งาดำ สมุนไพร ธัญพืช คุณค่าทางโภชนาการสูง นิยมนำมาบริโภคเป็นอาหาร สรรพคุณช่วยชะลอวัย บำรุงผิวพรรณ บำรุงเส้นผม แล้วโทษของงาดำมีไหม เป็นอย่างไร

งาดำ สมุนไพร สรรพคุณของงาดำ

งาดำ ภาษาอังกฤษเรียก Black Sesame Seeds ชื่อวิทยศาสตร์ของงาดำ คือ Sesamum indicum L. งาดำ เป็นพืชในเขตร้อน นิยมรับประทานเมล็ดงาดำเป็นอาหาร เพราะ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมาย เช่น วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินบี9 ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโพแทสเซียม โซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุสังกะสี และ ธาตุเหล็ก เป็นต้น

สรรพคุณของงาดำ ประกอบด้วย ช่วยชะลอความแก่ ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ช่วยซ่อมแซมผิวพรรณ ช่วยบำรุงรากผม ช่วยให้ผมดกเงางาม ช่วยป้องกันการเกิดผมหงอก ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยสลายไขมัน ใช้ลดความอ้วน ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในร่างกาย

สายพันธุ์งาดำ

สำหรับงาดำในประเทศไทย มีหลายสายพันธ์ ซึ่ง สายพันธ์ที่นิยมปลูก มี 4 สายพันธ์ ประกอบด้วย งาดำบุรีรัมย์ งาดำนครสวรรค์ งาดำมก18 และ งาดำมข2 ลักษณะดังนี้

  • งาดำ สายพันธ์บุรีรัมย์ เป็นสายพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ เมล็ดมีขนาดใหญ่ สีเกือบดำสนิท มีอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 90 ถึง 100 วัน
  • งาดำ สายพันธ์นครสวรรค์ เป็นสายพันธุ์พื้นเมือง สายพันธ์นี้นิยมปลูกมากในทุกภาคของประดทศ ลักษณะเด่น คือ ลำต้นสูง ใบค่อนข้างกลม เมล็ดสีดำอวบและใหญ่ อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 95 ถึง 100 วัน
  • งาดำ สายพันธ์ มก.18 เป็นสายพันธ์แท้ พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลักษณะเด่น คือ ลำต้นสูง ไม่แตกกิ่ง ข้อลำต้นสั้น จำนวนฝักต่อต้นสูง ลำต้นแข็งแรง และทนต่อโรคราแป้งได้ดี
  • งาดำ สายพันธ์ มข.2 สายพันธ์ดั้งเดิม คือ ซีบี 80 เป็นสายพันธ์ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ลักษณะเด่น คือ ลำต้นสูงเมล็ดสีดำสนิท อายุการเก็บเกี่ยวสั้น ประมาณ 70 ถึง 75 วัน ทนแล้ง และต้านทานต่อโรคเน่าดำได้ดี

ลักษณะของต้นงาดำ

ต้นงาดำ เป็นพืชล้มลุกที่เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่เขตร้อน สามารถขยายพันธ์ุได้โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ซึ่งลักษณะของต้นงาดำ มีดังนี้

  • ลำต้นงาดำ ลักษณะลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นเป็นเหลี่ยมๆ มีร่องตามยาว ลำต้นไม่มีแก่น อวบน้ำ มีขนสั้นปกคลุม เปลือกลำต้นสีเขียว
  • ใบงาดำ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว สีเขียว ใบเป็นรูปหอก โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย
  • ดอกงาดำ ลักษณะดอกเป็นช่อ ดอกเดี่ยว ขึ้นตามซอกใบ กลีบดอกลักษณะทรงกรวย กลีบดอกเมื่อบานเป็นสีขาว
  • ผลงาดำ หรือ ฝักงาดำ ลักษณะฝักยาวรี ปลายฝัฟแหลมทั้งสองข้าง ผิวฝักเรียบ ฝักเป็นร่องพู ฝักอ่อนสีเขียว มีขนปกคลุม ฝักแก่เป็นสีน้ำตาล
  • เมล็ดงาดำ เมล็ดอยู่ภายในฝัก ลักษณะเล็กๆ ทรงรีและแบน เมล็ดมีจำนวนมาก เปลือกเมล็ดมีสีดำ เมล็ดงาดำมีกลิ่นหอม

คุณค่าทางโภชนาการของงาดำ

การบริโภคหรือใช้ประโยชน์จากงาดำนิยมใช้ประโยชน์จากเมล็ดของงาดำ ซึ่งนักวิชาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของงาดำขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 573 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 23.45 กรัม กากใยอาหาร 11.8 กรัม โปรตีน 17.73 กรัม น้ำ 4.69 กรัม น้ำตาล 0.30 กรัมไขมันรวม 49.67 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 18.759 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 21.773 กรัม กรดไขมันอิ่มตัว 6.957 กรัม กรดกลูตามิก 3.955 กรัม กรดแอสพาร์ติก 1.646 กรัม เมไธโอนีน 0.586 กรัม ทรีโอนีน 0.736 กรัม ซีสทีอีน 0.358 กรัม ซีรีน 0.967 กรัม ฟีนิลอะลานีน 0.940 กรัม อะลานีน 0.927 กรัม อาร์จินีน 2.630 กรัม โปรลีน 0.810 กรัม ไกลซีน 1.215 กรัม ฮิสทิดีน 0.522 กรัม ทริปโตเฟน 0.388 กรัม ไทโรซีน 0.743 กรัม วาลีน 0.990 กรัม ไอโซลิวซีน 0.763 กรัม ลิวซีน 1.358 กรัม ไลซีน 0.569 กรัม ไฟโตสเตอรอล 714 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 5 ไมโครกรัม วิตามินเอ 9 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.791 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.247 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 4.515 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.050 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.790 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 97 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 975 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 14.55 มิลลิกรัม ธาตุซีลีเนียม 5.7 ไมโครกรัม ธาตุโซเดียม 11 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 629 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 7.75 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 468 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 351 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 2.460 มิลลิกรัม และธาตุทองแดง 4.082 มิลลิกรัม

สรรพคุณของงาดำ

การใช้ประโยชน์จากงาดำ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากงาดำ ซึ่ง สรรพคุณทางยาของงาดำ ประกอบด้วย ช่วยชะลอความแก่  ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ช่วยซ่อมแซมผิวพรรณ ช่วยบำรุงรากผม ช่วยให้ผมดกเงางาม ช่วยป้องกันการเกิดผมหงอก ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยสลายไขมัน ใช้ลดความอ้วน ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยบำรุงสมอง ช่วยบำรุงโลหิต ลดความดันโลหิต ช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว ช่วยให้นอนหลับสบาย  ป้องกันโรคหวัด ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยบรรเทาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยป้องกันโรคข้อเสื่อม

โทษของงาดำ

การใช้ประโยชน์จากงาดำ มีข้อควรระวังการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  1. สำหรับคนที่ลดน้ำหนักโดยการกินงาดำ เนื่องจากงาดำมีน้ำหนักเบา ซึ่งทำให้น้ำหนักตัวลดมาก อาจไม่ดีต่อสุขภาพ
  2. การบริโภคเมล็ดงาดำ มากเกินไปทำให้ลำไส้ใหญ่ถูกทำลายได้ และเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
  3. เมล็ดงา ทำให้ลำไส้ใหญ่อักเสบได้ และอาจทำให้ท้องผูก ปวดท้องได้
  4. อาการแพ้งาดำ ในการบริโภคงาดำสามารถทำให้แพ้ได้ อาการการแพงงาดำ เช่น ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ตาอักเสบ น้ำมูกไหล หายใจลำบาก เป็นต้น หรือบางรายมีอาการแพ้อย่างรุนแรง คือ หอบ ความดันโลหิตต่ำ รู้สึกแน่นหน้าอก และทางเดินหายใจตีบตัน อาจเสียชีวิตได้ในที่สุด
  5. การบริโภคงาดำมากเกินไปอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ไส้ติ่งได้
  6. คุณสมบัติหนึ่งของาดำคือ เป็นยาระบาย ซึ่งถ้าบริโภคมากเกินไปจะทำให้มีการถ่ายท้องมากเกินไป
  7. งาดำมีสรรพคุณในการบำรุงผม แต่ถ้าหากใช้มากเกินไป จะทำให้ผมร่วงได้
  8. ในสตรีมีครรภ์ ช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ไม่ควรรับประทานงาดำ อาจทำให้แท้งบุตรได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

ผักชีฝรั่ง ( Culantro ) สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย บำรุงกระดูกและฟัน เป็นยาระบายอ่อนๆ ต้นผักชีฝรั่งเป็นอย่างไรผักชีฝรั่ง สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของผักชีฝรั่ง

ผักชีฝรั่ง มีชื่อสามัญ ว่า Culantro หรือ Long coriander หรือ Sawtooth coriander ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชีฝรั่ง เรียก Eryngium foetidum L. เป็นพืชล้มลุก ตระกลูเดียวันกับผักชี สำหรับชื่อเรียกอื่นของผักชีฝรั่ง เช่น ผักชีดอย ผักจีดอย ผักจีฝรั่ง หอมป้อมกุลา หอมป้อมกูลวา ห้อมป้อมเป้อ มะและเด๊าะ  ผักชีใบเลื่อย  ผักหอมเทศ ผักหอมเป  หอมป้อม หอมเป  หอมน้อยฮ้อ  หอมป้อมเปอะ  เป็นต้น ชื่อเรียกอื่นๆ จะแตกต่างตามพื้นที่ แต่คือ พืชชนิดเดียวกัน

ต้นผักชีฝรั่ง มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ และเม็กซิโก ผักชีฝรั่ง มีสารสำคัญ คือ กรดออกซาลิก ( Oxalic acid ) ซึ่งกรดชนิดนี้ ทำให้เกิดนิ่วที่ไตและนิ่วที่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งอาการนิ้วนี้ จะส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการปวด ที่ท้อง เอว และปัสสาวะขัดได้ ดังนั้น ไม่แนะนำให้กินผักชีฝรั่งจำนวนมาก ติดต่อกัน หรือ รับประทานในปริมาณที่มากเกินไป รวมถึงไม่แนะนำให้ สตรีมีครรภ์รับประทานผักชีฝรั่ง

ลักษณะของผักชีฝรั่ง

ผักชีฝรั่งเป็นพืชอายุสั้น เป็นพืชล้มลุก ลักษณะของต้นผักชีฝรั่ง มีดังนี้

  • ลำต้นของผักชีฝรั่งเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน หรืออยู่เหนือดินไม่มาก ลักษณะเป็นกระเปราะกลม รากของผักชีฝรั่งเป็นรากแก้ว มีรากแขนงและรากฝอยอยู่รอบๆ
  • ใบของผักชีฝรั่ง ใบเป็นแทงยาว ออกมาจากเหง้าของลำต้น ใบยาวรี ปลายใบแหลม ขอบใบหยักฌฆฒ์ฮฯฟันเลื่อย ใบสีเขียวสด
  • ดอกของผักชีฝรั่ง จะแทงออกมาจากเหง้า เป็นก้านกลมยาวแข็ง ดอกมีสีขาว ผลและเมล็ดของผักชีฝรั่ง
  • ผลของผักชีฝรั่งจะมีเมล็ดจำนวนมาก เมื่อแก่ไปเมล็ดสามารถขยายพันธ์ฺได้ และการขยายพันธ์ของผักชีฝรั่งจะใช้การโน้มกิ่ง และเมล็ด

คุณค่าทางอาหารของผักชีฝรั่ง

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของผักชีฝรั่ง ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 32 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ดังนี้ กากใยอาหาร 1.7 กรัม ธาตุแคลเซียม 21 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.9 มิลลิกรัม สารเบต้าแคโรทีน 876.12 RE วิตามินบี 1 0.31 มิลลิกรัม วิตามินบี 2  0.21 มิลลิกรัม ไนอาซีน 0.7 มิลลิกรัม และวิตามินซี 38 มิลลิกรัม

สรรพคุณของผักชีฝรั่ง

สำหรับการใช้ผีกชีฝรั่งมาใช้ประโยชน์ทางยา ทางสมุนไพร นั้น สามารถนำมาใช้ทุกส่วน แต่นิยมนำใบมาใช้บริโภค เป็นส่วนมาก รายละเอียดของสรรพคุณของผักชีฝรั่ง ส่วนต่างๆ มีดังนี้

  • ใบของผักชีฝรั่ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ลดอาการปวดหัว เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง ช่วยห้ามเลือด ช่วยบำรุงเลือด สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยบำรุงกำหนัด ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ ช่วยดับกลิ่นปาก ช่วยดับกลิ่นคาวอาหาร ช่วยเจริญอาหาร
  • ลำต้นของผักชีฝรั่ง ช่วยลดความดันโลหิต บำรุงการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้ทำงานปกติ ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงเส้นผม บำรุงเล็บ รักษาไข้มาลาเรีย ช่วยขับลม เป็นยาระบาย ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยรักษาผดผื่นคัน ช่วยฆ่าเชื้อโรค ช่วยแก้พิษงู ช่วยแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ช่วยบำรุงกำหนัด ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ
  • รากของผักชีฝรั่ง ช่วยกระตุ้นร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงกำหนัด ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ

โทษของผักชีฝรั่ง

ในผักชีฝรั่ง มีกรดออกซาลิกสูงมาก เป็นสาเหตุของการเกิดนิ่วในไต ทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และ เกิดปัญหาต่างๆ เช่น ปวดท้อง ปวดเอว ปัสสาวะติดขัด เป็นต้น สำหรับการบริโภคผักชีฝรั่งควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม ไม่กินมากเกินไป หรือ กินเยอะเกินไป และ สำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่แนะนำให้รับประทานผักชีฝรั่ง ผักชีฝรั่ง มีกลิ่นแรงมาก หากกินสดๆ ในปริมาณมาก อาจทำให้อาเจียนได้

ต้นผักชีฝรั่ง ภาษาอังกฤษ เรียก Stink weed หรือ Eryngium เป็นพืชที่คนไทยรุ้จักเป็นอย่างดี เนื่องจากกลิ่นหอมของผักชีฝรั่ง และสรรพคุณด้านสมุนไพร ของ ผักชีฝรั่ง มีมากมาย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ลดอาการปวดหัว เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง ช่วยห้ามเลือด ช่วยบำรุงเลือด สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยบำรุงกำหนัด ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ ช่วยดับกลิ่นปาก ช่วยดับกลิ่นคาวอาหาร ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดความดันโลหิต บำรุงการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้ทำงานปกติ ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงเส้นผม บำรุงเล็บ รักษาไข้มาลาเรีย ช่วยขับลม ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยรักษาผดผื่นคัน ช่วยฆ่าเชื้อโรค ช่วยแก้พิษงู ช่วยแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ช่วยกระตุ้นร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับปัสสาวะ

ผักชีฝรั่ง นิยมนำมาเป็นส่วนผสมของอาหารไทย หลายเมนูเช่น อาหารยำต่างๆ ต้มยำ ซุปหน่อไม้ ลาบหมู ลาบต่างๆ เป็นต้น สำหรับการปลูกผักชีฝรั่งในประเทศไทยนั้น นิยมปลูกมากในเขตภาคกลาง ตามจังหวัดนครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ราชบุรี นอกนั้นผักชีฝรั่งสามารถปลูกได้มากในทุกพื้นที่ ของประเทศไทย เรามานำเสนอ ความรู้ของเรื่องผักชีฝรั่งว่าเป็นอย่างไร ลักษณะของผักชีฝรั่ง สรรพคุูณของผักชีฝรั่ง การปลูกผักชีฝรั่ง เป็นต้น

การปลูกผักชีฝรั่ง

การปลูกผักชีฝรั่ง สามารถปลูกได้ด้วยการใช้เมล็ด เพาะในแปรงเพาะและย้ายลงแปรงใหญ่ รายละเอียดของการปลูกผักชีฝรั่ง มีดังนี้

  • การเตรียมแปลงปลูก ให้ยกร่องแปลงปลูกให้สูง เพื่อป้องกันการเกิดโรครากเน่า ควรไถดะ ให้ลึกประมาณ 1 ฟุต ตากดินให้แห้งประมาณ 1 สัปดาห์ กำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยคอก จากนั้น พรวนดินอีกครั้ง ความยาวของแปรงปลูกตามความเหมาะสมของพื้นที่ ให้ทำโรงเรือนหรือกางมุ้ง เนื่องจากผักชีฝรั่งไม่ชอบแสงแดดจัด
  • เพาะต้นกล้า ด้วยการหว่านเมล็ดพันธุ์ โดยทั่วไปเมล็ดผักชีฝรั่ง 1 ไร่ใช้เมล็ดพันธ์ 3 กิโลกรัม หว่านเมล็ดให้ทั่วแปลง และเกลี่ยดิยกลบเมล็ด จากนั้นรดน้ำ เมล็ดอ่อนจะงอกภายใน 15 วัน
  • การรดน้ำ ให้รดน้ำทุกวัน วันละ 1 ครั้ง รดน้ำให้ดินชุ่ม การใส่ปุ๋ย ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักเพื่อรักษาสภาพดิน
  • การย้ายต้นปลูก สามารถย้ายลงแปลงปลูก หลังจากอายุได้ 20 วัน ควรย้ายต้นผักชีฝรั่งให้มีระยะห่างระหว่างต้นอย่างเหมาะสม
  • การเก็บผลผลิต ผักชีฝรั่งจะเจริญเติบโต พร้อมสำหรับการรับประทาน เมื่ออายุประมาณ 45 ถึง 60 วัน

โรคและศัตรูพืชของผักชีฝรั่ง

สำหรับการปลูกผักชีฝรั่งต้องเข้าใจโรคและศัตรูของพืชชนิดนี้ คือ

  • โรคใบไม้ จะมีลักษณะใบเหลืองจากปลายใบ โรคนี้มักเกิดขึ้นในฤดูร้อน ป้องกันโรคใบไม้ได้โดยใช้เบนเลท ฉีดพ่น
  • โรคโคนเน่า จะมีลักษณะใบและลำต้นเหี่ยว เมื่อถอนออกมาพบว่ารากเน่า ให้แก้ปัญหาด้วยหารยกแปลงสูง และจัดให้มีร่องระบายน้ำ
  • หนอนกินใบ เป็นศัตรูพืชของผักชีฝรั่ง ซึ่งหนอนชนิดนี้จะระบาดในช่วงฤดูฝน
  • หอยทาก เป็นศัตรูพืชที่ระบาดในพื้นที่ ที่มีหญ้ารก และปลูกในที่ร่ม

ผักชีฝรั่ง ( Culantro ) พืชสวนครัว ประโยชน์ของผักชีฝรั่ง คุณค่าทางโภชนาการของผักชีฝรั่ง สรรพคุณของผักชีฝรั่ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของร่างกาย บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันมะเร็ง ลดอาการปวดหัว เป็นยาระบายอ่อนๆ ลักษณะทางพฤษศาสตร์ของผักชีฝรั่ง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove