ภาวะติดเชื้อโรค ( Infectious disease ) เกิดจากสิ่งมีชีวิต เช่น ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา ปรสิต กลไกการติดเชื้อเป็นอย่างไร ลักษณะอาการ แนวทางการรักษาและการป้องกัน
โรคติดเชื้อ หมายถึง ภาวะการเกิดโรคที่มีสาเหตุจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ( micro-organisms ) เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ริกเก็ตเซีย โปรโตซัว หรือ พยาธิ ( Parasites ) เป็นต้น ซึงสิ่งมีชีวิตเหล่านี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่างๆ และ แสดงอาการผิดปรกติของร่างกายขึ้นมาตามอวัยวะต่างๆที่มีเชื้อโรคอาศัยอยู่ ลักษณะของภาวะเกิดเชื้อโรคมี 2 ลักษณะ คือ การติดเชื้อแบบเฉียบพลัน และ การติดเชื้อแบบเรื้อรัง รายละเอียด ดังนี้
- การติดเชื้อโรคแบบเฉียบพลัน ( Acute Infection ) หมายถึง ลักษณะการติดเชื้อที่เกิดขึ้นทันทีอย่างรวดเร็วหลังจากได้รับเชื้อโรค ซึ่งจะแสดงอาการเร็วหรือทันทีทันใด มักจะมีอาการของโรคที่รุนแรง
- การติดเชื้อโรคแบบเรื้อรัง ( Chronic Infection ) หมายถึง ลักษณะการติดเชื้อโรคที่เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจะค่อยๆแสดงอาการ ไม่แสดงความผิดปรกติของร่างกายแบบทันที ทำให้บางครั้งผู้ป่วยไม่ทันได้ดูแลตัวเอง
โรคติดเชื้อ ภาษาอังกฤษ Infectious disease หมายถึง โรคที่เกิดจากการติดเชื้อจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น แบคทีเรีย ไวรัส รา พยาธิ เป็นต้น ซึ่งพิษของเชื้อโรคเหล่านี้ทำให้เกิดความผิดปรกติของการทำงานของร่างกาย เราสามารถแบ่งโรคต่างๆที่มีสาเหตุจากเชื้อโรคต่างๆ ประกอบด้วย เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรียน และ เชื้อราย โดยรายละเอียดของโรคต่างๆ มีดังนี้
โรคจากเชื้อไวรัส
เชื้อไวรัส ภาษาอังกฤษ เรียก Virus เชื้อไวรัสเป็นเชื้อโรคขนาดเล็ก มีขนาดไม่เกิน 400 มิลิไมครอน เชื้อไวรัสสามารถเจริญเติบโตในร่างกายของมนุษย์ได้ และเชื้อไวรัสเป็นภาหะนำโรคได้ดี ตัวอย่างโรคเกี่ยวกับไวรัส เช่น
โรคจากเชื้อแบคทีเรีย
เชื้อแบคทีเรีย ภาษาอังกฤษ เรียก Bacteria เป็นเชื้อขนาดใหญ่ แต่ต้องส่องกล้องจุลทรรศจึงสามารถมองเห็นได้ เชื้อแบคทีเรียสามารถอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป และร่างกายมนุษย์ได้ โดยโรคเกี่ยวกับการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น
โรคจากเชื้อรา
เชื้อรา ภาษาอังกฤษ เรียก Fungi เชื้อราเป็นเชื้อโรคที่ทำให้ร่างกายมนุษยืผิดปรกติ แต่โดยมากโรคการติดเชื้อราจะพบภายนอกร่างกาย เป็นโรคผิวหนัง เช่น โรคกลาก เกลื้อน โรคน้ำกัดเท้า เป็นต้น แต่เชื้อราหากเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ ก็เป็นอันตรายสูง ตัวอย่างโรคติดเชื้อราในอวัยวะภายใน เช่น โรคเชื้อราในสมอง เป็นต้น
โรคติดเชื้อราที่ทำให้ร่างกายมนุษย์ผิดปรกติ เราสามารถแบ่งชนิดของโรคติดเชื้อราได้ เป็น 2 แบบ คือ โรคของเชื้อราชนิดตื้น ภาษาอังกฤษ เรียก Super fungi mycoses และโรคของเชื้อราชนิดลึก ภาษาอังกฤษ เรียก Deep or systemic mycoses ตัวอย่างโรคการติดเชื้อรา เช่น
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
หลอดอาหารอักเสบจากเชื้อรา |
![]() |
![]() |
![]() |
เชื้อราในร่มผ้า โรค Crytococcus |
![]() |
โรคติดเชื้อพยาธิ
![]() |
|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
การติดเชื้อ ภาษาอังกฤษ เรียก Infection หมายถึง การที่สิ่งมีชีวิต เข้าสู่ร่างกายตามช่องทางต่างๆ เช่น หู ตา จมูก ผิวหนัง การหายใจ เป็นต้น ซึ่งสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ มีการเจริญเติบโต และทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายและอวัยวะต่างๆทำงานผิดปรกติ
การติดเชื้อเป็นลักษณะของอาการอักเสบ(inflammation) เชื้อโรค จุลชีพ ที่ก่อให้เกิดโรคในร่างกายมนุษย์ มีความหลากหลาย เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อปรสิต เชื้อรา พรีออน หรือไวรอยด์ การติดเชื้อสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระดับ คือ การติดเชื้อระดับปฐมภูมิ(Primary infection) และการติดเชื้อระดับทุติยภูมิ (secondary infection)
สาเหตุของการติดเชื้อโรค
สาเหตุของโรคติดเชื้อเกิดจากเชื้อจุลชีพตัวร้าย อาทิ ไวรัส แบคทีเรีย รา โพรโทซัว ปรสิต หรือแม้กระทั่งโปรตีนที่ผิดปกติ เข้าสู่ร่างกาย เรารวบรวมโรคที่เกี่ยวกับการติดเชื้อ มาให้เป็นความรู้กับเพื่อนๆ เพื่อรู้เท่าทันโรคติดเชื้อกัน โรคติดเชื้อในกระแสโลหิต การติดเชื้อในร่างกาย กลไก การ ติด เชื้อ ใน ร่างกาย โรคติดเชื้อแบคทีเรีย โรคติดเชื้อ มีอะไรบ้าง
โรคติดเชื้อ คือ การติดเชื้อ อาการ
ชนิดของการติดเชื้อ
เราสามารถแบ่งชนิดของการติดเชื้อได้เป็น 5 ประเภท คือ ติดเชื้อในกระแสเลือด ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และติดเชื้อที่ผิวหนัง โดยรายละเอียดดังนี้
- การติดเชื้อในกระแสเลือด มักจะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ระบบเลือด เลือดจะเดินทางไปตามอวัยวะต่างๆของร่างกาย ทำให้เกิดความผิดปรกติของการทำงานของระบบร่างกาย ซึ่งการติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สูง และมีความอันตรายของโรคสูงหากรักษาไม่ทัน
- การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ส่วนมากจะเกิดติดเชื้อไวรัส เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ซึ่งโรคที่พบจะเกิดกับ ไซนัส คอ หลอดลม และเข้าสู่ปอด เช่น โรคปอดอักเสบ หากไม่ทำการรักษาเชื้อโรคสามารถเข้าสู่กระแสเลือด และป็นอันตรายได้
- การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร เกิดจากการรับเชื้อโรคทางปาก การรับประทานอาหาร เชื้อโรคส่วนมากจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารทให้ร่างกายจะขับเชื้อโรคออกมาทาง ทวาร เช่น โรคท้องร่วง หากไม่รักษา การท้องร่วงสามารถทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ขาดน้ำ และช็อค เสียชีวิตได้
- การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ เรียกง่ายๆว่าดรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสเป็นหลัก เช่น โรคหนองใน เริม เป็นต้น
- การติดเชื้อที่ผิวหนัง อาการติดเชื้อที่ปผิวหนังจะเกิดภายนอกร่างกาย จากเชื้อราเป็นหลัก เมื่อมีเชื้อราและร่างกายเราอับชื้น เป็นที่อยู่อาศัยของเชื้อรา เมื่อเชื้อราขยายพันธ์ก็ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆเกี่ยวกับผิวหนังได้ เช่น โรคกลาก โรคเลื้อน โรคน้ำกัดเท้า เชื้อราในร่มผ้า เป็นต้น
สาเหตุของการเกิดโรคติดเชื้อ
การติดเชื้อโรค เกิดจากเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ตามช่องทางต่างๆ ทำให้เกิดโรค ซึ่งการเกิดโรคสามารถแยกสาเหตุได้ 3 ข้อ คือ จากการบุกรุกของเชื้อโรค จากพิษของเชื้อโรค และจากภูมิต้านทานไวเกินไป รายะเอียดดังนี้
- จากการบุกรุกของเชื้อโรค เมื่อมีสภาวะที่เอื้ออำนวยต่อการเจริยเติบโตได้ดีของเชื้อโรค การเจริญเติบโตของเชื้อโรคจะเข้าทำรายร่างกายของมนุษย์ เช่น การขยายตัวของเชื้อรา ทำให้เกิดโรคเรื้อน กลาก เกลื้อน เป็นต้น
- จากพิษของเชื้อโรค เชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย และเชื้อโรคมีพิษต่อร่างกาย จะเข้าไปทำลายการทำงานของร่างกายให้ผิดปรกติ เช่น โรคบาดทะยัก เป็นต้น
- จากภูมิคุ้มกันไวเกิน ทำให้เกิดการกระตุ้นของร่างกายส่งผลให้เชื้อโรคถูกกระตุ้นให้เจริญเติบโต เช่น โรคจากเชื้อรา
องค์ประกอบการติดเชื้อโรค
องค์ประกอบของการติดเชื้อโรค เราสามารแบ่งได้ 5 องค์ประกอบ คือ เชื้อโรค แหล่งเกิดเชื้อโรค ทางออกของเชื้อโรค การแพร่ของเชื้อโรค ทางเข้าของเชื้อโรค และตัวบุคคล โดยรายละเอียดขององค์ประกอบการเกิดโรคสามารถอธิบายได้ ดังนี้
- ตัวเชื้อโรค เชื้อโรคที่มีผลต่อร่างกาย มีเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา พยาธิ และริคเคทเชีย เป็นต้น
- แหล่งเกิดเชื้อโรค เกิดจากสภาวะสิ่งแว้ดลอมภายนอก ที่มีความเหมาะสมต่อการมีชีวิตของเชื้อโรค และขยายพันธ์ โดยแหล่งเชื้อโรคนอกจากสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโต ของเชื้อโรค ก็มี ร่างกายของมนุษย์ที่มีเชื้อโรค สัตว์ เป็นต้น ที่เป็นแหล่งของเชื้อโรค
- ทางออกของเชื้อ หมายถึง การแพร่ขยายพันธ์ของเชื้อโรคและการกระจายของเชื้อโรคไปสู่สิ่งมีชีวิต อื่นๆ
- การแพร่ของเชื้อโรค สามารถแพร่เชื้อโรคได้ ที่ทางตรงและทางอ้อม เชื้อโรคมาจากอากาศ และฝุ่นละออง การสัมผัสเชื้อโรค
- ทางเข้าของเชื้อโรค คือ ช่องทางการเข้าสู่ร่างกายของเชื้อโรค เช่น ตา หู จมูก หู ปาก อวัยวะสืบพันธ์ เป็นต้น
- ตัวบุคคล การที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายและภายในร่างกายไม่มีภูมิต้านทานโรค ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
การรักษาโรคติดเชื้อ
การรักษาโรคเกี่ยวกับการติดเชื้อโรค จะใช้ยาปฎิชีวนะ เพื่อกำจัดเชื้อโรคที่อยู่ในร่างกาย แต่เชื้อโรคบางชนิดก็ไม่สามารถใช้ยาปฏิชีวนะได้ แต่ทำได้เพียงให้ยาต้านเชื้อ เป็นต้น
การป้องกันการเกิดโรคติดเชื้อ
การป้องกันโรคติดเชื้อ สามารถทำได้โดย การลดการเกิดเชื้อโรคจากสิ่งแวดล้อม เช่น แหล่งสกปรก ที่ทำให้เกิดเชื้อโรค การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย เช่น ล้างมือให้สะอาด และการป้องกันเมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย คือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรค และการออกกำลังกายให้มีภมิต้านทานโรค เป็นต้น