ซ่อนกลิ่น ( Tuberose ) สมุนไพร ดอกซ่อนกลิ่นหอม นิยมนำมาบูชาพระ ต้นซ่อนกลิ่นเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณลดอักเสบ ช่วยให้ผ่อนคลาย ทำให้หลับง่าย กระตุ้นกำหนัดซ่อนกลิ่น สมุนไพร สรรพคุณของซ่อนกลิ่น ประโยชน์ของซ่อนกลิ่น

ต้นซ่อนกลิ่น เป็น ไม้ประดับ นิยมนำดอกมาจัดให้ความสวยงามและความหมอบ จัดเป็น พืชเศรษฐกิจ ชนิดหนึ่ง สำหรับการใช้ ดอกซ่อนกลิ่นในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะนำมา ประดับงานศพ และ ใช้ในการบูชาพระ ต้นซ่อนกลิ่น จึงเป็นต้นไม้ที่มีความผูกพันธ์กับสังคมไทยอย่างลึกซึ้ง การที่ดอกซ่อนกลิ่นนิยมนำมาใช้ในการจัดดอกไม้ในงานศพ แต่ดอกซ่อนกลิ่นจัดเป็น ไม้มงคล

ดอกซ่อนกลิ่น ยังใช้ในการไหว้บูชา ในพิธีกรรมต่างๆ เช่น ชาวประมง ใช้บูชาแม่ย่านางเรือ ก่อนออกเดินเรือ ในประเทศไทย มี การปลูกซ่อนกลิ่น เป็นอาชีพ ในเขตหนองแขม และเขตภาษีเจริญ ของกรุงเทพมหานคร และในต่างจังหวัด อย่างเช่น จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย และจังหวัดขอนแก่น เป็นต้น

ต้นซ่อนกลิ่น เป็น พืชท้องถิ่นของแถบประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ต้นซ่อนกลิ่น เป็น ไม้ล้มลุก ประเภทใบเลี้ยงเดี่ยว ดอกสีขาว กลิ่นหอม และมีหัวอยู่ใต้ดิน เป็นพืชในตระกลู Amaryllidaceae  สำหรับชื่อสามัญของต้นซ่อนกลิ่น เรียก Tuberose ชื่อวิทยศาสตร์ของต้นซ่อนกลิ่น คือ Poliamtues tuberosa Lin.  ชื่อเรียกอื่นๆ ของต้นซ่อนกลิ่น เช่น ดอกรวงข้าว ดอกลีลา เป็นต้น

ลักษณะของต้นซ่อนกลิ่น

ต้นซ่อนกลิ่น เป็น พืชล้มลุก ลำต้นเป็นหัว อยู่ใต้ดิน ลักษณะของหัวต้นซ่อนกลิ่น เหมือนหอมหัวใหญ่ ใบของต้นซ่อนกลิ่น เป็นในเลี้ยงเดียว มีสีเขียว ขนาดเล็ก ลักษณะใบเรียวยาว จะโผล่ออกมาจากพื้นดิน ขนาดของใบยาวประมาณ  30 ถึง 45 เซ็นติเมตร ดอกของซ่อนกลิ่น จะออกเป็นกอ ยื่นออกมาตรงกลางลำต้น ดอกเกาะตรงก้านดอกเรียงกันเป็นแนวสวยงาม มีสีขาว ขนาดดอกซ่อนกลิ่นยาวประมาณ 2 เซ็นติเมตร สำหรับช่อดอกจะยาวประมาณ 60 ถึง 65 เซ็นติเมตร ในแต่ละช่อดอก จะมีดอกซ่อนกลิ่นประมาณ 30 ดอก ถึง 90 ดอก ดอกซ่อนกลิ่น จะมีกลิ่นหอมมาก โดยเฉพาะเวลากลางคืน จะให้กลิ่นที่หอมมาก เวลาเก็บดอกซ่อนกลิ่นให้เก็บเวลากลางคืน

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นซ่อนกลิ่น

ซ่อนกลิ่น จะนิยมำมาใช้ประโยชน์ในส่วนของต้นหรือเหง้า และดอก มาใช้ประโยชน์ โดยมี ตำราแพทย์แผนไทย ได้กล่าวถึงสรรพคุณของ เหง้าและดอกของต้นซ่อนกลิ่น ว่า ช่วยลดการอักเสบ และ บรรเทาความผิดปกติของกระดูก ได้ ดอกซ่อนกลิ่น มีกลิ่นหอม ช่วยให้ผ่อนคลายอารมณ์ และ ลดความตึงเคลียด ทำให้ใจเย็น ทำให้จิตใจสงบ มีสมาธิ นอนหลับง่าย กระตุ้นกำหนัด

ต้นซ่อนกลิ่น เป็น พืชที่มาจากแดนไกล ถิ่นกำเนิดของซ่อนกลิ่น นั้นอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ สามารถพบได้ในแถบเทือกเขาแอนดีส มีการปลูกครั้งแรงในทวีปเอเชียที่ประเทศฟิลิปปินส์ โดยการนำเข้ามาของชาวสเปน จากนั้นชาวจีนมีการค้าขายระหว่างประเทศได้นำเข้ามาประเทศไทย สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่มีบันทึกว่าต้นซ่อนกลิ่นเข้ามาประเทศไทยครั้งแรกเมื่อใด

เชื่อว่าคนไทยรู้จักดอกซ่อนกลิ่นก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สันนิษฐานว่า สมัยกรุงศรีอยุธยา ต้นซ่อนกลิ่น นั้นยังไม่มีการปลูกแพร่หลายนั้น เนื่องจากตามวรรณคดีต่างๆในสมัยนั้นไม่มีเรื่องใดกล่าวถึง ดอกซ่อนกลิ่น เลย สำหรับสมัยรัตนโกสินทร์ การปลูกซ่อนกลิ่น ได้รับความนิยมแพร่หลาย พบได้ว่าในวรรณคดีหลายเรื่องและบทเพลงของเด็ก ได้กล่าวถึง ดอกซ่อนกลิ่น อยู่ด้วย ในวรรณคดีของสุนทรภู่ เรียกซ่อนกลิ่นว่า ซ่อนชู้

โทษของซ่อนกลิ่น

สำหรับน้ำมันหอมระเหยจากดอกซ่อนกลิ่น นำมาใช้ประโยชน์ต่างๆควรระมัดระวังในการใช้ โดยให้ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากจนเกินไป หรือ การใช้อย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้

ซ่อนกลิ่น ( Tuberose ) สมุนไพร ดอกซ่อนกลิ่นมีกลิ่นหอม นิยมนำมาบูชาพระ จัดงานศพ ลักษณะของต้นซ่อนกลิ่น ประโยชน์ของซ่อนกลิ่น สรรพคุณของซ่อนกลิ่น ลดอาการอักเสบ ช่วยให้ผ่อนคลายอารมณ์ ลดความตึงเคลียด นอนหลับง่าย กระตุ้นกำหนัด

บัวบก ( Gotu kola ) สมุนไพร ต้นบัวบกเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณรักษาแผล แก้ร้อนใน ลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาเย็น ข้อควรระวังในการใช้ใบบัวบก

บัวบก สมุนไพร สรรพคุณของบัวบก ประโยชน์ของบัวบก

บัวบก (Gotu kola) สมุนไพร คุ้นหู มาทำความรู้จักกับ ต้นบัวบก และ สรรพคุณของบัวบก เป็นแผลให้ใบบัวบกช่วยให้หายได้เร็วขึ้น ประโยชน์และข้อควรระวังในการใช้ใบบัวบกในการรักษาโรคมีอะไรบ้าง ใบบัวบกเหมาะสำหรับคนที่ขี้ร้อน มีภาวะแกร่ง หรือมีความร้อนชื้น เพราะเป็น สมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาเย็น

ต้นบัวบก ภาษาอังกฤษ เรียก Gotu kola ชื่อวิทยาศาสตร์ของบัวบก คือ Centella asiatica (L.) Urb. เป็น พืชตระกูลเดียวกับผักชี สำหรับ บัวบก มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกหลายชื่อ ที่เรียกแตกต่างกันตามท้องถิ่น เช่น ผักหนอก , ผักแว่น , กะโต่ เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของบัวบก

ต้นบัวบก เป็น พืชล้มลุก เป็น ไม้เลื้อย ขึ้นตามพื้นดิน เป็น พืชคลุมดิน ใบเป็นใบเดียว ออกตามข้อของลำต้น ใบออกเป็นกระจุก ตามข้อของลำต้น ใบลักษณะคล้ายรูปไต ขอบใบมนๆ ดอกของบัวบกคล้ายร่ม ออกเป็นช่อ กลีบดอกมีสีม่วงอมแดง ผลของบัวบกเป็นผลแห้ง ลักษณะแบนและแตก

คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของใบบัวบก สดปริมาณ 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารหลายชนิด ประกอบด้วย  วิตามินบี 1 แคลเซียม 146 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.9 มิลลิกรัม เบตาแคโรทีน 2,428 ไมโครกรัม และวิตามินซี 15 มิลลิกรัม

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษา ใบบัวบก อย่างจริงจัง พบว่ามีสารสำคัญหลายชนิด เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินเอ วิตามินเค ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโซเดียม สารบราโมซัยด์ สารบรามิโนซัยด์ สารไตรเตอพีนอยด์ สารมาดิแคสโซซัยด์ กรดมาดิแคสซิค  และกรดอะมิโน หลายตัว เช่น แอสพาเรต กรดกลูตามิก เซรีน ทรีโอนีน อะลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน เป็นต้น

สรรพคุณของบัวบก

สำหรับการใช้ประโยชน์ของบัวบก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมใช้ ใบบัวบก ทั้งใบสดและใบแห้งมาใช้ประโยชน์ ซึ่งเราได้รวม สรรพคุณของใบบัวบก ดังนี้

  • ช่วยชะลดวัย ลดการเหี่ยวย่นของผิวพรรณ
  • ใบบัวบกเป็นยาอายุวัฒนะ
  • ใบบัวบกช่วยเสริมสร้าง และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน
  • ใบบัวบกช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในร่างกาย มีสารยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
  • ใบบัวบกช่วยบำรุงและรักษาสายตา รวมถึงฟื้นฟูโดยรอบของดวงตา
  • ช่วยรักษาอาการอักเสบและบวมแดงของตา
  • ใบบกช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยให้ความจำดีขึ้น ทำให้มีปฏิภาณไหวพริบดี ช่วยเพิ่มความจำสำหรับผู้สูงวัย ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และสมองเสื่อม ช่วยเพิ่มการมีสมาธิ แก้ปัญหาสมาธิสั้นได้
  • ช่วยแก้อาการปวดหัว รักษาอาการไมเกรน แก้ปวดหัวข้างเดียว ลดอาการเวียนหัว
  • ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดความเครียด ให้นอนหลับสบาย ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า
  • ช่วยบำรุงเลือด ช่วยทำให้เลือดระบบเลือดทำงานได้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อของร่างกาย เป็นยาบำรุง
  • ช่วยบำรุงหัวใจ ระบบการทำงานของหัวใจสมดุลย์ ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายสำหรับคนป่วย
  • ช่วยให้ความชุ่มชื่นของลำคอ บำรุงเสียง ช่วยรักษาอาการเจ็บคอ ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยลดไข้ ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวานได้
  • รักษาโรคดีซ่าน รักษาโรคโลหิตจาง ช่วยรักษาอาการหอบหืด ช่วยรักษาโรคลมชัก
  • รักษาอาการเต้านมอักเสบ ที่เป็นหนองในระยะแรก
  • ช่วยเจริญอาหาร ป้องกันอาการท้องเสีย ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารเป็นแผล
  • ใบบัวบกใช้เป็นยาระบาย ช่วยระบายท้อง แก้ลม
  • ใบบัวบกใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการปัสสาวะติดขัด ป้องกันการเกิดนิ่ว ช่วยรักษาโรคนิ่วที่ทางเดินปัสสาวะ
    ช่วยรักษาอาการหนอง ที่ออกจากปัสสาวะ รักษาหนองใน
  • บำรุงม้าม รักษาโรคม้ามโต ช่วยแก้อาการน้ำดีที่มีมากเกินไปในร่างกาย
  • แก้อาการปวดข้อรูมาตอยด์ รักษาโรครูมาตอยด์ได้
  • ใช้เป็นยาห้ามเลือด รักษาแผลสด ทำให้แผลหายเร็วขึ้น แก้ฟกช้ำ
  • ใบบัวบกช่วยรักษาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยรักษาโรคผิวหนัง เช่น รักษาโรคเรื้อน รักษาโรคสะเก็ดเงิน รักษาหิด รักษาหัด เป็นต้น ช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยลดอาการอักเสบของแผลได้
  • ใบบัวบกใช้เป็นยาถอนพิษ ช่วยรักษาแผลน้ำร้อนลวก ลดอาการปวดแสบปวดร้อนจากแผลไฟไหม้ และยังช่วยป้องกันการเกิดแผลซ้ำ
  • ใบบัวบกช่วยบำรุงหนังศีรษะและเส้นผม ทำให้เส้นผมดกดำ รักษาอาการผมร่วง
  • ใบบัวบก เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์ ช่วยบำรุงผิว และป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่ผิว นำสารสกัดเป็นสบู่ใบบัวบก ช่วยรักษาสิว ทำให้ผิวขาว ใบหน้าเต่งตึง

ข้อควรระวังในการใช้บัวบก

  • ใบบัวบก ไม่เหมาะสำหรับคนที่มี ภาวะตัวเย็น จะทำให้ร่างกายยเย็นขึ้นและท้องอืด
  • การกินบัวบกมากเกินไป ไม่ดี เนื่องจากใบบัวบกเป้นยาเย็น หากมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้ ร่างกายเสียสมดุลถ้ากิน ใบสด ปริมาณครั้งละ 10 ถึง 20 ใบต่อสัปดาห์ ถือว่าอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม แต่ไม่ควรกินทุกวันอาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
  • ไม่ควรนำใบบักบกมาตากแห้ง เพราะจะเสียคุณค่าทางตัวยา ใบบัวบกจะนำมาสกัดให้อยู่ในรูปแบบน้ำมันหอมระเหย

ต้นบัวบก พืชสมุนไพร ที่มีต้นกำเนิดในแถบเอเชีย เป็น พืชล้มลุก มีขนาดเล็ก มีกลิ่นฉุน รสขมอมหวาน สามารถใช้รักษาโรคมากมาย บัวบก ทำให้แผลให้หายได้เร็วขึ้น และ ลดอาการอักเสบของแผล มีการศึกษาพบว่า ใน ใบบัวบก มี กรดมาเดคาสสิก กรดอะเซียติก และ สารอะเซียติโคไซด์ มีสรรพคุณช่วยในการสมานแผลและลดการอักเสบ

เราจะเห็นว่ามียาหลายชนิด ทั้ง ยาแผนปัจจุบัน และ ยาแผนโบราณ ที่มีส่วนผสมของใบบัวบก ซึ่งผลิตออกมาในรูปแบบ ครีม ผง ยาเม็ด เป็นต้น และยังมีการสกัดสารสำคัญที่ได้จากใบบัวบก ซึ่งสารที่สกัดได้จากใบบัวบก มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระ

นอกจาก ใบบัวบก มีสรรพคุณทางยา ใบสดของบัวบก สามารถนำมาทำอาหาร รับประทานเป็นผักสดได้ อาหารไทย ก็ หลายมี เมนูอาหาร ที่มีบัวบกเป็นผัก เช่น ผัดไทย ผัดหมี่ หมี่กะทิ ขนมจีน ลาบ ยำ รวมถึงนำใบสดมาคั้นทำ น้ำใบบัวบก การกินใบบัวบกสดๆ ช่วยแก้อาการเวียนหัว ท้องร่วง รักษาอาการถ่ายเป็นเลือด รักษาอาการแขนขากระตุก

บัวบก ( Gotu kola ) สมุนไพร ลักษณะของต้นบัวบก เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก ประโยชน์และสรรพคุณของบัวบก เช่น รักษาแผล แก้ร้อนใน ลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาเย็น ข้อควรระวังในการใช้ใบบัวบก มีอะไรบ้าง