ไทรอยด์  Thyroid gland ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนผิดปรกติ น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เหงื่อออกง่าย หงุดหงิด ฉุนเฉียว ระบบในร่างกายทั้งหมดผิดปรกติ

ไทรอยด์เป็นพิษ โรคต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ

ไทยรอยด์ คือ ต่อมไร้ท่อขนาดใหญ่ของร่างกายมนุษย์ มีหน้าที่หลัก คือ ผลิตฮอร์โมนต่างๆ ความสำคัญของฮอร์โมนไทรอยด์ ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ เสริมสร้างความสัมพันธ์กับการทำงานของสมองและระบบประสาท ควบคุมระบบเผาผลาญและรักษาอุณหภูมิของร่างกาย หากร่างกายมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์สูงกว่าปกติ ระบบต่างๆในร่างกายจะถูกกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น ทำให้เกิด ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ไทรอยด์เป็นพิษ ( Hyperthyroidism , Overactive Thyroid )คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไป ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานมากขึ้น เป็นสาเหตุทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วแบบผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดปกติ เหงื่อออกง่าย และหงุดหงิด ฉุนเฉียว เป็นต้น เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จะส่งผลให้ระบบในร่างกายทั้งหมดผิดปรกติ ซึ่งระบบประสาทจะไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้

ความผิดปรกติของไทรอยด์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ

  1. ฮอร์โมนไทรอยด์เกิน เป็น ภาวะที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกมามากเกินความจำเป็น  ส่งผลให้หัวใจเต้นแรง ใจสั่น นอนไม่หลับ และน้ำหนักตัวลด ทำให้มีอารมณ์แปรปรวนบ่อย
  2. ฮอร์โมนไทรอยด์ขาด ( Hypothyroidism ) เป็นภาวะที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกมาน้อยเกินไปไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง รู้สึกหนาว ระบบความจำเสื่อม ตัวบวม ท้องผูก ถ้าเกิดกับเด็กจะทำให้ตัวการเจริญเติบโตของเด็กไม่ดี ตัวจะแคระแกรน
  3. ฮอร์โมนไทรอยด์ปกติ เป็นภาวะที่ฮอร์โมนของร่างกายหลั่งออกมาปกติ แต่มีความผิดปกติที่ตรงต่อมไทรอยด์

สาเหตุของการเกิดไทรอยด์เป็นพิษ

สาเหตุของโรคไทรอยด์เป็นพิษนั้นเกิดขึ้นจาก การทำงานมากกว่าปรกติของต่อมไทรอยด์ จนทำให้ร่างกายมีปริมาณของฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าความต้องการของร่างกาย สามารถแยกสาเหตุได้ 3 สาเหตุหลัก ๆ ประกอบด้วย

  • การรับประทานอาหาร การรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนมากเกินไปก็สามารถก่อให้เกิดโรคไทรอยด์เป็นพิษ เนื่องจากไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์
  • การอักเสบของต่อมไทรอยด์ การอักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุของต่อมไทรอยด์สามารถส่งผลต่อการทำงานของของต่อมไทรอยด์ได้ โดยการอักเสบของต่อมไทรอยด์จะทำให้ฮอรโมนไทรอยด์ถูกผลิตออกมามากขึ้น และทำให้ฮอร์โมนรั่วไหลออกไปที่กระแสเลือด ทั้งนี้การอักเสบของต่อมไทรอยด์ส่วนใหญ่ไม่มีอาการเจ็บ ยกเว้นอาการไทรอยด์อักเสบแบบกึ่งเฉียบพลันที่เกิดขึ้นได้น้อย สามารถส่งผลให้เกิดอาการเจ็บได้
  • เนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์ เป็นกรณีที่พบได้น้อย เนื้องอกที่เกิดบริเวณไทรอยด์ และเนื้องอกที่เกิดบริเวณต่อมใต้สมอง อาจส่งผลให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจนกลายเป็นพิษได้
  • การได้รับการเสริมฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป ยาที่มีส่วนประกอบของไอโอดีนบางชนิด เช่น ยาอะไมโอดาโรน (Amiodarone) ที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะทำให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจนกลายเป็นพิษ

อาการของโรคไทยรอยด์

อาการของโรคไทรอยด์เป็นพิษ ผู้ป่วยจะมีความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็วผิดปรกติ ทำให้รู้สึกเหนื่อยง่าย ใจสั่น ในผู้ป่วยบางรายอาจจะเป็น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ระบบการเผาผลาญ ของร่างกายถูกกระตุ้น ทำให้น้ำหนักตัวลดลง นอนไม่หลับ ท้องเสียง่าย เนื่องจากระบบทางเดินอาหารถูกกระตุ้นให้ทำงาน ตาโปนเยื่อหลังนัยน์ตาขยาย ในผู้หญิงอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน ซึ่งสามารถสรุปอาการของโรคเป็นข้อๆ เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้ ดังนี้

  • อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิ
  • คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว
  • นอนหลับยาก
  • มีปัญหาสายตา เช่น ตาโปน เห็นภาพซ้อน เป็นต้น
  • สุขภาพผมเปลี่ยนไป ผมเปราะบางขาดง่าย และมีอาการผมร่วง
  • ผู้หญิงมีรอบเดือนผิดปกติ ประจำเดือนมีสีจางและมาไม่สม่ำเสมอ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะบริเวณต้นขาและต้นแขน
  • เล็บยาวเร็วผิดปกติ
  • หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้ง/นาที โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
  • มือสั่นตลอดเวลา
  • มีอาการคัน
  • เหงื่อออกมาก
  • ผิวหนังบาง
  • น้ำหนักลด แต่มีความอยากอาหารมากขึ้น
  • อาจพบเต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้นในเพศชาย

มะเร็งต่อมไทรอยด์ ( Thyroid carcinoma ) มีทั้งชนิดรุนแรงและไม่รุนแรง จะพบมากในผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป และสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย แต่พบว่าผู้ชายจะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าผู้หญิง

การรักษาโรคไทรอยด์

โรคของต่อมไทรอยด์  สามารถทำการรักษาได้โดย กินยาลดการทำงานของต่อมไทรอยด์ การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ หรือ การกินน้ำแร่รังสีไอโอดีน เมื่อเราพบว่าร่างกายเป็นภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป สามารถรักษาได้โดย การกินยาไทรอยด์เพิ่มระดับฮอร์โมน และให้ยาขับน้ำ เพื่อลดการบวมของร่างกาย หากพบว่าเป็นมะเร็งต่อมไทยรอยด์ จะต้องทำการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ และกินยาน้ำแร่รังสีไอโอดีน รวมถึงฉายรังสีรักษา

การดูแลตนเองเมื่อเป็นไทยรอยด์

เมื่อมีอาการผิดปกติดังกล่าวหรือสังเกตเห็นมีก้อนเนื้อผิดปกติในบริเวณต่อมไทรอยด์ และ/หรือลำคอ ควรรีบพบแพทย์เสมอภายใน 1 – 2 สัปดาห์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะช่วยให้การรักษาได้ผลดีกว่า ใช้เวลารักษาและเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาน้อยกว่าการรักษาในระยะที่เป็นโรคเรื้อรังหรือเป็นโรคมะเร็งในระยะลุกลาม

ป้องกันไม่ให้เกิดโรคของต่อมไทรอยด์

การป้องกันโรคไทยรอยด์ในทางการแพทย์นั้น โรคต่อมไทรอยด์ ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่ยกเว้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคคอพอก ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการขาดสารไอโอดีน ดังนั้น การป้องกันโรคไทรอยด์ เราต้อง รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของ ไอโอดีนในปริมาณที่เหมาะสม โดยอาหารที่มีสารไอโอดีย เช่น อาหารทะเล เกลือทะเล นอกจากการรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน การออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ก็สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโนคนี้ได้

 

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

มะเร็งต่อมไทรอยด์ ( Thyrok ) เกิดเนื้อร้ายที่ต่อมไทรอยด์ ทำให้มีก้อนที่คอ ปวดเมื่อกดที่ก้อนเนื้อ มีเสียงแหบ หายใจลำบาก สามารถลามจนเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้มะเร็งต่อมไทยรอยด์ โรคมะเร็ง ต่อมไทยลอยด์ โรคต่อมไร้ท่อ

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ ความรุนแรงของโรคไม่มาก การรักษาได้ผลสูงถึงร้อยละ 80 หากรักษาได้ทันท่วงที สามารถหายและอยู่ได้ถึง 10 ถึง 20 ปี และผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ความรุนแรงของโรคจะสูงกว่าผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปี วันนี้เรามาทำความรู้จักกับมะเร็งต่อมไทรอยด์ ว่าคืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษาและการป้องกันโรค ทำอย่างไร

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ คือ เนื้อร้ายที่เกิดกับต่อมไทรอยด์ เป็นมะเร็งที่เกิดกับต่อมไทรอยด์ รวมถึงเนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อกับต่อมไทรอยด์ มะเร็งต่อมไทรอยด์สามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ ชนิดที่เซลล์มะเร็งจับกินแร่รังสีไอโอดีน และ ชนิดที่เซลล์มะเร็งไม่จับกินแร่รังสีไอโอดีน รายละเอียดของชนิดมะเร็งต่อมไทรอยด์ มีรายละเอียด ดังนี้

  1. มะเร็งต่อมไทรอยด์ ชนิดที่เซลล์มะเร็งจับกินแร่รังสีไอโอดีน ภาษาอังกฤษ เรียก Differentiated carcinoma เป็นมะเร็งที่พบได้ถึง ร้อยละ 90 ของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ทั้งหมด
  2. มะเร็งต่อมไทรอยด์ ชนิดที่เซลล์มะเร็งไม่จับกินแร่รังสีไอโอดีน พบว่ามะเร็งชนิดนี้ มีไม่มาก ประมาณร้อยละ 5

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์ คือ คนทุกช่วงอายุ ตั้งแต่ 10 ปี ถึง 80 ปี และโอกาสของการเกิดผู้หญิงมีโอกาสเกิดโรคนี้มากกว่าผู้ชาย

สาเหตุของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

สาเหตุของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน ซึ่งสามารถแบ่งปัจจัยของการเกิดโรคได้ 3 ปัจจัยใหญ่ คือ กรรมพันธุ์ สิ่งแวดล้อม และการรับประทานอาหาร โดยรายละเอียด ดังนี้

  1. กรรมพันธุ์  โรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์บางชนิด มีรายงานว่าสามารถถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมได้
  2. สิ่งแวดล้อม รังสีกัมมันตรังสีมีและรังสีไอออนไนซ์ผลต่อเซลล์ของต่อมไทรอยด์
  3. การรับสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย ระดับของเกลือแร่ไอโอดีนมีผลต่อการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์

อาการของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
โดยผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนโรคคอพอก คือ มีก้อนที่คอ สามารถคลำได้ ไม่มีอาการปวด แต่ในบางครั้งก๋มีอาการปวด เมื่อกดที่ก้อนเนื้อจะมีเสียงแหบ  เนื่องจากก้อนเนื้อลุกลามไปถึงเส้นประสาท ทำให้หายใจลำบาก อาจลุกลามไปถึงหลอดลมและหลอดอาหารได้ จำเป็นต้องรีบรักษา เพราะถ้าไม่รักษาให้ทันอจากลามจนเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งกระดูก ได้

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์มีทั้งสิ้น 4 ระยะโดย รายละเอียดของมะเร็งต่อมไทรอยด์ระยะต่างๆ มีดังนี้

  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ ระยะที่ 1 มีโรคเกิดขึ้นที่ต่อมไทรอยด์ และมีการลุกลามไปที่โรคกี่ยวกับต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอด้วย ขนาดของมะเร็งโตไม่เกิน 2 เซ็นติเมตร
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ ระยะที่ 2 มะเร็งมีการเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะต่างๆของร่างกาย พบว่ามีการแพร่กระจายสู่ ปอด กระดูก ศีรษะ สมองและตับ มากที่สุด ขนาดของมะเร็งโตไม่เกิน 4 เซ็นติเมตร
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ ระยะที่ 3 ระยะนี้มะเร็งจะมีขนาดใหญ่ ลุกลามไปสู่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอที่อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ ระยะที่ 4 ระยะนี้มะเร็งมีการลุกลามไปถึงเนื้อเยื่อของร่างกาย และแพร่กระจายไปสู่กระแสเลือด เข้าสู่อวัยวะต่างๆ เป็นระยะสุดท้ายไม่สามารถรักษาให้หายได้แล้ว

การตรวจโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

สามารถตรวจได้จาก การสังเกตุอาการเบื้องต้น จากนั้นตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของต่อมไทรอยด์ อัลตราซาวน์ต่อมไทรอยด์ และต่อมน้ำเหลือง เพื่อดูลักษณะของต่อมไทรอยด์ การตรวจเลือด เพื่อดูการทำงานของตับและไต เพื่อดูระดับเกลือแร่ในร่างกาย เช่น ระดับแคลเซียม เอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติของ ช่องอก หัวใจ และปอด และการตรวจปัสสาวะ เพื่อประเมินสภาพร่างกายทั่วๆไป

การรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

การรรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ นี้ มีวิธีที่ใช้อยู่ 3 วิธี คือ การผ่าตัด การให้กินรังสีแร่ไอโอดีนและการให้ฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งผู้ป่วยต้องทำการรักษาทั้ง 3 วิธี และอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การผ่าตัด การผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อร้ายออก ซึ่งเป็นการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกบางส่วน การผ่าตัดจะเป็นขั้นตอนแรกในการรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ แต่ในการผ่าตัดนิยมผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกทั้ง 2 ส่วน
  • การให้กินแร่รังสีไอโอดีน เป็นสารกัมมันตรังสีในรูปแบบแคปซูลหรือสารละลายน้ำ จะช่วยไม่ให้มะเร็งลุกลามหลังจากผ่าตัดต่อมไทรอยด์แล้ว ซึ่งการรักษาโดยให้กินแร่รังสีไอโอดีน อาจต้องกินมากกว่า 1 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์
  • การให้ฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งต้องกินฮอร์โมนไทรอยด์ตลอดชีวิต เนื่องจากร่างกายถูกตัดต่อมไทรอยดืออกไป จำเป็นต้องให้ฮอร์โมนทดแทนการขาดหายไปอย่างเพียงพอ

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ ( Thyrok ) การเกิดเนื้อร้ายที่ต่อมไทรอยด์ ส่งผลให้เกิดอาการ มีก้อนที่คอ สามารถคลำได้ ปวดเมื่อกดที่ก้อนเนื้อ มีเสียงแหบ หายใจลำบาก หากไม่รักษามะเร็งจะลามจนเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งกระดูก สาเหตุของโรค อาการและระยะของโรค การรักษาทำอย่างไร โรคระบบฮอร์โมน โรคนี้ต้องกินยาตลอดชีวิต มะเร็งต่อมไทรอยด์ รักษาได้ ปัจจัยของการเกิดโรค

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove