สมองพิการ ( Cerebral Palsy ) โรคซีพี สมองพิการเกิดจากอะไร

สมองพิการ ( Cerebral Palsy ) โรคซีพี การพิการทางสมองอย่างถาวรตั้งแต่เด็ก ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ใบหน้าเกร็ง การทรงตัวไม่ดี การนั่ง ยืนและเดินผิดปกติโรคสมองพิการในเด็ก โรคซีพี โรคสมองพิการ สมองขาดออกซิเจน

โรคซีพีที่พบในเด็กมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับพัฒนา ทำให้มีพัฒนาการช้า โดยเฉพาะการเดิน การยืน การทรงตัว การควบคุมตนเองได้ยากเช่น น้ำลายยืด การพูดทำได้ช้า เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรคสมองพิการ

ร้อยละ 25 ของผู้ป่วยโรคซีพี ไม่ทราบสาเหตุของโรคที่ชัดเจน แต่ส่วนมากพบว่าเกิดความผิดปรกติของสมองตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เราสามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคซีพี  หรือ โรคสมองพิการ ได้ 3 ระยะ คือ ระยะก่อนคลอด ระยะระหว่างคลอด และ ระยะหลังคลอด โดยรายละเอียดของสาเหตุการเกิดโรค มีดังนี้

  • สาเหตุการเกิดโรคสมองพิการในระยะก่อนคลอด ( prenatal period ) ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เด็กมีความพิการทางสมองตั้งแต่กำเนิด ประกอบด้วย การติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น ติดเชื้อซิฟิลิส ติดเชื้อหัดเยอรมัน ติดโรคเริม ติดเชื้อมาเลเรีย เป็นต้น การขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์ การขาดสารอาหารของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ โรคประจำตัวของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ การได้รับสารพิษระหว่างการตั้งครรภ์ ความผิดปกติของสมองของเด็กตั้งแต่เกิด เช่น เกิดภาวะน้ำคั่งศีรษะ สมองไม่เจริญ สมองลีบ สมองเล็ก
  • สาเหตุของการเกิดโรคสมองพิการในระยะระหว่างคลอด( perinatal period ) นับระยะของการเกิดโรคโดยอายุครรภ์ 6 เดือน จนถึงการคลอด สาเหตุของการเกิดโรค เช่น การคลอดลูกก่อนกําหนด การขาดออกซิเจนในระหว่างคลอดของเด็ก  ซึ่งเกิดจากการคลอดผิดปรกติ เช่น คลอดยาก สายสะดือพันคอ เป็นต้น
  • สาเหตุของการเกิดโรคสมองพิการในระยะหลังการคลอด ( postnatal period ) เกิดจากสาเหตุของสมองขากออกซิเจน การติดเชื้อโรคในสมอง และ การเกิดอุบัติเหตุต่อสมอง เป็นต้น

อาการของโรคสมองพิการ ( โรคซีพี )

การพบความผิดปรกติของโรคสมองพิการจะพบว่าสามารถพบได้ในเด็กตั้งแต่อายุก่อน 1 ขวบ โดยสามารถสังเกตุอาการจาก ความผิดปรกติของกล้ามเนื้อมีอาการอ่อนแรง กล้ามเนื้อเกร็ง เด็กกำมือมากกว่าแบมือ และพัฒนาการเกี่ยวกับการเดิน โดยเด็กไม่สามารถเดินได้ ลักษณะอาการของโรคสามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มอาการเกร็ง กลุ่มอาการกระตุก และ กลุ่มอาการเกร็งและกระตุก โดยรายละเอียดดังนี้

  • กลุ่มอาการเกร็ง ( spastic ) อาการนี้พบมากที่สุด โดยกล้ามเนื้อมีความตึงตัวมากผิดปกติ ทำให้กิดการเกร็ง โดยการเกร็งมี 3 แบบ คือ เกร็งครึ่งซีก เกร็งครึ่งท่อน และ เกร็งทั้งตัว
  • กลุ่มอาการกระตุก ( athetoid ) มีความตึงตัวของกล้ามเนื้อและมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ไมสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้  หรือ ความตึงตัวของกล้ามเนื้อน้อยจนผิดปกติ ทำให้มีปัญหาการทรงตัว
  • กลุ่มอาการเกร็งและกระตุกผสมกัน ( mixed type )

นอกจากอาการผิดปรกติของกล้ามเนื้อแล้ว โรคสมองพิการ หรือ โรคซีพี จะเกิดโรคอื่นๆ ร่วมด้วย โดยสามารถสรุปโรคที่เกี่ยวกับโรคสมองพิการ มีดังนี้

  • เกิดภาวะปัญญาอ่อน มีความบกพร่องด้านระดับสติปัญญา และมักจะมีปัญหาอื่นร่วมด้วยเสมอ เช่น การมองเห็นไม่ดี การฟังไม่ดี การพูดไม่ดี อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
  • มีอาการเศร้าซึม เนื่องจากทำการเคลื่อนไหวไม่ได้ดังตั้งใจ บางครั้งทำได้ บางครั้งทำไม่ได้ ไม่สามารถวิ่งเล่นกับเพื่อนได้ ช่วยตัวเองไม่ได้เลยทำให้มีปัญหาทางอารมณ์และสังคมได้
  • เกิดโรคลมชัก พบว่าร้อยละ 50 ของเด็กสมองพิการ จะมีอาการชัก
  • มีปัญหาด้านกระดูก อาจพบภาวะกระดูกสันหลังคด ( scoliosis ) การหดรั้งและเท้าแปแต่กำเนิด ( equinus ) เป็นต้น
  • มีปัญหาด้านฟันและช่องปาก เด็กสมองพิการมักมีปัญหาฟันผุ เนื่องจากความสามารถในการดูแลร่างกายต่ำ

การรักษาโรคสมองพิการ

เนื่องจากโรคนี้ไม่สามารถรักษาหายขาดได้ เพราะ สมองมีความพิการ ไม่สามารถทำให้กลับมาปรกติได้ สิ่งที่ทำได้ คือ การฟื้นฟูและบรรเทาอาการ รวมถึงฟื้นฟูสภาพจิตใจ เพื่อการปรับตัวให้เข้ากับสังคม สำหรับการรักษาโรคซีพี สามารถรักษาเพื่อให้ใช้ชีวิตให้ได้ปรกติที่สุด สามารถใช้ยารักษา การผ่าตัด การกายภาพบำบัดร่วม รวมถึงการอุปกรณ์เสริม โดยรายละเอียดการรักษา มีดังนี้

  • การรักษาด้วยการทำภาพบำบัด เพื่อทำการฟื้นฟูกล้ามเนื้อ เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด และ รักษาเพื่อฟื้นฟูความสามารถในการพูด
  • การรักษาด้วยการให้ยา ยากินมี 2 ลักษณะ คือ ยกกิน และ ยาฉีด โดน ยากินเพื่อช่วยลดความเกร็งของกล้ามเนื้อ ส่วนยาฉีดจะใช้เฉพาะที่แต่เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน ยาจะมีฤทธิ์ทำให้ประสาทส่วนปลายถูกขัดขวาง เพื่อลดความผิดรูปของข้อและกล้ามเนื้อที่เกร็งผิดรูป
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด โดยผ่ากล้ามเนื้อที่ยึดตึง ย้ายเอ็น เพื่อสร้างความสมดุลของข้อกระดูก และ ผ่าตัดกระดูกที่ผิดรูป ให้มีความสมดุลย์ นอกจากการผ่าตัดกล้ามเนื้อและกระดูก ยังมีการผ่าตัดอื่นๆ เช่น การผ่าตัดแก้ตาเหล่ ผ่าตัดแก้น้ำลายยืด
  • การรักษาด้วยการใช้อุปกรณ์เสริมร่วมกับ เป็นการนำเอาอุปกรณ์มาช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายดีกว่าปรกติ เช่น เฝือกอ่อนพยุงข้อเท้า ( ankle foot orthoses – AFO ) อุปกรณ์ช่วยเดิน ( walker ) เป็นต้น

การดูแลผู้ป่วยโรคซีพี

  • ควรให้ผู้ป่วยขยับร่างกายบ่อยๆ เช่น ฝึกเดิน ฝึกการทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง บริหารกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ การฟื้นฟูร่างกาย ควรเริ่มตั้งแต่เด็ก โดยไม่ควรเกินอายุ 7 ปี จะทำให้เด็ดมีพัฒนาการที่ดีขึ้น
  • ต้องปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วย เช่น อุปกรณ์ต่างๆที่ช่วยให้ใช้ชีวิตง่ายขึ้น ทางเดินควรเป็นทางลาด ไม่ควรวางสิ่งของกีดขวางทางเดิน เป็นต้น
  • หากิจกรรมช่วยการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก เช่น พาเข้าสังคม ทำกิจกรรมเสริมทักษะทั้งกล้ามเนื้อ สมอง
  • การฝึกให้ผู้ป่วยช่วยตัวเองในกิจกรรมพื้นฐาน เช่น การเคี้ยวอาหาร การหยิบจับสิิ่งของ การใส่เสื้อผ้าเอง การขับถ่าย เป็นต้น

สมองพิการ ( Cerebral Palsy ) นิยมเรียก โรคซีพี  คือ โรคในเด็ก เป็นการพิการทางสมองอย่างถาวร ตั้งแต่เด็ก ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายผิดปรกติเช่น ใบหน้าเกร็ง การทรงตัวไม่ดี การนั่ง ยืน และ เดิน ผิดปกติ รวมถึงการทำงานของสมอง เช่น ความบกพร่องในการมองเห็น ได้ยิน การรับรู้ การเรียนรู้ สติปัญญา และ โรคลมชัก เป็นต้น

Last Updated on March 17, 2021