ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ หยิบของหนักๆ ปวดข้อมือ ข้อมือบวมแดง

ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ เจ็บบริเวณโคนนิ้วมือรวมกับอาการบวม เป็นๆหายๆ บางครั้งอาการเจ็บลามไปถึงข้อศอก อาการปวดจะมากขึ้นเมื่อหยิบจับสิ่งของ แนวทางการรักษาอย่างไร

ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ โรคข้อ โรคเอ็น

ปลอกหุ่มเอ็นอักเสบ คือ การอักเสบหรือตีบของปลอกหุ้มเอ็นของกล้ามเนื้อ ซึ่งอยู่บริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ โดยโครงสร้างของเอ็นสองเส้นที่ข้อมือใช้บังคับการทำงานของนิ้วหัวแม่มือ เอ็นจะมีเยื่อหุ้มเอ็นที่ทำหน้าที่เพื่อให้เอ็นสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างลื่นไหล ซึ่งการใช้งานของข้อมือและนิ้วหัวแม่มืออย่างซ้ำๆ เช่น การหยิบสิ่งของต่างๆ หรือ ข้อมืออักเสบ จะส่งผลให้ปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ และ จะทำให้เกิดอาการปวดที่ข้อมือ โรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ พบว่าเพศหญิงมีอัตราการเกิดที่สูงกว่าเพศชาย และพบมากกลุ่มคนอายุ 30 ถึง 50 ปี

สำหรับชื่อเรียกของโรคนี้มีหลายหลาย เช่น โรคข้อศอกนักเทนนิส โรคข้อไหลนักว่ายน้ำ โรคเดอเกอร์แวง และ โรคนิ้วล็อก รายละเอียดมีดังนี้

  • โรคข้อศอกนักเทนนิส ( tennis elbow ) อักเสบของเส้นเอ็นบริเวณข้อศอก พบมากในนักกีฬาที่ใช้การตี ช่างไม้ และ ช่างทาสี เป็นต้น
  • โรคข้อไหล่นักว่ายน้ำ ( swimmer’s shoulder ) อักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณไหล่ พบบ่อยในนักกีฬาที่ใช้หัวไหล่มาก เช่น นักว่ายน้ำ นักเทนนิส และ นักยำน้ำหนักเป็นต้น
  • โรคเดอเกอร์แวง ( de Quervain’s disease )อักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้ม พบบ่อยในคนทำงานออฟฟิต ที่ต้องใช้ข้อมือและนิ้วหัวแม่มือบ่อย
  • โรคนิ้วล็อก ( trigger finger ) อักเสบของเส้นเอ็นที่บังคับการงอของนิ้วมือ พบบ่อยในนักกีฬาที่ต้องจับไม้แน่นๆ เช่น นักกีฬาเทนนิส นักกีฬาแบดมินตัน นักกอล์ฟ และคนทำสวน เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรคปลอกหุ้มข้อมืออักเสบ

อาการอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มข้อมือของกล้ามเนื้อบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ เกิดจากภาวะอักเสบจากโรคต่างๆ เช่น รูมาตอยด์ รวมถึงการใช้งานของข้อมือและนิ้วหัวแม่มืออย่างหนักและซ้ำๆกัน นอกจากนี้พบว่าเกิดจากอุบัติเหตุ การได้รับบาดเจ็บ ทำงานหนัก

อาการของผู้ป่วยโรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ

สำหรับการแสดงอาการป่วยจะแสดงอาการที่ข้อมือ โดยจะมีอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้วมือรวมกับอาการบวม ลักษณะเป็นๆหายๆ และบางครั้งอาการเจ็บลามไปถึงข้อศอก และอาการปวดจะมากขึ้น เมื่อจำเป็นต้องหยิบจับสิ่งของ สามารถสรุปลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ มีดังนี้

  • ปวดและเจ็บบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ
  • มีอาการบวมบริเวณเอ็นตรงโคนนิ้วหัวแม่มือ
  • มีอาการชาด้านหลังนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้

การรักษาโรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ

สำหรับแนวทางการรักษาโรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ มีแนวทางการรักษา 2 ลักษณะ คือ การรักษาโดยไม่ใช้การผ่าตัด และ การรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งการรักษาโรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ มีดังนี้

  • การรักษาโรคปลอกหุ้มเอ็นโดยไม่ใช้การผ่าตัด  โดยให้ลดการใช้งานข้อมือ ลดการหยิบจับ ยกของ รวมกับใส่เฝือกอ่อนเพื่อดามบริเวณโคนของนิ้วมือ เพื่อลดการเคลือนไหว และ ทานยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ ร่วมด้วย
  • การรักษาดรคปลอกหุ้มเอ็ดด้วยการผ่าตัด การรักษาด้วยการผ่าดัดกรีดแยกเยื่อหุ้มเอ็นที่บีบรัดเส้นเอ็น อยู่ให้แยกจากกัน และเย็บแผล

การป้องกันโรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ สามารถป้องกันได้ไม่ยาก โดยแนวทางการป้องกันโรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ มีดังนี้

  • ควรหลีกเลี่ยงการใช้ข้อมือหนักๆ ลดการเคลื่อนไหวข้อมือ เมื่อจำเป็น
  • บริหารข้อมือเป็นประจำ และต้องอบอุ่นร่างกายก่อนการออกกำลังกาย

ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ เจ็บบริเวณโคนนิ้วมือรวมกับอาการบวม ลักษณะเป็นๆหายๆ และบางครั้งอาการเจ็บลามไปถึงข้อศอก และอาการปวดจะมากขึ้น เมื่อจำเป็นต้องหยิบจับสิ่งของ แนวทางการรักษาอย่างไร

Last Updated on March 17, 2021