หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการปวดหลัง ปวดร้าวลงที่ขา ปวดไปถึงน่อง ปวดหลังเท้า เจ็บข้อพับ นิ้วเท้าชา เกิดจากการนั่งนานๆ หรือ การกระแทกที่กระดูกสันหลังหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคระบบประสาท โรคกระดูก

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หากท่านมีอาการ อาการปวดหลัง อาการปวดร้าวลงที่ขา ปวดไปถึงน่อง หรือ หลังเท้าข้างใดข้างหนึ่ง เจ็บข้อพับเข่าด้านหลัง ปวดน่อง นิ้วเท้าชา เป็นอาการเริ่มต้นเตือนให้ท่านรู้ว่า อาจเป็น โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความก้าวหน้า สามารถทานยา ทำกายภาพบำบัด โดยไม่ต้องผ่าตัด ก็สามารถทำได้ เรามาทำความรู้จักกับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทให้ละเอียดมากกว่านี้ เพื่อใหรู้เท่าทันโรคนี้ ว่า สาเหตุของการเกิดโรค อาการ และการรักษา ต้องทำอย่างไร ป้องกันการเกิดเส้นประสาทสันหลังเสื่อม และกระดูกสันหลังเคลื่อนไปทับเส้นประสาทที่คอหรือเอวได้

โรคนี้เป็นโรคเสี่ยงของคนวัยทำงาน หรือ เป็นโรคหนึ่งของออฟฟิตซินโดรม ทำไมคนวัยทำงานจึงมีความเสี่ยงเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เนื่องจาก คนในวัยทำงานใช้ร่างหนัก ในขณะที่ไม่สัมพันธ์กับการพักผ่อน รวมถึงการออกเดินทาง ไปในสถานที่ต่างๆ การเคลื่อนไหวร่างกายมีมากกว่าคนในทุกวัย เราได้รวมพฤติกรรมเสี่ยงที่มีโอกาสให้หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไขสันหลัง มีดังนี้

  1. มีกิจกรรมที่ต้อง ก้มๆ เงยๆ มากเกินไป
  2. การยกของหนัก ในท่าทางไที่ไม่ถูกต้อง และต้องยกของหนักในเวลานานๆ
  3. อาชีพบางอาชีพที่ต้องใช้ความแข็งแรงของร่างกายสูง ที่ร่างกายต้องรองรับการกระแทกสูง เช่น งานก่อสร้าง
  4. การมีน้ำหนักตัวมากเกินกว่าที่ร่างกายจะรับไหว ทำให้ร่างกายต้องใช้ร่างกายและกล้ามเนื้อมาก มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเช่นกัน
  5. การนั้งในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป โดยไม่มีการปรับอิริยาบถ เช่น การนั้งทำงานบนโต้ะทำงานนานเกินไป

พฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไขสันหลังได้ เรามาดูว่าอาการของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นอย่างไร

อาการของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท

การที่หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไขสันหลัง อาจทำให้เกิดอาการอักเสบอย่างรุนแรง แบบฉับหลัน ได้ แต่ลักษณะอาการจะเกิดขึ้น บริเวณ หลังและขา โดยสามารถสรุปอาการได้ดังนี้

  • ปวดหลังในส่วนเอวตอนล่าง อาจปวดทั้งสองข้างหรือข้างเดียวก็ได้ อาการปวนนี้จะปวดเวลานั่ง เนื่องจากท่านั้นหมอนรองกระดูกจะถูกกระทบกระเทือนมากที่สุด
  • มีอาการปวดที่ขา มีอาการขาชา และบางครั้งกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง
  • มีอาการปวดหรือชา ตามแนวกระดูกสันหลัง ปวดตั้งแต่ นิ้วเท้า เท้า น่อง ต้นขา ไปถึงเอว มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ

สาเหตุของโรคหมอนรองกระดูกเส้นประสาท

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท นั้นตามที่กล่าวในข้างต้นถึงปัจจัยที่มีความเสียงในการเกิดโรคแล้วนั้น เราจะสรุป สาเหตุของการเกิดโรคนี้ ให้ละเอียดมากขึ้น มีดังนี้

  • การยกของหนัก ในท่าทางการยกที่ไม่ถูกต้อง
  • โรคอ้วน และน้ำหนักตัวที่มากเกิน
  • การนั่งทำงานท่าเดิมนานๆ โดยไม่มีการขยับตัว
  • การเกิดอุบัติเหตุ ที่มีการกระทบกระเทือนต่อกระดูกสันหลัง

สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุของการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท การป้องการการเกิดโรคเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ยิ่งกว่าการรักษา การเกิดโรคนี้ยังมีสิ่งที่ต้องระวังให้มากกว่านี้ คือ การเกิดโรคแทรกซ้อนที่มาจากการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โดยโรคแทรกซ้อนของการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีดังนี้

  • การรักษามีโอกาสในการเกิดอุบัตติเหตุ ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของ หลอดลม หลอดอาหาร และเส้นเลือดใหญ่
  • มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ ที่มีผลต่อเส้นประสาทกล่องเสียง ทำให้อาจเสียงแหบได้
  • การผ่าตัด อาจทำให้ข้อกระดูกไม่เชื่อม
  • การรักษาด้วยการผ่าตัดอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ ภายหลังการผ่าตัดได้

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท

สำหรับการรักษาโรคนี้ ด้วยเทคโลดลยีทางการแพทย์มีมากขึ้น มีการรักษาด้วยการผ่าดับ ด้วยเทคนิค MIS เป็นการผ่าตัดกระดูกสันหลัง โดยส่องกล้องจุลทรรศน์ แบบแผลเล็ก เป็นการรักษาที่มีความปลอดภัยสูง และลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัตติเหตุต่อเส้นประสาท โดยการรักษาโรคนี้ยังสามารถรักษาได้หลายวิธี ดังนี้

  • รับประทานยา เป็นการรับประทานยา แก้ปวด แก้อักเสบ และยาคลายกล้ามเนื้อ
  • การรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด
  • การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท
  • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
  • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกด้วยกล้องจุลทรรศน์
  • การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกโดยใช้คอมพิวเตอร์นำวิถี

การป้องกันการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

การป้องกันการเกิดโรคทำได้โดยการหลีกเลี่ยง ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคทั้งหมด เช่น ไม่ยกของหนัก ยกของในท่าที่ถูกต้อง ไม่ยกของหนักเป็นเวลานาน ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ สำหรับการนั่งทำงานบ่อยๆ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และออกกำลักกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง และหน้าท้องอยู่เป็นประจำ

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดหลัง ปวดร้าวลงที่ขา ปวดไปถึงน่อง ปวดหลังเท้า เจ็บข้อพับด้านหลัง นิ้วเท้าชา โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เกิดจากการนั่งอยู่กัยที่นานๆ หรือ การกระแทกที่กระดูกสันหลัง สาเหตุ อาการ การรักษาโรค

นิ่วในไต ( Kidney Stone ) กรดยูริคในเลือดสูงจนเกิดตะกอนในไต ทำให้ขัดขวางทางเดินปัสสาวะจนเกิดการติดเชื้อ อาการปวดท้องปวดบั้นเอว ปัสสาวะเป็นเลือด ปวดเวลาปัสสาวะนิ่วในไต โรคไต โรคในช่องท้อง โรคไม่ติดต่อ

นิ่วในไต เป็น โรค ชนิดหนึ่ง โรคที่สามารถพบได้กับคนทุกเพศและทุกวัย ความเข้มข้นของแคลเซียม การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ ความผิดปกติของร่างกาย จาก การเกิดนิ่วในไต คืออะไร อาการของนิ่วในไต เป็นอย่างไร รักษาอย่างไร

ไต ถือเป็น อวัยวะ ที่เป็นส่วนหนึ่งกับ ระบบทางเดินปัสสาวะ เป็น การขับของเสียออกทางปัสสาวะ การเกิดนิ่วในไต  เกิด การตกผลึกของของเสียที่ทางปัสสาวะ ซึ่งผลิกนี้ เกิดการอุดตันทางเดินปัสสาวะ ทำให้ ขับถ่ายไม่ได้ ซึ่งส่งผลเสียให้เกิดการ ปัสสาวะขัด มี การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ สามารถ ทำให้ไตเสื่อม ได้ มาทำความรู้จักกับ โรคนิ่วในไต และ ระบบทางเดินปัสสาวะ กัน

สาเหตุของการเกิดนิ่วที่ไต

นิ่วที่ไตเกิดจากตกผลึกของสิ่งแปลกปลอมในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งรวมถึง ไต โดย ตะกอน เหล่านี้ ทำให้เกิดการติดขัดของระบบทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เกิดขึ้นจาก การติดเชื้อแบคทีเรีย การมีกรดยูริคในเลือกสูง การดื่มน้ำไม่เพียงพอ
การกินอาหารที่มีโปรตีนสูง ที่ได้มาจากสัตว์ ตำแหน่งที่พบ นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และ ท่อปัสสาวะ

อาการของผู้ป่วยนิ่วในไต

อาการของโรคนิ่วในไต จะพบว่า ผู้ป่วยมี อาการปวดที่ท้องบริเวณบั้นเอว ปัสสาวะเป็นเลือดปน มี อาการปวดเวลาปัสสาวะ มีไข้ มี อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะขัด

การรักษาโรคนิ่วในไต

การรักษานิ่วที่ทางเดินปัสสาวะ สามารถรักษาด้วยการใช้ยารักษา การผ่าตัด การเจาะเพื่อดูดเอานิ่วออก หรือ การสลายนิ่ว

การป้องกันการเกิดนิ่วในไต

ข้อควรปฏิบัติการดูแลร่างกายให้ปราศจาค โรค และ ลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดนิ่วในไต รายละเอียด ดังนี้

  1. ให้ ดื่มน้ำให้เพียงพอ ต่อความต้องการของร่างกายในปัจจุบัน ซึ่ง ร่างกายต้องการน้ำ ประมาณ วันละ 8 แก้วต่อวัน
  2. ควบคุมการบริโภคอาหาร อาหารในกลุ่มที่ไม่ควรกินมากเกินไป คือ ผักผลไม้ที่มีโพแทสเซียม และ ความเป็นกรด-ด่าง ไขมันจากพืช และ ไขมันจากปลา อาหารที่มีเนื้อสัตว์ ซึ่งเป็น อาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น สัตว์ปีก ตับ เครื่องใน หลีกเลี่ยงอาหาร ที่มี ออกซาเลตสูง เช่น งา ผักโขม และ ถั่วต่างๆ
  3. ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ ผ่อนคลาย เพื่อลดความเครียด เนื่องจาก ความเครียด มี โอกาสเสี่ยงทำให้เกิดก้อนนิ่ว

อาการปัสสาวะขัด เกิดจากการอัดตันของทางเดินปัสสาวะ จากนิ่ว ซึ่ง สมุนไพรช่วยขับปัสสาวะ ช่วยให้ปัสสาวะขัดหายได้ เราจึงของแนะนำ สมุนไพรช่วยขับปัสสาวะ มีดังนี้

มะเฟือง สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้มะเฟือง
เตย ใบเตย สมุนไพร ประโยชน์ของใบเตยเตย
ผักโขม สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของผักโขมผักโขม
กระเจี๊ยบ สมุนไพร สรรพคุณของกระเจี๊ยบ ประโยชน์ของกระเจี๊ยบกระเจี๊ยบ

นิ่วในไต ( Kidney Stone ) คือ ภาวะการเกิดนิ่วหรือตะกอนที่ไต โรคเกี่ยวกับไต ซึ่งนิ่วหรือตะกอน ทำให้เกิดการติดขัดของระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย มีกรดยูริคในเลือกสูง อาการของโรคนิ้วในไต จะมีอาการปวดที่ท้องบริเวณบั้นเอว ปัสสาวะเป็นเลือด ปวดเวลาปัสสาวะ มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะขัด โรคนี้สามารถเกิดได้กับทุกคน โรคนิ่วในไต


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove