โรคเหน็บชา โรคขาดวิตามินบี1 มี 2 ลักษณะ โรคเหน็บชาในเด็ก โรคเหน็บชาในผู้ใหญ่ เป็นโรคระบบประสาทในประเทศไทยที่พบบ่อยในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง กินปลาร้า กินอาหารดิบ

โรคเหน็บชา อาการมือเท้าชา โรคระบบประสาท โรคขาดวิตามินบี1

  • อาการชา หมายถึง ภาวะอวัยวะไม่สามารถรับความรู้สึกได้ หรือ ความสามารถในการสัมผัสบางอย่างเสียไปชั่วขณะหนึ่ง เช่น  ไม่เจ็บ ไม่รู้สึก ไม่ร้อนไม่เย็น เป็นต้น
  • อาการเหน็บ หมายถึง อาการเจ็บ ที่มาจากสาเหตุการกดทับ ขาหรือแขนนานๆ จนบางครั้งมีอาการอ่อนแรงจนเหยียดขาไม่ออกและลุกขึ้นไม่ได้

เหน็บชาในผู้ใหญ่

สำหรับอาการเหน็บชาในผู้ใหญ่ สามารถแบ่งลักษณะของอาการได้ 3 ประเภท คือ เหน็บชาชนิดผอมแห้ง เหน็บชาชนิดเปียก และ เหน็บชาชนิดWernicke-Korsakoff Syndrome  โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • เหน็บชาชนิดผอมแห็ง ( Dry Beriberi ) มี อาการชาแบบไม่บวม ชาปลายมือและปลายเท้า กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงไม่มีกำลัง โดยเฉพาะที่ขาส่วนล่าง อาจทดสอบได้โดยให้ผู้ป่วยนั่งยอง ๆ แล้วลุกขึ้นเอง ซึ่งผู้ป่วยจะทำไม่ได้ เจ็บปวด พูดไม่ชัด พูดติดขัด อาเจียน มีความผิดปกติทางจิตใจ สับสน ตาขยับเองโดยที่ไม่รู้ตัว อัมพาต
  • เหน็บชาชนิดเปียก ( Wet Beriberi ) มีอาการบวมร่วมกับอาการชาปลายมือปลายเท้า มีอาการบวม น้ำคั่งในช่องท้อง น้ำคั่งในช่องปอด ขาส่วนล่างบวม หอบเหนื่อย หายใจตื้นขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ ตื่นนอนขึ้นมามีอาการหายใจตื้น หัวใจโตและเต้นเร็ว อาจทำให้หัวใจวายในกรณีไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที
  • เหน็บชา Wernicke-Korsakoff Syndrome พบบ่อยในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง เคลื่อนไหวลูกตาได้น้อย เดินเซ มีความผิดปกติทางจิตใจ ผู้ที่เป็นมากอาจทำให้เกิดอาการทางจิตที่เรียกว่า Korsakoff’s Psychosis

สาเหตุของโรคเหน็บชา

โรคเหน็บชานั้นมีสาเหตุมาจาก พฤติกรรมการกินอาหาร โดยร่างกายได้รับวิตามินบี1 ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย พฤติกรรมที่ทำให้ขาดวิตามินบี 1 คือ การกินข้าวที่ซาวน้ำออกมากๆ กินอาหารที่มี ใบชา ใบเมี่ยง หมากพลู ปลาร้า ปลาส้มดิบ แหนมดิบ หอยลายดิบ ปลาน้ำจืดดิบ เป็นต้น หรือ ความผิดปรกติของร่างกายจากความสามารถในการเผาพลาญวิตามินบี1 เร็วขึ้น เช่น การตั้งครรภ์ ภาวะหญิงให้นมบุตร เด็กวัยเจริญเติบโต เป็นต้น นอกจากพฤติกรรมการบริโภค การเปรี่ยนแปลงของร่างกาย ยังมีสาเหตุอื่น เช่น การผ่าตัดทางเดินอาหาร การฟอกไต  โรคพิษสุราเรื้อรัง การบกพร่องทางพันธุกรรม เป็นต้น

กลุุ่มคนที่เสี่ยงการเกิดโรคเหน็บชา

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเหน็บชา เป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมเข้ากับสาเหตุของการเกิดโรคที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • สตรีที่ตั้งครรภ์
  • สตรีหลังการตั้งครรภ์ ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาการให้นมบุตร
  • เด็กวัยเจริญเติบโต
  • กลุ่มคยวัยทำงานที่ทำงานหนัก เช่น กรรมกร ชาวนา นักกีฬา เป็นต้น
  • คนมีอายุมาก
  • คนที่รับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 น้อย
  • ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง เช่น ตับแข็ง เป็นต้น
  • ผู้ป่วยโรคไต ที่ต้องฟอกไต
  • บุตรหลานของผู้ที่มีประวัติเป้นโรคเหน็บชา
  • นักดื่ม ที่ชอบดื่มสุราเป็นประจำ รวมถึงผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง

อาการของผู้ป่วยโรคเหน็บชา

สำหรับอาการผู้ป่วยโรคเหน็บบชานั้น จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ อาการของผู้ป่วยเหน็บชาในเด็ก และ อาการของผู้ป่วยเหน็บชาในผู้ใหญ่ โดยรายละเอียดของอาการของโรค มีดังนี้

  • อาการโรคเหน็บชาในเด็ก ( Infantile beriberi ) จะพบในทารก อายุไม่เกิน 6 เดือน พบได้กับทารกที่กินนมแม่ ที่ขาดสารอาหาร ขาดวิตามินบี1 จะมีอาการซึม หน้าเขียว ตัวเขียว หอบเหนื่อย ตัวบวม ขาบวม หัวใจโต หัวใจเต้นเร็ว ร้องเสียงแหบ ร้องไม่มีเสียง ตากระตุก หนังตาบนตก ชักหมดสติ เป็นต้น
  • อาการโรคเหน็บชาในผู้ใหญ่ ( Adult beriberi ) ผู้ป่วยจะอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร ท้องผูก ท้องอืดเฟ้อ มีอาการชา  ความจำเสื่อม แต่ตรวจร่างกายแล้วไม่พบสิ่งผิดปกติ ต่อมา ผู้ป่วยจะรู้สึกชาบริเวณปลายมือปลายเท้า มีอาการปวดแสบและเสียวแปลบร่วมด้วย บางรายอาจเป็นตะคริว แขนขาไม่มีแรง โรคเหน็บชาในผู้ใหญ่ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ โรคเหน็บชาชนิดผอมแห้ง โรคเหน็บชาชนิดเปียก และ Wernicke-Korsakoff syndrome

วิธีรักษาโรคเหน็บชา

การรักษาโรคเหน็บชานั้นเกิดจากขาดวิตามินบี 1 การรักษาแพทย์จะให้วิตามินบี 1 เสริมในขนาด 10 ถึง 20 มิลลิกรัม เป็นการเสริมวิตามินโดยการกิน หรือ ฉีดก็ได้ สำหรับในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวาย ต้องให้ยาฉีดวิตามินบี 1 คู่กับการให้ยาขับปัสสาวะ และจำเป็นอาจต้องเอกซเรย์ ตรวจเลือด และตรวจพิเศษอื่น ๆ สำหรับผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากพฤติกรรมการกิน ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน

การป้องกันเหน็บชา

การป้องกันโรคเหน็บชา นั้นสามารถป้องกันจากสาเหตุของการเกิดโรค โดยสามารถสรุปการป้องกันโรคเหน็บชาได้ ดังนี้

  • เพิ่มการกินอาหารประเภทธัญพืช เนื่องจากเป็นอาหารที่มี วิตามินบี 1 สูง
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู โดยเฉพาะ เนื้อวัว เนื้อปลา และ เนื้อหมูไม่ติดมัน ตับ ไต และไข่แดง นม เป็นต้น
  • กินผักที่มีวิตมินบี1 สูง เช่น หน่อไม้ฝรั่ง ฟักทอง กะหล่ำดาว ผักโขม เป็นต้น

โรคเหน็บชา เรียกอีกโรค คือ โรคขาดวิตามินบี1 แบ่งได้ 2 ลักษณะ โรคเหน็บชาในเด็ก และ โรคเหน็บชาในผู้ใหญ่ สาเหตุของโรค อาการของโรค การรักษาและการป้องกันการเกิดโรค โรคจากระบบประสาทในประเทศไทย พบบ่อยในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง กินปลาร้า กินอาหารดิบ

ฝีในสมอง ฝีสมอง ( Brain abscess ) ติดเชื้อโรคที่สมองจนเกิดฝี ทำให้สมองอักเสบ โรคอันตรายเสียชีวิตได้ อาการปวดหัวอย่างรุนแรง แขนขาอ่อนแรง ชัก หมดสติ ส่งแพทย์ด่วน
โรคฝีในสมอง โรคสมอง โรคติดเชื้อ ฝีที่สมอง

โรคฝีในสมอง เกิดจากการการติดเชื้อที่สมอง ภาษาอังกฤษ เรียก Brain abscess เชื้อโรค คือ เชื้อแบคทีเรีย strephyloccus ทำให้พิการ หรือ เสียชีวิตได้ หากมีอาการ ปวดศรีษะอย่างรุนแรง มีไข้ แขนขาอ่อนแรง ชัก อย่าเบาใจให้รีบพบแพทย์ด่วน

ฝีในสมอง โรคเกี่ยวกับการติดเชื้อ ที่สมอง โรคนี้ ผู้ป่วยประมาณไม่เกินร้อยละ 20 จะมีฝีที่สมองมากกว่าหนึ่งจุด และร้อยละ 92 ของผู้ป่วยฝีในสมองพบฝีที่สมองเล็กด้านหน้า โรคอันตรายจากเชื้อแบคทีเรีย ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยมีโอกาสเป็นอัมพาตครึ่งซีก โรคฝีในสมอง ดาราเคยเป็นข่าวใหญ่คร่าชีวิต บิก ดีทูบี มาแล้ว เรามาทำความรู้จักกับโรคฝีในสมองกันว่า สาเหตุของโรค ปัจจัยเสี่ยง อาการและการรักษาโรคทำอย่างไร

โรคฝีสมอง เป็น ภาวะติดเชื้อ ซึ่งสามารถเกิดจากเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียก็ได้ โดยเป็นการสร้างเชื้อโรคจนเกิดอาการอักเสบที่สมอง ส่งผลต่ออาการผิดปกติของระบบประสาท ลักษณะการก่อตัวของเชื้อเป็นแบบฝี หนอง ในเนื้อสมอง อันตรายส่งผลร้ายแรงถึงเสียชีวิต โรคฝีในสมอง นั้นไม่ใช่โรคปรกติที่เกิดกับคนทั่วไป แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ในการเกิดอุบัตติเหตุ โรคหูน้ำหนวก และโรคหัวใจพิการ มีอัตราเสี่ยงสูงในการเกิดโรคนี้ เรามาดูสาเหตุของการเกิดโรคฝีในสมองว่ามีสาเหตุจากอะไรบ้าง

สาเหตุของการเกิดฝีในสมอง

สำหรับสาเหตุของการเกิดฝีในสมองนั้น มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่สมอง ซึ่งเราสามารถแยกสามเหตุหลักๆ ได้ 3 ประการ คือ การติดเชื้อที่อวัยวะที่ใกล้และเกี่ยวข้องกับสมอง การติดเชื้อในกระแสเลือด และการติดเชื้อที่สมองโดยตรง รายละเอียดของสาเหตุข้อต่างๆ มีดังนี้

  • การติดเชื้อของอวัยวะใกล้เคียงกับสมอง เป็นลักษณะการแพร่กระจายเชื้อโรคเข้าสู่สมอง อวัยวะที่ต้องป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ เนื่องจากอาจทำให้สมองติดเชื้อได้ คือ หู ฟัน ใบหน้า หัว เป็นต้น
  • การติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งการเกิดภาวะพิษที่เลือดสามารถกระจายสู่สมองได้ง่ายมาก การติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นโรคอันตรายส่งผลต่อระบบการทำงานทั้งหมดในร่างกาย
  • การติดเชื้อที่สมองโดยตรง เป็นลักษณะของการเกิดอุบัตติเหตุ เกิดการกระแทกอย่างรุนแรง ทำให้เขื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางแผลที่หัว หรือเลือดที่เกิดในอุบัตติเหตุ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดสมอง

กลไกของฝีเกิดขึ้นได้อย่างไร

กระบวนการทางพยาธิวิทยานั้นสามารถกลับมาปรกติได้ใน 3 วัน ตั้งแต่เริ่มเกิดการอักเสบที่สมอง หากการไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมนั้น จะทำให้สมองอักเสบมากขึ้น ซึ่งจะเกิดหนอง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคฝีในสมอง

สำหรับปัจจัยของการเกิดโรคฝีในสมองนั้น มีหลายส่วนทั้งที่สามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ แต่เราก็รวมปัจจัยของการเกิดโรคฝีในสมองว่ามีอะไรบ้าง เพื่อจะสามารถป้องกันการเกิดปัจจัยเสี่ยงของโรคได้

  • ภาวะภูมิต้านทานร่างกายต่ำ ซึ่งปัจจัยนี้เกิดจากร่างกายที่อ่อนแอ สามารถควบคุมได้ด้วยการออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชนืต่อร่างกาย
  • ภาวะการติดเชื้อในอวัยวะส่วนที่เชื่อมโยงกับสมองและใกล้สมอง เช่น หู ไซนัส ฟัน เหงือก แผลที่ศรีษะ เป็นต้น
  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • โรคหัวใจ
  • การติดเชื้อในกระแสเลือดหรือภาวะโลหิตเป็นพิษ
  • อุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนสมองอย่างรุนแรง

อาการของผู้ป่วยโรคฝีในสมอง

สำหรับอาการของโรคฝีในสมองจะส่งผลกระทบกับระบบประสาทเป็นหลัก ซึ่งอาการที่พบเห็นในกรณีที่ไม่ได้เกิดอุบัติเหตุถึงขั้น โคม่า จะพบอาการ คือ เวียนหัว เสียการทรงตัว ปวดหัวอย่างรุนแรง มีไข้สูง แขนขาอ่อนแรง สายตาพร่ามัว คลื่นไส้อาเจียน มีอาการชัก มีหนองไหลจากหู เป็นต้น

หากพบว่ามีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง มีไข้สูง แขนขาอ่อนแรง ให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลด่วนที่สุด

การวินิจฉัยโรคฝีในสมอง

การวินิจฉัยเพื่อวิเคราะห์หาโรค ซึ่งโรคฝีสมองนั้น สามารถพิจารณาจากอาการผิดปรกติ ประวัติทางการแพทย์ ที่การตรวจเอกเซเลย์สมอง ทำการแสกนเอ็มอาร์ไอ

การรักษาโรคฝีในสมอง

การรักษาโรคฝีในสมองนั้น ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาโรคฝีในสมอง ที่โรงพยาบาลตลอดเวลาและรักษาในห้องปลอดเชื้อโรค สำหรับการรักษานั้น รักษาด้วยการให้ยาต้านจุลชีพ โดยจะให้ยาต้าลจุลชีพ ประมาณ 45 วัน หรือให้จนกว่าฝีที่สมองจะหาย

ในกรณีที่ผู้ป่วยโรคฝีในสมองไม่ตอบสนองต่อยาต้านจุลชีพ แพทย์จะทำการผ่าตัดสมอง เพื่อนำก้อนเนื้อฝีออกให้หมด แต่การรักษาต้องรักษาโรคพร้อมกับควบคุมการเกิดโรคแทรกซ้อน อย่าง โรคหูน้ำหนวก โรคหัวใจ เพื่อป้องกันไม่เกิดฝีที่สมองซ้ำอีก การรักษาโรคฝีในสมองนั้น หากรักษาช้าหรือไม่ถูกวิธี ส่วยมากผู้ป่วยจะเสียชีวิตทุกราย แต่หากรักษาได้ จะพบว่ามีผลข้างเคียงต่อระบบประสาทเช่น แขนขาอ่อนแรง หรือ อาการชัก เป็นต้น

การดูแลผู้ป่วยโรคฝีในสมอง

การดูแลผู้ป่วยโรคฝีในสมองนั้น จำเป็นต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคอย่างเคร็งคลัด

  • จัดสถานที่ให้สะดวกต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากผู้ป่วยจะมีร่างกายที่ผิดปรกติ เช่น แขน ขาอ่อนแรง ต้องจัดสถานที่ให้สะดวกเพื่อป้องกันอุบัตติเหตุ
  • ให้ทำกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอ
  • ต้องพกยากันอาการชักติดตัวเสมอ อย่าให้ขาดยา
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้ดี เพื่อลดโอกาสการเกิดฝีสมอง อีกครั้ง
  • พาผู้ป่วยพบแทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
  • หากพบอาการผิดปรกติมากขึ้น เช่น ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง แขนขากลับมาอ่อนแรงอีก มีอาการชักบ่อยขึ้น ให้พบแพทย์เพื่อรับการรักษา

การป้องกันโรคฝีในสมอง

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคฝีในสมอง นั้นเราต้องป้องกันปัจจัยทั้งหมดที่สามารถควบคุมได้ โดยการป้องกันโรคฝีในสมองมีดังนี้

  • ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะที่ศีรษะ
  • ดูแลร่างกายให้แข็งแรง เพื่อให้ร่างกายสามารถมีภูมิต้านทานโรค
  • รับประทาออาหารที่มีประโยชน์และรักษาสุขอนามัยพื้นฐานในสถานที่ที่อยู่อาศัยให้ดี

โรคฝีในสมอง การติดเชื้อที่สมอง เป็นโรคที่คร่าชีวิตดาราชื่อดังอย่าง บิกดีทูบี โรคที่เกิดกับสมองนั้นรุนแรงเสมอไม่ว่าจะโรคอะไร การรักษานั้นก็สามารถทำได้แต่ผู้ป่วยมักไม่เหมือนเดิม หรือ ใช้เวลานานในการเข้าสู่ภาวะปรกติ โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง ยังมีอีกหลายโรคที่อยากแนะนำให้รู้จัก โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง มีดังนี้

โรคสมอง โรคระบบประสาท โรคพาร์กินสัน พาร์กินสันโรคพาร์กินสัน โรคเกี่ยวกับระบบประสาท โรคไม่ติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมได้ โรคของกลุ่มอาการที่มีการสั่นของมือและการเคลื่อนไหวตัวได้น้อย ความจำเสือม อัลไซล์เมอร์ โรคสมอง โรคความจำโรคอัลไซเมอร์ ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม ผู้ป่วยโรค จะมีอาการ เช่น ความจำเสื่อม หลงลืม
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคสมอง ระบบประสาท หลอดเลือดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคเอมจี โรคภูมิต้านทานตัวเอง ชนิดเรื้อรัง ทำให้ไม่สามารถควบคุมการเคลือนไหวของแขน ขา ดวงตา ใบหน้า โคม่า เจ้าชายนิทรา โรคสมอง โรคต่างๆอาการโคม่า โรคเกี่ยวกับระบบสมอง และ ระบบประสาทมาพอสมควรแล้ว อาการหนึ่งที่ควรทความรู้จักกัน คือ อาการโคม่า อาการโคม่าเป็นอย่างไร
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคระบบประสาท โรคกระดูกหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดหลัง ปวดร้าวลงที่ขา ปวดไปถึงน่อง ปวดหลังเท้า เจ็บข้อพับด้านหลัง นิ้วเท้าชา อาการของ โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคสมอง โรคติดเชื้อโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคติดเชื้อ ภาวะการอักเสบของเยื่อหุ้มสมอง เกิดจากการติดเชื้อ อาการ มีไข้สูง ปวดหัวรุนแรง คอแข็ง คลื่นไส้ อาเจียน กลัวแสง ชัก หมดสติ

โรคฝีในสมอง ฝีในสมอง ฝีสมอง ( Brain abscess ) ภาวะติดเชื้อที่สมอง เชื้อรา หรือ เชื้อแบคทีเรีย ทำให้สมองอักเสบ ลักษณะของเชื้อเป็นแบบ ฝี หนอง ในเนื้อสมอง ร้ายแรงทำให้เสียชีวิตได้ การติดเชื้อที่สมอง ปวดศรีษะอย่างรุนแรง มีไข้ แขนขาอ่อนแรง ชัก รีบพบแพทย์ด่วน โรคระบบสมอง สาเหตุ อาการ การรักษา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove