ไทรอยด์  Thyroid gland ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนผิดปรกติ น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เหงื่อออกง่าย หงุดหงิด ฉุนเฉียว ระบบในร่างกายทั้งหมดผิดปรกติ

ไทรอยด์เป็นพิษ โรคต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ

ไทยรอยด์ คือ ต่อมไร้ท่อขนาดใหญ่ของร่างกายมนุษย์ มีหน้าที่หลัก คือ ผลิตฮอร์โมนต่างๆ ความสำคัญของฮอร์โมนไทรอยด์ ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ เสริมสร้างความสัมพันธ์กับการทำงานของสมองและระบบประสาท ควบคุมระบบเผาผลาญและรักษาอุณหภูมิของร่างกาย หากร่างกายมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์สูงกว่าปกติ ระบบต่างๆในร่างกายจะถูกกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น ทำให้เกิด ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ไทรอยด์เป็นพิษ ( Hyperthyroidism , Overactive Thyroid )คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไป ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานมากขึ้น เป็นสาเหตุทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วแบบผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดปกติ เหงื่อออกง่าย และหงุดหงิด ฉุนเฉียว เป็นต้น เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จะส่งผลให้ระบบในร่างกายทั้งหมดผิดปรกติ ซึ่งระบบประสาทจะไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้

ความผิดปรกติของไทรอยด์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ

  1. ฮอร์โมนไทรอยด์เกิน เป็น ภาวะที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกมามากเกินความจำเป็น  ส่งผลให้หัวใจเต้นแรง ใจสั่น นอนไม่หลับ และน้ำหนักตัวลด ทำให้มีอารมณ์แปรปรวนบ่อย
  2. ฮอร์โมนไทรอยด์ขาด ( Hypothyroidism ) เป็นภาวะที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกมาน้อยเกินไปไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง รู้สึกหนาว ระบบความจำเสื่อม ตัวบวม ท้องผูก ถ้าเกิดกับเด็กจะทำให้ตัวการเจริญเติบโตของเด็กไม่ดี ตัวจะแคระแกรน
  3. ฮอร์โมนไทรอยด์ปกติ เป็นภาวะที่ฮอร์โมนของร่างกายหลั่งออกมาปกติ แต่มีความผิดปกติที่ตรงต่อมไทรอยด์

สาเหตุของการเกิดไทรอยด์เป็นพิษ

สาเหตุของโรคไทรอยด์เป็นพิษนั้นเกิดขึ้นจาก การทำงานมากกว่าปรกติของต่อมไทรอยด์ จนทำให้ร่างกายมีปริมาณของฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าความต้องการของร่างกาย สามารถแยกสาเหตุได้ 3 สาเหตุหลัก ๆ ประกอบด้วย

  • การรับประทานอาหาร การรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนมากเกินไปก็สามารถก่อให้เกิดโรคไทรอยด์เป็นพิษ เนื่องจากไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์
  • การอักเสบของต่อมไทรอยด์ การอักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุของต่อมไทรอยด์สามารถส่งผลต่อการทำงานของของต่อมไทรอยด์ได้ โดยการอักเสบของต่อมไทรอยด์จะทำให้ฮอรโมนไทรอยด์ถูกผลิตออกมามากขึ้น และทำให้ฮอร์โมนรั่วไหลออกไปที่กระแสเลือด ทั้งนี้การอักเสบของต่อมไทรอยด์ส่วนใหญ่ไม่มีอาการเจ็บ ยกเว้นอาการไทรอยด์อักเสบแบบกึ่งเฉียบพลันที่เกิดขึ้นได้น้อย สามารถส่งผลให้เกิดอาการเจ็บได้
  • เนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์ เป็นกรณีที่พบได้น้อย เนื้องอกที่เกิดบริเวณไทรอยด์ และเนื้องอกที่เกิดบริเวณต่อมใต้สมอง อาจส่งผลให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจนกลายเป็นพิษได้
  • การได้รับการเสริมฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป ยาที่มีส่วนประกอบของไอโอดีนบางชนิด เช่น ยาอะไมโอดาโรน (Amiodarone) ที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะทำให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจนกลายเป็นพิษ

อาการของโรคไทยรอยด์

อาการของโรคไทรอยด์เป็นพิษ ผู้ป่วยจะมีความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็วผิดปรกติ ทำให้รู้สึกเหนื่อยง่าย ใจสั่น ในผู้ป่วยบางรายอาจจะเป็น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ระบบการเผาผลาญ ของร่างกายถูกกระตุ้น ทำให้น้ำหนักตัวลดลง นอนไม่หลับ ท้องเสียง่าย เนื่องจากระบบทางเดินอาหารถูกกระตุ้นให้ทำงาน ตาโปนเยื่อหลังนัยน์ตาขยาย ในผู้หญิงอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน ซึ่งสามารถสรุปอาการของโรคเป็นข้อๆ เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้ ดังนี้

  • อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิ
  • คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว
  • นอนหลับยาก
  • มีปัญหาสายตา เช่น ตาโปน เห็นภาพซ้อน เป็นต้น
  • สุขภาพผมเปลี่ยนไป ผมเปราะบางขาดง่าย และมีอาการผมร่วง
  • ผู้หญิงมีรอบเดือนผิดปกติ ประจำเดือนมีสีจางและมาไม่สม่ำเสมอ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะบริเวณต้นขาและต้นแขน
  • เล็บยาวเร็วผิดปกติ
  • หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้ง/นาที โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
  • มือสั่นตลอดเวลา
  • มีอาการคัน
  • เหงื่อออกมาก
  • ผิวหนังบาง
  • น้ำหนักลด แต่มีความอยากอาหารมากขึ้น
  • อาจพบเต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้นในเพศชาย

มะเร็งต่อมไทรอยด์ ( Thyroid carcinoma ) มีทั้งชนิดรุนแรงและไม่รุนแรง จะพบมากในผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป และสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย แต่พบว่าผู้ชายจะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าผู้หญิง

การรักษาโรคไทรอยด์

โรคของต่อมไทรอยด์  สามารถทำการรักษาได้โดย กินยาลดการทำงานของต่อมไทรอยด์ การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ หรือ การกินน้ำแร่รังสีไอโอดีน เมื่อเราพบว่าร่างกายเป็นภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป สามารถรักษาได้โดย การกินยาไทรอยด์เพิ่มระดับฮอร์โมน และให้ยาขับน้ำ เพื่อลดการบวมของร่างกาย หากพบว่าเป็นมะเร็งต่อมไทยรอยด์ จะต้องทำการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ และกินยาน้ำแร่รังสีไอโอดีน รวมถึงฉายรังสีรักษา

การดูแลตนเองเมื่อเป็นไทยรอยด์

เมื่อมีอาการผิดปกติดังกล่าวหรือสังเกตเห็นมีก้อนเนื้อผิดปกติในบริเวณต่อมไทรอยด์ และ/หรือลำคอ ควรรีบพบแพทย์เสมอภายใน 1 – 2 สัปดาห์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะช่วยให้การรักษาได้ผลดีกว่า ใช้เวลารักษาและเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาน้อยกว่าการรักษาในระยะที่เป็นโรคเรื้อรังหรือเป็นโรคมะเร็งในระยะลุกลาม

ป้องกันไม่ให้เกิดโรคของต่อมไทรอยด์

การป้องกันโรคไทยรอยด์ในทางการแพทย์นั้น โรคต่อมไทรอยด์ ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่ยกเว้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคคอพอก ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการขาดสารไอโอดีน ดังนั้น การป้องกันโรคไทรอยด์ เราต้อง รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของ ไอโอดีนในปริมาณที่เหมาะสม โดยอาหารที่มีสารไอโอดีย เช่น อาหารทะเล เกลือทะเล นอกจากการรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน การออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ก็สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโนคนี้ได้

 

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

มะเร็งตับ ( Liver Cancer ) เนื้อร้ายที่ตับเกิดจากการติดเชื้อมีก้อนที่ตับ อาการปวดท้องข้างขวาส่วนบนปวดร้าวหลัง ท้องบวม น้ำหนักลด อ่อนเพลีย มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุมะเร็งตับ โรคตับ โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ

มะเร็งตับ เป็น โรคที่มีอัตราการเสียชีวิตที่สูง โรคหนึ่งของโลก เป็น โรคที่พบบ่อย ผู้ป่วย โรคมะเร็งตับในระยะแรก ยังไม่มีอาการแสดง ส่วนมากจะได้รับการวินิจฉัยโรคเมื่ออาการกำเริบ ทำให้เราต้องให้ความสำคัญกับการ สังเกตุโรคมะเร็ง ชนิดนี้ว่ามีลักษณะอาการอย่างไร สาเหตุของโรคนี้เป็นอย่างไร การรักษามะเร็งตับ และ การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งตับ

โรคมะเร็งตับ ภาษาอังกฤษ เรียก liver cancer เป็น โรคที่พบมากในคนวัยทำงาน มีการศึกษาสถิติในปี พ.ศ. 2543 พบว่ามีผู้ป่วยโรคนี้ สูงถึง 564,000 คน แบ่งเป็นเพศหญิงร้อยละ 34 และเพศชาย ร้อยละ 66  สำหรับประเทศไทย มีการสำรวจในช่วง พ.ศ. 2554 ถึง 2546  พบว่า มีผู้ป่วยสูงถึง 47,439 8 คน เป็น โรคมะเร็ง ที่มีผู้ป่วยมาก เป็นอันดับ 3 รองจาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร

ชนิดของมะเร็งตับ

สำหรับ ชนิดของมะเร็งตับ ที่พบ มี 2 ชนิด คือ  มะเร็งของเซลล์ตับ ภาษาอังกฤษ เรียก hepatocellular carcinoma และ มะเร็งของท่อน้ำดีในตับ ภาษาอังกฤษ เรียก cholangiocarcinoma

สาเหตุของการเกิดมะเร็งตับ

สำหรับ สาเหตุของโรคมะเร็งตับ เรายังไม่สามารถสรุปสาเหตุได้อย่างชัดเจนนัก แต่สามารถสรุปเป็น ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อตับ และ โรคมะเร็งตับ มีดังนี้

  • ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี
  • ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี
  • โรคตับแข็ง
  • การกินอาหารปนเปื้อน เชื้อรา ชนิดอะฟลาทอกซิน (aflatoxin) เชื้อราชนิดนี้ พบได้ในธัญพืช ที่มีความชื้น
  • ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ
  • ท่อน้ำดีในตับอักเสบเรื้อรัง

โรคมะเร็งตับ เป็นลักษณะของการถูกกระทบกระเทือนต่อตับ ทำให้ตับถูกทำร้าย เป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ

สำหรับ ผู้ป่วยมะเร็งตับ ในระยะแรก จะยังไม่แสดงอาการให้เห็นอย่างเด่นชัดนั้น อาการทั่วไป คือ ปวดท้องข้างขวาส่วนบน อาการปวดร้าวหลัง อาการปวดร้าวที่ไหล่ ท้องบวมขึ้น น้ำหนักลด เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ มีก้อนบริเวณตับ ตัวเหลือง ตาเหลือง หายใจเหนื่อยหอบจากน้ำในท้องดัน คันตามตัวมาก เป็นต้น

ระยะของโรคมะเร็งตับ

มีการแบ่ง ระยะของโรคมะเร็งตับ ได้เป็น 4 ระยะ รายละเอียด ดังนี้

  • มะเร็งตับ ระยะที่ 1 จะพบก้อนเนื้อขนาดเล็กที่ตับ มีเพียงก้อนเนื้อก้อนเดียว
  • มะเร็งตับ ระยะที่ 2 ก้อนเนื้อมีการลุกลามเข้าสู่หลอดเลือดที่ตับ ก้อนเนื้อมีจำนวนมากขึ้น แต่ยังมีขนาดเล็กอยู่
  • มะเร็งตับ ระยะที่ 3 ก้อนเนื้อมะเร็งมีขนาดโตขึ้น และลามไปยังอวัยวะข้างเคียง ลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งตับ ระยะที่ 4 มะเร็งเข้าสู่กระแสเลือด และกระจายเข้าสู่อวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เช่น สมอง กระดูก ต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ

การตรวจวินิจฉัยโรค มะเร็งตับ นั้น เริ่มจากการ การซักประวัติ อาการที่พบในผู้ป่วย จากนั้นตรวจร่างกายอย่างละเอียด การตรวจเลือด เพื่อ ดูการทำงานของตับ และ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ตรวจรังสีที่ตับและช่องท้อง ทำการตรวจอัลตราซาวนด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) และการตัดชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษามะเร็งตับ

สำหรับ การรักษาโรคมะเร็งตับ นั้นจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ขนาดของเซลล์มะเร็ง และการแพร่กระจายของมะเร็ง ซึ่ง การรักษา จะต้องอยู่ในวินิจฉัยของแพทย์อย่างใกล้ชิด ซึ่ง การรักษา ประกอบด้วย การผ่าตัด การฉายรังสีรักษา การทำเคมีบำบัด และการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ แต่สำหรับการปลูกถ่ายตับนั้นเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า 70 ปี

แต่สำหรับ การรักษาโรคมะเร็งตับ ที่ดีที่สุด คือ การลดภาวะเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งตับ และ หมั่นตรวจคัดกรองหามะเร็งตับ เนื่องจากร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ มาจาก การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี การตรวจการทำงานของตับและ ตรวจคัดกรองมะเร็งตับ ด้วยการเจาะเลือด จะช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ดีที่สุด

ข้อควรปฏิบัตสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ

ผู้ป่วยมะเร็งตับ ต้องดูแลตัวเองมากเป็นพิเศษ เราแยกการดูแลตัวเอง 3 ส่วน คือ การดูแลตัวเองในด้านทั่วไป ด้านอาหาร และการออกกำลังกาย รายละเอียดดังนี้

  • ด้านการดูแลตนเองทั่วไป
    • ให้รักษาภาพสุขอนามัยพื้นฐาน ของผู้ป่วยอย่างเคร่งครัด ตลอดชีวิต เนื่องจากผู้ป่วยโรคมะเร็ง มีกจะติดเชื้อได้ง่ายกว่าปรกติ เนื่องจากภูมิต้านทานโรคค่อนข้างต่ำกว่าคนปรกติ
    • ควบคุมการเกิดโรค เช่น โรคความดัน โรคเบาหวาน เนื่องจากโรคเหล่านี้จะมีผลต่อสุขภาพโดยรวม
    • หากเกิดกับหญิงสาวหรือผู้หญิงวัยเจริพันธ์ แนะนำให้ คุมกำเนิด เพื่อสุขภาพมารดา แต่หากจำเป็นต้องมีการตั้งครรภ์ ให้ปรึกษาแพทย์ อย่างใกล้ชิด
    • ไปพบแพทย์ตามนัดห้ามขาด
    • หลังจากรักษาโรคมะเร็งแล้ว ช่วง 8 สัปดาห์แรกหลังการรักษา ถือว่าเป็นช่วงพักฟื้น ค่อยๆปรับตัวให้เข้าสู่ภาวะปกติ ปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์
  • ด้านการรับประทานอาหาร
    • เลิกการบุหรี่และดื่มสุรา และสารเสพติดทุกชนิด เนื่องจาก สารเหล่านั้นมีพิษเป็นสารก่อมะเร็ง รวมถึงการจำกัดการดื่มกาเฟ ด้วย
    • การรับประทานอาหาร ให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทาน ผักและผลไม้ให้มากๆ  ลดอาหารที่มี ไขมัน แป้ง น้ำตาลและอาหารรสเค็มจัด
  • ด้านการออกกำลังกาย
    • ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอตลอดชีวิต ค่อยๆปรับจนเข้าภาวะปกติ โดยควรออกกำลังกายให้เหมาะสมตามสุขภาพของตนเอง และเลือกประเภทการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับโรค เช่น เลือกการว่ายน้ำเมื่อมีโรคของข้อต่างๆ เป็นต้น และพยายามเคลื่อนไหวร่างกายสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตทั่วร่างกาย

โรคมะเร็งตับ ( Liver Cancer ) คือ การเกิดเนื้อร้าย เกิดจากาการติดเชื้อที่ตับแบบเรื้อรัง จนเกิดพังผืดและมะเร็งที่ตับ โรคนี้มีอัตราการตายสูง มะเร็งตับ ระยะแรกไม่แสดงอาการ อาการที่พบ คือ ปวดท้องข้างขวาส่วนบนปวดร้าวหลัง ไหล่ ท้องบวม น้ำหนักลด เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ มีก้อนที่ตับ ตัวเหลือง ตาเหลือง หายใจเหนื่อยหอบ คันตามตัว เป็นต้น สาเหตุของมะเร็งตับ การรักษามะเร็งตับ การดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove