกว่าปรกติ สามารถทำการรักษาโดย การผ่าตัด เนื้องอกหรือเซล์มะเร็ง ที่เป็นสาเหตุของโรค เช่น มะเร็งปอด เนื้องอกต่อมหมวกไต เนื้องอกต่อมใต้สมอง แต่การฝ่าตัดเนื้อร้ายออกจะทำให้เกิดอาการ Adrenal crisis ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
  3. การรักษาโดยประคับประคองตามอาการ เช่น การลดน้ำตาลในเลือด การลดความดันโลหิต เป็นต้น

การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคกลุ่มอาการคุชชิง

โดยปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ กินยาให้ครบและถูกต้อง รักษาสุขอนามัย ควบคุมอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ระวังการเกิดอุบัตติเหตุจากการกระแทกอย่างรุนแรง

การป้องกันโรคกลุ่มอาการคุชชิง

สามารถทำได้โดย ไม่ซื้อยากลุ่มสเตียรอยด์มาใช้เอง การป้องกันเราสามารถป้องกันโรคจากสาเหตุภายนอกเท่านั้น ส่วนสาเหตุอื่นๆป้องกันได้ยาก

โรคคุชชิง กลุ่มอาการคุชชิง ( Cushing syndrome ) เกิดจากฮอร์โมน Glucocorticoid สูงกว่าปรกติ ความผิดปรกติของต่อมใต้สมอง ส่งผลให้เกิดอาการบวมของใบหน้าคล้ายพระจันทร์ อ้วนบริเวณไหปลาร้า มีพุงแต่แขนขาลีบ มีก้อนไขมันที่หลังคอ ปัสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อย นอนไม่หลับ ผิวหนังแห้ง เป็นแผลง่าย ความดันโลหิตสูง มีภาวะกระดูกพรุน

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove