โรคลมชัก ( Epilepsy ) เรียก โรคลมบ้าหมู ภาวะทางสมองผิดปรกติ ไม่ทราบสาเหตุของโรคที่ชัดเจน อาการชักเกร็งไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ แนวทางการรักษาโรคอย่างไร โรคลมชัก โรคลมบ้าหมู โรคระบบประสาทและสมอง โรคไม่ติดต่อ

โรคลมชักแตกต่างจากการชักอย่างไร

ความแตกต่างของโรคลมชักกับการชัก คือ สาเหตุของการชัก การชักจากโรคลมชัก จะมีอาการ ชัก เกร็ง กระตุก น้ำลายฟูมปาก และ กัดลิ้น ส่วนลักษณะสำคัญของอาการชัก คือ เกิดการผิดปกติของระบบประสาท อย่างใดอย่างหนึ่งในระยะเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 3 นาที แต่อาการชักจะเกิดแบบซ้ำๆ

ชนิดของอาการชัก

สำหรับชนิดของอาการชัก สามารถแบ่งได้ 5 ลักษณะของโรค คือ

  • อาการชัก ชนิดเกร็งกระตุกทั้งตัวและหมดสติ เรียกว่า ลมบ้าหมู
  • อาการชัก ชนิดนั่งนิ่งและเหม่อลอย
  • อาการชัก ชนิดทำอะไรโดยไม่รู้สึกตัว
  • อาการชัก ชนิดกระตุกเฉพาะส่วนของร่างกาย แต่รู้สึกตัว
  • อาการชัก ชนิดล้มลงทันที

สาเหตุของโรคลมชักเกิด

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคลมชัก ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่มักเกิดจากการถูกกระทบกระเทือนที่สมอง ทั้งการกระทบจากภายในสมองและการกระทบจากภายนอกสมอง โรคลมชัก สามารถแบ่งกลุ่มของสาเหตุได้ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มที่สามารถบอกสาเหตุได้ชัดเจน และ กลุ่มที่สามารถบอกสาเหตุได้ชัดเจน รายละเอียด ดังนี้

  • โรคลมชักที่ไม่ทราบสาเหตุ ( Idiopathic หรือ Primary Epilepsy ) สันนิษฐานว่าเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม หรือ ความผิดปรกติของร่างกาย
  • โรคลมชักที่ทราบสาเหตุที่ชัดได้ ( Symptomatic หรือ Secondary Epilepsy ) โดยอาจเกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง หรือ เนื้องอกในสมอง อุบัติเหตุกระทบกระเทือนต่อสมอง การเสพยาเสพติด การติดสุรา เป็นต้น สาเหตุเหล่านี้ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

จากสาเหตุของโรคที่กล่าวมาข้างต้น เราสามารถสรุปปัจจััยและสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคได้ ดังนี้

  • การเกิดอุบัติเหตุกระทบกระเทือนที่สมอง
  • โรคหลอดเลือดสมอง เช่น โรคอัมพาต เป็นต้น
  • การติดเชื้อที่สมอง เช่น โรคสมองอักเสบ โรคพยาธิตัวตืด เป็นต้น
  • ความผิดปรกติของสมอง เช่น โรคเนื้องอกสมอง โรคกลีบสมองบริเวณขมับฝ่อ เป็นต้น
  • การกินเหล้าจำนวนมาก การติดเหล้า โรคพิษสุราเรื้อรัง
  • พันธุกรรม
  • ผู้ป่วยที่มีประวัติชักในวัยเด็ก
  • ได้รับการผ่าตัดที่สมอง

การวินิจฉัยโรคลมชัก

เนื่องจากโรคลมชักไม่ทราบสาเหตุของโรคที่ชัดเจน การวินิจฉัยโรค ต้องทำการตรวจสอบประวัติอย่างและเอียด เช่น ประวัติการรักษาโรค ประวัติส่วนตัวต่างๆ เช่น ประวัติการใช้ยา การเสพยาเสพติด การดื่มสุรา พร้อมทั้งตรวจร่างกายอย่างละเอียด เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การเอกซเรย์เอ็มอาร์ไอ เป็นต้น

การรักษาโรคลมชัก

สำหรับการรักษาโรคลมชัก การรักษาโรคลมบ้าหมู นั้น ต้องทราบสาเหตุของโรคที่ชัดเจน หากพบว่าสาเหตุของโรคเกิดจากโรคทางสมอง เช่น โรคเนื้องอกในสมอง การติดเชื้อที่สมอง ก็ทำการรักษาโรคนั้นๆตามวิธีการรักษาของโรค หากสาเหตุของโรคไม่แน่ชัดนัก อาจเกิดจากปัญหาอื่นๆ โดยการรักษาแพทย์จะให้ยากันชัก ควบคู่กับการปรับพฤติกรรมการดำรงชีวิติที่เป็นประโยชน์ต่อสมอง เช่น

  • การพักผ่อนให้เพียงพอ
  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • การงดการดื่มสุรา
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  • ลดการใช้สายตา เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
  • หากมีไข้สูง ต้องปฐมพยาบาลเพื่อลดไข้
  • ไม่ขับรถ และ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัตติเหตุ ทั้งหมด

สำหรับการผ่าตัดสมอง เพื่อรักษาโรคลมชัก นั้น วิธีการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคลมชัก มี 2 วัตถุประสงค์ ดังนี้

  • เพื่อกระตุ้นเส้นประสาทสมอง ( Vagus Nerve Stimulation: VNS ) โดยการผ่าตัดเพื่อฝังอุปกรณ์ไว้ใต้ผิวหนัง บริเวณกระดูกไหปลาร้า เพื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าไปยังเส้นประสาท
  • เพื่อกระตุ้นสมองส่วนลึก ( Deep Brain Stimulation: DBS ) โดยการผ่าตัดฝังขั้วไฟฟ้าไว้บริเวณสมอง เพื่อลดความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในสมอง โดยจะฝังอุปกรณ์ที่ใต้ผิวหนังบริเวณหน้าอก อุปกรณ์นี้จะสามารถลดความถี่ของอาการชักได้

การป้องกันโรคลมชัก

เนื่องจากโรคลมชักไม่สามารถทราบสาเหตุที่แน่ชัดเจน การป้องกันไม่ให้เกิดอาการชัก จึงจำเป็น โดยมีวิธีการป้องกันอาการชัก มี ดังนี้

  • รับประทานยาตามคำสั่งแพทย์ อย่างอย่างสม่ำเสมอและถูกต้อง
  • นอนหลับให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • สวมป้ายข้อมือระบุว่าเป็นโรคลมชัก เพื่อให้คนรอบข้างทราบและช่วยเหลือได้ทันท่วงที
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  • ลดความเสี่ยงของการเกิดการกระเทกที่ศรีษะ
  • ลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทุกชนิด เช่น ขับขี่อย่างปลอดภัย หรือ ไม่ขับขี่ยานพาหนะ
  • ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
  • รักษาสุขอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อทุกชนิด

โรคลมชัก ( Epilepsy ) คือ โรคระบบประสาทและสมอง ที่พบบ่อยโรคหนึ่ง เรียกอีกโรคหนึ่งว่า โรคลมบ้าหมู สาเหตุของการเกิดโรคลมชักมีอะไรบ้าง อะไรคือปัจจัยของการเกิดโรค การรักษาโรคลมชักทำอย่างไร การป้องกันการเกิดโรคทำได้อย่างไร

โรคไฮเปอร์ หรือ สมาธิสั้น ภาวะการขาดสมาธิ มักเกิดกับเด็กไม่เกิน 6 ขวบ ผู้ป่วยสมาธิสั้นร้อยละ 40 สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ การรักษาโรคและป้องกันทำอย่างไรโรคไฮเปอร์ โรคสมาธิสั้น การรักษาสมาธิสั้น อาการสมาธิสั้น
เพื่อความเข้าใจโรคสมาธิสั้น ภาษาอังกฤษ Attention Deficit Hyperactivity Disorder เรียกย่อๆว่า ADHD อย่างถูกต้อง พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเข้าใจและอธิบายให้บุตรหลานเข้าใจถึงความจำเป็นในการรักษาโรค แต่ไม่ควรดูแลเด็กมากเกินไป เพราะจะทำให้เด็กขาดทักษะในการใช้ชีวิต แต่ก็ไม่ควรละเลยต่อการดูแลรักษา การลดการกระตุ้นอารมณ์ เช่น การเล่นรุนแรง การล้อเลียนเด็ก จะช่วยให้ทุกอย่างไม่แย่ลงไป

การสังเกตเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นหรือโรคไฮเปอร์ สามารถสังเกตุได้จาก พฤติกรรม 2 อย่าง คือ การมีสมาธิและความซุกซน โดยรายละเอียดการสังเกตุเด็กไฮเปอร์ มีดังนี้

  • ลักษณะการขาดสมาธิ ( attention deficit ) พบว่ามีอาการให้สังเกตุ คือ ไม่สามารถทำงานที่ครูหรือพ่อแม่สั่งจนสำเร็จ ไม่มีสมาธิในขณะเล่นหรือทำงาน ไม่ค่อยฟังเวลาพูด ไม่ตั้งใจฟัง ไม่มีระเบียบ วอกแวก ขี้ลืม เป็นต้น
  • ลักษณะการซน ( hyperactivity ) พบว่าอาการที่สามารถสังเกตุได้ คือ ยุกยิกอยู่ไม่สุข ลุกเดินบ่อย ชอบวิ่ง ชอบปีน พูดไม่หยุด เล่นเสียงดัง ตื่นตัวตลอดเวลา รอคอยไม่เป็น

สาเหตุของโรคสมาธิสั้น

สาเหตุของการเกิดโรคสมาธิสั้น ไม่สามารถสรุปสาเหตุได้อย่างชัดเจน แต่จากการศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ส่งผลต่อโรคสมาธิสั้น สามารถสรุปปจัจัยการเกิดโรคได้ ดังนี้

  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น มักมีญาติพี่น้องที่เคยมีปัญหาสามธิสั้น
  • โครงสร้างของสมองตั้งแต่กำเนิด จากการสแกนสมองของคนทั่วไป เปรียบเทียบกับผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น พบว่า พื้นที่บางส่วนของสมองผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น ไม่เหมือนกับสมองคนปรกติ
  • การขาดการดูแลที่ดีตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เช่น แม่ชอบสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ รวมถึงการเสพสารเสพติดขณะตั้งครรภ์
  • การได้รับสารพิษจนเกิดความผิดปรกติของสมอง เช่น ได้รับสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก

อย่างไรก็ตาม แต่การให้เด็กดูโทรทัศน์ เล่นเกม ดูอินเตอร์เน้ต หรือ การทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างพอดี ย่อมเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงดูเด็ก

อาการของผู้ป่วยสมาธิสั้นหรือโรคไฮเปอร์

สำหรับอาการโรคไฮเปอร์ สามารถแบ่งเป็นกลุ่มอาการของโรคได้ ซึ่งเราจะสรุปไว้ได้ ดังนี้

กลุ่มอาการโรคไฮเปอร์ สำหรับกลุ่มอาการของโรคไฮเปอร์ สามารถแบ่งได้ 2 กลุ่มอาการ คือ กลุ่มอาการซึมเศร้า และ กลุ่มอาการกร้าวร้าว ทั้งนี้อยู่ที่การดูแลสภาพแวดล้อมของเด็ก และหากได้รับการดูแลอย่างดี จะสามารถเปลี่ยนเป็นความสามารถพิเศษได้ รายละเอียดของกลุ่มอาการดรคไฮเปอร์ มีดังนี้

  • โรคไฮเปอร์กลุ่มอาการซึมเศ้รา จะมีอาการ หงอยเหงา ไม่กล้าแสดงออก ขี้อาย ชอบเก็บตัว ไม่เข้าสังคม คนกลุ่มนี้มีโอกาสเสี่ยงการทำร้ายตนเองจน หรือ เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
  • โรคไฮเปอร์กลุ่มอาการกร้าวร้าว จะมีอาการต่อต้านสังคม ชอบใช้ความรุ่นแรง ชอบขวางโลก ขาดการยั้งคิดต่อการกระทำผิด อารมณ์แปรปรวน คนกลุ่มนี่้เป็นอันตรายต่อสังคม

อาการของผุ้ป่วยสมาธิสั้น สามารถแบ่งอาการของโรคให้สามารถสังเกตุได้ 3 อาการ ดังนี้

  • อาการซนผิดปรกติ ( Hyper Activity ) ความซนะมากกว่าเด็กทั่วไป ไม่อยู่นิ่งตลอดเวลา
  • อาการวอกแวก สามารถตอบสนองสิ่งเร้าง่าย การทำงานต่างๆไม่ค่อยสำเร็จ
  • อาการหุนหันพลันแล่น ( Impulsive ) เด็กมักจะแสดงออกในลักษณะการรอคอยไม่เป็น มักเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุต่อตัวเด็กได้ง่าย

การรักษาโรคสมาธิสั้น

สำหรับการรักษาโรคสมาธิสั้นหรือโรคไฮเปอร์นั้น ต้องรักษาด้วยการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกับการใช้ยารักษาโรค โดยรายละเอียดการรักษาโรคไฮเปอร์ มีดังนี้

  • การรักษาด้วยการปรับพฤติกรรม ( Behavioral modification ) การปรับพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้นต้องใช้เวลานาน และ ต้องทำอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ โดยให้อยู่ในการดูแลและคำแนะนำของแพทย์ เราสามารถทำข้อตกลงกับเด็ก ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน สร้างแรงจูงใจ และให้คำชมเชย หากสามารถทำได้ตามเป้าหมาย
  • การรักษาด้วยการใช้ยา ในปัจจุบันนิยมใช้ยารักษามากขึ้น เนื่องจากได้ผลรวดเร็ว และสามารถทำควบคู่กับการปรับพฤติกรรมได้ การรักษาด้วยยานั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การแสดงออกทางความรุนแรง เป็นต้น

การป้องกันโรคสมาธิสั้น

สาเหตุของการเกิดโรคสมาธิสั้น นั้นยังไม่ชัดเจนนั้น การป้องกันการเกิดโรคสมาธิสั้น ต้องทำการลดความเสี่ยงตั้งแต่การตั้งครรภ์และการเลี้ยงดุเด็ก โดยมีข้อแนะนำการป้องกันการเกิดโรคไฮเปอร์ ดังนี้

  • ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา และไม่ใช้สารเสพติดในขณะตั้งครรภ์
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีมลพิษและสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น สารตะกั่ว เป็นต้น
  • ปรับพฤติกรรมและรับมือกับสถานการณ์ที่แตกต่างอย่างเหมาะสม เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็ก

โรคไฮเปอร์ หรือ สมาธิสั้น คือ ภาวะการขาดสมาธิในการตั้งใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จ ไม่ใส่ใจคำสั่ง ไม่อยู่นิ่งๆ ไม่อดทน เด็กไม่เกิน 6 ขวบจะแสดงออกได้ชัดเจน ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นร้อยละ 40 สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ลักษณะอาการของโรค สาเหตุของโรค การรักษาโรคและการป้องกันทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove