ผักชีฝรั่ง ( Culantro ) สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย บำรุงกระดูกและฟัน เป็นยาระบายอ่อนๆ ต้นผักชีฝรั่งเป็นอย่างไรผักชีฝรั่ง สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของผักชีฝรั่ง

ผักชีฝรั่ง มีชื่อสามัญ ว่า Culantro หรือ Long coriander หรือ Sawtooth coriander ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชีฝรั่ง เรียก Eryngium foetidum L. เป็นพืชล้มลุก ตระกลูเดียวันกับผักชี สำหรับชื่อเรียกอื่นของผักชีฝรั่ง เช่น ผักชีดอย ผักจีดอย ผักจีฝรั่ง หอมป้อมกุลา หอมป้อมกูลวา ห้อมป้อมเป้อ มะและเด๊าะ  ผักชีใบเลื่อย  ผักหอมเทศ ผักหอมเป  หอมป้อม หอมเป  หอมน้อยฮ้อ  หอมป้อมเปอะ  เป็นต้น ชื่อเรียกอื่นๆ จะแตกต่างตามพื้นที่ แต่คือ พืชชนิดเดียวกัน

ต้นผักชีฝรั่ง มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ และเม็กซิโก ผักชีฝรั่ง มีสารสำคัญ คือ กรดออกซาลิก ( Oxalic acid ) ซึ่งกรดชนิดนี้ ทำให้เกิดนิ่วที่ไตและนิ่วที่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งอาการนิ้วนี้ จะส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการปวด ที่ท้อง เอว และปัสสาวะขัดได้ ดังนั้น ไม่แนะนำให้กินผักชีฝรั่งจำนวนมาก ติดต่อกัน หรือ รับประทานในปริมาณที่มากเกินไป รวมถึงไม่แนะนำให้ สตรีมีครรภ์รับประทานผักชีฝรั่ง

ลักษณะของผักชีฝรั่ง

ผักชีฝรั่งเป็นพืชอายุสั้น เป็นพืชล้มลุก ลักษณะของต้นผักชีฝรั่ง มีดังนี้

  • ลำต้นของผักชีฝรั่งเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน หรืออยู่เหนือดินไม่มาก ลักษณะเป็นกระเปราะกลม รากของผักชีฝรั่งเป็นรากแก้ว มีรากแขนงและรากฝอยอยู่รอบๆ
  • ใบของผักชีฝรั่ง ใบเป็นแทงยาว ออกมาจากเหง้าของลำต้น ใบยาวรี ปลายใบแหลม ขอบใบหยักฌฆฒ์ฮฯฟันเลื่อย ใบสีเขียวสด
  • ดอกของผักชีฝรั่ง จะแทงออกมาจากเหง้า เป็นก้านกลมยาวแข็ง ดอกมีสีขาว ผลและเมล็ดของผักชีฝรั่ง
  • ผลของผักชีฝรั่งจะมีเมล็ดจำนวนมาก เมื่อแก่ไปเมล็ดสามารถขยายพันธ์ฺได้ และการขยายพันธ์ของผักชีฝรั่งจะใช้การโน้มกิ่ง และเมล็ด

คุณค่าทางอาหารของผักชีฝรั่ง

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของผักชีฝรั่ง ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 32 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ดังนี้ กากใยอาหาร 1.7 กรัม ธาตุแคลเซียม 21 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.9 มิลลิกรัม สารเบต้าแคโรทีน 876.12 RE วิตามินบี 1 0.31 มิลลิกรัม วิตามินบี 2  0.21 มิลลิกรัม ไนอาซีน 0.7 มิลลิกรัม และวิตามินซี 38 มิลลิกรัม

สรรพคุณของผักชีฝรั่ง

สำหรับการใช้ผีกชีฝรั่งมาใช้ประโยชน์ทางยา ทางสมุนไพร นั้น สามารถนำมาใช้ทุกส่วน แต่นิยมนำใบมาใช้บริโภค เป็นส่วนมาก รายละเอียดของสรรพคุณของผักชีฝรั่ง ส่วนต่างๆ มีดังนี้

  • ใบของผักชีฝรั่ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ลดอาการปวดหัว เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง ช่วยห้ามเลือด ช่วยบำรุงเลือด สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยบำรุงกำหนัด ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ ช่วยดับกลิ่นปาก ช่วยดับกลิ่นคาวอาหาร ช่วยเจริญอาหาร
  • ลำต้นของผักชีฝรั่ง ช่วยลดความดันโลหิต บำรุงการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้ทำงานปกติ ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงเส้นผม บำรุงเล็บ รักษาไข้มาลาเรีย ช่วยขับลม เป็นยาระบาย ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยรักษาผดผื่นคัน ช่วยฆ่าเชื้อโรค ช่วยแก้พิษงู ช่วยแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ช่วยบำรุงกำหนัด ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ
  • รากของผักชีฝรั่ง ช่วยกระตุ้นร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงกำหนัด ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ

โทษของผักชีฝรั่ง

ในผักชีฝรั่ง มีกรดออกซาลิกสูงมาก เป็นสาเหตุของการเกิดนิ่วในไต ทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และ เกิดปัญหาต่างๆ เช่น ปวดท้อง ปวดเอว ปัสสาวะติดขัด เป็นต้น สำหรับการบริโภคผักชีฝรั่งควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม ไม่กินมากเกินไป หรือ กินเยอะเกินไป และ สำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่แนะนำให้รับประทานผักชีฝรั่ง ผักชีฝรั่ง มีกลิ่นแรงมาก หากกินสดๆ ในปริมาณมาก อาจทำให้อาเจียนได้

ต้นผักชีฝรั่ง ภาษาอังกฤษ เรียก Stink weed หรือ Eryngium เป็นพืชที่คนไทยรุ้จักเป็นอย่างดี เนื่องจากกลิ่นหอมของผักชีฝรั่ง และสรรพคุณด้านสมุนไพร ของ ผักชีฝรั่ง มีมากมาย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ลดอาการปวดหัว เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง ช่วยห้ามเลือด ช่วยบำรุงเลือด สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยบำรุงกำหนัด ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ ช่วยดับกลิ่นปาก ช่วยดับกลิ่นคาวอาหาร ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดความดันโลหิต บำรุงการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้ทำงานปกติ ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงเส้นผม บำรุงเล็บ รักษาไข้มาลาเรีย ช่วยขับลม ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยรักษาผดผื่นคัน ช่วยฆ่าเชื้อโรค ช่วยแก้พิษงู ช่วยแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ช่วยกระตุ้นร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับปัสสาวะ

ผักชีฝรั่ง นิยมนำมาเป็นส่วนผสมของอาหารไทย หลายเมนูเช่น อาหารยำต่างๆ ต้มยำ ซุปหน่อไม้ ลาบหมู ลาบต่างๆ เป็นต้น สำหรับการปลูกผักชีฝรั่งในประเทศไทยนั้น นิยมปลูกมากในเขตภาคกลาง ตามจังหวัดนครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ราชบุรี นอกนั้นผักชีฝรั่งสามารถปลูกได้มากในทุกพื้นที่ ของประเทศไทย เรามานำเสนอ ความรู้ของเรื่องผักชีฝรั่งว่าเป็นอย่างไร ลักษณะของผักชีฝรั่ง สรรพคุูณของผักชีฝรั่ง การปลูกผักชีฝรั่ง เป็นต้น

การปลูกผักชีฝรั่ง

การปลูกผักชีฝรั่ง สามารถปลูกได้ด้วยการใช้เมล็ด เพาะในแปรงเพาะและย้ายลงแปรงใหญ่ รายละเอียดของการปลูกผักชีฝรั่ง มีดังนี้

  • การเตรียมแปลงปลูก ให้ยกร่องแปลงปลูกให้สูง เพื่อป้องกันการเกิดโรครากเน่า ควรไถดะ ให้ลึกประมาณ 1 ฟุต ตากดินให้แห้งประมาณ 1 สัปดาห์ กำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยคอก จากนั้น พรวนดินอีกครั้ง ความยาวของแปรงปลูกตามความเหมาะสมของพื้นที่ ให้ทำโรงเรือนหรือกางมุ้ง เนื่องจากผักชีฝรั่งไม่ชอบแสงแดดจัด
  • เพาะต้นกล้า ด้วยการหว่านเมล็ดพันธุ์ โดยทั่วไปเมล็ดผักชีฝรั่ง 1 ไร่ใช้เมล็ดพันธ์ 3 กิโลกรัม หว่านเมล็ดให้ทั่วแปลง และเกลี่ยดิยกลบเมล็ด จากนั้นรดน้ำ เมล็ดอ่อนจะงอกภายใน 15 วัน
  • การรดน้ำ ให้รดน้ำทุกวัน วันละ 1 ครั้ง รดน้ำให้ดินชุ่ม การใส่ปุ๋ย ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักเพื่อรักษาสภาพดิน
  • การย้ายต้นปลูก สามารถย้ายลงแปลงปลูก หลังจากอายุได้ 20 วัน ควรย้ายต้นผักชีฝรั่งให้มีระยะห่างระหว่างต้นอย่างเหมาะสม
  • การเก็บผลผลิต ผักชีฝรั่งจะเจริญเติบโต พร้อมสำหรับการรับประทาน เมื่ออายุประมาณ 45 ถึง 60 วัน

โรคและศัตรูพืชของผักชีฝรั่ง

สำหรับการปลูกผักชีฝรั่งต้องเข้าใจโรคและศัตรูของพืชชนิดนี้ คือ

  • โรคใบไม้ จะมีลักษณะใบเหลืองจากปลายใบ โรคนี้มักเกิดขึ้นในฤดูร้อน ป้องกันโรคใบไม้ได้โดยใช้เบนเลท ฉีดพ่น
  • โรคโคนเน่า จะมีลักษณะใบและลำต้นเหี่ยว เมื่อถอนออกมาพบว่ารากเน่า ให้แก้ปัญหาด้วยหารยกแปลงสูง และจัดให้มีร่องระบายน้ำ
  • หนอนกินใบ เป็นศัตรูพืชของผักชีฝรั่ง ซึ่งหนอนชนิดนี้จะระบาดในช่วงฤดูฝน
  • หอยทาก เป็นศัตรูพืชที่ระบาดในพื้นที่ ที่มีหญ้ารก และปลูกในที่ร่ม

ผักชีฝรั่ง ( Culantro ) พืชสวนครัว ประโยชน์ของผักชีฝรั่ง คุณค่าทางโภชนาการของผักชีฝรั่ง สรรพคุณของผักชีฝรั่ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของร่างกาย บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันมะเร็ง ลดอาการปวดหัว เป็นยาระบายอ่อนๆ ลักษณะทางพฤษศาสตร์ของผักชีฝรั่ง

บัวหลวง ( Lotus ) สมุนไพร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยขยายหลอดเลือด ลดความดัน ชะลอการหลั่ง แต่ต้องกินปริมาณที่เหมาะสม ต้นบัวหลวงเป็นอย่างไรบัวหลวง สมุนไพร ต้นบัว ประโยชน์ของบัวหลวง

ต้นบัวหลวง เป็นสมุนไพร มีสรรพคุณ ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยขยายหลอดเลือด ลดความดันเลือด ซึ่งสรรพคุณเหล่านี้ ช่วยในการเพิ่มสมรรถภาพทางเพศของท่านชาย ช่วยชลอการหลั่งได้ หากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เรามาให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร ชื่อ บัวหลวง กันอย่างละเอียด ว่า บัวหลวงมีลักษณะทางพันธุศาสตร์อย่างไร สรรพคุณของบัวหลวงมีอะไรบ้าง

ต้นบัวหลวง ภาษาอังกฤษ เรียก Lotus มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Nelumbo nucifera Gaertn. ชื่อเรียกอื่นๆของบัวหลวง เช่น โกกระณต บัว บัวอุบล บัวฉัตรขาว บัวฉัตรชมพู บัวฉัตรสีชมพู บุณฑริก ปุณฑริก ปทุม ปัทมา สัตตบงกช สัตตบุษย์ เป็นต้น

ลักษณะของต้นบัวหลวง

ต้นบัวหลวง เป็นพืชล้มลุก อายุยืน อยู่ตามแหล่งน้ำ อยู่ในพื้นที่ ที่มีน้ำขัง รายละเอียดของต้นบัวหลวง มีลักษณะ ดังนี้

  • เหง้าของบัวหลวงอยู่ใต้ดิน ลักษณะของเหง้าจะเป็นท่อนยาว มีปล้อง สีเหลืองอ่อน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว ในระดับความลึกของน้ำที่ประมาณ  50 เซนติเมตร
  • การขยายพันธ์ของบัวหลวงใช้การขยายพันธ์โดยใช้เมล็ดและการแตกไหลบัว
  • ใบของบัวหลวง ใบลักษณะใบเดี่ยว กลมและมีขนาดใหญ่ ขอบของใบเรียบ จะมีก้านใบจะติดอยู่ตรงกลางของใบบัว อยุ่ด้านล่าง สำหรับก้านบัวจะมีหนาม
  • ดอกบัวหลวง ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว มีสีขาว สีชมพู ดอกบัวมีกลิ่นหอม ในดอกจะมีเกสรตัวผู้สีเหลืองอยู่เป็นจำนวนมาก และล้อมรอบอยู่บริเวณฐานรองดอก เราเรียกส่วนฐานนั้นว่า “ฝักบัว”ภายในฝักบัวจะมีเม็ดบัว
  • ฝักบัวหลวง จะมีผลอ่อนสีเขียว ในฝักบัวจะมีผลบัว เมื่อฝักบัวแก่ เม็ดบัวจะขยาย สำหรับดีบัว คือ ส่วนของต้นอ่อนที่อยู่ในเม็ดบัว

คุณค่าทางโภชนาการของบัวหลวง

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของรากบัวหลวง ขนาด 100 กรัม นั้นให้พลังงาน พลังงาน 66 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย สารอาหาร คาร์โบไฮเดรต 16 กรัม น้ำ 81 กรัม น้ำตาล 0.5 กรัม เส้นใยอาหาร 3 กรัม ไขมัน 0.07 กรัม โปรตีน 1.5 กรัม วิตามินบี1 0.127 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.01 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.3 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.3 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี9 8 ไมโครกรัม โคลีน 25 มิลลิกรัม วิตามินซี 27 มิลลิกรัม แคลเซียม 26 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.9 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 22 มิลลิกรัม แมงกานีส 0.22 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 78 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 36 มิลลิกรัม โซเดียม 45 มิลลิกรัม และสังกะสี 0.33 มิลลิกรัม

สรรพคุณของบัวหลวง

การนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์นั้น สามารถนำมาใช้ได้ทุกส่วน ประกอบด้วย ทั้งต้น รากและเหง้า ใบบัว เม็ดบัวหลวง ดีบัว ดอกบัว รายละเอียด ดังนี้

  • สรรพคุณของต้นบัวหลวงทั้งต้น ใช้แก้พิษ ช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด
  • สรรพคุณของรากบัวและเหง้าบัว ช่วยห้ามเลือด ช่วยรักษาแผลพุพอง ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการท้องร่วง ช่วยขับเสมหะ
  • สรรพคุณของฝักบัวหลวง ใช้แก้พิษเห็ดเมา ช่วยสมานแผลในมดลูก แก้ไอ เป็นยาชูกำลัง
  • สรรพคุณของใบบัว นำมาใช้แก้อาการบวม อาการอักเสบ
  • สรรพคุณของเม็ดบัวหลวง ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี  ช่วยบำรุงไขข้อและเส้นเอ็น รักษาโรคเกี่ยวกับข้อกระดูก ช่วยแก้อาการน้ำกามเคลื่อน ลดอาการฝันเปียก ช่วยรักษาแผลพุพอง ช่วยบำรุงไต บำรุงม้าม บำรุงตับ ช่วยแก้อาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ รักษาอาการท้องร่วง ช่วยขับเสมหะ เป็นยาบำรุงหัวใจ ช่วยบำรุงประสาทและสมอง เป็นยาชูกำลัง
  • สรรพคุณของดีบัว ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี ช่วยแก้อาการน้ำกามเคลื่อน ลดอาการฝันเปียก ช่วยแก้อหิวาตกโรค ช่วยบำรุงถุงน้ำดี ช่วยแก้อาการอาเจียนเป็นเลือด ช่วยรักษาการติดเชื้อในช่องปาก ช่วยทำให้เส้นเลือดขยาย
  • สรรพคุณของดอกบัวหลวง ช่วยทำให้คลอดบุตรง่าย  ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี  ช่วยแก้อาการช้ำใน ช่วยแก้อาการผดผื่นคัน ช่วยห้ามเลือด ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับเสมหะ ช่วยลดไข้ เป็นยาบำรุงหัวใจ
    ฝักบัวหลวง ช่วยขับรกออกมาให้เร็วขึ้น

คำแนะนำสำหรับการนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์
การนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์นั้นมีข้อแนะนำเกี่ยวกับการเลือกซื้อและการนำเอาบัวหลวงมาใช้ประโยชน์ ซึ่งรายละเอียดมี ดังนี้

  • บัวหลวงมีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็งได้ แต่บัวหลวงที่มีขายในประเทศไทยนั้นมีหลายแหล่ง เช่นประเทศจีน ซึ่งบัวหลวงของจีนนั้นจะมีขนาดของเมล็ดที่ใหญ่กว่าบัวหลวงของไทย แต่คุณค่าทางอาหารบัวหลวงของไทยมีคุณค่ามากกว่าบัวหลวงของจีนหลายเท่า
  • การรับปรัทานสารสกัดจากบัวหลวงนั้นต้องระวังอาจมีสารเจือปนที่มีพิษต่อร่างกายได้ การรับประทานบัวหลวงให้ได้ประโยชน์สูงสุดควรรับประทานสดๆจากต้น
  • การเลือกซื้อบัวหลวงนั้น ควรเลือกซื้อบัวที่สดและมีเมล็ดขนาดใหญ่ สีเขียวอ่อน
  • การเลือกซื้อเม็ดบัวอบแห้ง ควรระวังสิ่งเจือปนที่ไม่สะอาด เช่น ฝุ่นละออง กลิ่นสาบ กลิ่นเหม็นหืน ขั้วเม็ดดำคล้ำ เป็นต้น
  • หากต้องการให้สรรพคุณของเม้ดบัวมากขึ้น ให้นำเม็ดบัวมาปรุงอาหารร่วมกับลำไยอบแห้ง
  • สำหรับผู้ที่แพ้เกสรดอกไหม้ ให้ระวังเรื่องการบริโภคบัวหลวง เนื่องจากบัวหลวงมีเกสรดอกไม้
  • บัวหลวงทำให้ท้องผูก ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเรื่องการขับถ่ายไม่ควรบริโภคบัวหลวง

บัวหลวง ( Lotus ) สมุนไพร ประโยชน์ของบัวหลวง สรรพคุณของบัวหลวง บำรุงร่างกาย ช่วยขยายหลอดเลือด ลดความดันช่วยชลอการหลั่ง แต่ต้องกินปริมาณที่เหมาะสม ลักษณะของต้นบัวหลวงเป็นอย่างไร ต้นบัวหลวง คำแนะนำสำหรับการนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove