โรคแพ้ภูมิคุ้มกันร่างกายตัวเอง ( SLE ) คนไทยชอบเรียกโรคนี้ว่า โรคพุ่มพวง เกิดจากฮอร์โมนร่างกายผิดปรกติ มีไข้สูง มีผื่นขึ้นบนหน้า ผมร่วง มีแผลในปาก ปวดตามข้อโรคเอสแอลอี โรคพุ่มพวง โรคแพ้ภูมิต้านทานตนเอง โรคไม่ติดต่อ

โรคภูมิแพ้ตัวเอง เป็นโรคที่หลายๆคนรู้จักกันในชื่อ โรคลูปัส หรือ โรคเอสแอลอี หรือ โรคพุ่มพวง ทางการแพทย์เรียก Systemic lupus erythematosus เกิดจากการสร้างภูมิต้านทานโรคของร่างกายผิดปรกติ เกิดผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย และ เกิดการอักเสบเรื้อรัง เช่น เกิดการอักเสบของข้อและกระดูก กล้ามเนื้อ หัวใจ ปอด ระบบเลือด โรคนี้จึงจัดอยู่ในโรคเรื้อรังโรคหนึ่งคำ จากสถิติของการเกิดโรคเอสแอลอี พบว่าเพศหญิงมีอัตราการเกิดโรคมากกว่าเพศชาย มากถึง 7 เท่า แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยจะพบว่าในผู้ป่วยที่มีผิวดำจะมีอัตราการเกิดที่สูงที่สุด รองลงมาเป็น หญิงเอเชีย และ หญิงผิวขาวตามลำดับ

สาเหตุของการเกิดโรคเอสแอลอี

ในปัจจุบันการศึกษาทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดโรคได้อย่างแน่ชัดนัก แต่พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ระบบฮอร์โมนของร่างกาย และ ภาวะการติดเชื้อโรค เราสามารถสรุปปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสของการเกิดโรค มีดังนี้

  • เพศ เราพบว่าโรคนี้เกิดกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
  • การติดเชื้อโรงบางอย่าง ทั้ง เชื้อไวรัส และ เชื้อแบคทีเรีย
  • การใช้ชีวิตอยู่ในที่แจ้ง และถูกกระทบจากแสงแดดเป็นเวลานาน
  • การแพ้อาหารบางชนิด
  • การสูบบุหรี่
  • ความผิดปรกติของฮอร์โมนเพศหญิง
  • การเปลี่ยนแปลงของร่างกายจากการตั้งครรภ์
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาลดน้ำหนัก ยากันชัก ยาคุมกำเนิด เป็นต้น
  • การอยู่ในภาวะความเครียดเป็นเวลานาน
  • การพักผ่อนน้อย
  • การออกกำลังกายมากเกินไป

อาการของโรคเอสแอลอี 

ลักษณะของอาการของโรคแอสแอลอี นั้น อาการจะเกิดขึ้นแบบกระทันหัน และ เกิดขึ้นกับอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เช่น มีไข้สูง มีผื่นขึ้นบนหน้า ผมร่วง มีแผลในปาก ปวดตามข้อ เราจะแยกลักษณะของอาการโรคเอสแอลอีให้เห็นอย่างชัดเจนขึ้นมีดังนี้

  • เกิดความผิดปรกติที่ผิวหนัง โดยเฉพาะการเกิดผื่นที่โหนกแก้ม สันจมูก และ เป็นแผลในปาก จะมีลักษณะของอาการผมร่วงร่วมด้วย
  • เกิดความผิดปรกกติที่ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการข้ออักเสบอย่างฉับพลัน โดยเฉพาะตามข้อเล็กๆ
  • เกิดความผิดปรกติที่ไต โดยสังเกตุจาก การปัสสาวะเป็นฟอง มีโปรตีนปนนปัสสาวะ
  • เกิดความผิดปรกติที่ระบบเลือด ทำให้ร่างกายมีภาวะอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดอย่างรวดเร็ว ตัวซีด และพบจ้ำเลือดตามตัว
  • เกิดความผิดปรกติที่ระบบประสาท จะพบว่า มีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง แขนขาอ่อนแรง มีอาการชัก
  • เกิดความผิดปรกติที่ระบบทางเดินหายใจ เป็นอาการของผู้ป่วยที่พบบ่อยที่สุด คือ อาการแน่นหน้าอก มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด และ เกิดการอักเสบของปอด และการติดเชื้อง่าย
  • เกิดความผิดปรกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด พบว่าผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย เนื่องจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
  • เกิดความผิดปรกติของระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง กินอาหารไม่ได้

การรักษาโรคเอสแอลอี

สำหรับการรักษาโรคเอสแอลอี นี่น ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้ให้หายขาด เนื่องจากไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัดนัก สิ่งที่ทำได้ คือการรักษาตามอาการและประคับประครองไม่ให้ แต่ที่สำคัญต้องพักผ่อนให้มากๆ เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูขึ้นมาเอง โดย รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ โดยข้อควรปฎิบัติสำหรับการรักษาโรค มีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงทั้งหมด เช่น ไม่ตากแดดนานๆ ลดความเครียด ไม่สูบบุหรี่ ไม่ซื้อยามารับประทานเอง ออกกำลังกายอย่งสม่ำเสมอ และ พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานยาตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยยาส่วนมากจะเป็น ยากดภูมิคุ้มกัน ยาต้านอาการอักเสบ ยาแก้ปวด เป็นต้น

การรักษาตัวโรคเอสแอลอี นั้นต้องพักผ่อนให้ร่างกายแข็งแรง เราจึงได้ทำรายการข้อควรปฏิบัติตนของผู้ป่วยโรคเอสแอลอี มีรายละเอียดดังนี้

  • เมื่อจำเป็นต้องออกแดดเป็นเวลานาน ให้ใส่เครื่องป้องกัน เช่น เสื้อแขนยาว หมวก และ พกร่มด้วย  พักผ่อนให้เพียงพอ
    ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • นอนหลับ และ พักผ่อนให้พียงพอ รวมถึงหากิจกรรมผ่อนคลายความเครียดบ้าง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมสูง
  • ไม่ควรกินยาลดความอ้วน
  • หากร่างกายเกิดอาการผิดปรกติ เช่น มีไข้สูง หนาวสั่น มีหนองตามผิวหนัง เสมหะเขียว ให้รีบไปปรึกษาแพทย์ด่วย
  • หากต้องทำฟัน ให้ระวังเรื่องการติดเชื้อ โดยต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทำฟัน
    หลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะทำให้ร่างกายติดเชื้อทั้งหมด

การรักษาโรคเอสแอลอี นั้น ความสำคัญอยู่ที่การดูแลตัวเองของผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยเอสแอลอีมีโอกาสเสี่ยงการเสียชิวิตได้ เช่น การเกิดภาวะอักเสบของอวัยวะในร่างกายอย่างรุนแรง และรับการรักษาไม่ทัน หรือ การเลือกใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง การปรึกษาแพทย์จะเป็นส่วนที่ทำให้ลดความเสี่ยงการเสียชีวิตได้มาก

โรคแพ้ภูมิคุ้มกันร่างกายตัวเอง ( SLE ) โรคพุ่มพวง โรคลูปัส โรคเอสแอลอี มีไข้สูง มีผื่นขึ้นบนหน้า ผมร่วง มีแผลในปาก ปวดตามข้อ เกิดจากความผิดปรกติของระบบฮอร์โมนร่างกาย ส่งผลกระทบต่ออวัยวะในร่างกายหลายๆส่วน

กลุ่มอาการคุชชิง ( Cushing syndrome ) เกิดจากฮอร์โมน Glucocorticoid สูงกว่าปรกติ ทำให้หน้าบวมคล้ายพระจันทร์ มีก้อนไขมันที่หลังคอ ปัสสาวะบ่อย นอนไม่หลับ ผิวแห้งโรคคุชชิง กลุ่มอาการคุชชิง อาการหน้าบวม โรคไม่ติดต่อ

โรคคุชชิง หรือ กลุ่มอาการคุชชิง ภาษาอังกฤษ เรียก Cushing syndrome  เป็นโรคต่อมไร้ท่อ เกิจากความผิดปรกติของต่อมใต้สมอง ลักษณะเด่นของโรคนี้ คือ อาการบวมของใบหน้าคล้ายพระจันทร์ เป็นอาการของโรคที่เกิดจากการมีฮอร์โมน Glucocorticoid มากเกินไป ชึ่งเกิดจากการได้รับฮอร์โมนจากภายนอกร่างกาย

Glucocorticoid เรียกย่อๆว่า GC เป็นฮอร์โมนสเตียรอยด์สร้างจากต่อมหมวกไต อยู่ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมน ACTH ภาษาอังกฤษ เรียก Adrenocorticotropic hormone ที่ถูกสร้างด้วยต่อมใต้สมอง ซึ่งฮอร์โมน ACTH มีหย้าที่ในการควบคุมการสร้างฮอร์โมน Glucocorticoid

โดยฮอร์โมน Glucocorticoid เป็น ฮอร์โมนที่มีความสัมพันธ์กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย เกี่ยวข้องกับการรักษาความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ ต่างๆในร่างกาย เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของมนุษย์ โดยเฉพาะเด็ก รวมถึงการสร้าง ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายมนุษย์ด้วย การผิดปรกติของฮอร์โมน Glucocorticoid เป็นโรคกลุ่มอาการคุชชิง

หากกล่าวถึง โรคคุชชิง แล้ว โรคนี้พบครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยศลัยแพทย์ด้านระบบประสาท ชื่อ ฮาร์เวย คุชชิง เมื่อปี พ.ศ. 2475 พบร่างกายผิดปรกติจากภาวะฮอร์โมน Clucocorticoid ในร่างกายสูงเกินไป โรคนี้พบได้ไม่บ่อย ซึ่งสามารถพบได้ในคนช่วงอายุ 20 ถึง 50 ปี และพบว่าผู้หญิงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมากกว่าผู้ชาย

สาเหตุของการเกิดโรค กลุ่มอาการคุชชิง

พบว่า สาเหตุหลักของการเกิดโรค นี้ คือ ฮอร์โมน Glucocorticoid ในร่างกายสูงกว่าปรกติ ซึ่งสามารถแยกสาเหตุของโรคเป็น 2 เหตุหลักๆ คือ การสร้างฮอร์โมนในร่างกายผิดปรกติ และการได้รับฮอร์โมนมากกว่าปรกติ ซึ่งรายละเอียดของสาเหตุ สามารถอธิบายได้ดังนี้

  1. สาเหตุจากร่างกายสร้างฮอร์โมน Glucocorticoid มากกว่าปกติ ซึ่งทางการแพทย์พบว่า เกิดจากความผิดปรกติของต่อมไร้ท่อ ที่ต่อมหมวกไต เช่น การเกิดเนื้องอก หรือ มะเร็งที่ต่อมใต้สมอง หรือ มะเร็งที่ต่อมไทรอยด์ ชนิด Medullary carcinoma สาเหตุของโรคคิชชิง จากการสร้างฮอร์โมนมากผิดปรกติ พบได้น้อย และโอกาสเสี่ยงของการเกิดพบว่า ผู้หญิงมีดอกาสเป็นมากกว่าผู้ชายถึง 6 เท่า
  2. สาเหตุของโรคจากการได้รับฮอร์โมน Glucocorticoid จากภายนอกร่างกาย ซึ่งสาเหตุของการได้รับฮอร์โมนเข้าสู่ร่างกาย เกิดจากการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ เพื่อใช้ในการรักษาโรคบางชนิด เช่น โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคออโตอิมมูน เป้นต้น

กลุ่มของผู้ที่มีความเสี่ยงของการเกิดโรคกลุ่มคุชชิง คือ ผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์ ที่ใช้ในการรักษาโรค เช่น โรคหืดหอบ โรคออโตอิมมูน

อาการของโรคกลุ่มอาการคุชชิง

อาการของโรคนี้สามารถแบ่งอาการของโรค ได้เป็น 2 ส่วน คือ ลักษณะอาการทั่วไป และลักษณะอาการที่เป็นเฉพาะที่ รายละเอียดของอาการกลุ่มโรคคุชชิง มีรายละเอียดดังนี้

  1. ลักษณะอาการทั่วไป เป็นอาการที่เกิดจากฮอร์โมนClucocorticoid ที่มีผลต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ เช่น หิวบ่อย กินมากขึ้น ใบหน้าบวมพระจันทร์เต็มดวง อ้วนบริเวณไหปลาร้า มีพุง แต่แขนขาลีบ มีก้อนไขมันที่ด้านหลังคอ ปัสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อย นอนไม่หลับ ผิวหนังแห้ง ผิวหนังบาง ผิวหนังแตกง่าย เป็นแผลง่าย แผลหายยาก ความดันโลหิตสูง ค่าน้ำตาลในเลือดสูง เป็นเบาหวาน มีภาวะกระดูกพรุน กระดูกหักง่าย ต้นแขน ต้นขา ลีบและอ่อนแรง ระบบสมองแปรปรวน ซึมเศร้า ประจำเดือนมาไม่ปกติ ขนดก ความรู้สึกทางเพศลดลง ติดเชื้อโรคง่าย ลักษณะอาการทั่วป แต่ส่งผลกับระบบในร่างกายทุกส่วน
  2. ลักษณะอาการเฉพาะที่ เป็นลักษณะของอาการเนื้องอกที่ต่อมใต้สมองหรือ ต่อมหมวกไต ทำให้มีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง มีความผิดปกติเรื่องการมองเห็นภาพ

การวินิจฉัยโรคกลุ่มอาการคุชชิง

สามารถทำได้โดยการ การตรวจร่างกาย การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ การตรวจน้ำลาย เพื่อดูระดับฮอร์โมนGlucorticoid ในร่างกาย นอกจากนั้น การตรวจชิ้นเนื้อ การตรวจช่องท้อง และการเอ็กซ์เรยสมอง เพื่อดูหาเนื้อร้าย เป็นต้น

การรักษาโรคกลุ่มอาการคุชชิง

การรักษาโรคนี้ สามารถทำการรักษาโดยการปรับลดระดับออร์โมนที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค และการประคับประคอบอาการแทรกซ้อนที่เป็นผลจากการมีฮอร์โมนมากเกินไป รายละเอียด ดังนี้

  1. การปรับลดระดับฮอร์โมน Clucocorticoid โดยการให้หยุดยากลุ่มสเตียรอยด์ แต่ให้ลดปริมาณยาทีละน้อย ห้ามลดโดยการเลิกยาแบบกระทันหัน อาจเกิดอาการขาดยาได้ เรียกอาการขาดยา ว่า Adrenal crisis ซึ่งลักษณะของอาการขาดยา คือ ไข้สูง เหงื่อออก ปวดท้อง ท้องเสีย หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตต่ำ อ่อนเพลียมาก ต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที เนื่องจากอันตรายถึงเสียชีวิตได้
  2. การรักษาอาการจากความผิดปรกติของออร์โมน Glucocorticoid สูงกว่าปรกติ สามารถทำการรักษาโดย การผ่าตัด เนื้องอกหรือเซล์มะเร็ง ที่เป็นสาเหตุของโรค เช่น มะเร็งปอด เนื้องอกต่อมหมวกไต เนื้องอกต่อมใต้สมอง แต่การฝ่าตัดเนื้อร้ายออกจะทำให้เกิดอาการ Adrenal crisis ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
  3. การรักษาโดยประคับประคองตามอาการ เช่น การลดน้ำตาลในเลือด การลดความดันโลหิต เป็นต้น

การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคกลุ่มอาการคุชชิง

โดยปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ กินยาให้ครบและถูกต้อง รักษาสุขอนามัย ควบคุมอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ระวังการเกิดอุบัตติเหตุจากการกระแทกอย่างรุนแรง

การป้องกันโรคกลุ่มอาการคุชชิง

สามารถทำได้โดย ไม่ซื้อยากลุ่มสเตียรอยด์มาใช้เอง การป้องกันเราสามารถป้องกันโรคจากสาเหตุภายนอกเท่านั้น ส่วนสาเหตุอื่นๆป้องกันได้ยาก

โรคคุชชิง กลุ่มอาการคุชชิง ( Cushing syndrome ) เกิดจากฮอร์โมน Glucocorticoid สูงกว่าปรกติ ความผิดปรกติของต่อมใต้สมอง ส่งผลให้เกิดอาการบวมของใบหน้าคล้ายพระจันทร์ อ้วนบริเวณไหปลาร้า มีพุงแต่แขนขาลีบ มีก้อนไขมันที่หลังคอ ปัสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อย นอนไม่หลับ ผิวหนังแห้ง เป็นแผลง่าย ความดันโลหิตสูง มีภาวะกระดูกพรุน

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove