ไทรอยด์  Thyroid gland ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนผิดปรกติ น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เหงื่อออกง่าย หงุดหงิด ฉุนเฉียว ระบบในร่างกายทั้งหมดผิดปรกติ

ไทรอยด์เป็นพิษ โรคต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ

ไทยรอยด์ คือ ต่อมไร้ท่อขนาดใหญ่ของร่างกายมนุษย์ มีหน้าที่หลัก คือ ผลิตฮอร์โมนต่างๆ ความสำคัญของฮอร์โมนไทรอยด์ ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ เสริมสร้างความสัมพันธ์กับการทำงานของสมองและระบบประสาท ควบคุมระบบเผาผลาญและรักษาอุณหภูมิของร่างกาย หากร่างกายมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์สูงกว่าปกติ ระบบต่างๆในร่างกายจะถูกกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น ทำให้เกิด ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ไทรอยด์เป็นพิษ ( Hyperthyroidism , Overactive Thyroid )คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไป ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานมากขึ้น เป็นสาเหตุทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วแบบผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดปกติ เหงื่อออกง่าย และหงุดหงิด ฉุนเฉียว เป็นต้น เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จะส่งผลให้ระบบในร่างกายทั้งหมดผิดปรกติ ซึ่งระบบประสาทจะไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้

ความผิดปรกติของไทรอยด์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ

  1. ฮอร์โมนไทรอยด์เกิน เป็น ภาวะที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกมามากเกินความจำเป็น  ส่งผลให้หัวใจเต้นแรง ใจสั่น นอนไม่หลับ และน้ำหนักตัวลด ทำให้มีอารมณ์แปรปรวนบ่อย
  2. ฮอร์โมนไทรอยด์ขาด ( Hypothyroidism ) เป็นภาวะที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกมาน้อยเกินไปไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง รู้สึกหนาว ระบบความจำเสื่อม ตัวบวม ท้องผูก ถ้าเกิดกับเด็กจะทำให้ตัวการเจริญเติบโตของเด็กไม่ดี ตัวจะแคระแกรน
  3. ฮอร์โมนไทรอยด์ปกติ เป็นภาวะที่ฮอร์โมนของร่างกายหลั่งออกมาปกติ แต่มีความผิดปกติที่ตรงต่อมไทรอยด์

สาเหตุของการเกิดไทรอยด์เป็นพิษ

สาเหตุของโรคไทรอยด์เป็นพิษนั้นเกิดขึ้นจาก การทำงานมากกว่าปรกติของต่อมไทรอยด์ จนทำให้ร่างกายมีปริมาณของฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าความต้องการของร่างกาย สามารถแยกสาเหตุได้ 3 สาเหตุหลัก ๆ ประกอบด้วย

  • การรับประทานอาหาร การรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนมากเกินไปก็สามารถก่อให้เกิดโรคไทรอยด์เป็นพิษ เนื่องจากไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์
  • การอักเสบของต่อมไทรอยด์ การอักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุของต่อมไทรอยด์สามารถส่งผลต่อการทำงานของของต่อมไทรอยด์ได้ โดยการอักเสบของต่อมไทรอยด์จะทำให้ฮอรโมนไทรอยด์ถูกผลิตออกมามากขึ้น และทำให้ฮอร์โมนรั่วไหลออกไปที่กระแสเลือด ทั้งนี้การอักเสบของต่อมไทรอยด์ส่วนใหญ่ไม่มีอาการเจ็บ ยกเว้นอาการไทรอยด์อักเสบแบบกึ่งเฉียบพลันที่เกิดขึ้นได้น้อย สามารถส่งผลให้เกิดอาการเจ็บได้
  • เนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์ เป็นกรณีที่พบได้น้อย เนื้องอกที่เกิดบริเวณไทรอยด์ และเนื้องอกที่เกิดบริเวณต่อมใต้สมอง อาจส่งผลให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจนกลายเป็นพิษได้
  • การได้รับการเสริมฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป ยาที่มีส่วนประกอบของไอโอดีนบางชนิด เช่น ยาอะไมโอดาโรน (Amiodarone) ที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะทำให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจนกลายเป็นพิษ

อาการของโรคไทยรอยด์

อาการของโรคไทรอยด์เป็นพิษ ผู้ป่วยจะมีความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็วผิดปรกติ ทำให้รู้สึกเหนื่อยง่าย ใจสั่น ในผู้ป่วยบางรายอาจจะเป็น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ระบบการเผาผลาญ ของร่างกายถูกกระตุ้น ทำให้น้ำหนักตัวลดลง นอนไม่หลับ ท้องเสียง่าย เนื่องจากระบบทางเดินอาหารถูกกระตุ้นให้ทำงาน ตาโปนเยื่อหลังนัยน์ตาขยาย ในผู้หญิงอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน ซึ่งสามารถสรุปอาการของโรคเป็นข้อๆ เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้ ดังนี้

  • อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิ
  • คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว
  • นอนหลับยาก
  • มีปัญหาสายตา เช่น ตาโปน เห็นภาพซ้อน เป็นต้น
  • สุขภาพผมเปลี่ยนไป ผมเปราะบางขาดง่าย และมีอาการผมร่วง
  • ผู้หญิงมีรอบเดือนผิดปกติ ประจำเดือนมีสีจางและมาไม่สม่ำเสมอ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะบริเวณต้นขาและต้นแขน
  • เล็บยาวเร็วผิดปกติ
  • หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้ง/นาที โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
  • มือสั่นตลอดเวลา
  • มีอาการคัน
  • เหงื่อออกมาก
  • ผิวหนังบาง
  • น้ำหนักลด แต่มีความอยากอาหารมากขึ้น
  • อาจพบเต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้นในเพศชาย

มะเร็งต่อมไทรอยด์ ( Thyroid carcinoma ) มีทั้งชนิดรุนแรงและไม่รุนแรง จะพบมากในผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป และสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย แต่พบว่าผู้ชายจะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าผู้หญิง

การรักษาโรคไทรอยด์

โรคของต่อมไทรอยด์  สามารถทำการรักษาได้โดย กินยาลดการทำงานของต่อมไทรอยด์ การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ หรือ การกินน้ำแร่รังสีไอโอดีน เมื่อเราพบว่าร่างกายเป็นภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป สามารถรักษาได้โดย การกินยาไทรอยด์เพิ่มระดับฮอร์โมน และให้ยาขับน้ำ เพื่อลดการบวมของร่างกาย หากพบว่าเป็นมะเร็งต่อมไทยรอยด์ จะต้องทำการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ และกินยาน้ำแร่รังสีไอโอดีน รวมถึงฉายรังสีรักษา

การดูแลตนเองเมื่อเป็นไทยรอยด์

เมื่อมีอาการผิดปกติดังกล่าวหรือสังเกตเห็นมีก้อนเนื้อผิดปกติในบริเวณต่อมไทรอยด์ และ/หรือลำคอ ควรรีบพบแพทย์เสมอภายใน 1 – 2 สัปดาห์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะช่วยให้การรักษาได้ผลดีกว่า ใช้เวลารักษาและเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาน้อยกว่าการรักษาในระยะที่เป็นโรคเรื้อรังหรือเป็นโรคมะเร็งในระยะลุกลาม

ป้องกันไม่ให้เกิดโรคของต่อมไทรอยด์

การป้องกันโรคไทยรอยด์ในทางการแพทย์นั้น โรคต่อมไทรอยด์ ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่ยกเว้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคคอพอก ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการขาดสารไอโอดีน ดังนั้น การป้องกันโรคไทรอยด์ เราต้อง รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของ ไอโอดีนในปริมาณที่เหมาะสม โดยอาหารที่มีสารไอโอดีย เช่น อาหารทะเล เกลือทะเล นอกจากการรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน การออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ก็สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโนคนี้ได้

 

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

ท่าภูเขา Mountain Pose ช่วยรักษาสมดุลของร่างกาย แก้ปวดหลังปวด แก้ปวดฝ่าเท้า ช่วยกล้ามเนื้อขาและหน้าท้องแข็งแรง ผู้ฝึกต้องไม่เป็นโรคความดันต่ำ

ท่าภูเขา โยคะ การฝึกโยคะ โยคะพื้นฐาน

โยคะพื้นฐาน ท่าภูเขา คือ การยืนในลักษณะเป็นภูเขา ที่มีความมั่นคง หนักแน่น แต่ตระหง่านขึ้นสู่ฟ้า และสุดท้ายความสงบนิ่ ซึ่งหลายๆ เข้าใจผิดว่า ท่านี้คือการยืนตรงธรรมดา เก็บก้นกบ แขม่วท้อง เท่านั้น แต่ความเป็นจริง ถ้าฝึกยืนท่านี้ จะช่วยในการจัดระเบียบร่างกาย เนื่องจากต้องใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆอย่างเต็ม การปฏิบัตเพียง 5 นาที ก็เหนื่อยได้ ในขณะที่ยืนนั้นการเก็บก้นกบ หลายคนทำไม่ได้ โดยหาก้นกบไม่เจอ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายเดือนในการฝึก

วิธีทำโยคะท่าภูเขา

โดยยืนตรงเท้าชิดกัน เหยียดหัวเข่าให้ตึง เกร็งกล้ามเนื้อต้นขา เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง ยืดอกขึ้น แผ่นหลังเหยียดตรง ต้นคอตั้งตรง สายตามองตรง ระหว่างนี้ รักษาสมดุลของร่างกาย ไม่ให้ล้ม แขนสองข้างพนมมือ และค่อยๆยกขึ้นเหนือศีรษะ ค้างเอาไว้ จากนั้นค่อยๆผ่อนมือลง จากนั้นทำแบบเดิม 3-4 ครั้ง จากนั้นหยุดพัก

หากเรายืนได้ถูกต้องฝ่าเท้าจะมีแรงกดแน่น กล้ามเนื้อขาจะเกร็งเพื่อส่งแรง หน้าท้องด้านหน้าส่วนล่างจะถูกใช้เพื่อเก็บก้นกบ ยืดอก ขึ้น ลำคอเหยียดตรง ตามองไปข้างหน้า เราจะสัมผัสได้ถึงแนวเส้นตรงจากข้อเท้าขึ้นไปถึงเข่า จากเข่าถึงสะโพก เลยไปถึงไหล่ จนถึงใบหู และไล่ขึ้นไปจนกลางกระหม่อม จะรู้สึกเกิดพลังงานจากเท้าไปถึงกลางกระหม่อม

เรื่องการเก็บก้นกบนั้นไม่ใช้แค่การม้วนก้นกบไปข้างหน้า หรือ การแอ่นเชิงกราน แต่ต้อง รดึงก้นกบลงพื้นในลักษณะที่เชิงกรานแอ่นไปด้านหลังเล็กน้อย เพื่อเตรียมพร้อมการเดิน และรองรับส่วนของกระดูกต้นขา เมื่อเราเก็บก้นกบลงมาหาพื้น จะช่วยให้เรายืนอย่างมั่นคง แต่เราจะเดินยากขึ้น ดังนั้น การเก็บก้นกบ จึงมีความสำคัญสำหรับการปฏิบัติท่านี้อย่างมาก นอกจากท่าภูเขาจะเป็นท่าเริ่มต้นของดยคะพื้นฐานในท่ายืน แล้วท่าภูเขายังเป็นพื้นฐานของการปฏิบัตโยคะพื้นฐานในท่ายืน

ท่าภูเขามีประโยชน์อย่างไร คือ ช่วยให้บุคลิกภาพดี ลำตัวตั้งตรง กล้ามเนื้อต้นขา หน้าท้อง และข้อเท้าแข็งแรง ลดอาการปวดหลังและฝ่าเท้า

ข้อห้ามฝึกสำหรับในการฝึกท่าภูเขา คือ ห้ามทำท่านี้ในคนที่มีอาการปวดศีรษะ คนที่นอนไม่หลับ และคนที่มีภาวะความดันต่ำ

สำหรับ โยคะท่าภูเขานั้น ท่านี้เป็นท่าพื้นฐานของโยคะ เป็นท่าแรกของการไหว้พระอาทิตย์ ที่รวมจิตใจและร่างกายเป็นหนึ่งเดียวก่อนที่จะเริ่มการฝึก เป็นท่าของอาสนะท่ายืนทุกท่า ช่วยฝึกการเก็บก้นกบได้เป็นอย่างดี เป็นพื้นฐานการฝึกโยคะ อาสนะที่ มั่นคง และปลอดภัย โยคะท่าภูเขา จะเป็นลักษณะ การยืนเหมือนภูเขา ให้ความมั่นคงและหนักแน่น และสงบนิ่ง หลายๆคนมักมองข้ามท่านี้ โดยนึกว่าท่านี้คือการยืนตรงธรรมดา

หลายคนได้ยินครูพูดถึงการเก็บก้นกบ แต่นึกว่าการเก็บก้นกบ คือการแขม่วท้องเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้วสำหรับผู้ฝึกใหม่ ถ้าฝึกยืนในท่านี้ โดยสามารถจัดระเบียบร่างกาย และใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆอย่างเต็มที่ แค่ 5 นาทีก็จะรู้สึกเหนื่อยได้ จนเมื่อกล้ามเนื้อต่างๆในร่างกายเริ่มคุ้นเคยจึงจะสามารถยืนได้อย่างสงบ ในขณะที่บางคนยืนยังไงก็ไม่เข้าใจเรื่องเก็บก้นกบสักที หาก้นกบไม่เจอ และอาจใช้เวลาหลายเดือนถึงจะเข้าใจ

ถ้าเรายืนท่านี้ถูก เราจะรู้สึกฝ่าเท้ามีแรงกดแน่นลงกับพื้นไม่ใช่แค่วางเฉยๆ กล้ามเนื้อขามีการเกร็งเพื่อส่งแรง หน้าท้องด้านหน้าส่วนล่างในระดับลึกถูกใช้งาน เพื่อใช้ในการเก็บก้นกบ อกยืด ขึ้น ลำคอเหยียดตรง ตามองตรงไปข้างหน้า เราจะสัมผัสได้ถึงแนวเส้นตรงจากข้อเท้า ขึ้นไปถึงเข่า จากเข่าถึงข้อสะโพก เลยไปถึงไหล่ จนถึงใบหู และไล่ขึ้นไปจนกลางกระหม่อม รู้สึกพลังงานที่ตรงผ่านเท้าเราขึ้นไปกลางกระหม่อมเลยทีเดียว มาดูเรื่องการเก็บก้นกบ ไม่ใช้การม้วนก้นกบไปข้างหน้า หรือการแอ่นเชิงกราน แต่คือการดึงก้นกบลงพื้น (Neutral) ปกติร่างกายเราจะยืนตรง ในลักษณะที่เชิงกรานแอ่นไปด้านหลังเล็กน้อยเพื่อเตรียมพร้อมการเดิน รองรับส่วนของกระดูกต้นขาในการเคลื่อนไหว ตรงกันข้าม เมื่อเราเก็บก้นกบลงมาหาพื้น จะช่วยให้เรายืนอย่างมั่นคงขึ้น แต่เราจะเดินยากขึ้น ดังนั้นการเก็บก้นกบจึงมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อให้เราอยู่ในอาสนะต่างๆได้อย่างมั่นคง นอกจากนั้นยังเป็นการป้องกันหลังล่าง

นอกจากท่าภูเขาจะเป็นท่าเริ่มต้นของท่ายืนอื่นๆแล้ว ท่าภูเขายังเป็นพื้นฐานที่ดีอย่างมากสำหรับท่าแพลงค์ ชาตุรังกา ท่า Headstand ฯลฯ เพราะใช้การจัดระเบียบร่างกายแบบเดียวกับหมด เพียงแต่ปรับทิศทาง และใช้ส่วนอื่นในการสัมผัสพื้นแทนเท้า เท่านั้นเอง

ท่าภูเขา ( Mountain Pose ) ท่านี้ ช่วยรักษาสมดุลของร่างกาย แก้ปวดหลังปวด แก้ปวดฝ่าเท้า ช่วยกล้ามเนื้อขาและหน้าท้องแข็งแรง ผู้ฝึกต้องไม่เป็นโรคความดันต่ำ ปวดศรีษะ หรือ นอนไม่หลับ

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove