ผักแพว ผักไผ่ ( Vietnamese Coriander ) สมุนไพร นิยมรับประทานเป็นผักสด ต้นผักแพวเป็นอย่างไร คุณค่าทางอาหาร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยขับลม ชขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร

ผักแพว มินต์เวียดนาม สมุนไพร สรรพคุณของผักแพว

ผักแพว หรือ ผักไผ่ เป็นผักพื้นบ้านที่รู้จักกันดี ใบมีกลิ่นหอม สรรพคุณ ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร แก้อาการท้องผูก แก้อาการท้องเสีย รักษาไข้หวัด ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิค้านทานของร่างกาย ใช้รักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน รักษาผื่น ลดอาการบวมแดง รักษาแผลอักเสบ ป้องกันการติดเชื้อโรคของแผล มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของผิว บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยดับกลิ่นปาก รักษาแผลในช่องปาก ระงับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย รักษาโรคเบาหวาน ป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ป้องกันมะเร็งลำไส้ ป้องกันมะเร็งผิวหนัง ป้องกันมะเร็งเต้านม ป้องกันมะเร็งปากมดลูก บำรุงเลือด ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดการเกิดโรคหัวใจวาย ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ป้องกันโรคต้อกระจก

จาก สรรพคุณของผักแพว ข้างต้น ทำให้ผักแพวเป็น ผักสมุนไพร ที่น่าทำความรู้จักกันอย่างละเอียด ผักแพว นิยมรับประทานในกลุ่ม คนภาคเหนือและอีสาน เป็นผักที่ให้รสเผ็ดร้อน ทานคู่กับลาบ ซุปหน่อไม้ หรือน้ำพริก ทำให้รสชาติตัดกัน เข้ากันได้อย่างดี

ผักแพว ภาษาอังกฤษ เรียก Vietnamese Coriander มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Polygonum odoratum Lour. เป็นพืชตระกลูเดียวกันกับไผ่ สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของผักแพว คือ พริกม้า พริกม่า หอมจันทร์  ผักไผ่ จันทน์โฉม จันทน์แดง ผักไผ่น้ำ  ผักแพ้ว ผักแพรว ผักแจว พริกบ้า หอมจันทร์ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการผักแพว

นักโภชนาการได้ศึกษาผักแพว ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 54 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ อาทิ เช่น น้ำ 89.4 กรัม
กากใยอาหาร 1.9 กรัม โปรตีน 1.6 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 7 กรัม แคลเซียม 573 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 272 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 79 มิลลิกรัม วิตามิน เอ 8,112 IU วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.59 มิลลิกรัม ไนอาซีน 1.7 มิลลิกรัม และวิตามินซี 77 มิลลิกรัม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักแพว

ผักแพว เป็น พืชล้มลุก ลักษณะของลำต้น ตั้งตรง มีความสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ขนาดลำต้นมีเล็ก ทรงกลม เป็นข้อปล้อง มีสีเขียวอมม่วงแดง ลักษณะรากของผักแพว เป็นรากฝอยแตกออกจากเหง้า ใบของผักแพว เป็นใบเดี่ยว ใบยาวทรงกระบอก ปลายแหลม มีกลิ่นหอม ผิวใบเรียบ เป็นมัน ใบมีสีเขียวสด ดอกของผักแพว ออกเป็นช่อ มีขนาดเล็ก ดอกตูม สีม่วงแดง ดอกบานเต็มที่จะมีสีขาว เมล็ดของผักแพว เมล็ดมีขนาดเล็ก แก่เร็ว และร่วงง่าย

สรรพคุณทางสมุนไพรของผักแพว

ผักแพว สามารถใช้ประโยชน์ทางสมุนไพรได้ทุกส่วน ทั้ง ลำต้น ใบ และราก รายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้น และใบของผักแพว ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร แก้อาการท้องผูก แก้อาการท้องเสีย รักษาไข้หวัด ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิค้านทานของร่างกาย ใช้รักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน รักษาผื่น ลดอาการบวมแดง รักษาแผลอักเสบ ป้องกันการติดเชื้อโรคของแผล
    มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของผิว บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยดับกลิ่นปาก รักษาแผลในช่องปาก ระงับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย รักษาโรคเบาหวาน ป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ป้องกันมะเร็งลำไส้ ป้องกันมะเร็งผิวหนัง ป้องกันมะเร็งเต้านม ป้องกันมะเร็งปากมดลูก บำรุงเลือด ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดการเกิดโรคหัวใจวาย ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ป้องกันโรคต้อกระจก
  • รากของผักแพว ใช้รักษาแผลติดเชื้อ รักษาโรคผิวหนัง

การเลือกซื้อผักแพว

ผักแพว ที่ดี ต้องสด การเลือกซื้อให้สังเกตุความสดของใบ ไม่เหี่ยว ไม่เหลือง ส่วนการเก็บรักษาผักแพว เก็บใส่ในถุงพลาสติกปิดให้สนิท หรือเก็บใส่กล่องพลาสติก แล้วนำไปแช่ตู้เย็นในช่องแช่ผัก

ผักแพว ผักไผ่ ( Vietnamese Coriander ) ผักพื้นบ้าน สมุนไพร ใบมีกลิ่นหอม นิยมรับประทานเป็นผักสด ลักษณะทางพฤษศาสตร์ของผักแพว คุณค่าทางโภชนาการของผักแพว ประโยชน์ของผักแพว สรรพคุณของผักแพว ช่วยขับลม ช่วยขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา

พระพรหมมังคลาจารย์ หลวงพ่อปัญญา ประวัติของพระอริยสงฆ์ รวมคำสอน และ ธรรมะของ หลวงพ่อปัญญา ครูบาอาจารย์ แห่ง วัดชลประทานรังสฤษฏ์

ประวัติพระ ธรรมะ หลวงพ่อปัญญา พระพรหมมังคลาจารย์

ประวัติพระพรหมมังคลาจารย์ หลวงพ่อปัญญา

หลวงพ่อปัญญา หรือ พระพรหมมังคลาจารย์ เกิดเมื่อวันที่ 11 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2454 ที่ ต.คูหาสวรรค์ อ.เมือง จ.พัทลุง ท่านได้ชื่อว่า ปั่น เสน่ห์เจริญ ท่านมีชื่อเล่นว่า ขาว บิดาของท่าน คือ นายวัน เสน่ห์เจริญ และมารดาท่าน คือ นางคล้าย เสน่ห์เจริญ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 5 คน ท่านเป็นคนที่ 4 พี่น้องของท่านประกอบด้วย

  • นางขำ อนุวงศ์ เป็นพี่สาว
  • นางดำ บุญวิสูตร เป็นพี่สาว
  • นายพ่วง เส่นห์เจริญ พี่ชาย
  • นางหนูกลิ่น กฤตรัชตนันท์  น้องสาว

พระพรหมังคลาจารย์ มรณภาพ ที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อเวลา 9.09 น. ของวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ด้วยอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต รวมอายุได้ 96 ปี 5 เดือน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานโกศแปดเหลี่ยม และรับศพหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุไว้ในพระราชานุเคราะห์

ประวัติด้านการศึกษา ของ หลวงห่อปัญญา

ท่านเข้ารับการศึกษา ระดับชั้น ประถมศึกษา เมื่ออายุ 7 ปี ที่ โรงเรียนประจำอำเภอเมือง ที่จังหวัดพัทลุง และเข้ารับการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา และเรียนจบจบการศึกษาระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 3 แต่ด้วยปัญหาด้านครอบครัว ทำให้ต้องลาออกจากการเรียน ขณะอยู่ระดับชั้น มัธยมที่ 4

เมื่อท่านอายุได้ 16 ปี ได้มีโอกาสตาม พระอาจารย์พุ่ม ธมฺมทินฺโน ไปยังรัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย หลังจากนั้นเข้าทำงานที่ เหมืองแร่และสวนยาง ที่ จ.ภูเก็ต เมื่อท่านอายุได้ 18 ปี ท่านเข้ารับการบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดอุปนันทาราม ต.เขานิเวศน์ อ.เมือง จ.ระนอง อายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดนางลาด ต.เขาเจียก อ.เมือง จ.พัทลุง โดยมีพระครูจรูญกรณีย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาพลัด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูเคว็จ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า ปทุมุตฺตโร มีความหมายว่า ดอกบัวประเสริฐ

หลังจากอุปสมบทได้ไม่นาน ได้มีโอกาสเดินทางศึกษาพระธรรม ในหลายจังหวัด เช่น นครศรีธรรมราช สงขลา และกรุงเทพมหานคร จนหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ สามารถสอบเปรียญธรรม 4 ประโยค ได้

สมณศักดิ์ของหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

  • พ.ศ. 2499 พระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระปัญญานันทมุนี
  • พ.ศ. 2514 พระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชนันทมุนี ธรรมาวาทีคณาภรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
  • พ.ศ. 2530 พระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพวิสุทธิเมธี ศรีภาวนาจารย์ สุนทรญาณพิสิฏฐ์ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
  • พ.ศ. 2537 พระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมโกศาจารย์ สุนทรญาณดิลก สาธกธรรมภาณ วิสาลธรรมวิภูษิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
  • พ.ศ. 2547 พระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระพรหมมังคลาจารย์ ไพศาลธรรมโกศล วิมลศีลาจารวินิฐ พิพิธธรรมนิเทศ พิเศษวรกิจจานุกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

ผลงานและเกียรติคุณของหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

งานด้านการศึกษา

  • พ.ศ. 2503 เจ้าสำนักศาสนาศึกษา แผนกธรรมและบาลี ที่วัดชลประทานรังสฤษฏ์
  • พ.ศ. 2512 ผู้อำนวยการโรงเรียนพุทธศาสนาวัดอาทิตย์ ที่วัดชลประทานรังสฤษฏ์
  • พ.ศ. 2524 ผู้อำนวยการจัดการการอบรมพระธรรมทายาท ที่วัดชลประทานรังสฤษฏ์
    ผู้อำนวยการจัดการอบรมพระนวกะที่บวชในวัดชลประทานรังสฤษฏ์

งานด้านการปกครอง

  • พ.ศ. 2503 รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฏ์

งานด้านการเผยแผ่พระศาสนา

  • พ.ศ. 2492 ถึง 2502 เป็นองค์แสดงปาฐกถาธรรม ประจำวันพระ ณ วัดอุโมงค์ จ.เชียงใหม่
  • พ.ศ. 2500 ประธานมูลนิธิ “ชาวพุทธมูลนิธิ” จังหวัดเชียงใหม่ และประธานก่อตั้ง พุทธนิคม จ.เชียงใหม่
  • พ.ศ. 2503 เป็นองค์แสดงธรรม ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีโทรทัศน์ เป็นผู้เริ่มการทำบุญ ฟังธรรม ในวันอาทิตย์ ณ วัดชลประทานรังสฤษฏ์
  • พ.ศ. 2525 เป็นองค์แสดงธรรม แก่วุฒิสมาชิกและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  • พ.ศ. 2534 เป็นผู้เริ่มค่ายคุณธรรมแก่เยาวชน ในโรงเรียนต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย และอีกหลายจังหวัด
  • พ.ศ. 2536 จำพรรษา ณ วัดพุทธธรรม ชิคาโก สหรัฐอเมริกา

เกียรติคุณที่ได้รับ ของ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

  • พ.ศ. 2520 รับรางวัล “สังข์เงิน” จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ในฐานะพระภิกษุผู้เผยแผ่ธรรมะและศีลธรรมยอดเยี่ยมของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2521 รับรางวัล “นักพูดดีเด่น” ประเภทเผยแผ่ธรรม จากสมาคมฝึกพูดแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2525 รับการคัดเลือกให้เป็นบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระศาสนา ในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จากกรมการศาสนา
  • พ.ศ. 2524 ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาครุศาสตร์ จาก มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2531 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • พ.ศ. 2534 ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พ.ศ. 2536 ปริญญาอักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2536 ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาและศาสนา จาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • พ.ศ. 2537 ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พ.ศ. 2548 เป็นศิษย์เก่าดีเด่น โรงเรียนพัทลุง