ออทิสติก ( Autistic Disorder ) ออทิสซึม ( Autism ) ความบกพร่องของพัฒนาการในเด็ก มีลักษณะเฉพาะตัว เด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะ ด้านสังคม ภาษา และการสื่อความหมายออทิสติก เด็กออทิสติก เด็กปัญญาอ่อน เด็กพิเศษ

Autism มาจากภาษากรีก หมายถึง การแยกตัวอยู่ตามลำพัง เปรียบเสมือน กำแพงใสที่กั้นบุคคลเหล่านี้ออกจากสังคมรอบข้าง โรคออทิสติก เรียกว่า พีดีดี พบว่า มีแนวโน้มการเกิดโรคสูงขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก โดยเพศชายพบมากกว่าเพศหญิง ผู้ป่วยโรคออทิสติกต้องดูแลช่วยเหลืออย่างเหมาะสม และต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง โรคนี้ที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของสมอง ทำให้เกิดความบกพร่องของพัฒนาการและสติปัญญา และทำให้เกิดความผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่อายุยังน้อย

การเกิดโรคออทิสติก พบในเด็กเฉลี่ย 1000 คนพบ 2 ถึง 8 คน ป่วยเป็นโรคออทิสติก ในประเทศไทยพบว่ามีอัตราส่วน 9 คนต่อ 10,000 คน พบว่าเพศชายเกิดมากกว่าเพศหญิง

สาเหตุของการเกิดโรคออทิสติก

การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดออทิสติกในปัจจุบัน นั้นยังไม่สามารถสรุปสาเตุที่ชัดเจนได้ แต่กลไกการของการเกิดโรคที่สำคัญส่วนหนึ่งมาจากเลือดไปเลี้ยงเซลล์สมองไม่เพียงพอ ทำให้เซลล์สมองบางส่วนทำงานน้อยหรือไม่ทำงาน จนเกิดความผิดปกติของสมองและระบบประสาท แต่ไม่พบความผิดปกติที่เกิดจากการเลี้ยงดู หรือบุคลิกภาพของพ่อแม่ สามารถสรุปสาเหตุและปัจจัยที่มีโอกาสทำให้เกิดโรคออทิสติดได้ ดังนี้

  • ความผิดปกติของระบบประสาทและสมอง ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคออทิสติก มีความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมอง ด้วยความผิดปกติของสมองและการทำงานของสมองบกพร่อง
  • ความผิดปกติของสารสื่อประสาท
  • ปัจจัยทางพันธุกรรม  ผู้ป่วยโรคออทิสติก มีโอกาสเป็นโรคนี้หากมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
  • ปัจจัยทางการเลี้ยงดู พ่อแม่ของเด็กกลุ่มโรคออทิสติกมีความสำเร็จในหน้าที่การงาน แต่ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูกต่ำ ห่างเหินเย็นชา ผู้ป่วยโรคออทิสติกมักมีภาวะตึงเครียดจากการดูแล ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะวิตกกังวล หรือซึมเศร้าได้

อาการของโรคออทิสติก

ลักษณะอาการของโรคที่สามารถสัมผัสได้อย่างชัดเจน คือ ความผิดปกติด้านการเข้าสังคม ( Social disturbance ) เป็นความบกพร่องที่มีความรุนแรงมากที่สุดของกลุ่มโรคออทิสติก โดยลักษณะอาการที่พบ ประกอบด้วย

  • ไม่มองหน้า ไม่สบตา ขณะสนทนาหรือการทำกิจกรรมต่างๆ
  • ไม่แสดงออกทางอารมณ์ รวมถึง สีหน้า ท่าทาง การยิ้ม
  • ไม่มีท่าทางแสดงออกเพื่อการสื่อสาร เช่น ไม่ชี้นิ้วบอกถึงสิ่งที่ต้องการ ไม่พยักหน้า หรือ ส่ายหน้า เพื่อแสดงออกถึงความต้องการ
  • ไม่ตอบสนองต่อเสียงเรียกหา ไม่สนใจเวลาพูดคุยด้วย
  • ชอบเล่นคนเดียว ไม่สนใจเข้าไปเล่นกับเด็กคนอื่น
  • ไม่แสดงอารมณ์หรือท่าทางดีใจ เช่น ยิ้ม วิ่งมาหา หรือ เข้ามากอด และไม่ร้องตาม พ่อแม่ ไม่เข้ามาแสดงความรักกับพ่อแม่ เช่น การกอด การจูบ การเข้ามาซบอก
  • ไม่เข้าใจสถานการณ์ทางสังคมที่ซับซ้อน
  • ไม่สามารถทำท่าเลียนแบบผู้ใหญ่ได้ เช่น แต่งหน้า หวีผม

ความผิดปกติหรืออาการอื่นๆที่พบร่วมกับผู้ที่มีอาการป่วยโรคออทิสติก

สำหรับผู้ป่วยโรคออทิสติกนั้นมักพบว่ามีอาการของโรคอื่นๆร่วมด้วยเสมอ เป็นความผิดปกติที่พบร่วมกับกลุ่มโรคออทิสติกได้ โดยสามารถสรุป ได้ดังนี้

  • โรคปัญญาอ่อน พบว่าร้อยละ 70 ของผุ้ป่วยโรคออทิสติก มีภาวะปัญญาอ่อนร่วมด้วย
  • อาการชัก ผู้ป่วยโรคออทิสติก มีโอกาสการชักสูงกว่าคนทั่วไป ส่วนใหญ่อาการชักมักเริ่มในวัยรุ่น ช่วงอายุที่มีโอกาสชักมากที่สุด คือ 10 -14 ปี
  • มีปัญหาเรื่องการนอน ผู้ป่วยโรคออทิสติก จะนอนยาก นอนน้อย และ นอนไม่เป็นเวลา
  • มีปัญหาด้านการกินอาหาร ซึ่งผู้ป่วยจะไม่กินสิ่งที่ไม่อยากกิน
  • มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว และการทรงตัว ไม่สามารถทำได้อย่างปรกติเหมือนคนทั่วไป
  • มีปัญหาทางอารมณ์

การรักษาโรคออทิสติก

โรคออทิสติก ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การรักษาเพื่อเป้าหมายของการรักษาคือการส่ง เสริมพัฒนาการและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้ใกล้เคียงเด็กปกติมากที่สุด การวินิจฉัยและได้รับการรักษาตั้งแต่อายุยังน้อย และต่อเนื่องทำให้ผลการรักษาดี โดยวิธีการรักษาที่เหมาะสมคือ บูรณาการ การรักษาด้านต่างๆเข้าด้วยกันตามความจำเป็นของเด็กแต่ละคน วิธีการรักษา ได้แก่

  • การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม เช่น การลดพฤติกรรมความก้าวร้าวและการใช้ความรุนแรง
  • การฝึกพูด การพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสารที่ล่าช้ากว่าคนปรกติ จะช่วยลดพฤติกรรมความก้าวร้าวที่เกิดจากการไม่สามารถสื่อสารได้ตามที่ต้องการ
  • การส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นๆควบคู่กับการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร สังคม และ การปรับพฤติกรรม
  • การศึกษาพิเศษควรจัดการศึกษาที่มีระบบชัดเจน ไม่มีสิ่งเร้าที่มากเกินไป และ ควรวางแผนการศึกษาร่วมกันระหว่างผู้ปกครองและโรงเรียน
  • การฝึกอาชีพ มองหอาอาชีพให้เหมาะสมกับพัฒนาการของผู้ป่วย เพื่อให้ผุ้ป่วยสามารถดำรงชีพได้ด้วยตนเอง
  • รักษาด้วยยา การใช้ยาเพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และ ช่วยให้เด็กสามารถฝึกได้ง่ายขึ้น ยาจะไม่ใช่ยาที่รักษาอาการของโรค แต่เป็นยาที่ควบคุมพฤติกรรมของเด็ก

แนวทางดูแลและช่วยเหลือเด็กออทิสติก

สำหรับการเลี้ยงดูเด็กออทิสติกนั้น มีแนวทางการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก โดยมีแนวทาง ดังนี้

  • ต้องส่งเสริมกำลังใจคนในครอบครัว ( Family Empowerment ) ครอบครัว มีความสำคัญที่สุดในการช่วยเหลือเด็กออทิสติกให้สามารถดำรงชีวิตได้ ความรู้ความเข้าใจ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ ผู้ปกครองตั้งเริ่มเรียนรู้ และส่งเสริมทักษะต่างๆในการดูแลตัวเองของเด็กออทิสติก
  • ต้องส่งเสริมพัฒนาการความสามารถของเด็ก ( Ability Enhancement ) การเสริมสร้างโอกาสให้เด็ก มีความสามารถที่หลากหลายด้วยกิจกรรม เช่น ดนตรี กีฬา และศิลปะ จะช่วยให้เด็กมีโอกาสแสดงความสามารถมากขึ้น
  • ส่งเสริมพัฒนาการ ( Early Intervention ) การจัดกิจกรรมเพื่อใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กตามวัย โดยยึดหลักและลำดับขั้นพัฒนาการของเด็กปกติ ควรเน้นในเรื่องการมองหน้าสบตา การมีสมาธิ การฟัง และการทำตามคำสั่ง ทักษะเหล่านี้ อาจทำให้เกิดความเครียดทั้งกับผู้ปกครองและตัวเด็กเอง แต่เมื่อเด็กมีทักษะพื้นฐานเหล่านี้ดีแล้ว การต่อยอดในทักษะที่ยากขึ้นก็จะไม่ยากอีกต่อไป
  • พฤติกรรมบำบัด ( Behavior Therapy ) ส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง และหยุดพฤติกรรมที่จะเป็นปัญหา เสริมสร้างทักษะด้านภาษา ด้านสังคม และทักษะอื่นๆ เมื่อเด็กมีพฤติกรรมตามที่เราต้องการ ต้องชมเชย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
  • ฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ ( Medical Rehabilitation ) เช่น การแก้ไขการพูด ทำกายภาพบำบัด
  • การแก้ไขการพูด ( Speech Therapy ) พัฒนาการทางภาษาต้องใกล้เคียงปกติที่สุด การแก้ไขการพูดมีความสำคัญ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญคือผู้ปกครอง ซึ่งใกล้ชิดกับเด็กที่สุด
  • กิจกรรมบำบัด ( Occupational Therapy ) การประยุกต์กิจวัตรประจำวันและกิจกรรมต่างๆ สามารถทำให้เด็กออทิสติกสามารถกลับไปดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปรกติที่สุด นักกิจกรรมบำบัด ( Occupational Therapist ) จะเป็นผู้ที่ประยุกต์ใช้กิจกรรมต่างๆ มาช่วยในการบำบัดเด็กตามสภาพปัญหาของเด็กแต่ละคน
  • การฟื้นฟูความสามารถทางการศึกษา ( Educational Rehabilitation ) การศึกษามีบทบาทสำคัญในการเพิ่มทักษะด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
  • การฟื้นฟูความสามารถการเข้าสังคม ( Social Rehabilitation ) ฝึกฝนทักษะการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อให้เด็กออทิสติกสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ
  • ฝึกทักษะการใช้นชีวิตประจำวัน ( Activity of Daily Living Training ) การจัดกระบวนการเรียนรู้ ในกิจวัตรประจำวัน ต้องฝึกฝนจนเกิดความเคยชิน เพื่อให้เขาสามารถทำอะไรได้ด้วยตัวเอง
  • ฝึกทักษะทางสังคม ( Social Skill Training ) ความบกพร่องที่สำคัญของเด็กออทิสติก เพื่อช่วยให้เด็กออทิสติกสามารถเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม เพื่อสามารถปรับตัวเข้าสังคมได้
  • ฟื้นฟูทักษะทางอาชีพ ( Vocational Rehabilitation ) ปัจจุบันการทำงานประกอบอาชีพส่วนตัว เพื่อเป้าหมายให้เด็กออทิสติกสามารถทำงาน มีรายได้ และดำรงชีวิตโดยอิสระ เพื่อพึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุด
  • การบำบัดทางเลือก ( Alternative Therapy ) การบำบัดรักษาในปัจจุบันยังมีแนวทางการบำบัดทางเลือกที่หลากหลาย  สามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสมกับสภาพปัญหา สิ่งสำคัญคือการทำความเข้าใจกับปัญหา การบำบัดทางเลือก เช่น การสื่อความหมายทดแทน ( Augmentative and Alternative Communication; AAC ) ศิลปกรรมบำบัด ( Art Therapy ) ดนตรีบำบัด ( Music Therapy ) เครื่องเอชอีจี ( HEG; Hemoencephalogram ) การฝังเข็ม ( Acupuncture ) การบำบัดด้วยสัตว์ ( Animal Therapy ) การบำบัดด้วยหุ่นยนต์ ( Robot Therapy ) เป็นต้น

โรคออทิสติก ( Autistic Disorder ) หรือ ออทิสซึม ( Autism ) คือ ความบกพร่องของพัฒนาการในเด็ก ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว  โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะ ด้านสังคม ภาษา และการสื่อความหมาย ได้ ปัญหานี้เป็นตั้งแต่เล็ก และแสดงให้เห็นได้ก่อนอายุ 3 ขวบ โรคนี้ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนได้  เด็กออทิสติกต้องดูแลอย่างไร

สมองพิการ ( Cerebral Palsy ) โรคซีพี การพิการทางสมองอย่างถาวรตั้งแต่เด็ก ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ใบหน้าเกร็ง การทรงตัวไม่ดี การนั่ง ยืนและเดินผิดปกติโรคสมองพิการในเด็ก โรคซีพี โรคสมองพิการ สมองขาดออกซิเจน

โรคซีพีที่พบในเด็กมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับพัฒนา ทำให้มีพัฒนาการช้า โดยเฉพาะการเดิน การยืน การทรงตัว การควบคุมตนเองได้ยากเช่น น้ำลายยืด การพูดทำได้ช้า เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรคสมองพิการ

ร้อยละ 25 ของผู้ป่วยโรคซีพี ไม่ทราบสาเหตุของโรคที่ชัดเจน แต่ส่วนมากพบว่าเกิดความผิดปรกติของสมองตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เราสามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคซีพี  หรือ โรคสมองพิการ ได้ 3 ระยะ คือ ระยะก่อนคลอด ระยะระหว่างคลอด และ ระยะหลังคลอด โดยรายละเอียดของสาเหตุการเกิดโรค มีดังนี้

  • สาเหตุการเกิดโรคสมองพิการในระยะก่อนคลอด ( prenatal period ) ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เด็กมีความพิการทางสมองตั้งแต่กำเนิด ประกอบด้วย การติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น ติดเชื้อซิฟิลิส ติดเชื้อหัดเยอรมัน ติดโรคเริม ติดเชื้อมาเลเรีย เป็นต้น การขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์ การขาดสารอาหารของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ โรคประจำตัวของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ การได้รับสารพิษระหว่างการตั้งครรภ์ ความผิดปกติของสมองของเด็กตั้งแต่เกิด เช่น เกิดภาวะน้ำคั่งศีรษะ สมองไม่เจริญ สมองลีบ สมองเล็ก
  • สาเหตุของการเกิดโรคสมองพิการในระยะระหว่างคลอด( perinatal period ) นับระยะของการเกิดโรคโดยอายุครรภ์ 6 เดือน จนถึงการคลอด สาเหตุของการเกิดโรค เช่น การคลอดลูกก่อนกําหนด การขาดออกซิเจนในระหว่างคลอดของเด็ก  ซึ่งเกิดจากการคลอดผิดปรกติ เช่น คลอดยาก สายสะดือพันคอ เป็นต้น
  • สาเหตุของการเกิดโรคสมองพิการในระยะหลังการคลอด ( postnatal period ) เกิดจากสาเหตุของสมองขากออกซิเจน การติดเชื้อโรคในสมอง และ การเกิดอุบัติเหตุต่อสมอง เป็นต้น

อาการของโรคสมองพิการ ( โรคซีพี )

การพบความผิดปรกติของโรคสมองพิการจะพบว่าสามารถพบได้ในเด็กตั้งแต่อายุก่อน 1 ขวบ โดยสามารถสังเกตุอาการจาก ความผิดปรกติของกล้ามเนื้อมีอาการอ่อนแรง กล้ามเนื้อเกร็ง เด็กกำมือมากกว่าแบมือ และพัฒนาการเกี่ยวกับการเดิน โดยเด็กไม่สามารถเดินได้ ลักษณะอาการของโรคสามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มอาการเกร็ง กลุ่มอาการกระตุก และ กลุ่มอาการเกร็งและกระตุก โดยรายละเอียดดังนี้

  • กลุ่มอาการเกร็ง ( spastic ) อาการนี้พบมากที่สุด โดยกล้ามเนื้อมีความตึงตัวมากผิดปกติ ทำให้กิดการเกร็ง โดยการเกร็งมี 3 แบบ คือ เกร็งครึ่งซีก เกร็งครึ่งท่อน และ เกร็งทั้งตัว
  • กลุ่มอาการกระตุก ( athetoid ) มีความตึงตัวของกล้ามเนื้อและมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ไมสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้  หรือ ความตึงตัวของกล้ามเนื้อน้อยจนผิดปกติ ทำให้มีปัญหาการทรงตัว
  • กลุ่มอาการเกร็งและกระตุกผสมกัน ( mixed type )

นอกจากอาการผิดปรกติของกล้ามเนื้อแล้ว โรคสมองพิการ หรือ โรคซีพี จะเกิดโรคอื่นๆ ร่วมด้วย โดยสามารถสรุปโรคที่เกี่ยวกับโรคสมองพิการ มีดังนี้

  • เกิดภาวะปัญญาอ่อน มีความบกพร่องด้านระดับสติปัญญา และมักจะมีปัญหาอื่นร่วมด้วยเสมอ เช่น การมองเห็นไม่ดี การฟังไม่ดี การพูดไม่ดี อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
  • มีอาการเศร้าซึม เนื่องจากทำการเคลื่อนไหวไม่ได้ดังตั้งใจ บางครั้งทำได้ บางครั้งทำไม่ได้ ไม่สามารถวิ่งเล่นกับเพื่อนได้ ช่วยตัวเองไม่ได้เลยทำให้มีปัญหาทางอารมณ์และสังคมได้
  • เกิดโรคลมชัก พบว่าร้อยละ 50 ของเด็กสมองพิการ จะมีอาการชัก
  • มีปัญหาด้านกระดูก อาจพบภาวะกระดูกสันหลังคด ( scoliosis ) การหดรั้งและเท้าแปแต่กำเนิด ( equinus ) เป็นต้น
  • มีปัญหาด้านฟันและช่องปาก เด็กสมองพิการมักมีปัญหาฟันผุ เนื่องจากความสามารถในการดูแลร่างกายต่ำ

การรักษาโรคสมองพิการ

เนื่องจากโรคนี้ไม่สามารถรักษาหายขาดได้ เพราะ สมองมีความพิการ ไม่สามารถทำให้กลับมาปรกติได้ สิ่งที่ทำได้ คือ การฟื้นฟูและบรรเทาอาการ รวมถึงฟื้นฟูสภาพจิตใจ เพื่อการปรับตัวให้เข้ากับสังคม สำหรับการรักษาโรคซีพี สามารถรักษาเพื่อให้ใช้ชีวิตให้ได้ปรกติที่สุด สามารถใช้ยารักษา การผ่าตัด การกายภาพบำบัดร่วม รวมถึงการอุปกรณ์เสริม โดยรายละเอียดการรักษา มีดังนี้

  • การรักษาด้วยการทำภาพบำบัด เพื่อทำการฟื้นฟูกล้ามเนื้อ เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด และ รักษาเพื่อฟื้นฟูความสามารถในการพูด
  • การรักษาด้วยการให้ยา ยากินมี 2 ลักษณะ คือ ยกกิน และ ยาฉีด โดน ยากินเพื่อช่วยลดความเกร็งของกล้ามเนื้อ ส่วนยาฉีดจะใช้เฉพาะที่แต่เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน ยาจะมีฤทธิ์ทำให้ประสาทส่วนปลายถูกขัดขวาง เพื่อลดความผิดรูปของข้อและกล้ามเนื้อที่เกร็งผิดรูป
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด โดยผ่ากล้ามเนื้อที่ยึดตึง ย้ายเอ็น เพื่อสร้างความสมดุลของข้อกระดูก และ ผ่าตัดกระดูกที่ผิดรูป ให้มีความสมดุลย์ นอกจากการผ่าตัดกล้ามเนื้อและกระดูก ยังมีการผ่าตัดอื่นๆ เช่น การผ่าตัดแก้ตาเหล่ ผ่าตัดแก้น้ำลายยืด
  • การรักษาด้วยการใช้อุปกรณ์เสริมร่วมกับ เป็นการนำเอาอุปกรณ์มาช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายดีกว่าปรกติ เช่น เฝือกอ่อนพยุงข้อเท้า ( ankle foot orthoses – AFO ) อุปกรณ์ช่วยเดิน ( walker ) เป็นต้น

การดูแลผู้ป่วยโรคซีพี

  • ควรให้ผู้ป่วยขยับร่างกายบ่อยๆ เช่น ฝึกเดิน ฝึกการทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง บริหารกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ การฟื้นฟูร่างกาย ควรเริ่มตั้งแต่เด็ก โดยไม่ควรเกินอายุ 7 ปี จะทำให้เด็ดมีพัฒนาการที่ดีขึ้น
  • ต้องปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วย เช่น อุปกรณ์ต่างๆที่ช่วยให้ใช้ชีวิตง่ายขึ้น ทางเดินควรเป็นทางลาด ไม่ควรวางสิ่งของกีดขวางทางเดิน เป็นต้น
  • หากิจกรรมช่วยการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก เช่น พาเข้าสังคม ทำกิจกรรมเสริมทักษะทั้งกล้ามเนื้อ สมอง
  • การฝึกให้ผู้ป่วยช่วยตัวเองในกิจกรรมพื้นฐาน เช่น การเคี้ยวอาหาร การหยิบจับสิิ่งของ การใส่เสื้อผ้าเอง การขับถ่าย เป็นต้น

สมองพิการ ( Cerebral Palsy ) นิยมเรียก โรคซีพี  คือ โรคในเด็ก เป็นการพิการทางสมองอย่างถาวร ตั้งแต่เด็ก ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายผิดปรกติเช่น ใบหน้าเกร็ง การทรงตัวไม่ดี การนั่ง ยืน และ เดิน ผิดปกติ รวมถึงการทำงานของสมอง เช่น ความบกพร่องในการมองเห็น ได้ยิน การรับรู้ การเรียนรู้ สติปัญญา และ โรคลมชัก เป็นต้น


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove