โรคคอตีบ ( Diphtheria ) การติดเชื้อแบคทีเรียที่ทางเดินหายใจ ติดต่อสู่คนได้ อาการมีไข้ มีเสมหะ เจ็บคอ หายใจลำบาก มีแผลตามตัว หากไม่รักษาเป็นอันตรายถึงชีวิต

โรคคอตีบ โรคระบบทางเดินหายใจ ติดเชื้อที่ทางเดินหายใจ ติดเชื้อที่คอ

โรคคอตีบ ( Diphtheria ) คือ โรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ชนิด Chorynebac terium diphtheriae เป็นโรคพบได้น้อยในประเทศที่พัฒนาแล้ว โรคคอตีบมีฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโรค ต้องฉีดวัคซีนตั้งแต่เป็นทารกอายุ 2 เดือนโรคที่พบได้บ่อยในประเทศในเขตร้อน เมื่ออดีตโรคคอตีบมีอาการที่รุนแรงเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตจนนวนมาก

สาเหตุของการเกิดโรคคอตีบ

สำหรับโรคคอตีบเกิดจากเชื้อแบคทีเรียคอตีบ ชื่อว่า โครินแบคทีเรียดิฟทีเรีย ( Corynebacterium diphtheriae ) เชื้อโรคเมื่อเข้าสู่งร่างกายเชื้อโรคจะปล่อยสารพิษ ( Exotoxin ) ออกมาทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ โดยเฉพาะเยื่อบุคอหอย กล้ามเนื้อหัวใจ และ เส้นประสาท ซึ่งโรคคอตีบนี้สามารถติดต่อกันได้ โดยการรับเชื้อทางปาก หรือ การหายใจ เช่น การไอ การจาม หรือ การสัมผัสน้ำลายหรือเสมหะของคนที่มีเชื้อโรคคอตีบ หลังจากได้รับเชื้อภายใน 10 วันผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการของโรคคอตีบ

อาการของผู้ป่วยโรคคอตีบ  

การแสดงอาการของผู้ป่วยโรคคอตีบ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บคอ มีไข้ มีน้ำมูก ครั่นเนื้อครั่นตัว ต่อมน้ำเหลืองโต หายใจลำบาก กลืนน้ำลายไม่สะดวก และ ผิวหนังจะมีอาการผิดปรกติ เช่น มีแผลที่ผิวหนัง มีอาการอักเสบที่แผล เจ็บแผล และ มีหนองที่แผล ผู้ป่วยโรคคอตีบหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จะทำให้เกิดอาการต่างๆจากโรคแทรกซ้อนเพิ่มได้ คือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ภาวะหัวใจล้มเหลว น้ำท่วมปอด หัวใจเต้นผิดปรกติ อาจทำให้เป็นอัมพาต ปากเบี้ยว ตาเข มือเท้าชา และ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ได้ สามารถสรุบลักษณะอาการของโรคคอตีบ ได้ดังนี้

  • มีไข้สูง แต่ไม่เกิน 39 องศาเซลเซียส
  • รู้สึกหนาวสั่น
  • อ่อนเพลีย
  • เจ็บคอมาก
  • หายใจลำบาก
  • หอบเหนื่อย
  • คออาจบวม
  • ไอมีเสียงดังเหมือนสุนัขเห่า
  • เสียงแหบ
  • น้ำมูกอาจมีเลือดปน
  • มีแผลบริเวณผิวหนัง บริเวณแขนและขา

ระยะของโรคคอตีบ

สำหรับระยะของอาการโรคคอตีบ มี 2 ระยะ คือ คอตีบระยะฟักตัวของโรค และ คอตีบระยะติดต่อ ซึงรายละเอียดของโรคคอตีบแต่ละระยะ มีดังนี้

  • คอตีบระยะฟักตัว ตั้งแต่ได้รับเชื้อจะแสดงอาการภายใน 10 วัน ในบางกรณีผู้ติดเชื้ออาจจะไม่แสดงอาการใดๆเลยก็ได้ ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการเหล่านี้ มักเป็นแหล่งแพร่เชื้อสำคัญในชุมชน
  • คอตีบระยะติดต่อ หลังจากติดเชื้อได้ประมาณ 3 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะแสดงอาการของโรคคอตีบ ซึ่งสามารถแพร่เชื้อโรคได้ในระยะนี้จากการไอ การจาม และ สารคัดหลั่ง

การรักษาโรคคอตีบ

สำหรับแนวทางการรักษาโรคคอตีบ สามารถรักษาโรคคอตีบได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น penicillin หรือ Erythromycin ใช้เวลาในการรักษาประมาณ 14 วัน  เมื่อให้ยาปฏิชีวนะในการฆ่าเชื้อกับผู้ป่วย แพทย์จะการรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการของโรคอื่นๆ เช่น ให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ให้น้ำเกลือและให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ ใช้เครื่องช่วยหายใจ เพื่อช่วยในการหายใจ ให้ออกซิเจน เป็นต้น

การป้องกันโรคคอตีบ

สำหรับแนวทางการป้องกันการติดเชื้อโรคคอตีบ สามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันคอตีบ สรุปแนวทางการป้องกันการเกิดโรคคอตีบได้ ดังนี้

  • เข้ารับการฉีดวัควีนป้องกันโรคคอตีบ
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้สะอาด เพื่อป้องกันอาการติดเชื้อ
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ใช้หน้ากากอนามัยหากต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยงในการรับเชื้อโรค
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยในระยะติดต่อ

โรคคอตีบ Diphtheria ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่ทางเดินหายใจ อาการร้ายแรง ทำให้อักเสบที่เยื่อบุจมูก คอ และ หลอดลม ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ร่างกายอ่อนแรงได้

โรคคอตีบ โรคหูคจมูก โรคติดเชื้อ โรคลำคอ

โรคคอตีบ ( Diphtheria ) เป็นโรคเกิดจากทางเดินหายใจติดเชื้อแบคทีเรียชนิด Chorynebac terium diphtheriae ปัจจุบันเป็นโรคพบได้น้อยในประเทศที่พัฒนาแล้วเนื่องจากมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ตั้งแต่เป็นทารกอายุ 2 เดือนอย่างทั่วถึง แต่ยังเป็นโรคที่พบได้บ่อยในประเทศในเขตร้อนที่ยังไม่พัฒนาหรือกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย โรคคอตีบจัดเป็นโรครุนแรงเป็นสาเหตุให้เสียชีวิต (ตาย) ได้ ทั้งนี้ความรุนแรงของโรคขึ้นกับการได้รับยาต้านสารพิษและยาปฏิชีวนะอย่างรวดเร็วภายใน 1 – 2 วันหลังมีอาการ ซึ่งช่วยลดอัตราเสียชีวิตลงเหลือประมาณ 1% แต่ถ้ามาพบแพทย์ล่าช้า หรือเมื่อผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 5 ปี หรืออายุสูงตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป หรือเกิดผลข้างเคียงแล้ว อัตราเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 20%

สาเหตุของการเกิดโรคคอตีบ

สำหรับต้นเหตุของโรคคอตีบเกิดจาก เชื้อแบคทีเรียคอตีบ ชื่อว่า โครินแบคทีเรียดิฟทีเรีย ( Corynebacterium diphtheriae ) เชื้อคอตีบ หลังจากนั้นเชื้อชนิดนี้จะปล่อยสารพิษ (Exotoxin) ออกมาทำลายเนื้อเยื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะเยื่อบุคอหอย กล้ามเนื้อหัวใจ และเส้นประสาท โรคคอตีบสามารถติดต่อได้จากการรับเชื้อทางปากหรือหายใจ จากผู้ที่มีเชื้อโรค เช่น การไอ การจาม การสัมผัสน้ำลายหรือเสมหะของผู้ป่วย หลังจากได้รับเชื้อ 2-10 วันผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการ

อาการของผู้ป่วยโรคคอตีบ  

ผู้ป่วยจะมี น้ำมูก เจ็บคอ มีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว พบว่ามีอาการต่อมน้ำเหลืองโต หายใจและกลืนน้ำลายลำบาก จะมีแผลที่ผิวหนัง มีอาการอักเสบที่แผล เจ็บ และมีหนองเขียวที่แผล หากไม่รักษาให้ทันท่วงที จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ คือ การอักเสบที่กล้ามหัวใจ จะทำให้มีภาวะหัวใจล้มเหลว  เกิดภาวะน้ำท่วมปอด การเต้นของหัวใจจะผิดปกติ หรืออาจจะส่งผลถึงเส้นประสาทที่สมอง อาจเป็นอัมพาต เกิดปากเบี้ยว ตาเข มือเท้าชา และกล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถสรุบอาการของโรคคอตีบได้ดังนี้

  • มีไข้มักไม่เกิน 39 องศาเซลเซียส (Celsius) อาจรู้สึกหนาวสั่น
  • อ่อนเพลีย เจ็บคอมาก กิน/ดื่มแล้วเจ็บคอมากจึงกิน/ดื่มได้น้อย
  • หายใจลำบาก หายใจไม่ออก หายใจเร็ว หอบเหนื่อย
  • คออาจบวมและไอมีเสียงดังเหมือนสุนัขเห่า
  • มีแผ่นเยื่อในจมูก ต่อมทอนซิล ลำคอ และกล่องเสียง ก่ออาการค่อยๆมีเสียงแหบลงเรื่อยๆ และน้ำมูกอาจมีเลือดปน/น้ำมูกเป็นเลือด
  • อาจมีต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอบวมโตซึ่งโตได้ทั้งสองข้าง
  • หลังจากมีอาการทางเดินหายใจแล้ว อาจพบมีแผลบริเวณผิวหนังพบได้ทั่วตัวแต่พบบ่อยบริเวณแขนและขา แผลมีลักษณะเหมือนแผลทั่วไป แต่เมื่อตรวจเชื้อจะพบว่าเกิด จากเชื้อโรคคอตีบ

ระยะของโรคคอตีบ

สำหรับอาการของโรคคอตีบนั้นสามารถแบ่งได้ 2 ระยะ ตามลักษณะของอาการของโรค คือ คอตีบระยะฟักตัวของโรค และ คอตีบระยะติดต่อ ซึงรายละเอียดของโรคคอตีบแต่ละระยะ มีดังนี้

  • คอตีบระยะฟักตัวของโรค  ตั้งแต่ได้รับเชื้อจนแสดงอาการจะใช้เวลาประมาณ 1-7 วัน (โดยเฉลี่ย 3 วัน) แต่อาจนานได้ถึง 10 วัน และผู้ป่วยมักมีอาการอยู่นาน 4-6 สัปดาห์หรืออาจนานกว่านี้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ในบางกรณีผู้ติดเชื้ออาจจะไม่แสดงอาการใด ๆ เลยก็ได้ ซึ่งกลุ่มผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการเหล่านี้ (Carrier) มักจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญในชุมชน
  • คอตีบระยะติดต่อ ผู้ที่มีอาการของโรคคอตีบจะมีเชื้ออยู่ในจมูกและลำคอได้นาน 2-3 สัปดาห์ แต่บางครั้งอาจนานถึงหลายเดือน ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอย่างเต็มที่แล้วเชื้อจะหมดไปภายใน 1 สัปดาห์

การรักษาโรคคอตีบ

แนวทางการรักษาโรคคอตีบ สามารถรักษาได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น penicillin หรือ Erythromycin ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาเพื่อฆ่าเชื้อโรค กับแพทย์ ประมาณ 2 สัปดาห์ ผ่าตัดเอาแผ่นฝ้าขาวออกเพื่อไม่ให้อุดหลอดลม พักผ่อนให้มากๆ

การป้องกันโรคคอตีบ

แนวทางการป้องกันการติดเชื้อโรคคอตีบ สามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันคอตีบ สรุปแนวทางการป้องกันการเกิดโรคคอตีบได้ ดังนี้

  • การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ลดโอกาสติดเชื้อต่างๆซึ่งรวมทั้งเชื้อโรคคอตีบและลดการติดโรคที่ก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำเช่น ติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์
  • ใช้หน้ากากอนามัย
  • การร่วมมือกันในชุมชนในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีสุขอนามัยที่ดี
  • โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน (DTP vaccine) หรือฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยัก (DT vaccine)
  • ผู้ที่สัมผัสโรคหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการป้องกัน ซึ่งแพทย์จะเพาะเชื้อจากคอหอย ติดตามอาการเป็นเวลา 7 วัน และให้รับประทานยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) ในขนาดเดียวกันกับที่ใช้รักษา แต่ให้รับประทานป้องกันเพียง 7 วัน และจะฉีดวัคซีนป้องกันให้ถ้าไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อนหรือฉีดไม่ครบ แต่ถ้าเคยฉีดวัคซีนป้องกันมาแล้วและเข็มสุดท้ายได้รับมานานเกิน 5 ปี แพทย์จะฉีดวัคซีนกระตุ้นให้อีกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยในระยะติดต่อ ควรสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับผู้ป่วย

โรคคอตีบ ( Diphtheria ) ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่ระบบทางเดินหายใจ อาการร้ายแรง ทำให้อักเสบที่เยื่อบุจมูก คอ และ หลอดลม ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดการอักเสบ และ อ่อนแรง ได้ การรักษาโรคคอตีบ การป้องกันโรคคอตีบ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove