โรคฝีในตับ ตัวเหลืองตาเหลือง คลื่นไส้อาเจียน สัญญานเตือนโรค

ฝีที่ตับ ภาวะติดเชื้อที่ตับ สัญญานเตือนโรคฝีในตับ อาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด คลื่นไส้อาเจียน เกิดได้กับทุกคน ปัจจัยเสี่ยง การรักษาและป้องกันการเกิดฝีในตับโรคฝีที่ตับ โรคฝีตับ โรคตับ โรคติดเชื้อ

โรคฝีในตับ ภาษาอังกฤษ เรียก Liver abscess เป็นภาวะการติดเชื้อที่ตับจนเกิดฝี ลักษณะ มีหนองขึ้นที่ตับ ฝีสามารถเกิดได้มากกว่าหนึ่งจุด การเกิดฝีที่ตับ นั้นอาจเกิดร่วมกับอวัยวะอื่นๆได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเชื้อโรค โรคนี้ไม่ใช่โรคที่พบได้ทั่วไป แต่สามารถเกิดได้กับ คนทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ

สาเหตุของการเกิดฝีที่ตับ

การเกิดโรคฝีที่ตับ นั้นเกิดจากการติดเชื้อโรค ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อบิด หรือ เชื้อรา แต่สาเหตุของการเกิดฝีที่ตับนั้นเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มีอัตราสูงที่สุด พบว่า ร้อยละ 80 ของผุ้ป่วยเิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยพบว่า เชื้อโรคที่พบบ่อย คือ เชื้อแบคทีเรีย E. coli รองลงมา คือ แบคทีเรีย Klebsiella ในส่วนของการเกิดฝีที่ตับจากเชื้อบิด นั้นเป็นสาเหตุสำคัญของโรคบิด ที่เรียกว่า “ โรคบิดมีตัว ” พบร้อยละ 10 ของผู้ป่วยเกิดจากการติดเชื้อบอด และ การเกิดฝีที่ตับจากเชื้อรา พบว่ามีอัตราการเกิดจากเชื้อรา ร้อยละ 10 และมักเกิดจากเชื้อราของตับในกลุ่ม Candida มักจะพบว่าเป็นสาเหตุของการเกิดฝีที่ตับของ กลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง และ โรคเอดส์

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดฝีที่ตับ

สำหรับโอกาสที่ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคฝีที่ตับ จะเป็นลักษณะของการอักเสบในช่องท้องอย่างรุนแรง ด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น การเกิดอุบัตติเหตุกระทบกระเทือนต่อตับ การถูกกระแทกอย่างรุนแรง การถูกแทงที่ท้อง รวมถึงการติดเชื้อโรค โดยสามารถสรุปสาเหตุปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค มีดังนี้

  • การเกิดภาวะอักเสบที่ช่องท้อง เช่น การเกิดโรคไส้ติ่ง การเกิดหนองในช่องท้อง เป็นต้น
  • การติดเชื้อโรคในกระแสเลือด จนเกิดการแพร่กระจายสู่ตับ
  • การเกิดโรคตับอ่อนอักเสบ ทำให้การทำงานของตับอ่อนแอ และ ติดเชื้อโรคได้ง่าย
  • การเกิดแผลในช่องท้อง ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร
  • การอักเสบที่ระบบน้ำดี เช่น โรคถุงน้ำดีอักเสบ โรคนิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น
  • การเกิดภาวะภูมิต้านทานโรคต่ำ จะเกิดในคนที่มีอาการป่วย เช่น โรคมะเร็ง โรคมะเร็งตับอ่อน เป็นต้น

อาการผู้ป่วนโรคฝีที่ตับ

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคฝีที่ตับ นั้น จะมีไข้ และปวดท้องตอนบนด้านขาว และ พบมีอาการอื่นร่วมด้วย โดยมีอาการให้สังเกตุ ดังนี้

  • ผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร
  • เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียน
  • มีอาการอ่อนเพลีย
  • น้ำหนักลดลง และผอมลงมาก
  • มีอาการตัวเหลืองและตาเหลือง อาการจากระบบน้ำดี
  • มีอาการหนาวสั่น

การตรวจวินิจฉัยโรคฝีที่ตับ

สำหรับการวินิจฉัยโรคฝีที่ตับ นั้น แพทย์จะทำการซักประวัติต่างๆ เช่น อาการที่เกิดขึ้น ประวัติการเกิดโรคก่อนหน้านี้ ประวัติการเดินทาง ที่อยู่อาศัย จากนั้น ต้องทำการตรวจร่างกาย อย่างละเอียด ดูการทำงานของตับ การตรวจภาพของตับด้วยการทำอัลตราซาวด์หรือเอกซเรย์ทางคอมพิวเตอร์ และ ต้องดูดหนองที่ตับ เพื่อหาเชื้อโรคที่ติดเชื้อ รวมถึงตัดชิ้นเนื้อตับไปตรวจทางพยาธิวิทยา ด้วย

การรักษาโรคฝีที่ตับ

สำหรับการรักษาโรคฝีที่ตับ นั้นต้องทำการระบายหนองออกจากตับ รวมกับการให้ยาฆ่าเชื้อโรค ซึ่งการให้ยานั้นจะให้ทั้งทางการกินและ ให้ยาฆ่าเชื้อโรคผ่านทางหลอดเลือดดำด้วย นอกจากนั้นแล้ว จะทำการรักษาอาการอื่นๆ ที่เกิดรวม เช่น ให้ยาแก้ปวด ให้น้ำเกลือ เพื่อทดแทนสารอาหารที่เสียไป

โรคฝีที่ตับ นั้นจัดว่าเป็นที่มีความโรครุนแรงสูงแต่สามารถรักษาให้หายได้  โดยปัจจัยการรักษาอยู่ที่ สภาพร่างกายและจิตใจของผุ้ป่วยด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคฝีที่ตับมีโอกาสเสียชีวิตได้เหมือนกัน โดยต้องระวัง การเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด และ การดื้อยา

การป้องกันการเกิดโรคฝีที่ตับ

สำหรับการป้องกันโรคฝีที่ตับ นั้นต้องเริ่มจากการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำให้เกิดการกระแทก ทำให้เกิดการติดเชื้อภายในช่องท้อง โดยข้อควรปฏิบัติในการป้องกันการเกิดโรคฝีที่ตับ มีดังนี้

  • ให้รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อโรค
  • การรับประทานอาหาร ให้ล้างมือให้สะอาดก่อนการรับประทานอาหาร รวมถึงหลังจากการเข้าห้องน้ำทุกครั้งด้วย
  • รักษาความสะอาดของอาหารที่จะรับประทาน เพื่อป้องกันโอกาสของการติดเชื้อโรค
  • ไม่รับประทานอาหารที่มีโอกาสมีเชื้อโรค เช่น อาหารสุกๆ ดิบๆ
  • การรับประทานยา ให้อยู่ในการสั่งยาของแพทย์ ไม่ควรซื้อยากินเอง

ฝีที่ตับ โรคอันตรายเกิดจากการติดเชื้อของตับ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด คลื่นไส้อาเจียน สัญญานเตือนโรคฝีในตับ สามารถเกิดได้กับทุกคน ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค การรักษาฝีในตับ และ การป้องกันการเกิดฝีในตับ

Last Updated on March 17, 2021