หลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระราชวุฒาจารย์ ศาสนภารธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆราม คามวาสี กำเนิดวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2431 ตรงกับแรม 2 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ณ หลวงปู่อายุ 96 ปีหลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระกรรมฐาน ประวัติพระ ธรรมะ

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล  เป็นบุตร ของ นายแดง และ นางเงิม ดีมาก กำเนิดวัน วันพฤหัสบดี ที่  4 ตุลาคม พ.ศ. 2431  ตรงกับ แรม 2 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ณ ขณะนั้น รัชกาลที่ 5 ทรงครองราชย่างเข้าปีที่ 30 หลวงปู่ดูลย์ อายุ ยืนยาวถึง 96 ปี

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล มี พี่น้อง รวมกัน 5 คน หลวงปู่ เป็น บุตร คนที่ 2 โดย พี่สาวชื่อนางกลิ้ง น้องชาย ชื่อ นายเคน  น้องสาวชื่อ นางรัตน์  และ น้องสาวคนสุดท้าย ชื่อ นางทอง

เมื่อ หลวงปู่ดุลย์ อุตโล อายุได้ 22 ปี ได้ ขออนุญาต จากพ่อและแม่ เพื่อบวช ศึกษาพระศาสนา ในครั้งนั้น ตระกูลเจ้าเมืองที่เคยชุบเลี้ยง หลวงปู่ ได้เป็น เจ้าภาพ ช่วยเรื่องการบวช ให้ครบถ้วนทุกอย่างสมบูรณ์แบบ ท่าน ได้บวช ที่ พัทธสีมา วัดจุมพลสุทธาวาส  ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์  โดยมี  พระครูวิมลสีลพรต ( ทอง ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่าน พระครูบึก เป็น พระกรรมวาจาจารย์ ท่านพระครูฤทธิ์ เป็น พระอนุสาวนาจารย์ ท่าน ได้รับฉายาว่า “ อตุโล ” ที่ หมายถึง ผู้ไม่มีใครเทียบได้

ประวัติด้านการปกครองคณะสงฆ์

  • พ.ศ. 2478 ได้รับแต่งตั้ง เป็น เจ้าคณะ แขวงรัตนบุรี
  • พ.ศ. 2480 ได้รับแต่งตั้ง เป็น พระอุปัชฌาย์ สามัญฝ่ายธรรมยุตินิกาย
  • พ.ศ. 2493 ได้รับแต่งตั้ง เป็น เจ้าคณะ อำเภอเมืองสุรินทร์ ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย
  • พ.ศ. 2501 ได้รับแต่งตั้ง เป็น เจ้าคณะ จังหวัดสุรินทร์ ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย

สมณศักดิ์

  • พ.ศ. 2479 ได้รับแต่งตั้ง เป็น พระครูสัญญาบัตร ที่ พระครูรัตนากรวิสุทธิ์
  • พ.ศ. 2504 ได้รับแต่งตั้ง เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระรัตนากรวิสุทธิ์ วินยานุยุตต์ ธรรมิกคณิสสร
  • พ.ศ. 2522 ได้รับแต่งตั้ง เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชวุฒาจารย์ ศาสนภารธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆราม คามวาสี

คำสอน หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ธรรมะครูบาอาจารย์

วิธีการเจริญภาวะนา ธรรมะครูบาอาจาร์ย หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระราชวุฒาจารย์ ศาสนภารธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆราม คามวาสี เป็นบุตร นายแดง นางเงิม ดีมาก กำเนิดวันที่  4 ตุลาคม พ.ศ. 2431  ตรงกับแรม 2 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ณ หลวงปู่ดูลย์อายุยืนยาวถึง 96 ปี

โรคท้าวแสนปม ( Neurofibromatosis ) มีตุ่มและติ่งเนื้อขึ้นตามร่างกายจำนวนมาก เกิดจากความผิดปรกติของโครโมโซมคู่ที่ 22 ทำให้ผิวหนังผิดปรกติ ลำบากในการใช้ชีวิตโรคท้าวแสนปม โรคผิวหนังผิดปกรติ โรคไม่ติดต่อ สาเหตุของโรคท้าวแสนปม

ท้าวแสนปม ภาษาอังกฤษ เรียก Neurofibromatosis ผู้ป่วยมีอาการ คือ มีตุ่มและติ่งเนื้อขึ้นตามร่างกายจำนวนมาก สามารถพบได้ในคน 50000 คน พบว่ามีผู้ป่วยโรคท้าวแสนปม 1 คน โรคนี้สร้างปัญหากับมนุษย์ในเรื่องการเข้าสังคม สร้างความลำบากในการใช้ชีวิต จากการศึกษาของแพทย์ เกิดจากความผิดปรกติของโครโมโซม คู่ที่ 22 ทำให้ผิวหนังมีความผิดปรกติ

เรามาทำความรู้จักกับ โรคท้าวแสนปม ว่า สาเหตุของโรค การรักษา ต้องทำอย่างไร โรคท้าวแสนปมหากไม่รักษา สามารถส่งผลต่อโรคอื่นๆ ที่ตามมา เช่น เนื้องอกที่ระบบประสาท กระดูกผิดรูป อาการแทรกซ้อนทางระบบประสาท และเป็นมะเร็งของระบบประสาทได้ ความอันตรายของโรคท้าวแสนปม คือ พบว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วยโรคท้าวแสนปม เป็นมะเร็ง และยังสร้างความทรมานทั้งในด้านร่างกายและจิตใจมาก

สาเหตุของโรคท้าวแสนปม

โรคท้าวแสนปม มีสาเหตุจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ไม่ใช่โรคผิวหนัง และ ไม่ใช่โรคติดต่อ โรคท้าวแสนปม เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของโครโมโซมคู่ที่ 22 เป็น โรคเกี่ยวกับความผิดปรกติของยีนส์ในร่างกาย หากพ่อแม่เป็นโรคนี้ลูกมีโอกาสในการเป็นโรคนี้เช่นกัน โรคท้าวแสนปม เป็น โรคพันธุกรรม ที่ก่อให้เกิดความผิดปกติ ของกระดูก ระบบประสาท เนื้อเยื่ออ่อน และ ผิวหนัง ความรุนแรงของโรค นี้อยู่ที่โรคแทรกซ้อนที่เกิดกับระบบประสาท ซึ่ง โรคท้าวแสนปม มี 2 ชนิด คือ NF-1 และ NF-2

อาการของผู้ป่วยโรคท้าวแสนปม

เราสามารถจำแนก อาการของผู้ป่วยโรคท้าวแสนปม แยกตามชนิดของโรค คือ NF-1 และ NF-2 รายละเอียดของอาการของโรค มีดังนี้

  1. อาการผู้ป่วยโรคท้าวแสนปม ชนิดที่ 1 (NF-1) อาการของโรคมี 7 อาการ ซึ่ง ผู้ป่วยหากมาอาการ 2 ใน 7 อาการ ถือว่า เป็นโรคท้าวแสนปม ชนิดที่ 1 อาการทั้ง 7 ประกอบด้วย
    • มีปานสีกาแฟใส่นม มีลักษณะของปานเด่นชัด ลักษณะไม่เรียบ ส่วนมากสามารถพบได้มากกว่า 6 ตำแหน่ง ซึ่งแต่ละตำแหน่งมีขนาดใหญ่
    • มีก้อนเนื้องอกตามผิวหนัง เป็นเนื้องอกชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง พบจำนวนมากตามผิวหนัง ซึ่ง ผู้ป่วยร้อยละ 5 มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งที่ผิวหนังหรือมะเร็งเม็ดเลือด ลักษณะเป็นก้อนสีน้ำตาลหรืออมชมพู
    • มีกระ ที่รักแร้ หรือขาหนีบ จะพบมากในคนที่อายุเข้าสู่วัยรุ่น และที่กระ จะพบก้อนเนื้องอก ชนิดเพล็กซิฟอร์มได้บ่อย
    • มีเนื้องอกของเส้นประสาทตา ในบางรายเนื้องอกนี้ ทำให้เกิดปัญหาความดันเพิ่มขึ้นภายในศีรษะอาจทำให้ชัก และเกิดความผิดปกติของเส้นประสาทสมองได้
    • มีเนื้องอกที่ม่านตา ลักษณะเนื้องอกเป็นรูปโดม พบที่ชั้นผิวของม่านตา สามารถตรวจได้จากการส่องกล้อง
    • มีความผิดปกติของกระดูก เช่น กระดูกต้นขางอก ขาโก่ง ในผู้ป่วยบางราย กระดูกใบหน้าผิดรูป เช่น ตาโปน กระดูกสันหลังคด งอ
    • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคท้าวแสนปม โรคนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคท้าวแสนปมได้ ร้อยละ 50
  2. อาการของโรคท้าวแสนปม ชนิดที่ 2 (NF-2) สำหรับ โรคท้าวแสนปม ชนิดที่ 2 สามารถพบได้บ่อย ในคน 50000 คน พบว่ามีผู้ป่วยโรคท้าวแสนปม ชนิดนี้ 1 ราย โรคท้าวแสนปมชนิดนี้ จะไม่แสดงอาการของโรคให้เห็นอย่างชัดเจนทางผิวหนัง มีอาการอยู่ 7 อาการ ซึ่งหากพบว่ามีอาการ 2 ใน 7 มีความเสี่ยงเป็นโรคท้าวแสนปม ได้ เราสามารถสังเกตุอาการของโรค ได้ดังนี้
    • มีเนื้องอก ที่บริเวณหูชั้นใน
    • ระบบประสาทการ สำหรับการได้ยินไม่ดี ฟังไม่ค่อยได้ยิน ไม่ค่อยชัดเจน
    • การควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้าไม่ดี มีอาการกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง
    • มีอาการเวียนหัว
    • ควบควมการทรงตัวไม่ได้บ่อย ๆ
    • การเดิน มีปัญหา เนื่องจากระบบประสาทขาไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน
    • เป็นโรคต้อกระจกตั้งแต่อายุน้อย ๆ

การรักษาโรคท้าวแสนปม

การรักษาโรคท้านแสนปม นี้นั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งของก้อนเนื้อ ถ้าก้อนเนื้อมีที่เดี่ยว สามารถผ่าตัด รักษาได้ แต่อาจจะเหลือร่องรอยอยู่บ้าง แต่ผิวหนังจะดีขึ้น โดยทั่วไปการรักษาให้หยาขาดเลยนั้น ทำได้ยาก แต่การรักษานอกจากการผ่าตัดแล้วการรักษาตามอาการของโรค ก็เป็นสิ่งที่จำเป็น การรักษาต้องพบแพทย์ตลอดชิวิต เพื่อตรวจดูลักษณะของผิวหนัง และ รักษาสภาพผิวหนัง ให้กลับมาปรกติที่สุด

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคท้าวแสนปม

เนื่องจากโรคนี้เป็น โรคทางพันธุกรรม การมีครอบคร้วสำหรับผู้ป่วยโรคนี้เป็นสิ่งที่ควรพิจารณา เนื่องจากหากถ่ายทอดสู่ลูกและหลาน ก็จะสร้างความทรมานทั้งร่างกายและจิตใจให้ลูกหลาน หากมีความจำเป็น ควรอยู่ในการดูแลและคำแนะนำจากแพทย์

โรคท้าวแสนปม ท้าวแสนปม ( Neurofibromatosis ) มีตุ่มและติ่งเนื้อขึ้นตามร่างกายจำนวนมาก เกิดจากความผิดปรกติของโครโมโซม คู่ที่ 22 ทำให้ผิวหนังมีความผิดปรกติ โรคนี้สร้างปัญหากับมนุษย์ในเรื่องการเข้าสังคม สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตโรคผิวหนัง สาเหตุโรคท้าวแสนปม อาการโรคท้าวแสนปม การรักษาโรคท้าวแสนปม