ระบบประสาทถูกทำลาย สาเหตุจากอุบัติเหตุ การติดเชื้อโรค และการผิดปรติของร่างกาย ทำให้ควบคุมร่างกายไม่ได้ เป็นอัมพาต เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย แนวทางการรักษาอย่างไรระบบประสาทถูกทำงาย เส้นประสาทส่วนผลายถูกทำลาย โรคระบบประสาทและสมอง โรค

โรคระบบประสาทถูกทำลาย คือ ภาวะระบบประสาทถูกทำลาย จากสาเหตุต่างๆ มักเกิดกับผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุ แรงกระแทก แรงอัด การได้รับปาดเจ็บจากการต่อสู่ ทำให้เส้นประสาทได้รับความเสียหาย หากโดยเส้นประสาทที่สำคัญบริเวณกระดูกสันหลัง ก้านสมอง สมอง มักจะมีอาการรุนแรง เมื่อระบบประสาทถูกทำลาย  มักจะทำให้เกิดโรคอัมพฤษ์และอัมพาต

สาเหตุของโรคระบบประสาทถูกทำลาย

ภาวะเส้นประสาทส่วนปลายถูกทำบายนั้น เป็นเส้นประสาทที่อยู่นอกสมองและไขสันหลัง โอกาสการเกิดโรคนี้พบได้ ร้อยละ 2.4 ของประชากรทั่วไป ซึ่งเส้นประสาทส่วนปลาย จะมีกลุ่มเส้นประสาท 3 กลุ่ม คือ เส้นประสาทกล้ามเนื้อ เส้นประสาทรับความรู้สึก และ เส้นประสาทอัตโนมัติ

ความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลาย สามารถเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ซึ่งพบได้บ่อยที่สุด คือ ความผิดปกติทางระบบประสาท เรียกว่า Charcot-Marie-Tooth แต่จริงๆแล้วสาเหตุการเกิดโรคมีหลายสาเหตุ สามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 3 กลุ่มใหญ่ คือ

  • ความผิดปกติของเส้นประสาทจากการเกิดโรค ซึ่งโรคในกลุ่มนี้กระทบกับร่างกายโดยรวม ทำให้เกิดความผิดปกติของเส้นประสาท พบมากที่สุด คือ โรคเบาหวาน ความผิดปกติของไต การได้รับสารพิษ การรับยาบางชนิด ความผิดปกติจากโรคตับ เกิดโรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ ภาวะการขาดวิตามิน การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป โรคมะเร็งหรือเนื้องอก
  • ความผิดปกติของเส้นประสาทจากการเกิดอุบัติเหตุ การเกิดอุบัตติเหตุจากแรงปะทะ แรงบด แรงอัด หรือ แรงยืด อย่างรุนแรงทำให้เส้นประสาทขาดออกจากไขสันหลัง การทำลายเส้นประสาทอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทโดยตรง
  • ความผิดปกติของเส้นประสาทจากการติดเชื้อและความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โรคจากการติดเชื้อโรคทำลายเส้นประสาทได้โดยทางตรงและทางอ้อม โดยโรคที่มีผลต่อระบบประสาท เช่น HIV งูสวัด Epstein-Barr virus โรคไลม์ โรคคอตีบ โรคเรื้อน

การรักษาโรคระบบประสาทถูกทำลาย

สำหรับการรักษาโรคระบบประสาทถูกทำลายนั้น รักษาตามอาการของโรค ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูการทำงานขิงร่างกาย โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาตามอาการที่พบ เช่น หากมีการตกเลือดจะต้องห้ามเลือดก่อน การรักษาการติดเชื้อต่างๆ การขับพิษออกจากร่างกาย
  • การผ่าตัดเพื่อทำวัตถุที่ฝังในร่างกายออก
  • การผ่าตัดเพื่อต่อเส้นประสาท
  • การทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูร่างกาย
  • การรักษาสภาพจิตใจ เพื่อ ฟื้นฟูสภาพจิตใจที่ไม่สามารถรักษาให้หายกลับมาเดินได้
  • รักษาด้วยการใช้อุปกรณ์เสริมช่วยช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า วิลแชร์ เป็นต้น

การป้องกันการเกิดโรคระบบประสาทถูกทำลาย

ระบบประสาทถูกทำลาย ส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย และ กล้ามเนื้อ รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกาย การป้องกันที่ดีที่สุด คือ ลดปัจจัยเสี่ยงการติดเชื้อโรคและการเกิดอุบัติเหตุ สามารถสรุปแนวทางการป้องกันการเกิดโรคได้ ดังนี้

  • ควบคุมอาหาร รับประาทนอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ลดความอ้วน น้ำหนักตัวที่มาก ทำให้มีโอกาสการกระแทกสูงและมีความรุนแรงมากกว่าปรกติ
  • หมั่นออกกำลังกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ไม่ประมาทในการเดินทางและการใช้ชีวิตต่างๆ
  • ตรวจสุขภาพประจำปี

โรคไฮเปอร์ หรือ สมาธิสั้น ภาวะการขาดสมาธิ มักเกิดกับเด็กไม่เกิน 6 ขวบ ผู้ป่วยสมาธิสั้นร้อยละ 40 สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ การรักษาโรคและป้องกันทำอย่างไรโรคไฮเปอร์ โรคสมาธิสั้น การรักษาสมาธิสั้น อาการสมาธิสั้น
เพื่อความเข้าใจโรคสมาธิสั้น ภาษาอังกฤษ Attention Deficit Hyperactivity Disorder เรียกย่อๆว่า ADHD อย่างถูกต้อง พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเข้าใจและอธิบายให้บุตรหลานเข้าใจถึงความจำเป็นในการรักษาโรค แต่ไม่ควรดูแลเด็กมากเกินไป เพราะจะทำให้เด็กขาดทักษะในการใช้ชีวิต แต่ก็ไม่ควรละเลยต่อการดูแลรักษา การลดการกระตุ้นอารมณ์ เช่น การเล่นรุนแรง การล้อเลียนเด็ก จะช่วยให้ทุกอย่างไม่แย่ลงไป

การสังเกตเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นหรือโรคไฮเปอร์ สามารถสังเกตุได้จาก พฤติกรรม 2 อย่าง คือ การมีสมาธิและความซุกซน โดยรายละเอียดการสังเกตุเด็กไฮเปอร์ มีดังนี้

  • ลักษณะการขาดสมาธิ ( attention deficit ) พบว่ามีอาการให้สังเกตุ คือ ไม่สามารถทำงานที่ครูหรือพ่อแม่สั่งจนสำเร็จ ไม่มีสมาธิในขณะเล่นหรือทำงาน ไม่ค่อยฟังเวลาพูด ไม่ตั้งใจฟัง ไม่มีระเบียบ วอกแวก ขี้ลืม เป็นต้น
  • ลักษณะการซน ( hyperactivity ) พบว่าอาการที่สามารถสังเกตุได้ คือ ยุกยิกอยู่ไม่สุข ลุกเดินบ่อย ชอบวิ่ง ชอบปีน พูดไม่หยุด เล่นเสียงดัง ตื่นตัวตลอดเวลา รอคอยไม่เป็น

สาเหตุของโรคสมาธิสั้น

สาเหตุของการเกิดโรคสมาธิสั้น ไม่สามารถสรุปสาเหตุได้อย่างชัดเจน แต่จากการศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ส่งผลต่อโรคสมาธิสั้น สามารถสรุปปจัจัยการเกิดโรคได้ ดังนี้

  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น มักมีญาติพี่น้องที่เคยมีปัญหาสามธิสั้น
  • โครงสร้างของสมองตั้งแต่กำเนิด จากการสแกนสมองของคนทั่วไป เปรียบเทียบกับผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น พบว่า พื้นที่บางส่วนของสมองผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น ไม่เหมือนกับสมองคนปรกติ
  • การขาดการดูแลที่ดีตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เช่น แม่ชอบสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ รวมถึงการเสพสารเสพติดขณะตั้งครรภ์
  • การได้รับสารพิษจนเกิดความผิดปรกติของสมอง เช่น ได้รับสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก

อย่างไรก็ตาม แต่การให้เด็กดูโทรทัศน์ เล่นเกม ดูอินเตอร์เน้ต หรือ การทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างพอดี ย่อมเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงดูเด็ก

อาการของผู้ป่วยสมาธิสั้นหรือโรคไฮเปอร์

สำหรับอาการโรคไฮเปอร์ สามารถแบ่งเป็นกลุ่มอาการของโรคได้ ซึ่งเราจะสรุปไว้ได้ ดังนี้

กลุ่มอาการโรคไฮเปอร์ สำหรับกลุ่มอาการของโรคไฮเปอร์ สามารถแบ่งได้ 2 กลุ่มอาการ คือ กลุ่มอาการซึมเศร้า และ กลุ่มอาการกร้าวร้าว ทั้งนี้อยู่ที่การดูแลสภาพแวดล้อมของเด็ก และหากได้รับการดูแลอย่างดี จะสามารถเปลี่ยนเป็นความสามารถพิเศษได้ รายละเอียดของกลุ่มอาการดรคไฮเปอร์ มีดังนี้

  • โรคไฮเปอร์กลุ่มอาการซึมเศ้รา จะมีอาการ หงอยเหงา ไม่กล้าแสดงออก ขี้อาย ชอบเก็บตัว ไม่เข้าสังคม คนกลุ่มนี้มีโอกาสเสี่ยงการทำร้ายตนเองจน หรือ เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
  • โรคไฮเปอร์กลุ่มอาการกร้าวร้าว จะมีอาการต่อต้านสังคม ชอบใช้ความรุ่นแรง ชอบขวางโลก ขาดการยั้งคิดต่อการกระทำผิด อารมณ์แปรปรวน คนกลุ่มนี่้เป็นอันตรายต่อสังคม

อาการของผุ้ป่วยสมาธิสั้น สามารถแบ่งอาการของโรคให้สามารถสังเกตุได้ 3 อาการ ดังนี้

  • อาการซนผิดปรกติ ( Hyper Activity ) ความซนะมากกว่าเด็กทั่วไป ไม่อยู่นิ่งตลอดเวลา
  • อาการวอกแวก สามารถตอบสนองสิ่งเร้าง่าย การทำงานต่างๆไม่ค่อยสำเร็จ
  • อาการหุนหันพลันแล่น ( Impulsive ) เด็กมักจะแสดงออกในลักษณะการรอคอยไม่เป็น มักเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุต่อตัวเด็กได้ง่าย

การรักษาโรคสมาธิสั้น

สำหรับการรักษาโรคสมาธิสั้นหรือโรคไฮเปอร์นั้น ต้องรักษาด้วยการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกับการใช้ยารักษาโรค โดยรายละเอียดการรักษาโรคไฮเปอร์ มีดังนี้

  • การรักษาด้วยการปรับพฤติกรรม ( Behavioral modification ) การปรับพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้นต้องใช้เวลานาน และ ต้องทำอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ โดยให้อยู่ในการดูแลและคำแนะนำของแพทย์ เราสามารถทำข้อตกลงกับเด็ก ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน สร้างแรงจูงใจ และให้คำชมเชย หากสามารถทำได้ตามเป้าหมาย
  • การรักษาด้วยการใช้ยา ในปัจจุบันนิยมใช้ยารักษามากขึ้น เนื่องจากได้ผลรวดเร็ว และสามารถทำควบคู่กับการปรับพฤติกรรมได้ การรักษาด้วยยานั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การแสดงออกทางความรุนแรง เป็นต้น

การป้องกันโรคสมาธิสั้น

สาเหตุของการเกิดโรคสมาธิสั้น นั้นยังไม่ชัดเจนนั้น การป้องกันการเกิดโรคสมาธิสั้น ต้องทำการลดความเสี่ยงตั้งแต่การตั้งครรภ์และการเลี้ยงดุเด็ก โดยมีข้อแนะนำการป้องกันการเกิดโรคไฮเปอร์ ดังนี้

  • ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา และไม่ใช้สารเสพติดในขณะตั้งครรภ์
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีมลพิษและสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น สารตะกั่ว เป็นต้น
  • ปรับพฤติกรรมและรับมือกับสถานการณ์ที่แตกต่างอย่างเหมาะสม เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็ก

โรคไฮเปอร์ หรือ สมาธิสั้น คือ ภาวะการขาดสมาธิในการตั้งใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จ ไม่ใส่ใจคำสั่ง ไม่อยู่นิ่งๆ ไม่อดทน เด็กไม่เกิน 6 ขวบจะแสดงออกได้ชัดเจน ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นร้อยละ 40 สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ลักษณะอาการของโรค สาเหตุของโรค การรักษาโรคและการป้องกันทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove