NCDs ( Non-Communicable diseases ) โรคไม่ติดต่อ ภัยอันตรายใกล้ตัวมักเกิดจากพฤติกรรมการดำรงชีวิต ส่งให้ร่างกายผิดปรกติ ลักษณะอาการ การรักษาและแนวทางการป้องกันโรค
โรคกลุ่ม NCDs (Non-communicable disease) คือ โรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ส่งผลเสียต่อร่างกายและสั่งสมจนเกิดความรุนแรง และแสดงอาการของโรค เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ความเครียด อุบัติเหตุ การดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ การออกกำลังกายไม่เพียงพอ และกรรมพันธุ์ โรคในกลุ่มนี้จะค่อยๆสะสมอาการจนเกิดเป็นภาวะเรื้อรัง ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา อาจทำให้เสียชีวิตได้ ลักษณะของโรคที่ไม่ติดต่อ เช่น โรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคทางพันธุกรรม โรคไตและโรคสมอง เป็นต้น
โรคไม่ติดต่อ เกิดจากพฤติกรรมของคนที่ไม่ถูกต้อง และอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ซึ่งไม่มีการติดต่อและแพร่กระจายของโรค กลุ่มเสี่ยงของโรค ส่วนมากจะเป็นวัยทำงาน เพราะมีความเครียด ขาดการออกกำลังกาย เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง แต่ปัจจุบันเริ่มตั้งแต่แม่และเด็ก แม่ต้องมีความรู้ในการเลี้ยงลูก
โรคที่ไม่ติดต่อ หรือ เอนซีดี ภาษาอังกฤษ เรียก Non-communicable disease คือ โรคที่ไม่ติดต่อจากสิ่งมีชีวิตสู่งสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เป็นโรคที่ไม่ใช่โรคติดเชื้อ การสัมผัสผู้ป่วยจึงติดต่อไม่ได้ ดังนั้น โรคไม่ติดต่อ การสัมผัสคลุกคลี ไม่มีผลมำให้เกิดโรคจากผู้ป่วย แต่ติดต่อผ่านตัวนำโรคหรือผ่านสารคัดหลั่งต่างๆ จะทำให้เกิดอาการเรื้อรังของโรค โดยอาการค่อยๆรุนแรงขึ้นเรื่อยๆที
ลักษณะของโรคที่ไม่ติดต่อ เช่น โรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคทางพันธุกรรม โรคไตและโรคสมอง เป็นต้น
โรคไม่ติดต่อมักเกิดจากความผิดปกติของร่างกาย ที่เกิดจากการเสื่อมตามอายุ ภาวะขาดสารอาหาร และการทำงานผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ลักษณะของโรคประเภทนี้ เช่น จากโรคภูมิแพ้ โรคภูมิต้านตนเอง โรคออโตอิมมูน เป็นต้น นอกจากสาเหตุเหล่านี้ ยังมีสาเหตุจากพันธุกรรมอีกด้วย เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ หรือ โรคกลุ่มอาการดาวน์ เป็นต้น
สรุปว่า โรคไม่ติดต่อ หมายถึง โรคที่เกิดจากความผิดปกติหรือความเสื่อมโทรมของร่างกายและจิตใจ และโรคจะไม่สามารถติดต่อไปหาบุคคลอื่นได้ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคมะเร็งโรคนิ่ว โรคจิต และโรคประสาท โรคความดันเลือด เป็นต้น
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อ
พฤติกรรมของมนุษย์มีผลต่อการเกิดโรคมากที่สุด โรคไม่ติดต่อจึงเกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องของคน นอกจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องแล้ว อิทธิพลด้านสิ่งแวดล้อมก็มีผลต่อสาเหตุของการเกิดโรคได้มากเช่นกัน หากเราอยู่ในสถานที่ที่ไม่เหมาะสม สามารถเกิดโรคได้เช่นกัน ดังนั้น การอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสม และปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ออกกำลังกาย พักผ่อนอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ก็จะทำให้อยู่ในสภาพร่างกายที่แข็งแรง ปราศจากโรคได้
การป้องกันโรคไม่ติดต่อ
โรคไม่ติดต่อ เกิดจากใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง อยู่ในสถานที่ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ พฤติกรรมต่างๆที่ทำร่ายสุขภาพ ความเครียด อาหาร การพักผ่อน โดยเราได้ทำการแยกข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันการเป็นโรค มีดังนี้
- ดูแลร่างกายให้แข็งแรก ให้หลีกเลี่ยงการปฏิบัติตนที่จะทำให้เกิดโรค การปฏิบัตตนให้แข็งแรง เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ดูแลสุขภาพจิตให้ปรกติ สร้างความอบอุ่นในครอบครัว ลดความเครียด จากการดำนินชีวิตทั้งหลาย
- การทำงานที่มีความเสี่ยงหรือกิจกรรมใดที่มีความเสี่ยงของอุบัตติเหตุต่อร่างกาย ให้ใส่เครื่องป้องกัน เช่น เดินทางจักรยายนต์ให้ใส่หมวกกันนอก อยู่ในเขตก่อสร้างให้ใส่หมวกนิรภัย เป็นต้น
- ดูแลสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้เป็นที่สะอาด และปราศจากมลภาวะ ทั้งหลาย
- หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้สิ่งอันตราย ทั้งด้านมลภาวะ ต่างๆ
ตัวอย่างโรคไม่ติดต่อ เช่น เบาหวาน (DM / Diabetes) ความดันโลหิตสูง (HT / Hypertension) โรคหลอดเลือดสมอง / อัมพฤกษ์ อัมพาต (Stroke) โรคหัวใจขาดเหลือด (IHD /Ishemic Heart Disease) และอื่น อาหารเจ
โรคต่างๆ โรคไม่ติดต่อ คืออะไร หมายถึงอะไร มีอะไรบ้าง ปัจจัยของการเกิดโรค การป้องกันและรักษาทำอย่างไร เรียนรู้เรื่องโรค เพื่อการดูแลสุขภาพ ภัยอันตรายจากสุขภาพ ป้องกันได้หากรู้เท่าทัน เอนซีดี Non-communicable disease โรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค
รวมความรู้เกี่ยวกับโรค ที่ไม่ติดต่อ โรคไม่ติดต่อมีอะไรบ้าง โรคไม่ติดต่อรักษาอย่างไร ความรู้ทางการแพทย์ เกี่ยวกับโรค โรคอะไรบ้างไม่ติดต่อ โรค โรคต่างๆที่ไม่ติดต่อ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อและการป้องกัน โรคที่เกิดจากพฤติกรรมของคนที่ไม่ถูกต้องและอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม