ผักชีฝรั่ง ( Culantro ) สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย บำรุงกระดูกและฟัน เป็นยาระบายอ่อนๆ ต้นผักชีฝรั่งเป็นอย่างไรผักชีฝรั่ง สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของผักชีฝรั่ง

ผักชีฝรั่ง มีชื่อสามัญ ว่า Culantro หรือ Long coriander หรือ Sawtooth coriander ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชีฝรั่ง เรียก Eryngium foetidum L. เป็นพืชล้มลุก ตระกลูเดียวันกับผักชี สำหรับชื่อเรียกอื่นของผักชีฝรั่ง เช่น ผักชีดอย ผักจีดอย ผักจีฝรั่ง หอมป้อมกุลา หอมป้อมกูลวา ห้อมป้อมเป้อ มะและเด๊าะ  ผักชีใบเลื่อย  ผักหอมเทศ ผักหอมเป  หอมป้อม หอมเป  หอมน้อยฮ้อ  หอมป้อมเปอะ  เป็นต้น ชื่อเรียกอื่นๆ จะแตกต่างตามพื้นที่ แต่คือ พืชชนิดเดียวกัน

ต้นผักชีฝรั่ง มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ และเม็กซิโก ผักชีฝรั่ง มีสารสำคัญ คือ กรดออกซาลิก ( Oxalic acid ) ซึ่งกรดชนิดนี้ ทำให้เกิดนิ่วที่ไตและนิ่วที่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งอาการนิ้วนี้ จะส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการปวด ที่ท้อง เอว และปัสสาวะขัดได้ ดังนั้น ไม่แนะนำให้กินผักชีฝรั่งจำนวนมาก ติดต่อกัน หรือ รับประทานในปริมาณที่มากเกินไป รวมถึงไม่แนะนำให้ สตรีมีครรภ์รับประทานผักชีฝรั่ง

ลักษณะของผักชีฝรั่ง

ผักชีฝรั่งเป็นพืชอายุสั้น เป็นพืชล้มลุก ลักษณะของต้นผักชีฝรั่ง มีดังนี้

  • ลำต้นของผักชีฝรั่งเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน หรืออยู่เหนือดินไม่มาก ลักษณะเป็นกระเปราะกลม รากของผักชีฝรั่งเป็นรากแก้ว มีรากแขนงและรากฝอยอยู่รอบๆ
  • ใบของผักชีฝรั่ง ใบเป็นแทงยาว ออกมาจากเหง้าของลำต้น ใบยาวรี ปลายใบแหลม ขอบใบหยักฌฆฒ์ฮฯฟันเลื่อย ใบสีเขียวสด
  • ดอกของผักชีฝรั่ง จะแทงออกมาจากเหง้า เป็นก้านกลมยาวแข็ง ดอกมีสีขาว ผลและเมล็ดของผักชีฝรั่ง
  • ผลของผักชีฝรั่งจะมีเมล็ดจำนวนมาก เมื่อแก่ไปเมล็ดสามารถขยายพันธ์ฺได้ และการขยายพันธ์ของผักชีฝรั่งจะใช้การโน้มกิ่ง และเมล็ด

คุณค่าทางอาหารของผักชีฝรั่ง

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของผักชีฝรั่ง ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 32 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ดังนี้ กากใยอาหาร 1.7 กรัม ธาตุแคลเซียม 21 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.9 มิลลิกรัม สารเบต้าแคโรทีน 876.12 RE วิตามินบี 1 0.31 มิลลิกรัม วิตามินบี 2  0.21 มิลลิกรัม ไนอาซีน 0.7 มิลลิกรัม และวิตามินซี 38 มิลลิกรัม

สรรพคุณของผักชีฝรั่ง

สำหรับการใช้ผีกชีฝรั่งมาใช้ประโยชน์ทางยา ทางสมุนไพร นั้น สามารถนำมาใช้ทุกส่วน แต่นิยมนำใบมาใช้บริโภค เป็นส่วนมาก รายละเอียดของสรรพคุณของผักชีฝรั่ง ส่วนต่างๆ มีดังนี้

  • ใบของผักชีฝรั่ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ลดอาการปวดหัว เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง ช่วยห้ามเลือด ช่วยบำรุงเลือด สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยบำรุงกำหนัด ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ ช่วยดับกลิ่นปาก ช่วยดับกลิ่นคาวอาหาร ช่วยเจริญอาหาร
  • ลำต้นของผักชีฝรั่ง ช่วยลดความดันโลหิต บำรุงการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้ทำงานปกติ ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงเส้นผม บำรุงเล็บ รักษาไข้มาลาเรีย ช่วยขับลม เป็นยาระบาย ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยรักษาผดผื่นคัน ช่วยฆ่าเชื้อโรค ช่วยแก้พิษงู ช่วยแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ช่วยบำรุงกำหนัด ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ
  • รากของผักชีฝรั่ง ช่วยกระตุ้นร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงกำหนัด ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ

โทษของผักชีฝรั่ง

ในผักชีฝรั่ง มีกรดออกซาลิกสูงมาก เป็นสาเหตุของการเกิดนิ่วในไต ทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และ เกิดปัญหาต่างๆ เช่น ปวดท้อง ปวดเอว ปัสสาวะติดขัด เป็นต้น สำหรับการบริโภคผักชีฝรั่งควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม ไม่กินมากเกินไป หรือ กินเยอะเกินไป และ สำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่แนะนำให้รับประทานผักชีฝรั่ง ผักชีฝรั่ง มีกลิ่นแรงมาก หากกินสดๆ ในปริมาณมาก อาจทำให้อาเจียนได้

ต้นผักชีฝรั่ง ภาษาอังกฤษ เรียก Stink weed หรือ Eryngium เป็นพืชที่คนไทยรุ้จักเป็นอย่างดี เนื่องจากกลิ่นหอมของผักชีฝรั่ง และสรรพคุณด้านสมุนไพร ของ ผักชีฝรั่ง มีมากมาย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ลดอาการปวดหัว เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง ช่วยห้ามเลือด ช่วยบำรุงเลือด สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยบำรุงกำหนัด ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ ช่วยดับกลิ่นปาก ช่วยดับกลิ่นคาวอาหาร ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดความดันโลหิต บำรุงการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้ทำงานปกติ ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงเส้นผม บำรุงเล็บ รักษาไข้มาลาเรีย ช่วยขับลม ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยรักษาผดผื่นคัน ช่วยฆ่าเชื้อโรค ช่วยแก้พิษงู ช่วยแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ช่วยกระตุ้นร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับปัสสาวะ

ผักชีฝรั่ง นิยมนำมาเป็นส่วนผสมของอาหารไทย หลายเมนูเช่น อาหารยำต่างๆ ต้มยำ ซุปหน่อไม้ ลาบหมู ลาบต่างๆ เป็นต้น สำหรับการปลูกผักชีฝรั่งในประเทศไทยนั้น นิยมปลูกมากในเขตภาคกลาง ตามจังหวัดนครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ราชบุรี นอกนั้นผักชีฝรั่งสามารถปลูกได้มากในทุกพื้นที่ ของประเทศไทย เรามานำเสนอ ความรู้ของเรื่องผักชีฝรั่งว่าเป็นอย่างไร ลักษณะของผักชีฝรั่ง สรรพคุูณของผักชีฝรั่ง การปลูกผักชีฝรั่ง เป็นต้น

การปลูกผักชีฝรั่ง

การปลูกผักชีฝรั่ง สามารถปลูกได้ด้วยการใช้เมล็ด เพาะในแปรงเพาะและย้ายลงแปรงใหญ่ รายละเอียดของการปลูกผักชีฝรั่ง มีดังนี้

  • การเตรียมแปลงปลูก ให้ยกร่องแปลงปลูกให้สูง เพื่อป้องกันการเกิดโรครากเน่า ควรไถดะ ให้ลึกประมาณ 1 ฟุต ตากดินให้แห้งประมาณ 1 สัปดาห์ กำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยคอก จากนั้น พรวนดินอีกครั้ง ความยาวของแปรงปลูกตามความเหมาะสมของพื้นที่ ให้ทำโรงเรือนหรือกางมุ้ง เนื่องจากผักชีฝรั่งไม่ชอบแสงแดดจัด
  • เพาะต้นกล้า ด้วยการหว่านเมล็ดพันธุ์ โดยทั่วไปเมล็ดผักชีฝรั่ง 1 ไร่ใช้เมล็ดพันธ์ 3 กิโลกรัม หว่านเมล็ดให้ทั่วแปลง และเกลี่ยดิยกลบเมล็ด จากนั้นรดน้ำ เมล็ดอ่อนจะงอกภายใน 15 วัน
  • การรดน้ำ ให้รดน้ำทุกวัน วันละ 1 ครั้ง รดน้ำให้ดินชุ่ม การใส่ปุ๋ย ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักเพื่อรักษาสภาพดิน
  • การย้ายต้นปลูก สามารถย้ายลงแปลงปลูก หลังจากอายุได้ 20 วัน ควรย้ายต้นผักชีฝรั่งให้มีระยะห่างระหว่างต้นอย่างเหมาะสม
  • การเก็บผลผลิต ผักชีฝรั่งจะเจริญเติบโต พร้อมสำหรับการรับประทาน เมื่ออายุประมาณ 45 ถึง 60 วัน

โรคและศัตรูพืชของผักชีฝรั่ง

สำหรับการปลูกผักชีฝรั่งต้องเข้าใจโรคและศัตรูของพืชชนิดนี้ คือ

  • โรคใบไม้ จะมีลักษณะใบเหลืองจากปลายใบ โรคนี้มักเกิดขึ้นในฤดูร้อน ป้องกันโรคใบไม้ได้โดยใช้เบนเลท ฉีดพ่น
  • โรคโคนเน่า จะมีลักษณะใบและลำต้นเหี่ยว เมื่อถอนออกมาพบว่ารากเน่า ให้แก้ปัญหาด้วยหารยกแปลงสูง และจัดให้มีร่องระบายน้ำ
  • หนอนกินใบ เป็นศัตรูพืชของผักชีฝรั่ง ซึ่งหนอนชนิดนี้จะระบาดในช่วงฤดูฝน
  • หอยทาก เป็นศัตรูพืชที่ระบาดในพื้นที่ ที่มีหญ้ารก และปลูกในที่ร่ม

ผักชีฝรั่ง ( Culantro ) พืชสวนครัว ประโยชน์ของผักชีฝรั่ง คุณค่าทางโภชนาการของผักชีฝรั่ง สรรพคุณของผักชีฝรั่ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของร่างกาย บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันมะเร็ง ลดอาการปวดหัว เป็นยาระบายอ่อนๆ ลักษณะทางพฤษศาสตร์ของผักชีฝรั่ง

พยาธิใบไม้ในปอด ( Paragonimus ) ปอดติดเชื้อเกิดจากการพยาธิใบไม้ใน ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เสมหะมีสีเขียวข้น เสมหะมีพยาธิปน เกิดจากการกินอาหารดิบ

โรคพยาธิใบไม้ในปอด โรคพยาธิ โรคปอด โรคในทรงอก

อาการของโรคพยาธิใบไม้ในปอด อาการสำคัญคือ ไอเรื้อรัง และไอเป็นเลือด เกิดจากการติดพยาธิจากการกินอาหาร กินปูดิบ กินกุ้งดิบ เช่น ปูน้ำตก ปูลำห้วย ปูป่า กุ้งฝอย นอกจากไอแล้ว เสมหะจะมีสีเขียวข้น บางครั้งอาจมีพยาธิออกมากับเสมหะ หากไม่รักษาอาจ ทำให้พยาธิขึ้นสมอง มีอาการชัก สายตาผิดปรกติ  มีอาการบวมเหมือนคนเป็นดรคพยาธิตัวจี๊ด ทำความรู้จักกับ โรคพยาธิใบไม้ในปอด ว่า เกิดจากสาเหตุอะไร รักษาอย่างไร และต้องดูแลอย่างไร

โรคพยาธิใบไม้ปอด ชนิดพาราโกนิมัส หรือภาษาอังกฤษ เรียก Paragonimus เกิดจากการพยาธิใบไม้ ชื่อ Paragonimus westermani ที่อาศัยอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อย่าง หมา แมว เป็นต้น เมื่อพยาธิตัวนี้เข้าสู่ร่างกายคน จะเข้าสู่ปอด ทำให้มีอาการไอเรื้อรังและไอเป็นเลือดได้ ซึ่งพยาธิใบไม้ชนิดนี้ สามารถแพร่ระบาดสู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้โดย การรับประทานอาหารประเภทปูและกุ้งน้ำจืดบางชนิด แบบดิบๆ ซึ่งโรคนี้สามารถพบได้ในประเทศเขตร้อน แถบเอเชีย อเมริกาใต้และแอฟริกา สำหรับประเทศไทยนั้น พบว่ามีรายงานผู้ป่วยในจังหวัดเพชรบรูณ์ สระบุรี นครนายก เชียงราย น่าน เลย ราชบุรี เป็นพยาธิชนิดพาราโกนิมัส เฮเทอโรทรีมัส (Paragonimus heterotremus)

สาเหตุของการติดพยาธิใบไม้ในปอด

สาเหตุหลักของการติดพยาธิใบไม้ในปอดนั้น เกิดจาก การมีพยาธิใบไม้ที่มีการอาศัยในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น เสือ พังพอน ซึ่งโรคพยาธิชนิดนี้ ผู้ป่วยบางรายกลืนเสมหะลงไป ทำให้ไข่พยาธิที่จะขับออกมากับเสมหะ สามารถออกมากับอุจจาระ และลงสู่แหล่งน้ำะรรมชาติ สัตว์น้ำ อย่าง ปู และกุ้ง กินต่อ ทำให้เกิดการแพร่ระบาดได้ง่าย ภายใน 30 วัน ไข่พยาธิสามารถฟักตัวได้ และเจริญเติบโตต่อในร่างกายของสัตว์เหล่านั้น เมื่อมนุษย์จับสัตว์แหล่านั้นมาทำอาหาร โดยไม่มีการปรุงอาหารให้สุก ก่อน ก็จะรับไข่พยาธิเข้าสู่ร่างกาย

สำหรับการรับไข่พยาธิเข้าสู่ร่างกายและจะเกิดโรคพยาธิใบไม้ในปอดนั้น มีระยะของการเกิดโรค ยาวนานถึง 20 ปี เนื่องจากในชีวิตประจำวันของสัตว์ที่มีไข่ของพยาธืนั้น เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของพยาธิใบไม้ในตับได้

ระยะของการติดต่อ

ซึ่งระยะของการติดโรคนั้น มี 2 ระยะคือ ระยะฟักตัวและระยะติดต่อ รายละเอียดของระยะต่างๆ มีดังนี้

  • ระยะฟักตัวของโรค ในระยะนี้กินเวลา ประมาณ 45 วัน นับตั้งแต่พยาธิใบไม้เข้าสู่ร่างกาย จากนั้นเจริยเติบโตเป็นตัวเต็มวัยและสามารถผสมพันธ์และออกไข่ได้
  • ระยะติดต่อของโรค ในระยะนี้สามารถกินเวลาได้มากกว่า 20 ปี เนื่องจากหากมีพยาธิใบไม้เจริญเติบดตในร่างกายแล้ว เกิดการขยายพันธ์ แต่การติดต่อของพยาธิจะไม่ติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์โดยตรง แต่การติดต่อนั้นต้องอาศัยตัวกลางเป็นพาหะ เช่น กุ้ง หอยและปู เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ในปอด

ลักษณะอาการของโรค มีความเหมือนกับโรควัณโรค คือ อาการไอแบบเรื้อรัง มีเสมหะเหนียวข้น อาจมีโลหิตปนออกมากับเสมหะ รวมถึงไอเป็นเลือด และสามารถพบพยาธิออกมากับเสมหะได้ ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บที่หน้าอก หากไม่เข้ารับการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของโรคและรับการรักษาอย่างทันท่วงที จะทำให้ พยาธิขึ้นสมอง หากพยาธิเข้าสมองแล้ว ผู้ป่วยจะปวดหัว มีอาการเหมือนผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง มีอาการชัก เป็นลมบ้าหมู ระบบสายตาผิดปกติ มีหนอนพยาธิอาศัยอยู่ใต้ผิวหนัง จะรู้สึกเหมือนเป็น โรคพยาธิตัวจี๊ด

สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรค สามารถทำได้โดยการ สังเกตุอาการของผู้ป่วย ตรวจเสมหะและตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่ของพยาธิ เอ็กซเรย์ปอดเพื่อดูความผิดปรกติของปอด เป็นต้น

การรักษาโรคพยาธิใบไม้ในปอด

สามารถทำการรักษาได้โดยการใช้ยา แต่การใช้ยาจะมีอาการแทรกซ้อน บ้าง แต่ไม่เป็นอันตราย เช่น มีอาการท้องเดิน ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน โดยยาที่ใช้ในการรักษาโรคพยาธิใบไม้ในปอด คือ

  1. ยาไบไทโอนอล (Bithionol) ต้องให้ยานี้ในปริมาณ 30 ถึง 40 มิลลิกรัม ต่อ น้ำหนักตัวคน 1 กิโลกรัม โดยให้ยาวันเว้นวัน 10 ถึง 15 ครั้ง
  2. ยาไบทิน บิส (Bitins bis) ต้องให้ยาในปริมาณ 10 ถึง 20 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ให้ยาวันเว้นวัน 10 ถึง 15 ครั้ง
  3. ยาฟาซควอนเตล (Prazlquamtel) ต้องให้ยาในปริมาณ 25 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ให้วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลาติดต่อกัน 3 วัน

การควบคุมและป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในปอด

ลักษณะการป้องกันให้ทำเหมือนโรคพยาธิไส้เดือนและพยาธิใบไม้ในตับ โดยข้อควรปฏิบัติสำหรับการควบคุมและป้องกัน มีดังนี้

  1. ให้กำจัดเสมหะและอุจจาระของผู้ป่วยย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการขยายพันธ์ และแพร่เชื้อสู่สัตว์อื่นๆ เช่น ขุดหลุมฝังเสมหะและถ่ายอุจจาระให้ลึกๆ ไม่บ้วนเสมหะลงที่สาะารณะ ที่มีคนจำนวนมาก และแม่น้ำลำคลอง
  2. ทำลายสัตว์ที่เป็นพาหะตัวกลางนำโรค เช่น หอย ปู กุ้ง หนู พังพอน แต่การกำจัดนั้น เป็นไปได้ยาก สิ่งที่ดีที่สุดคือ การหลีกเลี้ยงในการสัมผัสและใกล้ชิดกับสัตว์ที่มีโอกาสเป็นพาหะของพยาธิ
  3. ไม่รับประทานอาหารพวกกุ้งและปูแบบดิบๆ

โรคพยาธิใบไม้ในปอด ( Paragonimus ) ภาวะการติเชื้อที่ปอด เกิดจากการพยาธิใบไม้ Paragonimus westermani ที่อาศัยอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมา แมว เป็นต้น เมื่อพยาธิตัวนี้เข้าสู่ร่างกายคน เข้าสู่ปอด ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เสมหะมีสีเขียวข้น เสมหะมีพยาธิปน เกิดจากการกินอาหารดิบ ปูดิบ กุ้งดิบ โรคติดต่อ สาเหตุ การรักษา ต้องดูแลอย่างไร