กระชาย หรือ ขิงจีน Finger root สมุนไพร ฉายา โสมไทย สรรพคุณช่วยขับลม บำรุงหัวใจ ปรับสมดุลย์ฮอร์โมนร่างกาย บำรุงกำลัง ช่วยเจริญอาหาร ทำความรู้จักกระชาย

กระชาย ขิงจีน โสมไทย สมุนไพร

กระชาย ภาษาอังกฤษ เรียก Fingerroot ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระชาย คือ  Boesecnergia pandurata ( Roxb. ) Schltr. ส่วนชื่อเรียกอื่นๆของกระชาย เช่น ว่านพระอาทิตย์ กระแอน ระแอน ขิงทราย จี๊ปู ซีฟู เป๊าะสี่ เป๊าซอเร้าะ เป็นต้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระชาย พบว่ามีสารอาหารสำคัญต่างๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และวิตามินหลายชนิด มีสรรพคุณยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ดี

กระชาย เป็นส่วนประกอบของยาสมุนไพรหลายตำรับ วงการแพทย์แผนไทยให้ฉายาว่าเป็น โสมไทย ลักษณะเด่นของกระชาย คือ เป็นพืชที่สะสมอาหารที่เหง้าอยู่ใต้ดิน กระชายมีลักษณะคล้ายกับรูปร่างมนุษย์เหมือนกับโสมเกาหลี

ชนิดของกระชาย

กระชายที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย มี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และ กระชายเหลือง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • กระชายดำ ลักษณะเด่น คือ เนื้อกระชายมีสีดำ รสชาติเผ็ดร้อน
  • กระชายแดง ลักษณะเด่นเนื้อกระชายสีเหลืองแกมส้ม คล้ายกับกระชายเหลือง
  • กระชายเหลือง ลักษณะเด่นเนื้อกระชายเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นิยมนำมาประกอบอาหาร

ลักษณะของต้นกระชาย

ต้นกระชาย เป็นพืชล้มลุก มีความสูงประมาณ 1 เมตร ใบมีกลิ่นหอม สามารถขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ ชอบดินที่ร่วนซุย การระบายน้ำได้ดี หรือ ดินเหนียว ลักษณะของต้นกระชาย มีดังนี้

  • เหง้ากระชาย ลักษณะมีเหง้าสั้นๆ เป็นหน่อรูปทรงกระบอกค่อนข้างยาว ผิวมีสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเนื้อในมีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
  • ใบกระชาย ลักษณะเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบเป็นรูปรี โคนใบมนหรือแหลม ปลายใบเรียวแหลม มีขอบเรียบ  ก้านใบยาว ใบเป็นสีเขียว
  • ดอกกระชาย ลักษณะดอกเป็นช่อ มีสีขาวหรือสีขาวอมชมพู กลีบดอกเป็นรูปใบหอก
  • ผลกระชาย ผลกระชาย ผลแก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่

สรรพคุณของกระชาย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระชายด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก เหง้า และ ใบ ของกระชย โดยสรรพคุณของกระชาย มีดังนี้

  • เหง้าของกระชาย สรรพคุณแก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้บิด แก้โรคกระเพาะ ช่วยขับปัสสาวะ ใช้รักษาริดสีดวงทวาร รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก
  • ใบของกระชาย สรรพคุณบำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆได้

โทษของกระชาย

การใช้ประโยชน์จากกระชายมีข้อควรระวัง เพื่อความปลอดภัย จำเป็นต้องใช้อย่างถูกวิธีและใช้ในปริมาณที่เหมาะสม โทษของกระชายมีรายละเอียด ดังนี้

  • กระชายมีฤทธิ์ร้อน ไม่ควรกินกระชายจำนวนมาก อาจทำให้เกิดแผลร้อนในที่ปากได้
  • ผู้ป่วยเกี่ยวกับตับ ไม่ควรกินกระชายในประมาณมาก กระชายมีผลต่อการทำงานของตับ

กระชาย หรือ ขิงจีน ( Fingerroot ) ฉายา โสมไทย สรรพคุณหลากหลาย เช่น ช่วยขับลม บำรุงหัวใจ เพิ่มสมรถภาพทางเพศ ปรับสมดุลย์ฮอร์โมนร่างกาย บำรุงกำลัง ช่วยให้เจริญอาหาร

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

หอมหัวใหญ่ นิยมนำมาทำอาหาร มีประโยชน์ด้านสมุนไพร สรรพคุณบำรุงเลือด บำรุงหัวใจ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ทำความรู้จักกับหอมหัวใหญ่ว่าเป็นอย่างไร

หอมหัวหใญ่ สรรพคุณหอมใหญ่ สมุนไพร

หอมหัวใหญ่ ภาษาอังกฤษ เรียก Onion ชื่อวิทยาศาสตร์ของหอมใหญ่ คือ Allium cepa L. สำหรับชื่อเรียกอ่ืนๆของหอมหัวใหญ่ เช่น หัวหอม หัวหอมใหญ่ หอมฝรั่ง หอมหัว เป็นต้น หอมหัวใหญ่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียกลาง และแหล่งผลิตหอมหัวใหย่ที่สำคัญของโลก ได้แก่ ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และประเทศอินเดีย นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน

หอมหัวใหญ่มีวิตามินซีสูง และสารอื่นๆ เช่น สารเคอร์ซีทิน สามารถช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระในร่างกาย สรรพคุณอื่นๆของหอมใหญ่ เช่น รักษาเบาหวาน รักษาโรคหัวใจ ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงระบบโลหิต ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ป้องกันโรคต่างๆได้ดี

ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่

ต้นหอมหัวใหญ่ เป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่ มีดังนี้

  • ต้นหอมใหญ่ มีความสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร มีหัวอยู่ใต้ดินคล้ายหัวหอม ลักษณะกลมป้อม มีเปลือกนอกบาง ๆ สีม่วงแดงหุ้มอยู่ แต่เมื่อแห้งแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
  • ใบหอมใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุก 3-4 ใบ ลักษณะเป็นรูปดาบ มีความกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร เส้นใบจีบตามยาวลักษณะคล้ายพัด
  • ดอกหอมใหญ่ ออกดอกเป็นช่อ แทงขึ้นมาจากลำต้นใต้ดิน กลีบดอกมีสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวใหญ่

สำหรับการบริโภคหอมหัวใหญ่นิยมรับประทานหัวหอมใหญ่ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวหอมใหญ่ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 40 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.34 กรัม น้ำตาล 4.24 กรัม กากใยอาหาร 1.7 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 1.1 กรัม น้ำ 89.11 กรัม วิตามินบี 1 0.046 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.027 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 0.116 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.123 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.12 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 19 ไมโครกรัม วิตามินซี 7.4 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม 23 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.21 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.129 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 29 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 146 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.17 มิลลิกรัม และ ธาตุฟลูออไรด์ 1.1 ไมโครกรัม

สรรพคุณของหอมหัวใหญ่

สำหรับการใช้ประโยชน์จากหอมหัวใหญ่ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากหัวหอมใหญ่ ซึ่งสรรพคุณของหอมหัวใหญ่ มีดังนี้

สามารป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ช่วยแก้การนอนไม่หลับได้ ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยกำจัดสารตะกั่วและโลหะหนักที่ปนเปื้อนมากับอาหาร ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงของอัมพาต ช่วยรักษาโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ช่วยในการขยายหลอดเลือด ช่วยทำให้เลือดไม่ไปอุดตันในหลอดหลอด ช่วยในการสลายลิ่มเลือดปกป้องหลอดเลือดเลี้ยงสมองเกิดการอุดตัน ลดความอ้วน ช่วยลดคอเลสเตอรอล ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความดันโลหิต แก้ความดันโลหิตสูง ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยรักษาไข้หวัด แก้หวัดคัดจมูก และช่วยลดน้ำมูก ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ หอมหืด คุณช่วยขับเสมหะได้ ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยแก้ท้องร่วง ช่วยขับพยาธิ ช่วยในการขับปัสสาวะ ช่วยแก้ลมพิษ ลดอาการปวดอักเสบ ช่วยฆ่าเชื้อโรค ช่วยรักษาผิวหนังที่ถูกน้ำร้อนลวกได้

 

โทษของหอมหัวใหญ่

สำหรับการรับประทานหอมหัวใหญ่ เพื่อการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคยังไม่พบรายงานว่าการกินหอมหัวใหญ่มีโทษ แต่มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากหอมหัวใหญ่ ดังนี้

  • หอมหัวใหญ่มีกลิ่นฉุนและมีน้ำมันหอมระเหย ทำให้ระคายเคืองดวงตาและหากผิวมีบาดแผลจะทำให้เกิดอาการแสบ
  • หอมหัวใหญ่เมีกลิ่นแรง อาจทำให้เกิดกลิ่นปาก ทำให้มีกลิ่นตัวแรงยิ่งขึ้น

วิธีปลูกหอมหัวใหญ่ สามารถปลูกได้จากการเพาะต้นกล้า โดยหว่านเมล็ดพันธุ์ให้ทั่วแปลงกล้า รดน้ำให้ทั่ว หลังจากที่เมล็ดงอกประมาณ 10-15 วัน ใช้หญ้าแห้งคลุมดินอย่าให้แปลงชื้น หรือร้อนเกินไป เมื่อกล้าอายุได้ 45 วัน ก็ย้ายเพื่อลงแปลงปลูก จัดเป็นแถว ห่างกัน 10 – 15 เซ็นติเมตร หมั่นพรวนดิน และกำจัดวัชพืช หลังจากย้ายกล้าลงแปลงปลูกประมาณ 90-100 วัน ก็ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove