โรคไวรัสอีโบลา ไข้เลือดออกอีโบลา โรคติดต่ออันตราย เป็นอย่างไร

ไวรัสอีโบลา ( Ebola ) การติดเชื้อไวรัสอีโบลา โรคติดต่ออันตราย อาการมีไข้ เจ็บคอ ปวดหัว ปวดตัว คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ยังไม่มียารักษาโรค การป้องกันทำอย่างไร

ไวรัสอีโลบ่า ไข้เลือดออกอีโบล่า โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

ไวรัสอีโบลา ปรากฏตัวครั้งแรกในปี ค. ศ. 1976 ในประเทศซูดานใต้ และ สาธารณะรัฐประชาธิปไตยคองโก รวมถึงในหมู่บ้านที่ตั้งอยู้ใกล้กับแม่นํ้าอโบลา จึงตั้งชื่อไวรัสว่า อีโบล่า ซึ่งโรคในเวลาต่อมายังปรากฎให้เห็นเป็นระยะๆ ซึ่งมีรายงานยืนยันว่า มีการระบาดของโรคไขเลือดออกอีโบลา ( EVD ) ในแอฟริกาใต้  การระบาดของโรคอีโบลาเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2014 การโรคระบาดที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่พบเชื้อไวรัสอีโบล่า เหตุการณ์ครั้งนั้น มีผู้ป่วยรวมกันถึง 28,646 คน เสียชีวิตถึง 11,323 คน และได้พบผู้ป่วยนอกทวีปแอฟริกา รวมทั้งมีการนำผู้ป่วย ซึ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์กลับไปรักษาเช่น ที่สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร  แต่ก็โชคดีที่สามารถควบคุมโรคได้

สำหรับประเทศไทย ได้ประกาศให้ โรคไวรัสอีโบลา เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ 2558 เนื่องจาก โรคนี้จะส่งผลกระทบต่อประเทศได้มาก หากเกิดการระบาด กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับโรคนี้ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน

เชื้อไวรัสอีโบลา ( Ebola ) คือ ไวรัสที่เกิดขึ้นในสัตว์ป่า สามารถติดต่อสู่คนได้ เป็นโรค ที่เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ โรคติดต่อ ชนิดหนึ่ง ยังไม่มียารักษาได้ อัตราการเสียชีวิตสูง ดังนั้นการป้องกันจึงดีที่สุด โรคไวรัสอีโบลา หรือ ไข้เลือดออกอีโบลา เป็น โรคติดต่อ ที่เกิดจากไวรัสอีโบลา โดยจะเริ่มมีอาการป่วย ภายในสามสัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อโรค อาการจะมีไข้ เจ็บคอ ปวดหัวและปวดกล้ามเนื้อ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและท้องร่วง ส่งผลใด้การทำงานของตับและไตลดลง

สาเหตุของการติดเชื้ออีโบล่า

สำหรับสาเหตุของการติดเชื้อไวรัสอีโบลา เกิดจากเชื้อไวรัสอีโบล่าในลิงซิมแปนซี ซึ่งสามารถติดสู่คนได้จากการสัมผัส สารคัดหลั่งจากสัตว์ชนิดนี้ และการรับประทานสัตว์ป่าที่ไม่ถูกสุขอนามัย โดยเชื้อไวรัสอีโลบ่าจะอยู่ในสารคัดหลั่งของสัตว์หรือคนที่มีเชื้อไวรัสอีโบล่า ซึ่งปัจจัยเสียงการติดเชื้อไวรัสอีโบล่า โดยปรกติแล้วอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งความเสี่ยงอาจเพิ่มมากขึ้นหากมีปัจจัยต่างๆเหล่านี้มาประกอบ ซึ่งปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อการติดเชื้อไวรัสอีโบล่า มีดังนี้

  • การเดินทางไปใกล้แหล่งที่มีเชื้อโรคอีโบล่าระบาดอยู่แล้ว
  • กลุ่มคนที่การสำรวจและวิจัยเกี่ยวกับโรคนี้
  • การสัมผัสศพ หรือ ผู้มีเชื้อโรค
  • การรับประทานอาหารที่ไม่สุก

อาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสอีโบล่า

สำหรับจะมีอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้ออีโบล่านั้น จะมีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ  ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ถ่ายเป็นเลือด ตาแดง มีผื่นนูน ไอ เจ็บหน้าอก จุกแน่นบริเวณกระเพาะอาหาร เลือดออกทางจมูก ปาก หู ตา อาการของโรคไวรัสอีโบลา จะเริ่มแสดงอาการภายใน 2 ถึง 21 วัน หลังจากการรับเชื้อไวรัสอีโบลา เข้าสู่ร่างกาย โดยสามารถสรุปอาการได้ดังนี้

  • มีไข้สูง
  • ปวดหัวอย่างรุนแรง
  • มีอาการเหนื่อยล้า
  • ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ
  • มีอาการเจ็บคอ
  • ท้องเสีย
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ปวดท้อง
  • เบื่ออาหาร
  • มีรอยช้ำ และเหมือนมีเลือดออกโดยไม่ทราบสาเหตุ

อาการของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา นั้นเหมือนโรคไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้สูง ปวดตามกล้ามเนื้อ เจ็บคอ แต่แต่อาการของโรคอีโบลาจะปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย และอาการเลือดไหลโดยไม่ทราบสาเหตุ รวมอยูด้วย

แนวทางการวินิจฉัยโรคไวรัสอีโบล่า

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคอีโบลา แพทย์จะสังเกตุและสอบถามจากประวัติของผู้ป่วย ลักษณะของอาการโรคเบื้องต้น และ ตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อไวรัส

การรักษาผู้ป่วยจากการติดเชื้อไวรัสอีโบล่า

สำหรับการรักษาโรคไวรัสอีโบล่าในปัจจุบันยังไม่ยาที่สามารถรักษาโรคได้ สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การประคับประครองตามอาการของโรค เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ให้น้ำเกลือเพื่อให้ผู้ป่วยมีแรง รักษาระดับความดันเลือดและอ็อกซิเจนในร่างกาย  เฝ้าระวังอาการแทรกซ้อน เช่น อวัยวะล้มเหลว เลือดออกอย่างรุนแรง อาการดีซ่าน อาการชัก หมดสติ อาการตับอักเสบ ตาอักเสบ อัณฑะอักเสบ เป็นต้น

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสอีโบลา

การป้องกันโรคระบาดจากการติดเชื้อไวรัสอีโบล่า เนื่องจากยังไม่มียารักษาโรคนี้ การหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโรคเป็นสิ่งที่ควรกระทำที่สุด โดยการป้องกันการติดเชื้อไวรัสอีโบลา มีรายละเอียดดังนี้

  • หลีกเลี่ยงเดินทางหรือไปท่องเที่ยวในพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อโรค
  • ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
  • ไม่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีความเสี่ยงการติเชื้อโรค
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยที่ติดเชื้อ
  • ล้างอาหารให้สะอาด และ ปรุงอาหารที่สุก รวมถึงหลีกเลี่ยงการกินอาหารป่า
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อโรค เช่น น้ำเหลือง เลือด น้ำลาย น้ำจากช่องคลอด เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้ติดเชื้อ เช่น เสื้อผ้า ผ้าคลุมเตียง เข็ม อุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น
  • สำหรับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ต้องสวมถุงมือ หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

Last Updated on March 17, 2021