ข้ออักเสบจากโรคสะเก็ดเงิน เป็นภาวะแพ้ภูมิต้านทานโรคตัวเองจนทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ อาการอักเสบตามข้อกระดูก เจ็บปวดมาก แนวทางการรักษาและป้องกันอย่างไร
ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อข้ออักเสบจากสะเก็ดเงิน
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่ชัดเจน แต่ร้อยละ 15 ข้อผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน มีอาการข้ออักเสบด้วย ซึ่งสามารถสรุปปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน มีดังนี้
- การป่วยโรคสะเก็ดเงิน ร้อยละ 15 ของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน มีอาการข้ออักเสบ
- การถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบว่าร้อยละ 40 ของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบ มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคสะเก็ดเงิน
- ภาวะการติดเชื้อ จากการติดเชื้อไวรัส หรือ เชื้อแบคทีเรีย เป็นจุดเริ่มต้นของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายผิดปรกติ
- อายุของผู้ป่วย พบว่ากลุ่มคนอายุ 30 ถึง 50 ปี มีอัตราการเกิดโรคสูงกว่าคนในช่วงอายุอื่นๆ
อาการของโรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบ
สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบ จะมีอาการลักษณะอาการเรื้อรังไม่หายขาด ซึ่งสามารถสังเกตุอาการของโรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบ ได้ดังนี้
- ปวดบริเวณข้อกระดูก
- รู้สึกข้อกระดูกอุ่นๆ
- มีอาการข้อต่อบวม
- นิ้วมือและนิ้วเท้าบวม
- มีอาการปวดบริเวณข้อเท้าและฝ่าเท้า โดยเฉพาะปวดเส้นเอ็น
- มีอาการปวดบริเวณคอและหลังส่วนล่าง
การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน
สำหรับการวินิจฉัยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน แพทย์จะสังเกตุจากการที่สามารถสังเกตุได้ เช่น อาการปวด อาการบวมของข้อต่อ เล็บที่เป็นเกล็ด ตรวจดูฝ่าเท้าว่าบวมหรือไม่ จากนั้นเพื่อการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง ต้องทำการเอ็กซเรย์ MRI และ CT Scan เพื่อเช็คความเสียหายของข้อต่อ
การรักษาโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน
สำหรับการรักษาโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน มีกระบวนการรักษา แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ การรักษาโดยไม่ใช้ยา และ การรักษาโดยใช้ยา รายละเอียด ดังนี้
- การรักษาโดยไม่ใช้ยา คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆที่กระตุ้นให้ข้ออักเสบ เช่น ไม่ใช้ข้อกระดูกมากเกินไป ผ่อนคลายลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ควบคุมน้ำหนัก เป็นต้น
- การรักษาแบบใช้ยา เป็นยาต่างๆ เช่น ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ( NSAIDs ) กลุ่มยาปรับการดำเนินโรคข้อ ( DMARDs ) กลุ่มที่เป็นสารชีวภาพ ( Biologic drugs )
การป้องกันการเกิดโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน
สำหรับการป้องกันการเกิดโรคสามารถป้องกันจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยแนวทางการปฏิบัติตน มีดังนี้
- ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมต่างๆที่ทำร้ายระบบข้อและกระดูก
- ควบคุมน้ำหนักตัว
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- พยายามลดความเครียด
โรคข้ออักเสบสะเก็ด เป็นโรคเรื้อรัง มีการกำเริบเป็นระยะๆ การรักษาที่เหมาะสมจะช่วยทำให้ไม่ปวดข้อ ไม่เกิดความพิการ สำหรับผู้ป่วยโรคผิวหนังสะเก็ดเงิน ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อให้ได้การวินิจฉัยโรคและการรักษาที่ถูกต้อง
สะเก็ดเงินข้ออักเสบ คือ โรคสะเก็ดเงิน ที่ส่งผลประทบต่อระบบข้อต่อของมนุษย์ เป็นภาวะแพ้ภูมิต้านทานโรคตัวเอง จนทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ จนเกิดการอักเสบตามข้อกระดูก ทำให้เจ็บปวดมาก อาการของโรค และ รักษาอย่างไร
Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา
Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma. The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.
ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก
Last Updated on May 17, 2024