หลอดลมอักเสบ ( Bronchitis ) เกิดจากการติดเชื้อ อาการไอ มีเสมหะ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ หายใจเสียงดัง พบบ่อยในเด็ก ผลข้างเคียงจากภูมิแพ้ หืดหอบ สูบบุหรี่โรคหลอดลมอักเสบ โรคติดเชื้อ โรคทางเดินหายใจ โรคติดต่อ

หลอดลมอักเสบ ภาษาอังกฤษ เรียก Bronchitis เป็นโรคติดเชื้อที่หลอดลม เกิดกับเด็กเป็นส่วนมาก โรคนี้เป็นการการติดเชื้อบริเวณหลอดลม เป็นอวัยวะที่อยู่ลึกลงไปจากกล่องเสียงไปยังปอดส่วนล่าง โรคหลอดลมอักเสบ เป็นโรคที่พบบ่อย กล่าวได้ว่า เป็น โรคเด็ก คนช่วยอายุ 9 ถึง 15 ขวบ มีอัตราการเกิดโรคนี้มากที่สุด

สาเหตุของการเกิดโรคหลอดลมอักเสบ

เราสามารถแยกสาเหตุของโรคหลอดลมอักเสบได้ 2 กรณี คือ หลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลัน และหลอดลมอักเสบแบบเรื้อรัง รายละเอียด ดังนี้

  • สาเหตุของหลอดลมอักเสบ ชนิดเฉียบพลัน เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น rhinovirus, adenovirus, corona virus, influenza virus, parainfluenza virus, respiratory syncytial virus (RSV) เป็น ชนิดเหมือนกับไข้หวัด หลอดลมอักเสบชนิดนี้ จะเกิดหลังจากเป็นไข้หวัด หากไม่รักษาอย่างถูกต้อง การติดเชื้อลามไปสู่หลอดลม  หากเป็นหวัด และมีอาการไอ มีเสมหะ นานกว่า 7 วัน มีโอกาสเกิดโรคหลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลัน
  • สาเหตุของหลอดลมอักเสบ ชนิดเรื้อรัง เป็นการอักเสบจากโรคภูมิแพ้ โรคหืดหอบ หรือการสูบบุหรี่ เป็นลักษณะปอดอุดตัน สังเกตุ คือ จะมีอาการไอ โดยมีเสมหะ นานกว่า 90 วัน นอกจากโรคภูมิแพ้ หืดหอบ การสูบบุหรี่แล้ว การสัมผัสกับมลพิษทางอากาศบ่อยๆ เช่น ฝุ่น ควัน หรือ สารเคมี มีมีการระเหยได้

อาการของโรคหลอดลมอักเสบ

โรคหลอดลมอักเสบ เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุของหลอดลม เมื่อเกิดการอักเสบ ส่งผลให้ เยื่อบุหลอดลมบวม มีเสมหะในหลอดลม มีอาการไอ มีเสมหะ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ หายใจมีเสียงดัง ในบางราย จะมีอาการ แสบคอ เจ็บคอ หรือเจ็บหน้าอก ผู้ป่วยจะมีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว

เราสามารถแยกอาการให้เห้นอย่างชัดเจนได้ดังนี้

  • มีอาการไอแบบเรื้อรัง ในช่วงเวลา 14 วันโดยไม่หาย
  • มีเลือดปน จากการไอ
  • มีไข้ ไอ และเหนื่อยหอบ
  • มีอาการไออย่างมาก
  • มีอาการเจ็บหน้าอก เวลาไอ หายใจ หรือ การเคลื่อนไหวทรวงอก
  • เกิดอาการหอบเหนื่อยทันที หลังจากการไอ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดลมอักเสบ

โรคหลอดลมอังเสบ หากไม่รักษาอย่างถูกวิธี อาจทำให้เกิดการอักเสบลามไปถึงปอด เช่น เกิดปอดอักเสบ หรือโรคถุงลมโป่งพองได้

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดลมอักเสบ

สำหรับการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคนี้ โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ฟังเสียงปอด ฟังเสียงหลอดลม การที่เสมหะมีสีขาว หรือสีเขียว ตรวจภาพรังสีทรวงอก

การรักษาโรคหลอดลมอักเสบ

หากป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบ ชนิดเฉียบพลัน ร่างกายสามารถรักษาให้หายได้ภายใน 10 วัน การรักษานั้น สามารถตัว โดยไม่จำเป็นต้องรับประทานยาต้านจุลชีพ การปฏิบัติตนเพื่อรักษาโรคหลอดลมอักเสบ มีดังนี้

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆ เนื่องจาก น้ำอุ่นช่วยละลายเสมหะได้ดีที่สุด
  • หลีกเลี่ยงการระคายเคืองหลอดลม เช่น การสูบบุหรี่ การสูดดมควัน และทุกอย่างที่ระคายเคืองหลอดลม
  • หลีกเลี่ยงอากาศเย็นและอากาศแห้ง เนื่องจากอากาศเย็น จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ ส่งผลให้ไอมากขึ้น
  • ให้รักษาความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย เช่น ห่มผ้า ใส่ถุงเท้า ใส่หมวก หรือพันผ้าพันคอ

การรักษาโรคหลอดลมอักเสบ นั้น ต้องหาสาเหตุของการเกิดโรคหลอดลมอักเสบ เนื่องจากจะช่วยให้เราสามารถป้องกันและรักษาอย่างเร็วที่สุด การรักษาจากการปฏิบัติตัว สามารถทำควบคู่กับการรักษาตามอาการโรค ด้วยยารักษาโรค เช่น ยาลดไข้ ยาละลายเสมหะ ยาขยายหลอดลม

หากเกิดโรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง แสดงว่าร่างกายเกิดการติดเชื้อโรค ซึ่งเราต้องหาเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคให้เจอ และรับประทานยาป้องกันจุลชีพ ยาต้านจุลชีพ สามารถใช้ได้หากผู้ป่วยไม่แพ้ยา โรคหลอดลมอักเสบ ชนิดเรื้อรัง ต้องรักษาตามสาเหตุ อาจใช้ยาลดการอักเสบของหลอดลม  ยาขยายหลอดลม และหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม

การป้องกันการเกิดโรคหลอดลมอักเสบ

การป้องกันการเกิดโรคให้ลดปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการระคายเคืองหลอดลมทั้งหมด รายละเอียด ดังนี้

  • ควรหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้ร่างกายเย็น
  • อย่าเครียด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากจำเป็นต้องสัมผัสอากาศเย็น ให้ใส่เครื่องที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการสูดดม ควัน กลิ่นฉุน ควันบุหรี่ สารเคมี ฝุ่นและสารระคายเคืองต่างๆ

โรคหลอดลมอักเสบ ( Bronchitis ) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส อาการไอ มีเสมหะ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ หายใจมีเสียงดัง พบบ่อยในเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี เป็นผลข้างเคียงของโรค เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหืดหอบ หรือ การสูบบุหรี่

พยาธิใบไม้ในปอด ( Paragonimus ) ปอดติดเชื้อเกิดจากการพยาธิใบไม้ใน ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เสมหะมีสีเขียวข้น เสมหะมีพยาธิปน เกิดจากการกินอาหารดิบ

โรคพยาธิใบไม้ในปอด โรคพยาธิ โรคปอด โรคในทรงอก

อาการของโรคพยาธิใบไม้ในปอด อาการสำคัญคือ ไอเรื้อรัง และไอเป็นเลือด เกิดจากการติดพยาธิจากการกินอาหาร กินปูดิบ กินกุ้งดิบ เช่น ปูน้ำตก ปูลำห้วย ปูป่า กุ้งฝอย นอกจากไอแล้ว เสมหะจะมีสีเขียวข้น บางครั้งอาจมีพยาธิออกมากับเสมหะ หากไม่รักษาอาจ ทำให้พยาธิขึ้นสมอง มีอาการชัก สายตาผิดปรกติ  มีอาการบวมเหมือนคนเป็นดรคพยาธิตัวจี๊ด ทำความรู้จักกับ โรคพยาธิใบไม้ในปอด ว่า เกิดจากสาเหตุอะไร รักษาอย่างไร และต้องดูแลอย่างไร

โรคพยาธิใบไม้ปอด ชนิดพาราโกนิมัส หรือภาษาอังกฤษ เรียก Paragonimus เกิดจากการพยาธิใบไม้ ชื่อ Paragonimus westermani ที่อาศัยอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อย่าง หมา แมว เป็นต้น เมื่อพยาธิตัวนี้เข้าสู่ร่างกายคน จะเข้าสู่ปอด ทำให้มีอาการไอเรื้อรังและไอเป็นเลือดได้ ซึ่งพยาธิใบไม้ชนิดนี้ สามารถแพร่ระบาดสู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้โดย การรับประทานอาหารประเภทปูและกุ้งน้ำจืดบางชนิด แบบดิบๆ ซึ่งโรคนี้สามารถพบได้ในประเทศเขตร้อน แถบเอเชีย อเมริกาใต้และแอฟริกา สำหรับประเทศไทยนั้น พบว่ามีรายงานผู้ป่วยในจังหวัดเพชรบรูณ์ สระบุรี นครนายก เชียงราย น่าน เลย ราชบุรี เป็นพยาธิชนิดพาราโกนิมัส เฮเทอโรทรีมัส (Paragonimus heterotremus)

สาเหตุของการติดพยาธิใบไม้ในปอด

สาเหตุหลักของการติดพยาธิใบไม้ในปอดนั้น เกิดจาก การมีพยาธิใบไม้ที่มีการอาศัยในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น เสือ พังพอน ซึ่งโรคพยาธิชนิดนี้ ผู้ป่วยบางรายกลืนเสมหะลงไป ทำให้ไข่พยาธิที่จะขับออกมากับเสมหะ สามารถออกมากับอุจจาระ และลงสู่แหล่งน้ำะรรมชาติ สัตว์น้ำ อย่าง ปู และกุ้ง กินต่อ ทำให้เกิดการแพร่ระบาดได้ง่าย ภายใน 30 วัน ไข่พยาธิสามารถฟักตัวได้ และเจริญเติบโตต่อในร่างกายของสัตว์เหล่านั้น เมื่อมนุษย์จับสัตว์แหล่านั้นมาทำอาหาร โดยไม่มีการปรุงอาหารให้สุก ก่อน ก็จะรับไข่พยาธิเข้าสู่ร่างกาย

สำหรับการรับไข่พยาธิเข้าสู่ร่างกายและจะเกิดโรคพยาธิใบไม้ในปอดนั้น มีระยะของการเกิดโรค ยาวนานถึง 20 ปี เนื่องจากในชีวิตประจำวันของสัตว์ที่มีไข่ของพยาธืนั้น เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของพยาธิใบไม้ในตับได้

ระยะของการติดต่อ

ซึ่งระยะของการติดโรคนั้น มี 2 ระยะคือ ระยะฟักตัวและระยะติดต่อ รายละเอียดของระยะต่างๆ มีดังนี้

  • ระยะฟักตัวของโรค ในระยะนี้กินเวลา ประมาณ 45 วัน นับตั้งแต่พยาธิใบไม้เข้าสู่ร่างกาย จากนั้นเจริยเติบโตเป็นตัวเต็มวัยและสามารถผสมพันธ์และออกไข่ได้
  • ระยะติดต่อของโรค ในระยะนี้สามารถกินเวลาได้มากกว่า 20 ปี เนื่องจากหากมีพยาธิใบไม้เจริญเติบดตในร่างกายแล้ว เกิดการขยายพันธ์ แต่การติดต่อของพยาธิจะไม่ติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์โดยตรง แต่การติดต่อนั้นต้องอาศัยตัวกลางเป็นพาหะ เช่น กุ้ง หอยและปู เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ในปอด

ลักษณะอาการของโรค มีความเหมือนกับโรควัณโรค คือ อาการไอแบบเรื้อรัง มีเสมหะเหนียวข้น อาจมีโลหิตปนออกมากับเสมหะ รวมถึงไอเป็นเลือด และสามารถพบพยาธิออกมากับเสมหะได้ ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บที่หน้าอก หากไม่เข้ารับการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของโรคและรับการรักษาอย่างทันท่วงที จะทำให้ พยาธิขึ้นสมอง หากพยาธิเข้าสมองแล้ว ผู้ป่วยจะปวดหัว มีอาการเหมือนผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง มีอาการชัก เป็นลมบ้าหมู ระบบสายตาผิดปกติ มีหนอนพยาธิอาศัยอยู่ใต้ผิวหนัง จะรู้สึกเหมือนเป็น โรคพยาธิตัวจี๊ด

สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรค สามารถทำได้โดยการ สังเกตุอาการของผู้ป่วย ตรวจเสมหะและตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่ของพยาธิ เอ็กซเรย์ปอดเพื่อดูความผิดปรกติของปอด เป็นต้น

การรักษาโรคพยาธิใบไม้ในปอด

สามารถทำการรักษาได้โดยการใช้ยา แต่การใช้ยาจะมีอาการแทรกซ้อน บ้าง แต่ไม่เป็นอันตราย เช่น มีอาการท้องเดิน ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน โดยยาที่ใช้ในการรักษาโรคพยาธิใบไม้ในปอด คือ

  1. ยาไบไทโอนอล (Bithionol) ต้องให้ยานี้ในปริมาณ 30 ถึง 40 มิลลิกรัม ต่อ น้ำหนักตัวคน 1 กิโลกรัม โดยให้ยาวันเว้นวัน 10 ถึง 15 ครั้ง
  2. ยาไบทิน บิส (Bitins bis) ต้องให้ยาในปริมาณ 10 ถึง 20 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ให้ยาวันเว้นวัน 10 ถึง 15 ครั้ง
  3. ยาฟาซควอนเตล (Prazlquamtel) ต้องให้ยาในปริมาณ 25 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ให้วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลาติดต่อกัน 3 วัน

การควบคุมและป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในปอด

ลักษณะการป้องกันให้ทำเหมือนโรคพยาธิไส้เดือนและพยาธิใบไม้ในตับ โดยข้อควรปฏิบัติสำหรับการควบคุมและป้องกัน มีดังนี้

  1. ให้กำจัดเสมหะและอุจจาระของผู้ป่วยย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการขยายพันธ์ และแพร่เชื้อสู่สัตว์อื่นๆ เช่น ขุดหลุมฝังเสมหะและถ่ายอุจจาระให้ลึกๆ ไม่บ้วนเสมหะลงที่สาะารณะ ที่มีคนจำนวนมาก และแม่น้ำลำคลอง
  2. ทำลายสัตว์ที่เป็นพาหะตัวกลางนำโรค เช่น หอย ปู กุ้ง หนู พังพอน แต่การกำจัดนั้น เป็นไปได้ยาก สิ่งที่ดีที่สุดคือ การหลีกเลี้ยงในการสัมผัสและใกล้ชิดกับสัตว์ที่มีโอกาสเป็นพาหะของพยาธิ
  3. ไม่รับประทานอาหารพวกกุ้งและปูแบบดิบๆ

โรคพยาธิใบไม้ในปอด ( Paragonimus ) ภาวะการติเชื้อที่ปอด เกิดจากการพยาธิใบไม้ Paragonimus westermani ที่อาศัยอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมา แมว เป็นต้น เมื่อพยาธิตัวนี้เข้าสู่ร่างกายคน เข้าสู่ปอด ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เสมหะมีสีเขียวข้น เสมหะมีพยาธิปน เกิดจากการกินอาหารดิบ ปูดิบ กุ้งดิบ โรคติดต่อ สาเหตุ การรักษา ต้องดูแลอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove