โรคกระดูกพรุน ภาวะกระดูกแตกหักง่าย พบมากในสังคมผู้สูงอายุ เกิดมากกับสตรีวัยหมดประจำเดือน สาเหตุของกระดูกพรุนเกิดจากอะไร แนวทางการรักษาโรคกระดูกพรุนทำอย่างไร

โรคกระดูกพรุน โรคข้อและกระดูก โรคไม่ติดต่อ โรคผู้สูงอายุ

โรคกระดูกพรุน ( Osteoporosis ) คือ ภาวะมวลกระดูกของร่างกายต่ำกว่ามาตรฐานจากขาดสารอาหารแคลเซียม ทำให้ปริมาณเนื้อกระดูกบาง ทำให้กระดูกจะแตกหักง่าย เป็นโรคที่ทรมาน พบมากในกลุ่มสตรีที่อายุมาก และ ผู้สุงอายุ และ ภาวะกระดูกพรุน เป็นโรคข้อและกระดูก อัตราการเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน พบว่า 50 % พบในสตรี และ 20 % พบในเพศชายที่อายุเกิน 65 ปี

มวลกระดูก

มวลกระดูก คือ ความหนาแน่นของกระดูก ซึ่งเทคโนโลยีทางการแพทย์ มีเครื่องมีในการวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก (Bone mineral density) คือ เครื่อง DXA ( Dual-energy X-ray absorptiometry ) ซึ่งการแบ่งระดับของมวลกระดูก สามารถแบ่งได้ 4 ระดับ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • มวลกระดูกปกติ ( Normal bone ) ค่ามวลกระดูกอยู่ในช่วง 1 SD
  • มวลกระดูกบาง ( Osteopenia ) ค่ามวลกระดูกอยู่ระหว่างช่วง -1 ถึง -2.5 SD
  • มวลกระดูกพรุน ( Osteoporosis ) ค่ามวลกระดูกต่ำกว่า -2.5 SD
  • มวลกระดูกพรุนอย่างรุนแรง ( Severe or Established osteoporosis ) ค่ามวลกระดูกอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมากกว่า -2.5 SD

สถานการณ์ของโรคกระดูกพรุนในปัจจุบัน

ปัจจุบันทั่วโลกมีสตรีป่วยมีภาวะกระดูกพรุน มากถึง 200 ล้านคนทั่วโลก โดยครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยอยู่ในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา ส่วนที่เหลืออยู่ในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศในแถบคาบสมุทรแปซิฟิก ซึ่งพบมากในสตรีกลุ่มวัยหมดประจำเดือน พบว่ากลุ่มคนที่อายุ 50 ปีขึ้นไป ผู้หญิง 1 ใน 3 คน และ ผู้ชาย 1 ใน 5 คน มีโอกาสเสี่ยงภาวะกระดูกพรุน สำหรับคนที่อายุ 60 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงโรคกระดูกพรุนสูงถึง 60% โดยบริเวณกระดูกแตกหักง่ายที่สุด คือ กระดูกปลายแขน กระดูกต้นแขน กระดูกสะโพก และกระดูกสันหลัง

โรคกระดูกพรุนในประเทศไทย

โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ ข้อมูลจากมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2552 พบว่าอัตราการตายหลังจากกระดูกสะโพกหัก ภายใน 5 ปี มีมากถึงร้อยละ 30 และสถิติจำนวนประชากรตั้งแต่ปี 2555 พบว่า จำนวนประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทยที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และ อัตราจำนวนสตรีมากกว่าเพศชายถึง 3 เท่า ซึ่งทำให้ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนก็จะเพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องคาดเดา โดยเฉพาะกลุ่มคนอายุ 70 ปีขึ้นไป

ชนิดของโรคกระดูกพรุน

สำหรับโรคกระดูกพรุนที่พบเห็นในปัจจุบัน สามารถแบ่งชนิดของโรคจากสาเหตุของกระดูกพรุน 2 ชนิด คือ โรคกระดูกพรุนปฐมภูมิ และ โรคกระดูกพรุนทุติยภูมิ รายละเอียด ดังนี้

  • โรคกระดูกพรุน ชนิดปฐมภูมิ ( Primary osteoporosis ) เป็นภาวะกระดูกพรุนที่มีสาเหตุจากสุขภาพของมวลกระดูกผิดปรกติเอง เกิดจากภาวะการขาดฮอร์โมนเพศตามวัยและการเสื่อมของร่างกายตามวัย สามารถแบ่งได้ใน 2 กลุ่มผู้ป่วย คือ กลุ่มผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนในสตรีวัยหมดประจำเดือน ( Postmenopausal osteoporosis หรือ Osteoporosis type I )  และ ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ ( Senile osteoporosis หรือ Osteoporosis type II )
  • โรคกระดูกพรุน ชนิดทุติยภูมิ ( Secondary osteoporosis ) เป็นภาวะกระดูกพรุนที่มีสาเหตุจากภาวะอื่นๆที่ไม่ได้เกิดจากตัวกระดูกเอง เช่น ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเกี่ยวกับระบบฮอร์โมนร่างกาย การขาดสารอาหาร การใช้ยาบางชนิด รวมถึงการสูบบุหรี่

สาเหตุของการเกิดโรคกระดุกพรุน

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุน เทคโนโลยีและความรู้ทางการแพทย์ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถทราบสาเหตุที่แท้จริงของภาวะกระดูกพรุ่น แต่พบว่าเกิดจาก การขาดความสมดุลระหว่างเซลล์สร้างกระดูก ( Osteoblast ) และ เซลล์ดูดซึมทำลายกระดูก ( Osteoclast ) โดยปัจจัยของการทำให้กระดูกพรุน สามารถสรุปได้ดังนี้

  • ความเสื่อมของร่างกายตามอายุ เมื่อร่างกายอายุมากขึ้น ระบบกระดูกก็เปลี่ยนไปตามอายุการใช้งาน
  • ภาวะการขาดฮอร์โมนเพศ เนื่องจากฮอร์โมนเพศมีหน้าที่ช่วยการสร้างเซลล์กระดูก สตรีหลังหมดประจำเดือนจึงมีความเสี่ยงภาวะกระดูกพรุนสูง
  • ภาวะทางโภชนาการ การรับประทานอาหารที่ขาดสารอาหารที่สำคัญต่อกระดูก ส่งผลต่อสุขภาพของกระดูก
  • ภาวะการพักผ่อนและการออกกำลังกาย การพักผ่อนทำให้ร่างกายได้พื้นฟูสภาพร่างกายให้กลับมาพร้อมใช้งานหากขาดการพักผ่อนร่างกายจะเสื่อมโทรม รวมถึงการออกกำลังกายทำให้กระตุ้นการเคลื่อนไหว ทำให้กระตุ้นการทำงานของเซลล์กระดูก
  • ภาวะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม กลุ่มคนที่มีคนในครอบครัวเกิดโรคกระดูกพรุน มีความเสี่ยงสูงกว่าทั่วไป
  • ภาวะโรคแทรกซ้อนจากโรคอื่นๆ เช่น โรคไทรอยด์ โรคเนื้องอกของต่อมใต้สมอง เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน

ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนจะไม่แสดงอาการผิดปรกติของอวัยวะอื่นๆ นอกจากเกิดที่กระดูกและความเจ็บปวดจากกระดูกหักเท่านั้น ไม่มีสัญญานเตือนการเกิดโรค ซึ่งอาการโรคกระดูกพรุน โดยทั่วไป คือ กระดูกหักได้ง่าย โดยเฉพาะ ปลายกระดูกแขน กระดูกข้อมือ และ เกิดการยุบ ตัวของกระดูกสันหลัง หรือ กระดูกสันหลังเสื่อม หลังจากมีภาวะกระดูกแตกหักจะทำให้เกิดอาการปวดกระดูกแบบเรื้อรัง ไม่สามารถใช้ชีวิตตามปรกติได้

การรักษาโรคกระดูกพรุน

สำหรับการโรคกระดูกพรุน ไม่สามารถรักษาให้กระดูกกลับคืนสภาพเดิมได้ ซึ่งแนวทางการรักษาโรคกระดูกพรุน จะใช้การประคับประครองร่างกายให้ความเสื่อมของมวลกระดูกลดลง รักษาตามอาการ ด้วย ยา การผ่าตัด และ การปรับสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่ทำให้กระดูกหัก แนวทางการรักษาโรคกระดูกพรุน มีดังนี้

  • การใช้ยารักษาโรค ซึ่งยาที่ใช้ในการักษาเป็นยากลุ่มยาฮอร์โมนเพศหญิง ยาเพื่อรักษาระดับฮอร์โมนเพศ ที่มีผลต่อการรักษาสภาพของมวลกระดูกให้เสื่อมช้าลง
  • การผ่าตัด เพื่อรักษากระดูกที่แตกหัก เพื่อลดความเจ็บปวดจากเนื้อเยื่ออักเสบ
  • การปรับสิ่งแวดล้อม เช่น หลีกเลี่ยงการขึ้นที่สูง ปรับสิ่งแวดล้อมป้องกันการหกล้ม ที่เป็นสาเหตุของกระดูกหัก

การป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนเกิดจากสุขภาพของมวลกระดูกลดลง ซึ่งมีหลายสาเหตุที่ทำให้มวลกระดูกเสื่อมลง แนวทางการป้องกันสามารถป้องกันที่ปัจจัยของการเกิดโรค แนวทางการป้องกันโรคกระดูกพรุน มีดังนี้

  • เลิกสูบบุหรี่
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ปรับสภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อลีกเลี่ยงอุบัติเหตุจากทำให้หกล้ม

โรคกระดูกพรุน ภาวะกระดูกแตกหักง่าย โรคที่พบมากในสังคมผู้สูงอายุ เกิดมากกับสตรีวัยหมดประจำเดือน สาเหตุของกระดูกพรุนเกิดจากอะไร แนวทางการรักษาโรคกระดูกพรุนทำอย่างไร

กระดูกบาง กระดูกพรุน กระดูกเปราะ ภาวะมวลกระดูกบาง โรคในสังคมผู้สูงวัย อาการปวดกระดูก กระดูกแตกหักง่าย พบในสตรีวัยหมดประจำเดือนและผู้สูงอายุ การรักษาทำอย่างไร โรคกระดูกพรุน กระดูกเปราะ โรคข้อและกระดูก

โรคกระดูกบาง หรือ โรคกระดูกพรุน หรือ โรคกระดูกเปราะ ( Osteoporosis ) คือ ภาวะมวลกระดูกของร่างกายต่ำกว่ามาตรฐาน โดย มวลกระดูกของโรคกระดูกบาง ประมาณ -1 ถึงน้อยกว่า -2.5 sd  หากไม่รักษา ก็จะทำให้เกิดโรคกระดุกพรุน แต่สำหรับบางคนสามารถเกิดกระดูกพรุน โดยไม่เกิดภาวะกระดูกบางมาก่อน ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน กระดูกจะแตกหักง่าย

โรคกระดูกพรุน คือ สภาวะที่กระดูกมีปริมาณเนื้อกระดูกต่ำลง เพราะว่าแคลเซี่ยมในร่างกายต่ำลง มีผลให้หลังโก่ง และกระดูกหักง่าย โรคกระดูกพรุนเป็นโรคทางกระดูกและไข้ข้อ โรคข้อและกระดูก

ชนิดของโรคกระดูกพรุน

สำหรับโรคกระดูกพรุนที่พบเห็นในปัจจุบัน สามารถแบ่งชนิดของโรคจากสาเหตุของกระดูกพรุน 2 ชนิด คือ โรคกระดูกพรุนปฐมภูมิ และ โรคกระดูกพรุนทุติยภูมิ รายละเอียด ดังนี้

  • โรคกระดูกพรุน ชนิดปฐมภูมิ ( Primary osteoporosis ) เป็นภาวะกระดูกพรุนที่มีสาเหตุจากสุขภาพของมวลกระดูกผิดปรกติเอง เกิดจากภาวะการขาดฮอร์โมนเพศตามวัยและการเสื่อมของร่างกายตามวัย สามารถแบ่งได้ใน 2 กลุ่มผู้ป่วย คือ กลุ่มผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนในสตรีวัยหมดประจำเดือน ( Postmenopausal osteoporosis หรือ Osteoporosis type I )  และ ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ ( Senile osteoporosis หรือ Osteoporosis type II )
  • โรคกระดูกพรุน ชนิดทุติยภูมิ ( Secondary osteoporosis ) เป็นภาวะกระดูกพรุนที่มีสาเหตุจากภาวะอื่นๆที่ไม่ได้เกิดจากตัวกระดูกเอง เช่น ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเกี่ยวกับระบบฮอร์โมนร่างกาย การขาดสารอาหาร การใช้ยาบางชนิด รวมถึงการสูบบุหรี่

สาเหตุของการเกิดโรคกระดุกพรุน

สำหรับกลไกการเกิดโรคกระดูกพรุน นั้นในทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดนัก แต่พบว่าเกิดจาก การขาดความสมดุลระหว่างเซลล์สร้างกระดูก ( Osteoblast ) และ เซลล์ดูดซึมทำลายกระดูก ( Osteoclast ) ซึ่ง สาเหตุของการเสียสมดุลจำเกิดการทำลายมวลกระดูกมีปัจจัย ดังต่อไปนี้

  • อายุ เมื่อมีอายุมากขึ้น เซลล์ในร่างกายและการทำงานของระบบกระดูกก็เปลี่ยนไปตามอายุการใช้งาน
  • การขาดฮอร์โมนเพศ ซึ่งฮอร์โมนเพศ จะช่วยการสร้างเซลล์กระดูก หากเกิดภาวะประจำเดือนหมด จะทำให้ฮอร์โมนเพศหยุดการสร้างและ ทำให้มีภาวะเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน
  • การขาดสารอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อการสร้างกระดูก โดยสารอาหารสำคัญต่อกระดูก เช่น โปรตีน แคลเซียม และ วิตามินดี
  • การขาดการออกำลังกาย การออกกำลังกายทำให้กระตุ้นการเคลื่อนไหว และจะช่วนกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก
  • พันธุกรรม จากสถิติพบว่าในคนที่ครอบครัวมีคนเกิดโรคนี้ คนในครอบครัวคนอื่นๆ มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคมากกว่าปรกติ
  • โรคแทรกซ้อนจากโรคที่เกี่ยวกับการสร้างฮอร์โมน เช่น โรคไทรอยด์ โรคเนื้องอกของต่อมใต้สมอง เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน

สำหรับอาการโรคกระดูกพรุน ปวดกระดูกตรงบริเวณที่มีความผิดปกติ เช่น กระดูกสะโพก กระดูกสันหลัง หลังค่อม การทรงตัวไม่ดีล้มได้ง่าย โดยทั่วไปเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้กระดูกหักได้ง่าย โดยเฉพาะสตรีวัยหมดประจำเดือน มักเกิดกระดูกหักง่าย เช่น ปลายกระดูกแขน กระดูกข้อมือ และ เกิดการยุบ ตัวของกระดูกสันหลัง หรือ กระดูกสันหลังเสื่อม เกิดการปวดหลังเรื้อรัง ส่วนกระดูกพรุนสำหรับผู้สูงอายุ มักเสี่ยงต่อกระดูกสะโพกหัก

การรักษาโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนหากเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้กระดูกกลับมาดีเหมือนเดิมได้ สามารถทำได้โดยการรักษาตามอาการเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดจากภาวะกระดูกพรุนเท่านั้น แต่วิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับโรคกระดูกพรุน คือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุน โดยวิธีการ ออกกำลังกาย ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต รับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมสูงสม่ำเสมอ ในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย

การดูแลผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน

ผู้ป่วนโรคกระดูกพรุน ต้องรับประทานอหารเสริม เช่น กินวิตามินเกลือแร่ หรือ ยา ตามแพทย์แนะนำ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รักษาระดับน้ำหนักตัวไม่ให้หนักเกินไป ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และงดการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์

การป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน

การป้องกันโรคกระดูกพรุนที่ดที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ทั้งหมด เช่น เลิกการดื่มสุรา เลิกสูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และ เข้ารับการตรวจมวลกระดูกอย่างสม่ำเสมอ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุน จะต้องมีคนคอยดูแลเพราะกระดูดที่แตกง่ายหักกง่ายนี้ ผู้ป่วยเพียงแค่เดินแรงก็สามารถทำให้กระดูกหักได้เลย ภาวะกระดูกพรุ่นเป็นโรคภายในร่างกาย ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมาก หากไม่ดูแลตัวเองให้ดี ก็จะเป็นโรคกระดูกพรุนได้

สมุนไพรบำรุงกระดูก พืชผักสมุนไพร ที่มีสรรพคุณ บำรุงกระดูก เป็นสมุนไพร ที่มีแคลเซียม สูง ซึ่งมี ดังนี้

ผักแพว มินต์เวียดนาม สมุนไพร สรรพคุณของผักแพวผักแพว
ซ่อนกลิ่น สมุนไพร สรรพคุณของซ่อนกลิ่น ประโยชน์ของซ่อนกลิ่นซ่อนกลิ่น
เห็ดหอม สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของเห็ดหอมเห็ดหอม
ผักคะน้า สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของผักคะน้าผักคะน้า
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ สรรพคุณของโด่ไม่รุ้ล้มว่านโด่ไม่รู้ล้ม
ถั่วเขียว สมุนไพร สรรพคุณถั่วเขียว ประโยชน์ของถั่วเขียวถั่วเขียว

โรคกระดูกบาง โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกเปราะ คือ ภาวะมวลกระดูกบาง โรคในสังคมผู้สูงวัย อาการปวดกระดูก กระดูกแตกหักง่าย พบมากใน สตรีหมดประจำเดือน และ ผู้สูงอายุ แนวทางการรักษาโรคทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove