โรคคางทูม ต่อมน้ำลายอักเสบจากเชื้อไวรัส อาการคางบวม ปวดมาก

คางทูม Mumps อาการต่อมน้ำลายอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส RNA มีไข้ บวมที่หลังหู บวมที่หน้าหู บวมที่คาง ปวดเวลาเคี้ยวอาหาร หากรักษาช้าอาจทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบได้

คางทูม โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ การรักษาโรคคางทูม

โรคคางทูม ภาษาอักกฤษ เรียก Mumps เป็นโรคติดต่อจากเชื้อไวรัส RNA เป็นไวรัสในกลุ่ม paramyxovirus สามารถติดต่อได้ทางน้ำลายหรือเสมหะ ซึ่งผู้ติดเชื้อจะทำให้เกิดอาการมีไข้และต่อมน้ำลายอักเสบ อาจทำให้ตับอ่อนอักเสบ เพศชายอาจมีอาการอัณฑะอักเสบในเพศชาย ส่วนสตรีอาจมีอาการรังไข่อักเสบ และสามารถลามไปถึงอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้

โรคนี้มีวัคซีนในการป้องกันโรค ในปี พ.ศ. 2556 กระทรวงสาธารณะสุข ประเทศไทย มีการแนะนำให้เปลี่ยนการฉีดวัคซีน MMR ครั้งที่ 2 จากเด็กอายุ 4-6 ปี เลื่อนเข้ามาเป็นอายุ 2 ½ ปี เพื่อเร่งการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กที่ได้รับวัคซีนครั้งแรกในอายุ 9 เดือนแล้วไม่ได้ผล  ส่วนในภาคเอกชน สำหรับเด็กที่รับวัคซีน MMR ครั้งแรกที่อายุ 12 เดือน อาจรับวัคซีนครั้งที่ 2 ที่อายุ 2 ½ ปี หรือ 4-6 ปีตามปกติก็ได้

สาเหตุของโรคคางทูม

โรคคางทูมเกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มพารามิกโซ ( paramyxovirus ) ซึ่งสาเหตุของการติดเชื้อมาจากน้ำลาย หรือ การสัมผัสสารคัดหลังของผู้มีเชื้อโรค เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจะเข้าสู่กระแสเลือดและแพร่กระจายไปสู่ยังอวัยวะต่างๆ และ เริ่มแสดงอาการที่ต่อมน้ำลาย โดยทำให้เกิดอาการอักเสบ

อาการของคางทูม

สำหรับอาการผู้ป่วยโรคคางทูม หลังจากผู้ป่วยได้รับเชื้อประมาณไม่เกิน 20 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้ อ่อนเพลีย และเบื่ออาหาร หลังจากนั้นจะเกิดอาการต่อมน้ำลายอักเสบ ซึ่งมีอาการบวมที่ใต้หู้ ผิวหนังเหนือต่อมน้ำลายจะบวม แดง หน้าหน้าส่วนใบหูบวมลงมาคลุมขากรรไกรจะปวดมากเวลาพูดและการกลืนหรือเคี้ยวอาหาร อาการบวมนี้จะแสดงอาการไม่เกิน 7 วัน ในเพศชายจะมีอาการอัณฑะอักเสบ อาจทำให้สมองอักเสบ หากมีอาการปวดหัว มีอาการซึม คอแข็ง หลังแข็ง ให้ส่งตัวหาแพทย์ด่วน

โรคแทรกซ้อนจากโรคคางทูม

สำหรับโรคคางทูมหากไม่รักษาให้หายขาดอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้หลายอย่าง เช่น อัณฑะอักเสบ รังไข่อักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และระบบประสาทหูอักเสบ โดยรายละเอียดดังนี้

  • อัณฑะอักเสบจากโรคคางทูม โดยส่วนมากชายที่เป็นคางทูมร้อยละ 25 จะมีอาการอัณฑะอักเสบ ลูกอัณฑะจะปวดบวม เจ็บและรู้สึกอึดอัด หากไม่รีบรักษา อาจทำให้เป็นหมันได้
  • รังไข่อักเสบจากโรคคางทูม หากเกิดผู้หญิงเป็นโรคคางทูม จะทำให้มีไข้และปวดท้องน้อย หากการตั้งครรภ์มีอัตราเสี่ยงต่อการแท้งบุตรสูง
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากโรคคางทูม เนื่องจากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่เยื่อหุ้มสมอง ทำให้ปวดศีรษะอย่างหนัก คอแข็ง หลังแข็ง หากรักษาไม่ทันอาจทำให้เสียชีวิตได้
  • ระบบประสาทหูอักเสบจากโรคคางทูม เนื่องจากโรคคางทูม อยู่ในจุดที่ใกล้กับระบบประสาทหู อาการประสาทหูอักเสบจะเข้าไปทำลายระบบการได้ยิน ทำให้หูชั้นในอักเสบ ซึ่งหากไม่รักษาสามารถทำให้หูหนวกได้
  • สูญเสียการได้ยิน ในผู้ป่วยคางทูม 1 ใน 20 คนอาจสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว และ 1 ใน 20,000 อาจสูญเสียการได้ยินแบบถาวร

การรักษาโรคคางทูม

สำหรับแนวทางการรักษาโรคคางทูมในปัจจุบันไม่มียาที่รักษาโรคคางทุมโดยเฉพาะ แต่มีวัคซีนกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานโรค การรักษาโรคคางทูมร่างกายจะสามารถสร้างภูมิต้านทานโรคและรักษาตัวเองให้หายขาดได้ ซึ่งการรักษาแพทย์จะให้ยาเพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น ยาแก้ปวด รวมถึงการแนะนำให้พักผ่อนร่างกายให้มากที่สุด สำหรับปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรค เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรค

การป้องการโรคคางทูม

สำหรับปัจจุบันสามารถป้องกันโรคคางทูมได้ โดยการใช้วัคซีน ซึ่งต้องฉีด2 ครั้ง ในช่วงอายุ อายุ 9 ถึง 12 เดือน และต้องฉีดซ้ำอีกครั้งในช่วง อายุ 4 ถึง 6 ปี นอกจากการมีวัคซีนในการป้องกันโรค การดูแลตนเองให้ร่างกายแข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และ พักผ่อนให้เพียงพอ เป็นแนวทางการป้องกันการเกิดโรคทุกโรคที่ดีที่สุด

Last Updated on March 17, 2021