ตับอักเสบ ( Hepatitis ) ภาวะตับบาดเจ็บหรือถูกทำลาย อาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว ไข้ต่ำๆ ปวดท้องใต้ชายโครงขวา ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะมีสีเข็ม อุจจาระมีสีซีดตับอักเสบ โรคตับอักเสบ โรคเป็นพิษต่อตับ โรคตับ

ภาวะตับอักเสบ เรียกว่า Hepatitis หมายถึง การอักเสบของเซลล์ตับ ที่เกิดการบาดเจ็บ หรือการถูกทำลายของเนื้อตับ ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพทำงานของตับ  สาเหตุของการเกิดตับอักเสบ แยกได้ 2 กรณี คือ ภาวะตับอักเสบจากการติดเชื้อ และ ภาวะตับอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ

ซึ่งโรคตับอักเสบ หากไม่รักษาภายใน 180 วัน โรคตับอักเสบจะกลายเป็น โรคตับอักเสบเรื้อรัง และหากไม่สามารถรักษาได้ทัน โรคตับอักเสบจะเข้าสู่ภาวะตับแข็ง ซึ่งหากเข้าสู่ภาวะตับแข็ง จะไม่สามารถฟื้นฟูตับได้

ปัจจัยที่ทำใหเกิดโรคตับอักเสบ

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดโรคตับอักเสบ นั้นจะอยู่ที่คน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนที่กินยาที่เป็นพิษต่อตับ และ กลุ่มคนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยสามารถสรุปปัจจัย เสี่ยงของการเกิดโรคตับอักเสบได้ ดังนี้

  • อายุหากอายุยิ่งสูง จะมีโอกาสเกิดตับอักเสบมากขึ้น
  • เพศหญิง มีอัตราการเกิดโรคที่สูงกว่าเพศชาย
  • กลุ่มคนเคยมีประวัติหรือเป็นโรคเกี่ยวกับตับ เช่น โรคตับแข็ง โรคไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น
  • กลุ่มคนมีภาวะโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่เป็นโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคเอดส์ เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่ดื่มเครื่องดื่มสุราเป็นประจำ
  • กลุ่มคนที่สาดสารโปรที่ คนที่ไม่ทานเนื้อสัตว์ นม และ ไข่ เป็นต้น

สาเหตุของภาวะตับอักเสบ

สำหรับภาวะตับอักเสบนั้น สามารถแบ่งได้ 2 สาเหตุ คือ เกิดจากการติดเชื้อและเกิดจากการที่ไม่ได้ติดเชื้อ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ตับอักเสบจากติดเชื้อโรค เรียก Infectious hepatitis เชื้อโรคที่ทำให้เกิดตับอักเสบ คือ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และ เชื้อปรสิต หากเกิดการอักเสบนานๆ จะเกิดฝีที่ตับได้
  • ตับอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ สาเหตุของตับอักเสบลักษณะนี้จะเป็น การถูกกระทบกับสารเคมี หรือ ได้รับสิ่งปนเปื้อนเป็นเวลานาน เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มน้ำที่ปนสารเคมี เป็นเวลานาน ซึ่งลักษณะนี้จะเรียก โรคพิษต่อตับ  เรียก Toxic hepatitis นอกจากนี้ การกินยาที่เป็นพิษต่ตับเป็นเวลานานติดต่อกัน หรือ มากเกินไป ก็ส่งผลเสียต่อตับ เช่นกัน เช่น ยาแก้ปวด นาพาราเซตามอน

อาการของโรคตับอักเสบ

ลักษณะอาการของผุ้ป่วยโรคตับอักเสบ จะมีอาการหลากหลายเป็นมากบ้าง เป็นน้อยบ้าง หรือ บางรายไม่แสดงอาการ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะของอาการโรคตับอักเสบ ได้ดังนี้

  • มีอาการอ่อนเพลียมาก
  • มีอาการปวดเมื่อยตามตัว ข้อกระดูก และ กล้ามเนื้อ
  • มีไข้ต่ำๆ
  • รู้สึกเบื่ออาหาร
  • มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน
  • ปวดท้องไม่มาก โดยปวดที่ใต้ชายโครงขวา
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง
  • ปัสสาวะมีสีเข็ม
  • อุจจาระมีสีซีด

การวินิจฉัยโรคตับอักเสบ

สำหรับการวินิจฉัยโรคตับอักเสบ แพทย์จะทำการซักประวัติ และ อาการของผู้ป่วย พฤติกรรมการบริโภค สิ่งแวดล้อมรอบตัว จากนั้นต้องทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบการทำงานของตับ และอาจต้องตัดชิ้นเนื้ิอลงไปเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยาอย่างละเอียด

การรักษาโรคตับอักเสบ

แนวทางการรักษาโรคตับอักเสบ ต้องหาสาเหตุของการเกิดโรคให้พบ และ หยุดสาเหตุของการทำให้เกิดตับอักเสบ รวมถึงประคับประครองอาการอื่นๆที่ร่วมด้วย ซึ่งแนวทางการรักษา เพื่อฟื้นฟูการทำงานของตับ มีดังนี้

  • หยุดดื่มสรุา
  • พักผ่อนให้มากๆ เพื่อลดการทำงานของตับ และทำให้ตับฟื้นตัวเร็วขึ้น
  • ดื่มน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ 8 ถึง 10 แก้ว
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ต้องเป็นอาหารอ่อนๆ
  • ระมัดระวังเรื่องการใช้ยา ต้องกินยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น

สำหรับความรุนแรงของโรคตับอักเสบ นั้นมีอยู่หลายปัจจัย เช่น อายุผู้ป่วย เพศ ความแข็งแรงของผุ้ป่วย เป็นต้น สำหรับผู้ป่วยโรคตับบอักเสบ มีข้อควรปฏิบัตตนดังนี้

  • พักผ่อนให้เต็มที่
  • ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 ถึง 10 แก้ว
  • ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
  • กินอาหารอ่อนๆ หลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมัน
  • ออกกำลังกายเบาๆ
  • ไม่ซื้อยากินเอง
  • รีบพบแพทย์ เมื่ออาการต่างๆแย่ลง เช่น คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หรือ เจ็บท้องบริเวณใต้ชายโครงขวาอย่างรุนแรง

การป้องกันการเกิดโรคตับอักเสบ

สำหรับการป้องกันโรคตับอักเสบ ต้องระมัดระวัง หลีกเลี่ยง ปัจจัยต่างๆที่จะทำร้าย และ เป็นพิษต่อตับ โดยการป้องกันโรคตับอักเสบ มีดังนี้

  • ไม่กินยาโดยไม่จำเป็น ไม่ซื้อยาใช้เอง
  • หากมีประวัติการแพ้ยา ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ
  • ไม่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • พักผ่อนให้เต็มที่
  • ดื่มน้ำสะอาดในปริมาณที่ร่างกายต้องการ

โรคตับอักเสบ (Hepatitis ) คือ ภาวะเซลล์ตับอักเสบจากการบาดเจ็บ หรือ ถูกทำลาย โรคเกี่ยวกับตับ อาการโรคตับอักเสบ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว ข้อกระดูก และ กล้ามเนื้อ ไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร คลื่นไส้และอาเจียน ปวดท้องที่ใต้ชายโครงขวา ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะมีสีเข็ม อุจจาระมีสีซีด สาเหตุตับอักเสบเกิจากอะไร การรักษาตับอักเสบ และ ป้องกันอย่างไร

ฝีที่ตับ ภาวะติดเชื้อที่ตับ สัญญานเตือนโรคฝีในตับ อาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด คลื่นไส้อาเจียน เกิดได้กับทุกคน ปัจจัยเสี่ยง การรักษาและป้องกันการเกิดฝีในตับโรคฝีที่ตับ โรคฝีตับ โรคตับ โรคติดเชื้อ

โรคฝีในตับ ภาษาอังกฤษ เรียก Liver abscess เป็นภาวะการติดเชื้อที่ตับจนเกิดฝี ลักษณะ มีหนองขึ้นที่ตับ ฝีสามารถเกิดได้มากกว่าหนึ่งจุด การเกิดฝีที่ตับ นั้นอาจเกิดร่วมกับอวัยวะอื่นๆได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเชื้อโรค โรคนี้ไม่ใช่โรคที่พบได้ทั่วไป แต่สามารถเกิดได้กับ คนทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ

สาเหตุของการเกิดฝีที่ตับ

การเกิดโรคฝีที่ตับ นั้นเกิดจากการติดเชื้อโรค ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อบิด หรือ เชื้อรา แต่สาเหตุของการเกิดฝีที่ตับนั้นเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มีอัตราสูงที่สุด พบว่า ร้อยละ 80 ของผุ้ป่วยเิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยพบว่า เชื้อโรคที่พบบ่อย คือ เชื้อแบคทีเรีย E. coli รองลงมา คือ แบคทีเรีย Klebsiella ในส่วนของการเกิดฝีที่ตับจากเชื้อบิด นั้นเป็นสาเหตุสำคัญของโรคบิด ที่เรียกว่า “ โรคบิดมีตัว ” พบร้อยละ 10 ของผู้ป่วยเกิดจากการติดเชื้อบอด และ การเกิดฝีที่ตับจากเชื้อรา พบว่ามีอัตราการเกิดจากเชื้อรา ร้อยละ 10 และมักเกิดจากเชื้อราของตับในกลุ่ม Candida มักจะพบว่าเป็นสาเหตุของการเกิดฝีที่ตับของ กลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง และ โรคเอดส์

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดฝีที่ตับ

สำหรับโอกาสที่ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคฝีที่ตับ จะเป็นลักษณะของการอักเสบในช่องท้องอย่างรุนแรง ด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น การเกิดอุบัตติเหตุกระทบกระเทือนต่อตับ การถูกกระแทกอย่างรุนแรง การถูกแทงที่ท้อง รวมถึงการติดเชื้อโรค โดยสามารถสรุปสาเหตุปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค มีดังนี้

  • การเกิดภาวะอักเสบที่ช่องท้อง เช่น การเกิดโรคไส้ติ่ง การเกิดหนองในช่องท้อง เป็นต้น
  • การติดเชื้อโรคในกระแสเลือด จนเกิดการแพร่กระจายสู่ตับ
  • การเกิดโรคตับอ่อนอักเสบ ทำให้การทำงานของตับอ่อนแอ และ ติดเชื้อโรคได้ง่าย
  • การเกิดแผลในช่องท้อง ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร
  • การอักเสบที่ระบบน้ำดี เช่น โรคถุงน้ำดีอักเสบ โรคนิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น
  • การเกิดภาวะภูมิต้านทานโรคต่ำ จะเกิดในคนที่มีอาการป่วย เช่น โรคมะเร็ง โรคมะเร็งตับอ่อน เป็นต้น

อาการผู้ป่วนโรคฝีที่ตับ

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคฝีที่ตับ นั้น จะมีไข้ และปวดท้องตอนบนด้านขาว และ พบมีอาการอื่นร่วมด้วย โดยมีอาการให้สังเกตุ ดังนี้

  • ผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร
  • เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียน
  • มีอาการอ่อนเพลีย
  • น้ำหนักลดลง และผอมลงมาก
  • มีอาการตัวเหลืองและตาเหลือง อาการจากระบบน้ำดี
  • มีอาการหนาวสั่น

การตรวจวินิจฉัยโรคฝีที่ตับ

สำหรับการวินิจฉัยโรคฝีที่ตับ นั้น แพทย์จะทำการซักประวัติต่างๆ เช่น อาการที่เกิดขึ้น ประวัติการเกิดโรคก่อนหน้านี้ ประวัติการเดินทาง ที่อยู่อาศัย จากนั้น ต้องทำการตรวจร่างกาย อย่างละเอียด ดูการทำงานของตับ การตรวจภาพของตับด้วยการทำอัลตราซาวด์หรือเอกซเรย์ทางคอมพิวเตอร์ และ ต้องดูดหนองที่ตับ เพื่อหาเชื้อโรคที่ติดเชื้อ รวมถึงตัดชิ้นเนื้อตับไปตรวจทางพยาธิวิทยา ด้วย

การรักษาโรคฝีที่ตับ

สำหรับการรักษาโรคฝีที่ตับ นั้นต้องทำการระบายหนองออกจากตับ รวมกับการให้ยาฆ่าเชื้อโรค ซึ่งการให้ยานั้นจะให้ทั้งทางการกินและ ให้ยาฆ่าเชื้อโรคผ่านทางหลอดเลือดดำด้วย นอกจากนั้นแล้ว จะทำการรักษาอาการอื่นๆ ที่เกิดรวม เช่น ให้ยาแก้ปวด ให้น้ำเกลือ เพื่อทดแทนสารอาหารที่เสียไป

โรคฝีที่ตับ นั้นจัดว่าเป็นที่มีความโรครุนแรงสูงแต่สามารถรักษาให้หายได้  โดยปัจจัยการรักษาอยู่ที่ สภาพร่างกายและจิตใจของผุ้ป่วยด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคฝีที่ตับมีโอกาสเสียชีวิตได้เหมือนกัน โดยต้องระวัง การเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด และ การดื้อยา

การป้องกันการเกิดโรคฝีที่ตับ

สำหรับการป้องกันโรคฝีที่ตับ นั้นต้องเริ่มจากการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำให้เกิดการกระแทก ทำให้เกิดการติดเชื้อภายในช่องท้อง โดยข้อควรปฏิบัติในการป้องกันการเกิดโรคฝีที่ตับ มีดังนี้

  • ให้รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อโรค
  • การรับประทานอาหาร ให้ล้างมือให้สะอาดก่อนการรับประทานอาหาร รวมถึงหลังจากการเข้าห้องน้ำทุกครั้งด้วย
  • รักษาความสะอาดของอาหารที่จะรับประทาน เพื่อป้องกันโอกาสของการติดเชื้อโรค
  • ไม่รับประทานอาหารที่มีโอกาสมีเชื้อโรค เช่น อาหารสุกๆ ดิบๆ
  • การรับประทานยา ให้อยู่ในการสั่งยาของแพทย์ ไม่ควรซื้อยากินเอง

ฝีที่ตับ โรคอันตรายเกิดจากการติดเชื้อของตับ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด คลื่นไส้อาเจียน สัญญานเตือนโรคฝีในตับ สามารถเกิดได้กับทุกคน ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค การรักษาฝีในตับ และ การป้องกันการเกิดฝีในตับ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove