โรคท้องมาน ภาวะมีน้ำขังอยู่ในช่องท้องปริมาณมาก เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคตับแข็ง โรคมะเร็งตับ โรคหัวใจล้มเหลว โรคไต เป็นต้น การรักษาและการป้องกันโรคทำอย่างไรโรคท้องมาน โรคท้องโต โรคท้องบวม โรคตับ

ความหมายของโรคท้องมาน จากพจนานุกรมราชบัณฑิตย์สถาน พ.ศ. 2542 ท้องมาน ท้องบวม หมายถึง ชื่อโรคจำพวกหนึ่ง มีอาการให้ท้องโตเหมือนสตรีมีครรภ์ ภาวะที่เกิดมีน้ำคั่งในช่องท้องมากผิดปกติ จนเป็นสาเหตุให้ท้องขยายใหญ่โตขึ้น

ชนิดของโรคท้องมาน

โรคท้องมาน นั้นโดยทั่วไปสามารถแบ่งชนิดของโรคได้ 2 ชนิด คือ Serum Ascites Albumin Gradient (SAAG) และ ascites neutrophil โดยแบ่งจากปริมาณน้ำในท้องและสาเหตุของการท้องโต รายละเอียด ดังนี้

  • Serum Ascites Albumin Gradient (SAAG) คำนวณจากอัตราส่วนของโปรตีนแอลบูมินในน้ำที่ขังนช่องท้อง เปรียบเทียบกับระดับของโปรตีนแอลบูมินในเลือด
  • ascites neutrophil มากกว่า 250 cells/ml หรือมากกว่า 50% บ่งว่าผู้ป่วยน่าจะมีการติดเชื้อของน้ำในช่องท้อง และหากสงสัยว่ามีมะเร็งหรือ pancreatic ascites ก็ควรส่งตรวจ cytology หรือ amylase ร่วมด้วย

ปัจจัยเสี่ยงที่มำให้เกิดโรคท้องมาน

การเกิดภาวะน้ำขังในช่องท้องนั้น สามารถสรุปปัจจัยการเกิดโรคได้ ดังนี้

  • การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ทั้งชนิด B และ C
  • การดื่มสุราบ่อย จนเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
  • มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โระมะเร็ง และ โรคไต
  • การติดเชื้อที่ช่องท้อง เช่น ติดเชื้อวัณโรค เยื่อบุช่องท้องอักเสบ เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรคท้องมาน

จากปัจจัยของการเกิดโรค เราจึงสามามารถสรุปสาเหตุของการเกิดโรคท้องมาน ได้ดังนี้

  • โรคตับ ร้อยละ75 ของผู้ป่วยที่มีอาการท้องมาน จะมีภาวะป่วยโรคตับแข็ง น้ำในช่องท้องมีผลมาจากความดันเลือดในตับสูงขึ้น ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคตับแข็ง มีภาวะโรคท้องมาน 10 ปี มีอาการท้องบวม เท้าบวม มีน้ำในช่องอก มีอัตราการเสียชีวิตสูง
  • โรคมะเร็งในช่องท้อง เช่น มะเร็งรังไข่ หรือ เชื้อมะเร็งที่กระจายเข้าสู่ช่องท้อง เป็นต้น ร้อยละ 15 ของผู้ป่วยโรคท้องมาน เป็นโรคมะเร็ง
  • มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลว
  • เป็นผุ้ป่วยโรคไต
  • ขาดสารอาหาร มีภาวะขาดแอลบูมิน เป็น โปรตีนจากไข่ขาว
  • เกิดภาวะการอักเสบที่ช่องท้อง เช่น ติดเชื้อวัณโรค โรคภูมิแพ้
  • เกิดภาวะโรคตับอ่อนอักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากการดื่มสุรา หรือ การเกิดอุบัติเหตุกระทยที่ตับอ่อน
  • การอุดตันของหลอดเลือดใหญ่ที่ตับ

อาการโรคท้องมาน

สำหรับความรุนแรงของโรคท้องมาน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ เรียกว่า Grading of ascites โดยรายละเอียดดังนี้

  • ระดับที่ 1 ( Grade 1) มีอาการของโรคท้องมานเพียงเล็กน้อย สามารถตรวจพบได้โดยการอัลตร้าซาวน์
  • ระดับที่ 2 ( Grade 2) มีอาการของโรคปานกลาง การตรวจร่างกายประจำปี สามารถพบได้
  • ระดับที่ 3 ( Grade 3) มีอาการหนัก มีภาวะท้องตึงแน่น

ผู้ป่วยโรคท้องมาน สามารถสังเกตุอาการของโรคได้ โดยมีลักษณะของโรค ดังนี้

  • ท้องโต แน่นท้อง อาจทำให้หนังท้องปริและมีน้ำซึมออกมาได้ ในบางรายพบว่ามีสารน้ำในเยื่อหุ้มปอดร่วมด้วย
  • มีอาการเหนื่อยหอบและหายใจติดขัด
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • เบื่ออาหาร
  • อาการของป่วยจากตับ เช่น ดีซ่าน นมโต ฝ่ามือแดง เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคท้องมาน

การตรวจวินิจฉัยดรคแพทยืจะทำการ ตรวจร่างกาย และ สอบถามประวัติการเกิดโรคตับ โรคไต โรคหัวใจ และ โรคมะเร็ง แพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของตับ ดูดน้ำในช่องท้องออกมาตรวจ อัลตราซาวน์ช่วยในการเจาะดูดสารน้ำในช่องท้อง

การรักษาโรคท้องมาน

การรักษาโรคท้องมาน ต้องทราบสาเหตุของการเกิดโรค ก่อนและรักษาที่สาเหตุของโรค โดยแนวทางการรักษาโรคท้องมาน การรักษาเพื่อลดระดับน้ำในท้องทำให้ผู้ป่วยสบายขึ้น ช่วยรักษาสมดุลของเกลือ และช่วยในการปรับละดับน้ำในร่างกายและหลอดเลือดมีรายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาอาการท้องมานขึ้นกับโรคที่เป็นสาเหตุ
  • ถ้าเกิดจากโรคมะเร็งแพร่กระจาย แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาด้วยการผ่าตัดและเคมีบำบัด
  • ปรับเรื่องการกินอาหาร ลดอาหารที่มีโซเดียม และ อาหารที่มีรสเค็ม
  • รักษาโรคตับ ในผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากโรคตับแข็ง ให้จำกัดปริมาณโซเดียมในร่างกาย
  • ให้ยาขับปัสสาวะ โดยขนาดของยาขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและการตอบสนอง แลเต้องให้ยาโดยหลีกเลี้ยงการปัสสาวะในเวลากลางคืน
  • เจาะช่องท้องเพื่อระบายน้ำ สามารถระบายน้ำได้ถึง 5 ลิตรต่อครั้ง
  • ผ่าตัดเพื่อทำทางระบายน้ำในช่องท้อง
  • ผ่าตัดเปลี่ยนตับ สำหรับผู้ป่วยโรคตับแข็งระยะรุนแรง หรือมีภาวะตับวาย

โรคท้องมาน ความผิดปรกติของร่างกายจากภาวะมีน้ำขังอยู่ในช่องท้องปริมาณมาก โดยเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคตับแข็ง โรคมะเร็งตับ โรคหัวใจล้มเหลว โรคไต เป็นต้น การรักษาและการป้องกันโรคทำอย่างไร ท้องบวม โรคท้องโตผิดปรกติ

 

ไขมันพอกตับ ภาวะไขมันเกาะที่ตับสูง เกิดจากไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อาการปวดชายโครงด้านขาว ตัวเหลือง ตาเหลือง มีน้ำในท้องมาก อ่อนเพลีย ไขมันในเส้นเลือดสูงไขมันพอกตับ ไตรกรีเซอไรด์ในเลือดสูง ไขมันเกาะที่ตับ โรคตับ

สำหรับ ภาวะไขมันพอกตับ เป็นโรคที่เกิดมากใน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งพบมากถึง ร้อยละ 20 ของจำนวนประชากร แต่ในประเทศไทยพบว่ามีอัตราการเกิดที่ ร้อยละ 9 ของจำนวนประะชากร ซึ่งเกิดกับประชากรอายุ 40 ถึง 50 ปี ที่อัตราการเผาผลาญไขมันเริ่มลดลง แต่ความน่ากลัวของโรคนี้ คือ ร้อยละ 50 ของคนที่เป็นโรคไขมันพอกตับ ไม่แสดงอาการให้เห็นในระยะแรกของการเกิดโรค

กลุ่มเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ คือ กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน และ คนอ้วน รวมถึง ผู้ป่วยโรคไขมันโลหิตสูง พบว่าร้อยละ 90 ของคนกลุ่มนี้ เป็น โรคไขมันพอกตับ ซึ่งสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่า ท่านกำลังจะเป็น โรคไขมันพอกตับ คือ

  • การเกิดไขมันสะสมที่หน้าท้อง และมีน้ำหนักตัวมากขึ้น
  • ระดับคอเลสเตอรอลและระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
  • รู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลีย
  • เจ็บและตึงๆ ที่ชายโครงด้านขวา
  • มีอาการเบื่ออาหาร และคลื่นไส้อาเจียนเป็นบางครั้ง

ภาวะไขมันพอกตับ นั้นเป็นความผิดปกติของตับ ไม่ต้องดื่มสุรามากก็เกิดได้ ที่สำคัญการที่เกิดภาวะไขมันพอกตับ สามารถนำไปสู่ภาวะตับวายและมะเร็งตับได้ในอนาคต

สาเหตุของการเกิดโรคไขมันพอกตับ

สำหรับสาเหตุการเกิดโรคไขมันพอกตับ นั้นสามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 2 สาเหตุ รายละเอียด ดังนี้

  • เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ความรุนแรงของโรคจะขึ้นกับปริมาณและระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์สะสมในร่างกาย
  • ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ โรคนี้เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญพลังงานของร่างกายด้อยคุณภาพ

กลไกการเกิดโรคไขมันพอกตับ นั้น ตับทำหน้าที่เก็บสะสมพลังงานจากการรับประทานอาหาร หากมีการรับประทานอาหารมากเกินไป ทำให้เกิดไขมันสะสมในตับ เมื่อตับไม่สามารถย่อยสลายไขมันได้ตามปรกติ จึงทำให้ไขมันพอกตับ

โรคไขมันพอกตับ สามารถแบ่งระยะของการเกิดโรคได้ 4 ระยะ ซึ่งความรุนแรงของโรคจะมากขึ้นเรื่อยๆ รายละเอียด ดังนี้

  • ไขมันพอกตับ ระยะแรก ในระยะนี้ เริ่มมีไขมันก่อตัวที่เนื้อตับ ในระยะนี้ไม่ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ หรือ เกิดพังผืดที่ตับ
  • ไขมันพอกตับ ระยะที่สอง ในระยะนี้ ผู้ป่วยเริ่มมีอาการตับอักเสบ และหากปล่อยไว้ให้อักเสบ โดยไม่ทำการรักษา จะทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง และ จะรุนแรงมากขึ้นในระยะต่อไป
  • ไขมันพอกตับ ระยะที่สาม เริ่มเกิดผังผืดที่ตับ และ เนื้อตับจะค่อยๆถูกทำลาย เป็นการอักเสบของตับอย่างรุนแรง
  • ไขมันพอกตับ ระยะที่สี่ ในระยะนี้ เนื้อตับจะถูกทำลายมาก ตับไม่สามารถทำงานได้ จะเริ่มเข้าสู่ การเกิดโรคตับแข็ง หรือ มะเร็งตับ ได้

อาการของผู้ป่วยไขมันพอกตับ

สำหรับอาการผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับ จะมีอาการตับอักเสบ ซึ่งจะรู้สึกเจ็บที่ท้อง ปวดชายโครงด้านขาว มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง มีน้ำในท้องมาก มีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน อาการของโรคนี้จะค่อยๆเกิดขึ้นอย่างช้าๆ หากเกิดตับอักเสบ จึงจะพบว่าเกิดโรคไขมันพอกตับ

การวินิจฉัยโรคไขมันพอกตับ

โดยทั่วไป การวินิจฉัยโรคไขมันพอกตับ แพทย์จะสัมภาษณ์ถึงลักษณะอาการที่เกิดขึ้น การใช้ชีวิตประจำวัน จากนั้นทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ตรวจเลือด เพื่อดูระดับน้ำตาล ระดับไขมัน และค่าเอนไซม์ของตับ ทำการอัลตร้าซาวด์ดูภาพของตับ รวมถึงการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคไขมันพอกตับ

แนวทางการรักษาไขมันพอกตับ ต้องมุ่งไปที่การลดไขมันสะสมที่ตับ และรักษาอาการอักเสบของตับร่วมด้วย เพื่อหยุดยั้งอาการของโรค ผู้ป่วยต้องรับประทานยา รักษาเบาหวานและยาลดไขมันที่ตับ แต่จะให้ดีที่สุดก็คือ ลดอาหารหวาน ลดอาหารมัน และออกกำลังกาย

การป้องกันการเกิดโรคไขมันพอกตับ

สามารถปฏิบัติตนได้ โดยการลดภาวะความเสี่ยงของการเกิดโรคโดยการควบคุมเรื่องการกินอาหาร ไม่ให้อ้วน จนเป็นสาเหตุของการเกิดโรค

  • ต้องรักษาน้ำหนักตัวให้อยูในเกิดปรกติ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอในปริมาณที่เหมาะสม
  • การควบคุมอาหารให้พอประมาณ
  • ลดและเลิกการดื่มสุรา
  • หลีกเลี่ยงการกินยาโดยไม่จำเป็น

ดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับ

สำหรับผุ้ป่วยโรคไขมันพอกตับต้องดูแลตนเอง ดังนี้

  • ควบคุมอาหาร โดยเฉพาะอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตและไขมัน
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ควบคุมไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การกินยาต้องเป็นยาที่แพทย์แนะนำ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด

ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงผิดปกติ นั้นเกิดจากการกินอาหารไม่ถูกสัดส่วนทำให้เกิดพลังงานสะสมในร่างกายมากเกินไป การลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในร่างกาย สามารถทำได้โดย

  1. ลดการกินอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต น้ำตาล ข้าว แป้ง
  2. งดกินอาหารประเภทไขมัน เช่น อาหารทอด หนังไก่ หนังเป็ด หมูกรอบ หมูสามชั้น เป็นต้น รวมถึงอาหารประเภทกะทิด้วย
  3. ทานอาหารที่มีกากใยอาหารสูง เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ผัก และผลไม้ เป็นต้น
  4. เลิกดื่มสุราทุกชนิด
  5. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ

สำหรับคนที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ควรควบคุม และรักษาโรคควบคู่กันไป เพื่อทำให้ตับสร้างไตรกลีเซอไรด์น้อยลง และขจัดไขมันในเลือดได้ดีขึ้น

โรคไขมันพอกตับ ภาวะไขมันเกาะที่ตับสูง ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อาการปวดชายโครงด้านขาว ตัวเหลือง ตาเหลือง มีน้ำในท้องมาก อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน โรคเสี่ยงของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไขมันในเส้นเลือดสูง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove