โรคคอตีบ ติดเชื้อที่ลำคอ เจ็บคอ มีแผลตามตัว โรคติดต่อร้ายแรง

โรคคอตีบ ( Diphtheria ) การติดเชื้อแบคทีเรียที่ทางเดินหายใจ ติดต่อสู่คนได้ อาการมีไข้ มีเสมหะ เจ็บคอ หายใจลำบาก มีแผลตามตัว หากไม่รักษาเป็นอันตรายถึงชีวิต

โรคคอตีบ โรคระบบทางเดินหายใจ ติดเชื้อที่ทางเดินหายใจ ติดเชื้อที่คอ

โรคคอตีบ ( Diphtheria ) คือ โรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ชนิด Chorynebac terium diphtheriae เป็นโรคพบได้น้อยในประเทศที่พัฒนาแล้ว โรคคอตีบมีฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโรค ต้องฉีดวัคซีนตั้งแต่เป็นทารกอายุ 2 เดือนโรคที่พบได้บ่อยในประเทศในเขตร้อน เมื่ออดีตโรคคอตีบมีอาการที่รุนแรงเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตจนนวนมาก

สาเหตุของการเกิดโรคคอตีบ

สำหรับโรคคอตีบเกิดจากเชื้อแบคทีเรียคอตีบ ชื่อว่า โครินแบคทีเรียดิฟทีเรีย ( Corynebacterium diphtheriae ) เชื้อโรคเมื่อเข้าสู่งร่างกายเชื้อโรคจะปล่อยสารพิษ ( Exotoxin ) ออกมาทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ โดยเฉพาะเยื่อบุคอหอย กล้ามเนื้อหัวใจ และ เส้นประสาท ซึ่งโรคคอตีบนี้สามารถติดต่อกันได้ โดยการรับเชื้อทางปาก หรือ การหายใจ เช่น การไอ การจาม หรือ การสัมผัสน้ำลายหรือเสมหะของคนที่มีเชื้อโรคคอตีบ หลังจากได้รับเชื้อภายใน 10 วันผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการของโรคคอตีบ

อาการของผู้ป่วยโรคคอตีบ  

การแสดงอาการของผู้ป่วยโรคคอตีบ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บคอ มีไข้ มีน้ำมูก ครั่นเนื้อครั่นตัว ต่อมน้ำเหลืองโต หายใจลำบาก กลืนน้ำลายไม่สะดวก และ ผิวหนังจะมีอาการผิดปรกติ เช่น มีแผลที่ผิวหนัง มีอาการอักเสบที่แผล เจ็บแผล และ มีหนองที่แผล ผู้ป่วยโรคคอตีบหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จะทำให้เกิดอาการต่างๆจากโรคแทรกซ้อนเพิ่มได้ คือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ภาวะหัวใจล้มเหลว น้ำท่วมปอด หัวใจเต้นผิดปรกติ อาจทำให้เป็นอัมพาต ปากเบี้ยว ตาเข มือเท้าชา และ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ได้ สามารถสรุบลักษณะอาการของโรคคอตีบ ได้ดังนี้

  • มีไข้สูง แต่ไม่เกิน 39 องศาเซลเซียส
  • รู้สึกหนาวสั่น
  • อ่อนเพลีย
  • เจ็บคอมาก
  • หายใจลำบาก
  • หอบเหนื่อย
  • คออาจบวม
  • ไอมีเสียงดังเหมือนสุนัขเห่า
  • เสียงแหบ
  • น้ำมูกอาจมีเลือดปน
  • มีแผลบริเวณผิวหนัง บริเวณแขนและขา

ระยะของโรคคอตีบ

สำหรับระยะของอาการโรคคอตีบ มี 2 ระยะ คือ คอตีบระยะฟักตัวของโรค และ คอตีบระยะติดต่อ ซึงรายละเอียดของโรคคอตีบแต่ละระยะ มีดังนี้

  • คอตีบระยะฟักตัว ตั้งแต่ได้รับเชื้อจะแสดงอาการภายใน 10 วัน ในบางกรณีผู้ติดเชื้ออาจจะไม่แสดงอาการใดๆเลยก็ได้ ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการเหล่านี้ มักเป็นแหล่งแพร่เชื้อสำคัญในชุมชน
  • คอตีบระยะติดต่อ หลังจากติดเชื้อได้ประมาณ 3 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะแสดงอาการของโรคคอตีบ ซึ่งสามารถแพร่เชื้อโรคได้ในระยะนี้จากการไอ การจาม และ สารคัดหลั่ง

การรักษาโรคคอตีบ

สำหรับแนวทางการรักษาโรคคอตีบ สามารถรักษาโรคคอตีบได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น penicillin หรือ Erythromycin ใช้เวลาในการรักษาประมาณ 14 วัน  เมื่อให้ยาปฏิชีวนะในการฆ่าเชื้อกับผู้ป่วย แพทย์จะการรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการของโรคอื่นๆ เช่น ให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ให้น้ำเกลือและให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ ใช้เครื่องช่วยหายใจ เพื่อช่วยในการหายใจ ให้ออกซิเจน เป็นต้น

การป้องกันโรคคอตีบ

สำหรับแนวทางการป้องกันการติดเชื้อโรคคอตีบ สามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันคอตีบ สรุปแนวทางการป้องกันการเกิดโรคคอตีบได้ ดังนี้

  • เข้ารับการฉีดวัควีนป้องกันโรคคอตีบ
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้สะอาด เพื่อป้องกันอาการติดเชื้อ
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ใช้หน้ากากอนามัยหากต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยงในการรับเชื้อโรค
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยในระยะติดต่อ

Last Updated on March 17, 2021