ข้อเสื่อม Osteoarthritis การสึกหรอที่ผิวกระดูกอ่อนหุ้มข้อ ปัจจัยการเกิดโรค คือ อายุ และ อุบัตติเหตุ อาการเจ็บปวดบริเวณข้อ เคลื่อนไหวตัวได้น้อย แนวทางการรักษาโรค
โรคข้อเสื่อม เกิดกับกระดูกอ่อน เกิดกับเยื่อหุ้มข้อ ข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อกระดูกต้นคอ ข้อกระดูกส่วนหลัง อาการปวด บวม แดง ร้อนบริเวณข้อกระดูก เคลื่อนไหวลำบาก คนอายุ 50 ถึง 60 ปี มีโอกาสเสี่ยงสูง โดยเฉพาะ สตรี มีโอกาศเป็นมากกว่าชาย 2 เท่า ลักษณะเด่นของโรคนี้ คือ ข้อฝืดในช่วงเช้า มีอาการปวดตามข้อ มีเสียงดังกรอบแกรบจากข้อกระดูก
ชนิดของโรคข้อเสื่อม
สำหรับชนิของโรคข้อเสื่อม สามารถ แบ่งได้ 2 ชนิด คือ ข้อเสื่อมปฐมภูมิ และ ข้อเสื่อมทุติยภูมิ รายละเอียด ดังนี้
- ข้อเสื่อมปฐมภูมิ เรียก primary osteoarthritis คือ อาการข้อเสื่อม เกิดกับผู้สูงอายุ เป็นการเสื่อมตามวัย มักพบอาการเสื่อมของข้อกระดูก บริเวณข้อใหญ่ๆ เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก และ ข้อกระดูกสันหลัง เป็นต้น
- ข้อเสื่อมทุติยภูมิ เรียก secondary osteoarthritis คือ ข้อเสื่อมจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่การเสื่อมตามวัย เช่น การเกิดอุบัตติเกตุ ทำให้เกิดการแตกหักของผิวกระดูกข้อ การเกิดข้อหลุด ไขข้อกระดูกถูกทำลาย การตายของหัวกระดูก หรือ การติดเชื้อที่ข้อกระดูก รวมถึงความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
ปัจจัยที่ทำให้เป็นโรคข้อเสื่อม
สำหรับปัจจัยการเกิดข้อกระดูกเสื่อม คือ อายุมากเกิดการเสื่อมสภาพของข้อกระดูกตามการใช้งาน น้ำหนักตัวที่มากของมนุษย์ อุบัติเหตุที่เกิดการกระแทกอย่างรุนแรง กรรมพันธุ์ ยังมีปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และส่งผลต่อการเสื่อมของข้อกระดูกเร็วกว่าปกติ มีดังนี้
- อายุ การเสื่อมสถาพของกระดูกตามวัย เป็นปัจจัยหลักของการเกิดโรคข้อเสื่อม
- เชื้อชาติ จากการสำรวจพบว่า ชนชาติที่มีลักษณะร่างกายใหญ่ จะพบว่าเกิดโรคข้อเสื่อมมากกว่าคนตัวเล็ก
- อาชีพ การประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดข้อเสื่อม เช่น อาชีพที่ต้องยกของหนัก และ อาชีพที่มีการกระแทกสูง
- กรรมพันธุ์ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม มีผลต่อการเกิดโรค หากครอบครัวที่ีมีคนเกิดโรคนี้ คนในครอบครัวมีโอกาสเกิดโรคสูง
- น้ำหนักตัว หากร่างกายมีน้ำหนักมาก ทำให้ระบบข้อและกระดูกทำงานหนักมากขึ้น ส่งผลต่อความเสื่อมที่ง่ายกว่าคนที่ทีน้ำหนักตัวเบา
- สุขภาพของกระดูก แต่ละคนที่ความหนาแน่นของมวลกระดูกที่แตกต่างกัน ในคนที่มีความหนาแน่นของมวลกระดูกน้อย จะเกิดโรคข้อเสื่อมง่าย
- ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งฮอร์โมนเอสโอสโตรเจน มีหน้าที่ป้องกันการเสื่อมของผิวกระดูกอ่อน หากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมีน้อย อัตราการเสื่อมของผิวกระดูกจะเร็วขึ้น
- พฤติกรรมส่วนตัว ปฏิเสธไม่ได้ว่าพฤติกรรมการใช้ชีวิต ที่ไม่ส่งผลดีต่อระบบข้อและกระดูก ทำให้เกิดการเสื่อมของข้อได้ง่าย
- การเกิดอุบัติเหตุ ที่ส่งผลกระทบต่อข้อและกระดูก เช่น ข้อเข่าหลุด ข้อมือหัก เป็นต้น ทำให้ผิวหุ้มกระดูกอ่อนถูกทำลายส่งผลทำให้เกิดการเสื่อมที่ข้อที่เร็วกว่าปรกติ
ลักษณะการเสื่อมของผิวกระดูกอ่อน
การเสื่อมของผิวกระดูกอ่อน ที่เป็นสาเหตุของโรคข้อเสื่อมนั้น สามารถแบ่งระยะของความเสื่อมได้ 5 ระยะ รายละเอียดของระยะต่างๆ ดังนี้
- ระยะที่ 1 ผิวกระดูกอ่อนเริ่มมีการสึกและกร่อนแตกเป็นเศษเล็กๆ บริเวณช่องว่างระหว่างข้อกระดูก
- ระยะที่ 2 เกิดอาการระคายเคืองที่เยื่อบุข้อ มีอาการอักเสบ เกิดการทำลายผิวกระดูกอ่อนมากขึ้น
- ระยะที่ 3 ระยะการซ่อมแซมผิวกระดูกอ่อนหุ้มข้อ การซ่อมแซมข้อกระดูกของร่างกายทำให้เพิ่มความหนาของเซลล์กระดูก ส่งผลให้ช่องว่างระหว่างข้อกระดูกแคบลง ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของข้อกระดูก
- ระยะที่ 4 ความสามารถในการซ่อมแซมผิวกระดูกอ่อนน้อยลง ส่งผลต่อการสึกหรอของข้อกระดูกมากขึ้น ทำให้เนื้อกระดูกอ่อนถูกเสียดสี ทำให้ปวดข้อเวลาเคลื่อนไหว
- ระยะที่ 5 การทำงานของข้อกระดูกผิดปกติ ข้อกระดูกเกิดการผิดรูป มีอาการบวม ระยะนี้จะมีอาการข้อแข็ง ทำให้การเคลื่อนไหวทำได้น้อย
ลักษณะของการเกิดโรคข้อเสื่อม
โรคข้อเสื่อมเป็นความผิดปกติของข้อแบบ synovial และ diarthrodial ที่มีลักษณะเกิดการเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ จะมี 3 ลักษณะ คือ เกิดกระดูกงอกบริเวณขอบข้อ และ เกิดพังผืดบริเวณเยื่อหุ้มข้อ รวมถึงเกิดการเปลี่ยนแปลงชีวเคมีบริเวณข้อ รายละเอียดของการลักษณะการเกิดโรคมีรายละเอียดดังนี้
- การโรคระยะแรก จะเกิดกับผิวกระดูกอ่อน ส่วนที่รับน้ำหนักมาก ผิวของกระดูกอ่อนจะเปลี่ยนจากสีเหลือง ผิวกระดูกขรุขระ และ นิ่มลง เกิดการเสื่อมมาก ในบางรายผิวกระดูกอ่อนหลุดลอก เมื่อมีการเคลื่อนไหว จะทำให้เกิดการเสียดสีของข้อกระดูก หากเกิดอาการมากขึ้น จะทำให้เกิดพังผืดรอบกระดูกอ่อน หนาตัวกลายเป็นกระดูกงอก
- การเกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและเนื้อเยื่อภายในข้อ เช่น ปริมาณของน้ำเพิ่มขึ้น ขนาดเส้นใยคอลาเจนเล็กลง เส้นใยมีลักษณะหลวม เกิดการเปราะ และแตกสลายง่าย
- การเกิดการเปลี่ยนแปลงของเมตาบอลิซึม ทำให้เซลล์กระดูกอ่อนเพิ่มมากขึ้น ปริมาณคอลาเจนเพิ่มขึ้น การสร้างดีเอ็นเอเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อเซลล์กระดูกอ่อนเพิ่มขึ้น ในขณะที่การสร้างเพื่อชดเชยสิ่งที่ถูกทำลาย จะทำไม่ทันต่อการถูกทำลาย ทำให้เกิดการเสื่อมของข้อตามมา
อาการของโรคข้อเสื่อม
อาการของโรคข้อเสื่อม มีอาการหลักๆ คือ อาการปวดตามข้อ ซึ่งยังมีอาการอื่นอีก รายละเอียดดังนี้
- อาการเจ็บปวดตามข้อ อาการจะรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามวัย และเวลาลักษณะจะเป็นๆหายๆ
- อาการข้อติดและข้อตึง เมื่อเกิดอาการปวด ก็เคลื่อนไหวได้น้อย และความหนาของกระดูกมากขึ้น เกิดการผิดรูปของข้อ อาการที่พบคือ ข้อกระดูกติดและแข็ง อาการข้อติดแข็งจะเกิดในเวลาสั้นๆ ประมาณ 1 ชั่วโมง
- อาการข้อกระดูกมีเสียง เนื่องจากเซลล์กระดูกที่สร้างขึ้นใหม่มีลักษณะไม่เรียบ ผิวขรุขระ เมื่อเกิดการเสียดสีของผิวกระดูกจะทำให้เกิดเสียง ดังกรอบแกรบ
- อาการบวมตามข้อกระดูก อาการบวมนี้มักจะเกิดหลังจากการทำงานหนักของข้อกระดูก อาการบวมเกิดจาก การหนาตัวของเซลล์กระดูกอ่อนและเชื่อมติดกับเอ็นรอบๆข้อ ทำให้เกิดอาการอักเสบของข้อกระดูก
- ภาวะน้ำท่วมข้อ เกิดจากการเสื่อมของกระดูกเป็นเวลานาน ทำให้เซลล์กระดูกแตก และ เศษกระดูกติดค้างในช่องว่างระหว่างข้อ ทำให้ร่างกายสร้างน้ำไขข้อขึ้นมาเมื่อมากเกินไปทำให้มีอาการบวมอักเสบบริเวณข้อ
- อาการข้อกระดูกผิดรูป อาการกระดูกผิดรูป เป็นอาการของข้อเสื่อมระยะสุดท้าย การผิดรูปของข้อ เกิดจากความหนาแน่นและการขยายตัวของกระดูก ลักษณะ เช่น ข้อขยายใหญ่ เป็นต้น
สำหรับความรุนแรงของโรคข้อเสื่อมนั้ เราสามารถแบ่งความรุนแรงของโรคได้ 4 ระดับ คือ ระดับ 1 มีการงอกของกระดูกใหม่จำนวนน้อย ระดับ 2 มีการงอกของกระดูกใหม่จำนวนมาก ระดับ 3 เกิดช่องว่างของข้อกระดูกแคบลง และ ระดับ 4 ช่องว่างระหว่างข้อมีขนาดแคบมาก
การรักษาโรคข้อเสื่อม
สำหรับการ รักษาโรคข้อเสื่อม ทางการแพทย์ไม่สามารถรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ หากาเหตุของการเกิดโรคเกิดจากการเสื่อมของร่างกายตามวัย การรักษาสามารถทำได้เพียงการบรรเทาอาการของโรค ซึ่งการรักษามึ 3 วิธี คือ การรักษาตัวโดนการทำกายภาพบำบัด การใช้ยารักษาและ การผ่าตัด รายละเอียดดังนี้
- วิธีการรักษาด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู การทำกายภาพบำบัด เพื่อลดอาการบวม ช่วยให้การเคลื่อนไหวทำได้ดีขึ้น และป้องกันการผิดรูปของข้อกระดูก เช่น การนวด การใช้เครื่องมีช่วยเดิน การใช้ความร้อนเย็นบรรเทาอาการบวด เป็นต้น
- การรักษาด้วยการใช้ยา ก็จะเป็นยารักษาอาการอักเสบ รักษาอาการปวด และ ยาที่ทำให้ออกฤทธิ์ชา
- การรักษาด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดนั้นจะใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการแทรกซ้อน เช่น การผ่าตัดล้างข้อ การผ่าตัดเปลี่ยนจุดรับน้ำหนัก การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม การผ่าตัดเชื่อมข้อ เป็นต้น
โรคข้อเสื่อม คือ โรคที่เกิดกับกระดูกอ่อน ภาษาอังกฤษ เรียก cartilage และ เกิดกับเยื่อหุ้มข้อ โดยปรกติแล้วโรคข้อเสื่อมจะเกิดแถว ข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อกระดูกต้นคอ ข้อกระดูกส่วนหลัง ผู้ที่ป่วยเป็นโรคข้อเสื่อม จะมีอาการปวด บวม แดง ร้อนบริเวณข้อกระดูก เคลื่อนไหวลำบาก โรคข้อเสื่อมเกิดจาก เยื่อหุ้มข้อกระดูกเกิดบางลงทำให้เกิดการเสียดสีของข้อกระดูก จนเกิดหินปูนเกาะที่เยื่อหุ้มข้อกระดูก เมื่อเกิดอาการข้อเสื่อมก็จะทำให้ มีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณข้อกระดูก และเคลื่อนไหวลำบากเพราะเจ็บ โรคข้อเสื่อมพบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
สมุนไพรบำรุงกระดูก เราได้รวบรวมสมุนไพรที่มีแคลเซียมสูง ซึ่งช่วยบำรุงกระดูกได้ดี สมุนไพรบำรุงกระดูก ประกอบด้วย
ผักกระเฉด | |
โรคข้อเสื่อม ( Osteoarthritis ) คือ ความผิดปกติของข้อกระดูกแบบเรื้อรัง การสึกหรอที่ผิวกระดูกอ่อนหุ้มข้อ ปัจจัยการเกิดโรค คือ อายุ และ อุบัตติเหตุ อาการเจ็บปวดบริเวณข้อ ทำให้การเคลื่อนไหวตัวได้น้อย โดยเฉพาะ ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อมือ ข้อสะโพก ข้อกระดูกสันหลัง เป็นต้น
Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา
Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma. The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.
ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก