ไทฟอยด์ การติดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhi เชื้อโรคจากสิ่งสกปรก ลักษณะอาการมีไข้และปวดท้อง มีวัคซีนป้องกัน หากรักษาไม่ทันมีโอกาสเสียชีวิตได้ไทฟอยด์ ไข้รากสาดน้อย โรคติดเชื้อ โรค

ไข้ไทฟอยด์ ( Typhoid fever ) คือ ภาวะติดเชื้อจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhi เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อแบคทีเรียปนอยู่ และผู้ที่ติดเชื้อจะขับถ่ายเชื้อโรคออกมาทางอุจาระ เชื้อโรคจะเข้ากระแสเลือด โดยเข้ามาทางลำไส้ ต่อมน้ำเหลือง ตับ หรือม้าม

โรคไทฟอยด์พบบ่อยในกลุ่มประเทศที่ดูแลเรื่องสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมไม่ดี ประเทศด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนาพบมีอัตราป่วยโรคไทฟอยด์สูง ทั่วโลกพบผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 21 ล้านคนต่อปี และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 200,000 คนต่อปี สำหรับประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยโรคไทฟอยด์ปี 2553 มีผู้ป่วยประมาณ 2,509 คน ไม่พบผู้เสียชีวิต

สาเหตุของการเกิดโรคไทฟอยด์

โรคไทฟอยด์เกิดจากร่างกายรับเชื้อแบคทีเรีย Salmonella Typhi เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งเชื้อโรคชนิดนี้มีความรุนแรงสูง สามารถรับเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายผ่านทางการบริโภคอาหารและน้ำ หรือสัมผัสเชื้อโรคตรง

อาการของโรคไทฟอยด์

เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายภายใน 14 วัน ผู้ป่วยจะแสดงอาการ เบื่ออาหาร รู้สึกอ่อนเพลีย ปวดตามเนื้อตามตัว มีไข้สูง หลังจากนั้นจะเกิดท้องร่วง มีผื่นขึ้นตามตัว หากไม่รักษาให้ทันท่วงที จะเกิดโรคอื่นแทรกซ้อนได้ เช่น มีเลือดออกที่ทางเดินอาหาร เกิดลำไส้ทะลุ ภาวะไตวาย และช่องท้องอักเสบ เสียชีวิตได้

ภาวะแทรกซ้อนของการเกิดโรคไทฟอยด์

การติดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella Typhi นอกจากจะแสดงอาการตามลักษณะอาการของโรคแล้ว หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลาจะส่งผลระทบต่อระบบต่างๆของร่างกาย เป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีความอันตรายต่อสุขภาพ มีดังนี้

  • ระบบประสาท ส่งผลต่อการควบคุมร่างกาย แขนขาอ่อนแรง เส้นประสาทส่วนปลายอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคพาร์กินสัน  หรือ ภาวะอัมพาต ได้
  • ระบบการหายใจ อาจทำให้ปอดบวมและมีแผลที่คอหอย
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด อาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
  • ระบบการทำงานของตับ ม้าม และตับอ่อน อาจทำให้เกิดฝีหนองในตับ ฝีหนองในม้าม และตับอ่อนอักเสบ
  • ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ ปัสสาวะไม่ออก โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคกรวยไตอักเสบ โรคไตอักเสบ และลูกอัณฑะอักเสบ
  • ระบบข้อและกระดูกอาจทำให้ข้ออักเสบ กระดูกอักเสบ

การรักษาไข้ไทฟอยด์

สำหรับแนวทางการรักษาโรคไทฟอยด์ สามารถรักษาโรคด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าเชื้อ ซึ่งการรักษามีประสิทธิภาพสูง เป็นยาในกลุ่ม fluoroquinolones เช่น ciprofloxacin รวมถึงยาในกลุ่ม cephalosporin รุ่นที่สาม เช่น ceftriaxone

สำหรับการรักษาในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะลำไส้เล็กทะลุ อาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันการติดเชื้อในช่องท้อง นอกจากการรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะแล้ว ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาแบบประคับประคองควบคู่กันไปด้วย โดยแนวทางการประคับประครองอาการของโรค มีดังนี้

  • การให้ยาลดไข้ เพื่อไม่ให้ความร้อนในร่างกายสูงเกินไป
  • หมั่นเช็ดตัวผู้ป่วย เพื่อช่วยลดอุณหภูมิของร่างกาย
  • ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเกลือแร่ เพื่ิทดแทนการสูญเสียน้ำในร่างกาย

การป้องกันโรคไทฟอยด์

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคไทฟอยด์ ต้องป้องกันจากสาเหตุของโรค คือ ป้องกันการเข้าสู่ร่างกายของเชื้อโรคทางปากและการสัมผัสผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงทำให้ร่างกายแข็งแรงเพื่อจะสามารถรับมือต่อการรักษาตัวเมื่อเกิดโรคได้ แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ไม่ถูกสุขอนามัย และ อาหารที่ปรุงไม่สุด
  • น้ำที่ดื่มต้องเป็นน้ำสะอาด ต้มน้ำให้สุกทุกครั้ง
  • ผัก หรือ ผลไม้ ที่จะรับประทาน ต้องล้างให้สะอาด
  • หมั่นล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

ไข้ไทฟอยด์ พบได้บ่อยในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเป็นการติดเชื้อผ่านทางแหล่งน้ำที่ไม่สะอาด หรือ อาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค โดยผู้ป่วยจะมีไข้ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการท้องเสียได้ อีกทั้งผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างรวดเร็ว ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงลดลง การป้องกันการเกิดไข้ไทฟอยด์ที่สิ่งที่ดีที่สุด

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

ไวรัสอีโบลา ( Ebola ) การติดเชื้อไวรัสอีโบลา โรคติดต่ออันตราย อาการมีไข้ เจ็บคอ ปวดหัว ปวดตัว คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ยังไม่มียารักษาโรค การป้องกันทำอย่างไร

ไวรัสอีโลบ่า ไข้เลือดออกอีโบล่า โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

ไวรัสอีโบลา ปรากฏตัวครั้งแรกในปี ค. ศ. 1976 ในประเทศซูดานใต้ และ สาธารณะรัฐประชาธิปไตยคองโก รวมถึงในหมู่บ้านที่ตั้งอยู้ใกล้กับแม่นํ้าอโบลา จึงตั้งชื่อไวรัสว่า อีโบล่า ซึ่งโรคในเวลาต่อมายังปรากฎให้เห็นเป็นระยะๆ ซึ่งมีรายงานยืนยันว่า มีการระบาดของโรคไขเลือดออกอีโบลา ( EVD ) ในแอฟริกาใต้  การระบาดของโรคอีโบลาเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2014 การโรคระบาดที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่พบเชื้อไวรัสอีโบล่า เหตุการณ์ครั้งนั้น มีผู้ป่วยรวมกันถึง 28,646 คน เสียชีวิตถึง 11,323 คน และได้พบผู้ป่วยนอกทวีปแอฟริกา รวมทั้งมีการนำผู้ป่วย ซึ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์กลับไปรักษาเช่น ที่สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร  แต่ก็โชคดีที่สามารถควบคุมโรคได้

สำหรับประเทศไทย ได้ประกาศให้ โรคไวรัสอีโบลา เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ 2558 เนื่องจาก โรคนี้จะส่งผลกระทบต่อประเทศได้มาก หากเกิดการระบาด กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับโรคนี้ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน

เชื้อไวรัสอีโบลา ( Ebola ) คือ ไวรัสที่เกิดขึ้นในสัตว์ป่า สามารถติดต่อสู่คนได้ เป็นโรค ที่เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ โรคติดต่อ ชนิดหนึ่ง ยังไม่มียารักษาได้ อัตราการเสียชีวิตสูง ดังนั้นการป้องกันจึงดีที่สุด โรคไวรัสอีโบลา หรือ ไข้เลือดออกอีโบลา เป็น โรคติดต่อ ที่เกิดจากไวรัสอีโบลา โดยจะเริ่มมีอาการป่วย ภายในสามสัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อโรค อาการจะมีไข้ เจ็บคอ ปวดหัวและปวดกล้ามเนื้อ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและท้องร่วง ส่งผลใด้การทำงานของตับและไตลดลง

สาเหตุของการติดเชื้ออีโบล่า

สำหรับสาเหตุของการติดเชื้อไวรัสอีโบลา เกิดจากเชื้อไวรัสอีโบล่าในลิงซิมแปนซี ซึ่งสามารถติดสู่คนได้จากการสัมผัส สารคัดหลั่งจากสัตว์ชนิดนี้ และการรับประทานสัตว์ป่าที่ไม่ถูกสุขอนามัย โดยเชื้อไวรัสอีโลบ่าจะอยู่ในสารคัดหลั่งของสัตว์หรือคนที่มีเชื้อไวรัสอีโบล่า ซึ่งปัจจัยเสียงการติดเชื้อไวรัสอีโบล่า โดยปรกติแล้วอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งความเสี่ยงอาจเพิ่มมากขึ้นหากมีปัจจัยต่างๆเหล่านี้มาประกอบ ซึ่งปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อการติดเชื้อไวรัสอีโบล่า มีดังนี้

  • การเดินทางไปใกล้แหล่งที่มีเชื้อโรคอีโบล่าระบาดอยู่แล้ว
  • กลุ่มคนที่การสำรวจและวิจัยเกี่ยวกับโรคนี้
  • การสัมผัสศพ หรือ ผู้มีเชื้อโรค
  • การรับประทานอาหารที่ไม่สุก

อาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสอีโบล่า

สำหรับจะมีอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้ออีโบล่านั้น จะมีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ  ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ถ่ายเป็นเลือด ตาแดง มีผื่นนูน ไอ เจ็บหน้าอก จุกแน่นบริเวณกระเพาะอาหาร เลือดออกทางจมูก ปาก หู ตา อาการของโรคไวรัสอีโบลา จะเริ่มแสดงอาการภายใน 2 ถึง 21 วัน หลังจากการรับเชื้อไวรัสอีโบลา เข้าสู่ร่างกาย โดยสามารถสรุปอาการได้ดังนี้

  • มีไข้สูง
  • ปวดหัวอย่างรุนแรง
  • มีอาการเหนื่อยล้า
  • ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ
  • มีอาการเจ็บคอ
  • ท้องเสีย
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ปวดท้อง
  • เบื่ออาหาร
  • มีรอยช้ำ และเหมือนมีเลือดออกโดยไม่ทราบสาเหตุ

อาการของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา นั้นเหมือนโรคไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้สูง ปวดตามกล้ามเนื้อ เจ็บคอ แต่แต่อาการของโรคอีโบลาจะปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย และอาการเลือดไหลโดยไม่ทราบสาเหตุ รวมอยูด้วย

แนวทางการวินิจฉัยโรคไวรัสอีโบล่า

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคอีโบลา แพทย์จะสังเกตุและสอบถามจากประวัติของผู้ป่วย ลักษณะของอาการโรคเบื้องต้น และ ตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อไวรัส

การรักษาผู้ป่วยจากการติดเชื้อไวรัสอีโบล่า

สำหรับการรักษาโรคไวรัสอีโบล่าในปัจจุบันยังไม่ยาที่สามารถรักษาโรคได้ สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การประคับประครองตามอาการของโรค เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ให้น้ำเกลือเพื่อให้ผู้ป่วยมีแรง รักษาระดับความดันเลือดและอ็อกซิเจนในร่างกาย  เฝ้าระวังอาการแทรกซ้อน เช่น อวัยวะล้มเหลว เลือดออกอย่างรุนแรง อาการดีซ่าน อาการชัก หมดสติ อาการตับอักเสบ ตาอักเสบ อัณฑะอักเสบ เป็นต้น

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสอีโบลา

การป้องกันโรคระบาดจากการติดเชื้อไวรัสอีโบล่า เนื่องจากยังไม่มียารักษาโรคนี้ การหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโรคเป็นสิ่งที่ควรกระทำที่สุด โดยการป้องกันการติดเชื้อไวรัสอีโบลา มีรายละเอียดดังนี้

  • หลีกเลี่ยงเดินทางหรือไปท่องเที่ยวในพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อโรค
  • ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
  • ไม่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีความเสี่ยงการติเชื้อโรค
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยที่ติดเชื้อ
  • ล้างอาหารให้สะอาด และ ปรุงอาหารที่สุก รวมถึงหลีกเลี่ยงการกินอาหารป่า
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อโรค เช่น น้ำเหลือง เลือด น้ำลาย น้ำจากช่องคลอด เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้ติดเชื้อ เช่น เสื้อผ้า ผ้าคลุมเตียง เข็ม อุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น
  • สำหรับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ต้องสวมถุงมือ หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove