ข้อเสื่อม ปวดข้อกระดูกเวลาเคลื่อนไหวร่างกาย รักษาอย่างไร

ข้อเสื่อม เป็นความสึกหรอของข้อกระดูก ทำให้เกิดอาการเจ็บเวลาเคลือนไหวร่างกาย เกิดจากหลายสาเหตุ พบมากในผู้สูงอายุ แนวทางการรักษา และ การป้องกันทำอย่างไร

ข้อเสื่อม โรต โรคข้อกระดูก

โรคข้อเสื่อม ( Osteoarthritis ) คือ ความผิดปกติของข้อกระดูกแบบเรื้อรัง เป็นอาการจากการสึกหรอที่ผิวกระดูกอ่อนหุ้มข้อ ซึ่งมีปัจจัยการเกิดโรคจากความเสื่อมตามอายุ และ การเกิดอุบัตติเหตุที่ข้อกระดูก กลุ่มเสี่ยง คือ คนอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้หญิงมีโอกาศเกิดข้อเสื่อมมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า โรคข้อเสื่อม จะเกิดกับกระดูกอ่อน เยื่อหุ้มข้อ ข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อกระดูกต้นคอ ข้อกระดูกส่วนหลัง

ชนิดของโรคข้อเสื่อม

สำหรับการแบ่งชนิดของโรคข้อเสื่อม สามารถ แบ่งได้ 2 ชนิด คือ ข้อเสื่อมปฐมภูมิ และ ข้อเสื่อมทุติยภูมิ โดยรายละเอียดของชนิดโรคข้อเสื่อม มีดังนี้

  • ข้อเสื่อมปฐมภูมิ ( primary osteoarthritis ) คือ อาการข้อเสื่อม เกิดกับผู้สูงอายุ เป็นการเสื่อมตามวัย มักพบอาการเสื่อมของข้อกระดูก บริเวณข้อใหญ่ๆ เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก และ ข้อกระดูกสันหลัง เป็นต้น
  • ข้อเสื่อมทุติยภูมิ ( secondary osteoarthritis ) คือ ข้อเสื่อมจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่การเสื่อมตามวัย เช่น การเกิดอุบัตติเกตุ ทำให้เกิดการแตกหักของผิวกระดูกข้อ การเกิดข้อหลุด ไขข้อกระดูกถูกทำลาย การตายของหัวกระดูก หรือ การติดเชื้อที่ข้อกระดูก รวมถึงความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด

สาเหตุของโรคข้อเสื่อม

สำหรับสาเหตุของข้อเสื่อมเกิดจากเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนระหว่างข้อต่อกระดูกบางลง จากการเสื่อมสภาพ การสึกหรอ หรือ ชำรุด ทำให้ไม่สามารถลดแรงกระแทกระหว่างกระดูกได้อย่างปรกติ ส่งผลให้เกิดการเสียดสีระหว่างข้อกระดูกโดยตรง โดยไม่มีเนื้อเยื่อกระดูกอ่อน หากปล่อยไว้นานๆ ผู้ป่วยอาจมีอาการกระดูกงอก ( Bone Spurs ) บริเวณข้อต่อนั้นๆ ซึ่งปัจจัยของการเกิดโรคมีหลายปัจจัย

ปัจจัยของการเกิดโรคข้อเสื่อม

สาเหตุที่เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคข้อกระดูกเสื่อม มีหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยที่มาจากร่างกายของผู้ป่วยเอง หรือ ปัจจัยที่เกิดจากอุบัติเหตุและพฤติกรรมการดำรงชีวิตของผู้ป่วยเอง สามารถสรุปปัจจัยการเกิดโรคได้ ดังนี้

  • การเสื่อมสถาพของกระดูกตามวัย
  • ลักษณะรูปร่างกาย ตามชาติพันธื สำหรับชนชาติที่มีร่างกายใหย่ ก็มีโอกาสข้อเสื่อมได้มากกว่า
  • การประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดข้อเสื่อม เช่น อาชีพที่ต้องยกของหนัก และ อาชีพที่มีการกระแทกสูง
  • การถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม
  • น้ำหนักตัวที่มาก
  • สุขภาพของกระดูก
  • ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน หากร่างกายมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมีน้อย อัตราการเสื่อมของผิวกระดูกจะเร็วขึ้น
  • พฤติกรรมส่วนตัว ปฏิเสธไม่ได้ว่าพฤติกรรมการใช้ชีวิต ที่ไม่ส่งผลดีต่อระบบข้อและกระดูก ทำให้เกิดการเสื่อมของข้อได้ง่าย
  • อุบัติเหตุ ที่ส่งผลกระทบต่อข้อและกระดูก เช่น ข้อเข่าหลุด ข้อมือหัก เป็นต้น ทำให้ผิวหุ้มกระดูกอ่อนถูกทำลายส่งผลทำให้เกิดการเสื่อมที่ข้อที่เร็วกว่าปรกติ

ระยะของโรคข้อเสื่อม

สำหรับโรคข้อเสื่อม มี 3 ลักษณะ คือ กระดูกงอกบริเวณขอบข้อ และ พังผืดบริเวณเยื่อหุ้มข้อ รวมถึงเกิดการเปลี่ยนแปลงชีวเคมีบริเวณข้อ โดยมีระยะของการเกิดโรค 3 ระยะ คือ ระระแรก ระยะเกิดการเปลี่ยนแปลงของชีวิเคมี และ ระยะการเปลี่ยนแปลงของเมตามบอลิซึม โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ข้อเสื่อมระยะแรก จะเกิดกับผิวกระดูกอ่อน ส่วนที่รับน้ำหนักมาก ผิวของกระดูกอ่อนจะเปลี่ยนจากสีเหลือง ผิวกระดูกขรุขระ และ นิ่มลง เกิดการเสื่อมมาก ในบางรายผิวกระดูกอ่อนหลุดลอก เมื่อมีการเคลื่อนไหว จะทำให้เกิดการเสียดสีของข้อกระดูก หากเกิดอาการมากขึ้น จะทำให้เกิดพังผืดรอบกระดูกอ่อน หนาตัวกลายเป็นกระดูกงอก
  • ข้อเสื่อมระยะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและเนื้อเยื่อภายในข้อ เช่น ปริมาณของน้ำเพิ่มขึ้น ขนาดเส้นใยคอลาเจนเล็กลง เส้นใยมีลักษณะหลวม เกิดการเปราะ และแตกสลายง่าย
  • ข้อเสื่อมระยะเกิดการเปลี่ยนแปลงของเมตาบอลิซึม ทำให้เซลล์กระดูกอ่อนเพิ่มมากขึ้น ปริมาณคอลาเจนเพิ่มขึ้น การสร้างดีเอ็นเอเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อเซลล์กระดูกอ่อนเพิ่มขึ้น ในขณะที่การสร้างเพื่อชดเชยสิ่งที่ถูกทำลาย จะทำไม่ทันต่อการถูกทำลาย ทำให้เกิดการเสื่อมของข้อตามมา

อาการของโรคข้อเสื่อม

สำหรับการแสดงอาการของโรคข้อเสื่อม จะแสดงอาการเจ็บปวด และ อักเสบที่ข้อกระดูก ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปรกติ ข้อต่อบวม กดที่ข้อต่อกระดูกแล้วเจ็บ ได้ยินการเสียดสีของกระดูกข้อต่อ ไม่สามารถขยับข้อต่อได้เต็มที่ ข้อต่อเกิดการติดแข็ง ซึ่งการแสดงอาการของการอักเสบของข้อต่างๆจะแสดงต่างกัน ลักษณะอาการของข้อเสื่อม มีดังนี้

  • อาการเจ็บปวดตามข้อ อาการจะรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามวัย และเวลาลักษณะจะเป็นๆหายๆ
  • อาการข้อติดและข้อตึง เมื่อเกิดอาการปวด ก็เคลื่อนไหวได้น้อย และความหนาของกระดูกมากขึ้น เกิดการผิดรูปของข้อ อาการที่พบคือ ข้อกระดูกติดและแข็ง อาการข้อติดแข็งจะเกิดในเวลาสั้นๆ ประมาณ 1 ชั่วโมง
  • อาการข้อกระดูกมีเสียง เนื่องจากเซลล์กระดูกที่สร้างขึ้นใหม่มีลักษณะไม่เรียบ ผิวขรุขระ เมื่อเกิดการเสียดสีของผิวกระดูกจะทำให้เกิดเสียง ดังกรอบแกรบ
  • อาการบวมตามข้อกระดูก อาการบวมนี้มักจะเกิดหลังจากการทำงานหนักของข้อกระดูก อาการบวมเกิดจาก การหนาตัวของเซลล์กระดูกอ่อนและเชื่อมติดกับเอ็นรอบๆข้อ ทำให้เกิดอาการอักเสบของข้อกระดูก
  • ภาวะน้ำท่วมข้อ เกิดจากการเสื่อมของกระดูกเป็นเวลานาน ทำให้เซลล์กระดูกแตก และ เศษกระดูกติดค้างในช่องว่างระหว่างข้อ ทำให้ร่างกายสร้างน้ำไขข้อขึ้นมาเมื่อมากเกินไปทำให้มีอาการบวมอักเสบบริเวณข้อ
  • อาการข้อกระดูกผิดรูป อาการกระดูกผิดรูป เป็นอาการของข้อเสื่อมระยะสุดท้าย การผิดรูปของข้อ เกิดจากความหนาแน่นและการขยายตัวของกระดูก ลักษณะ เช่น ข้อขยายใหญ่ เป็นต้น

สำหรับความรุนแรงของโรคข้อเสื่อมนั้ เราสามารถแบ่งความรุนแรงของโรคได้ 4 ระดับ คือ ระดับ 1 มีการงอกของกระดูกใหม่จำนวนน้อย ระดับ 2 มีการงอกของกระดูกใหม่จำนวนมาก ระดับ 3 เกิดช่องว่างของข้อกระดูกแคบลง และ ระดับ 4 ช่องว่างระหว่างข้อมีขนาดแคบมาก

การรักษาโรคข้อเสื่อม

สำหรับแนวทางการรักษาโรคข้อเสื่อม ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ยังไม่สามารถรักษาโรคข้อเสื่อมให้หายขาดได้ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการบรรเทาอาการของโรคและลดความเสื่อมของข้อกระดูก ซึ่งมีแนวทางการรักษา คือ การทำกายภาพบำบัด ใช้ยารักษาโรค และ การผ่าตัด โดยรายละเอียดดังนี้

  • การทำกายภาพบำบัด ทำเพื่อลดอาการบวม ซึ่งจะช่วยให้การเคลื่อนไหวของผู้ป่วยทำได้ดีขึ้น รวมถึงเป็นการป้องกันกระดูกการผิดรูป
  • การใช้ยารักษาโรค จะเป็นยากลุ่ม ยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวด และ ยาชา
  • การผ่าตัด จะใช้การผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการแทรกซ้อน เช่น การผ่าตัดล้างข้อ การผ่าตัดเปลี่ยนจุดรับน้ำหนัก การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม การผ่าตัดเชื่อมข้อ เป็นต้น

การป้องกันโรคข้อเสื่อม

สำหรับการป้องกันโรคข้อเสื่อม สามารถทำได้โดยการทนุถนอมสุขภาพของข้อกระดูก ไม่ใช้งานข้อกระดูกหนักๆ โดยแนวทางการป้องกันข้อเสื่อม มีดังนี้

  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  • หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่หนักๆและมีการกระแทกสูง
  • ไม่ควรอยู่ในท่าคุกเข่า นั่งยอง ยืน เป็นเวลานาน
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีแรงกระแทกหรือต้องบิดข้อกระดูก เช่น การกระโดด การยกของหนัก การหมุนตัวด้วยการใช้หัวเข่า

Last Updated on March 17, 2021