โรคหลอดเลือดสมอง โรคร้ายแรงจากสมอง ต้องรับการรักษาด่วนที่สุด

ภาวะการขาดเลือดไปเลื้ยงสมอง ( stroke ) ทำให้เซลล์สมองตาย ทำให้เกิดอัมพาต์ ผู้ป่วยจะอ่อนแรง มีอาการชา ปากเบี้ยว พูดไม่ได้ ปวดหัว เสียการทรงตัว การรักษาโรคอย่างไร

โรคหลอดเลือดสมอง โรคสมอง โรคหลอดเลือด โรคไม่ติดต่อ

โรคหลอดเลือดสมอง ภาษาอังกฤษ เรียก stroke เป็นโรคหลอดเลือดและสมอง ซึ่งเป็นภาวะสมองขาดเลือด ที่เกิดจากการ ตีบ อุดตัน หรือแตก ของหลอดเลือดในสมอง ซึ่งส่งผลทำให้เนื้อเยื่อสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองจึงหยุดชะงัก ซึ่งความผิดปรกติของหลอดเลือดสมอง สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ หลอดเลือดสมองตีบตัน และ หลอดเลือดสมองปริแตก รายละเอียดของแต่ละประเภท มีดังนี้

  1. หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ภาษาอังกฤษ เรียก ischemic stroke ประเภทการตีบหรืออุดตัน เป็นสาเหตุมากถึง ร้อยละ 80 ซึ่งเกิดจากลิ่มเลือดก่อตัวขึ้นในหลอดเลือดที่สมอง จนอุดตันทางเดินของเลือดที่จะไปเลี้ยงสมอง นอกจากสาเหตุของลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดแล้ว การสะสมไขมันในเส้นเลือดก็เป็นสาเหตุของการตีบตันของเส้นเลือดได้ เหมือนกัน
  2. หลอดเลือดสมองแตกหรือฉีกขาด ภาษาอังกฤษ เรียก hemorrhagic stroke เราพบได้ร้อยละ 20 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สาเหตุเกิดจากความเปราะบางของหลอดเลือดและร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง หรือการเกิดความยืดหยุ่นของหลอดเลือดจากการสะสมไขมันในเส้นเลือด การที่หลอดเลือดสมองแตก จะทำให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยงสมองอย่างฉับพลัน

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดในสมอง

มีหลายปัจจัย ซึ่งมีทั้งปัจจัยที่ป้องกันได้และปัจจัยที่สามารถป้องกันได้ เช่น อายุ เพศ ภาวะเลือดแข็งตัวเร็วกว่าปรกติ ปัจจัยเหล่านี้ป้องกันไม่ได้ แต่ปัจจัยอื่นๆที่สามารถป้องกันได้ เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในโลหิตสูง โรคหัวใจ การสูบบุหรี่ การใช้ยาคุมกำเนิด การขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

เราสามารถสังเกตุจากอาการผิดปรกติ ได้โดย ผู้ป่วยจะอ่อนแรง มีอาการชา ปากเบี้ยว พูดไม่ได้ ควบคุมน้ำลายไม่ได้ ปวดหัว เวียนหัว สายตาพร่ามัว เสียการทรงตัว เมื่อพบอาการดังกล่าว ต้องนำตัวพบแพทย์โดยด่วน อาการที่สำคัญของโรคหลอดเลือดสมองมีดังนี้

  • ชาบริเวณแขน ขา ใบหน้า หรือบริเวณข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย
  • สับสน มีปัญหาทางการสื่อสาร พูดไม่เข้าใจ
  • เห็นภาพซ้อน ตามัว (เพียงข้างเดียว)
  • เวียนศีรษะ หรือปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • วิงเวียน ทรงตัวไม่อยู่ บางรายอาจเป็นลมหมดสติ

การตรวจวินิจฉัยว่าเราเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่

สามารถตรวจได้หลายวิธี เช่น ตรวจเลือด ดูระดับน้ำตาลในเลือด ดูระดับไขมันในเลือด หาอาการอักเสบของหลอดเลือด การทำการตรวจวัดคลืนไฟฟ้าหัวใจ การสแกนสมอง เป็นต้น

การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มีความแตกต่างกันในผู้ป่วยที่หลอดเลือดสมองตีบตัน และ หลอดเลือดสมองแตก การรักษาผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบ สามารถรักษาได้โดย การทำให้เลือดไหลเวียนตามปกติ แพทย์จะให้ยาละลายลิ่มเลือด แต่ต้องรักษาภายใน 4 ชั่วโมง ส่วนการรักษาผู้ป่วยหลอดเลือดสมองแตกหรือฉีกขาด คือ ต้องควบคุมปริมาณเลือดที่ออก รักษาความดันเลือดให้ปรกติ ทีมแพทย์อาจต้องทำการผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายของสมอง ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของความดันเลือด

การป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

สามารถทำได้โดย ควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ เช่น ป้องกันไม่ให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ หรือขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น ควบคุมอาหารให้สมดุล หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม หวาน มัน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม เลิกสูบบุหรี่และการดื่มสุรา เป็นต้น

Last Updated on March 17, 2021